โปรแกรม Super PI ใช้วิธีการคำนวณค่า PI จากเส้นรอบวง/เส้นผ่านศูนย์กลางจะได้เป็นค่า 3.14? โดยที่ทศนิยมนั้ เป็นเลขที่ไม่ลงตัวที่มีค่าอนันต์ ดังนั้น เครื่องคอมพิวเตอร์จึงไม่สามารถหยุดการคำนวณได้ถ้าไม่สั่งให้หยุด โปรแกรม Super PI จะทำการกำหนดเอาไว้ว่าให้คำนวณที่จุดสิ้นสุดตรงไหน เช่น 1M คือ คำนวณที่ทศนิยม 1 ล้านตำแหน่ง โดยแบ่งเป็นช่วง Loop อย่าง PI 1M ใช้ 19 Loop เท่ากับคำนวณ Loop ละ 52632 ตำแหน่ง ต่อ 1 Loop ยิ่งซีพียูมีประสิทธิภาพเท่าไร ยิ่งใช้เวลาคำนวณได้น้อยลง
การคำนวนค่า PI ออกมาทำความเร็วได้ดีไม่ถึง 15 วินาที ซึ่งเร็วกว่าตัว Core i5 540M ขึ้นมาอีกนิดหน่อยอยู่ในช่วง 1 ? 2 วินาที
*ส่วนการทดสอบด้วยโปรแกรม Hyper PI ทางทีมงานไม่มีผลการทดสอบมาให้ดู เพราะว่าโปรแกรมไม่ยอมคำนวณผลออกมาให้นะครับ น่าจะเป็นที่ CPU เป็นรุ่นใหม่อยู่ครับ
โปรแกรม PCMark05 ใช้สำหรับการทดสอบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ในหลาย ๆ รูปแบบ เช่น การคำนวนทางฟิสิกส์ การเข้ารหัสไฟล์ภาพยนตร์เพื่อสร้างคะแนนเปรียบเทียบประสิทธิภาพออกมา
เครื่อง Sony VAIO E Series VPCEA37FH/B นี้มาแปลกครับ ผลการทดสอบฮาร์ดดิสก์ไม่ออกซะงั้น แต่คะแนนรวมออก สำหรับคะแนน CPU ได้เกือบ 8 พันคะแนนแล้ว เพราะว่าได้ CPU รุ่นใหม่อย่าง Intel Core i5 560M ทั้งหน่วยความจำก็เยอะ การ์ดจอก็ขึ้นมาเป็นระดับกลาง ๆ แล้ว ทำให้เครื่องไม่มีคอขวดออกมาอย่างเด่นชัด หรือถ้าจะมีก็อาจจะเป็นฮาร์ดดิสก์ที่แสดงผลไม่ออกก็ได้ครับ อิอิ
โปรแกรม 3DMark06 ใช้สำหรับการทดสอบประสิทธิภาพการประมวลผลของ GPU โดยทดสอบทั้ง High Dynamic Range, Shader Model 3.0 รองรับ CPU ทั้ง Single Core และ Multi Core
ทดสอบที่ความละเอียด 1280 x 720
ทดสอบที่ความละเอียด 1600 x 900
การ์ด ATI Radeon HD 5650 ประมวลผลได้ดี ไม่ว่าจะเป็นขนาด 1280 x 720 ที่ได้7081 คะแนน หรือ 1600 x 900 ที่ได้ 6011 คะแนน ผลที่ได้ออกมาห่างกันจนมากมาย 1070 คะแนน แต่ถ้าจะเล่นเกมใหม่ ๆ ที่ใช้ทรัพยากรเครื่องมาก ๆ แนะนำว่าเปิดใช้แค่ 720 ก็ได้ภาพที่ดีแล้วครับ และอาศัยการปรับแต่งในเกมแทน ก็จะได้ทั้งภาพและประสิทธิภาพในการเล่นให้สนุกสนานได้เช่นกัน
โปรแกรม CINEBENCH R 11.5 ใช้ทดสอบการประมวลผลงานสามมิติแบบมืออาชีพ ที่ต้องใช้งานผ่าน OpenGL โปรแกรมทดสอบทั้งการเรนเดอร์ด้วย CPU และ GPU โดยมีพื้นฐานมาจากโปรแกรม Maxon CINEMA 4D
ใครจะซื้อเครื่องนี้ไปใช้งานกราฟฟิก บอกเลยว่าได้เปรียบครับ เพราะความละเอียดจอที่มีขนาดใหญ่ ส่วนการทำงานสามมิติอย่าง 3dsmax หรือ AutoCAD เวลาจะเรนเดอร์ก็สามารถใช้งานได้ครับ เพราะอย่างที่บอกว่าเครื่องไม่มีคอขวดทำให้เวลาใช้งานสามารถทำได้หลายๆ อย่าง เพียงแต่ว่ามันไม่ใช่เครื่องที่เร็วที่สุดเท่านั้นเอง
โปรแกรม Performance Test เป็นอีกหนึ่งโปรแกรมที่สามารถทดสอบประสิทธิภาพเครื่องได้ในหลาย ๆ ส่วนทั้ง CPU, GPU, 2D, 3D, CD/DVD ด้วย
คะแนนรวมของ Performance Test ไม่น้อยเลยครับ ส่วนคะแนนย่อย ๆ ตามกลุ่มจะมี 2D Graphic ที่ได้คะแนนน้อยแปลก ๆ แต่การใช้งานจริงก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่เลย เครื่องเก่ากว่านี้ก็ทำงานได้ดีอยู่แล้ว
