ไม่นานมานี้นั้นทาง ARM ได้มีการเปิดตัวหน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรม ARM รุ่นใหม่ออกมา 2 รุ่นด้วยกันครับกับ Arm Neoverse N1 และ Arm Neoverse E1 ซึ่งหน่วยประมวลผลดังกล่าวนั้นจะเป็นหน่วยประมวลผลสำหรับเครื่องระดับ Server ที่ให้บริการทางด้านคลาวด์และงานด้านเน็ตเวิร์คโดยเฉพาะ
ที่น่าสนใจนั้นก็คือในส่วนของตัวหน่วยประมวลผลดังกล่าวนั้นสามารถที่จะทำการผลิตให้มาพร้อมกับแกนการประมวลผลมากสุดถึง 128 แกนด้วยเทคโนโลยี hyperscaling ว่าหลังจากที่มีการเปิดตัวออกมานั้นนักพัฒนาโปรแกรมอย่างคุณ Linus Torvalds ผู้ให้กำเนิด Linux ก็ได้ออกมาชี้ครับว่าหน่วยประมวลผลของทาง ARM รุ่นดังกล่าวนั้นคงไม่สามารถที่จะประสบความสำเร็จได้ครับ
คุณ Linus ได้ให้เหตุผลที่น่าสนใจไว้ดังต่อไปนี้ครับ
- ด้วยความที่ผู้ใช้งานในปัจจุบันนั้นส่วนใหญ่แล้วใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มาพร้อมกับหน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรม x86 ดังนั้นแล้วเพื่อที่จะทำให้เกิดความเข้ากันได้นั้นเครื่องระดับ Server ที่ให้บริการทางด้านคลาวด์และงานด้านเน็ตเวิร์คเองก็จำเป็นที่จะต้องใช้หน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรม x86 เช่นเดียวกัน ดังนั้นจึงเป็นไปได้ยากมากๆ ที่หน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรม ARM จะเข้ามาแทนที่หน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรม x86 ได้
- และด้วยสาเหตุแรกนั้นทำให้นักพัฒนาส่วนใหญ่ต่างก็ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์สถาปัตยกรรม x86 กันอยู่แล้วในปัจจุบัน ดังนั้นแล้วถึงจะมีคนเถียงว่าการพัฒนาดังกล่าวก็สามารถที่จะทำออกมาในรูปแบบของ cross-platform เหมือนอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้ แต่ทว่าการพัฒนาแบบ cross-platform ของแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่นั้นเป็นการพัฒนาแนวที่โดนบังคับว่าจะต้องพัฒนาแบบนั้น(เพราะหน่วยประมวลผลในอุปกรณ์เคลื่อนที่ส่วนใหญ่เป็นสถาปัตยกรรม ARM ทั้งหมด ซึ่งเป็นที่มาว่าทำไมหน่วยประมวลผลสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่สถาปัตยกรรม x86 ของทาง Intel จึงไม่สามารถที่ประสบความสำเร็จได้)
- สาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้มันเป็นเรื่องยากที่ทาง ARM จะสามารถตีตลาด Intel ได้นั้นก็คือเรื่องของราคาวางจำหน่ายเพราะในการผลิตตัวหน่วยประมวลผลนั้นหากมีผู้สั่งผลิตน้อยค่าใช้จ่ายของหน่วยประมวลผล 1 หน่วยก็จะสูงตามไปด้วย ทว่ากลับกันแล้วกับทาง Intel ที่มีจำนวนผู้ใช้งานมากกว่าในปัจจจุบันนั้นทำให้คำสั่งในการผลิตต่อหน่วยมีปริมาณที่สูงมากกว่ามากราคาของหน่วยประมวลผลสำหรับเครื่อง Server สถาปัตยกรรม x86 ของทาง Intel จึงมีราคาจำหน่ายต่อหน่วยน้อยกว่า
ที่มา : realworldtech