โปรแกรม Sisoftware Sandra ใช้ตรวจสอบค่าต่าง ๆ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่หลายคนรู้จักกันดี นอกจากเอาไว้อ่านค่าต่าง ๆ แล้วยังมีความสามารถในการทดสอบระบบและเปรียบเทียบผลลัพท์ที่ออกมากับค่ากลางของอุปกรณ์รุ่นอื่น ๆ ได้ทันที โดยจะทดสอบใน 3 โหมด ดังนี้
1. Processor Arithmetic
2. Memory Bandwidth
3. File Systems
โปรแกรม HD Tune ใช้ในการทดสอบความเร็วในการอ่านและการเข้าถึงข้อมูลของฮาร์ดดิสก์แต่ละตัวได้
ฮาร์ดดิสก์ของเครื่อง Sony VAIO VPCEA37FH/B ติดตั้งฮาร์ดดิสก์ของ Toshiba MK-5065 GSX ความจุ 500 GB ดูจากกราฟแล้วไม่รู้ว่าฮาร์ดดิสก์ตัวนี้จะเป็นจุดเดียวที่เป็นจุดอ่อนของเครื่องหรือเปล่า เพราะอัตราการส่งข้อมูลไม่นิ่งเท่าไร สูงที่สุดอยู่ที่ 86.8 MB/s ส่วนต่ำสุดอยู่ที่ 30.1 MB/s กราฟพุ่งขึ้นลงออกอาการทำงานหนัก หรืออาจจะเป็นเพราะโปรแกรมที่โหลดอยู่ข้างหลังมีมากเกินไป ส่วนความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลจัดว่าดีครับ แค่ 17.6 ms เท่านั้นเอง
โปรแกรม Nero InfoTool ใช้เพื่อตรวจสอบระบบการเขียนหรืออ่านแผ่นที่แต่ละเครื่องรองรับ รวมทั้งความเร็วด้วย
อีกหนึ่งจุดที่ได้รับการเพิ่มเข้ามาในรุ่น Sony VAIO E Series VPCEA37FH/B ก็คือ Blu-Ray Rewriter นั้นเอง ออกมากระชากเงินกันจะจะก็เจ้าตัวเนี่ยแหละ คนอยากได้เครื่องดูหนังได้เต็ม ๆ ก็คงพอใจแม้ความละเอียดจอจะไม่ใช่ Full HD แต่การที่เครื่องนี้สามารถเขียนแผ่น Blu-Ray ได้ด้วยก็แปลว่า คนที่อยากได้ความสามารถตรงนี้ จะเป็นจุดเด่นมาก ๆ เลย
โปรแกรม Bettery Mon ใช้เพื่อตรวจสอบข้อมูลของแบตเตอรี่ที่กำลังใช้กับเครื่อง และวัดระดับการใช้พลังงานออกมาเป็นกราฟได้ด้วย
ข้อมูลของแบตเตอร์รี่
ที่แบตเตอรี่เขียนไว้ว่ามีความจุอยู่ที่ 5,000 mAh 54 Wh
ระยะเวลาการใช้งาน
ระยะเวลาในการใช้งานแบตฯ แบบเต็มกำลังอยู่ได้ประมาณ 4 ชั่วโมง กว่า ๆ เลยครับ ถ้าหากเราปิดอุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นและลดความสว่างหน้าจออะไรลงไปด้วย แบตฯ ก็สามารถอยู่ได้เกือบ 6 ชั่วโมงเลย ถ้าใครเปลี่ยนไปใช้ Linux ด้วย อาจจะอยู่ได้นานขึ้นไปอีกนะครับ
ระยะเวลาการชาร์จแบตเตอรี่
สำหรับระยะเวลาในการชาร์จแบตฯ ให้เต็มร้อย ต้องเผื่อเวลาไว้สัก 3 ชั่วโมง กำลังดีครับ เต็มแน่ ๆ
โปรแกรม Wireless Mon ใช้ในการวัดความเสถียรของสัญญาณอินเทอร์เน็ตไร้สาย
การ์ด WiFi ของ Intel WiFi Link 1000 BGN ก็ยังทำงานได้ดีในทุกๆ เครื่อง สัญญาณนิ่งมากๆ
วิธีการทดสอบ ใช้โปรแกรม CPU Burn-In เปิดตามจำนวน Thread ของ CPU ใช้ ATI Tools เปิดภาพสามมิติ และเปิดไฟล์วิดีโอขนาด 1920 x 1080 พร้อมกัน เพื่อให้เครื่องได้ทำการประมวลผลในทุกส่วนอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ๆ และวัดผลด้วยโปรแกรม HW Monitor
อุณหภูมิก่อนการทดสอบ
ระหว่างการทดสอบ
อุณหภูมิหลังการทดสอบ
CPU ใหม่ขึ้นความเร็วก็เยอะขึ้น ความร้อนก็ต้องพุ่งสูงขึ้นเป็นธรรมดาครับ ผมว่าตอนนี้ Full Load 70 องศา ก็ไม่ผิดปกติอะไรนะครับ แต่จุดดีจริง ๆ ของเครื่องคือช่องระบายอากาศมีอยู่หลายจุด แนะนำให้ลงทุนซื้อแผ่นรองที่มีพัดลมดี ๆ มาใช้ด้วยสักตัว ความร้อนระบายออกไปได้เยอะเลยครับ