ใครที่กำลังหาซื้อ Windows 10 อยู่อาจจะสงสัยว่าทำไม มีอยู่สองเวอร์ชั่น แบบ License FPP และ OEM ไม่ว่าจะ Windows 10 Home / Windows 10 Pro สร้างความสับสนให้กลับมือใหม่อยู่พอสมควร
ความแตกต่างกันระหว่าง Windows 10 License แบบ FPP และ OEM
Windows 10 License แบบ FPP
การซื้อ Windows แบบ FPP ก็คือการซื้อ License มาลงโดยที่ 1 License จะสามารถลงเครื่องคอมพิวเตอร์ได้แค่ 1 เครื่องเท่านั้น เช่น หากเราซื้อ License ประเภท FPP มา จำนวน 1 License เราก็จะสามารถลงกับคอมพิวเตอร์เครื่องที่ 1 ได้ เครื่องเดียวเท่านั้น ไม่สามารถลง เครื่องที่ 2,3,4 ได้เป็นต้น กรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์เราเกิดปัญหา เมนบอร์ดไหม้ ฮารดิสก์เสีย
เราก็สามารถทำการลง Windows 10 FPP ใหม่ได้เลย โดยสามารถ Active License ได้ไม่มีปัญหา แต่ active ได้ตามจำนวน license ที่ซื้อมา หากเราต้องการจะเปลี่ยนเครื่องคอม จากเครื่อง A ไป B ก็สามารถทำได้ (แต่เครื่อง A จะต้องทำการ Deactivate Widows License ออกก่อน)
Windows 10 License แบบ OEM
สำหรับ Windows 10 แบบ OEM นั่นจะเป็น License แบบฝังติดเครื่องมาเลย ส่วนมากจะมาในเครื่องแบรน์ต่างๆ เช่น Notebook DELL / Lenovo / HP ถ้า Notebook ตัวนั้นแถม Windows มาด้วย นั่นก็คือ License แบบ OEM เลย โดยที่หากเราต้องการลบลงใหม่ก็สามารถลงใหม่ได้ทันทีโดยไม่ต้องใส่คีย์อะไรให้วุ่นวาย แต่ในกรณีที่ เมนบอร์ดพัง หรือ คอมพิวเตอร์พังนั้น
เราก็จะไม่สามารถโอน license OEM ไปเครื่องอื่นได้ License ประเภทนี้มันจะตรวจสอบเมนบอร์ดของเรา โดยถ้าเราแค่เปลี่ยนเมนบอร์ดมันก็จะไม่สามารถ Active Windows ได้แล้ว !! (งานงอกเลย) เพราะในเมนบอร์ดมันจะมีรหัสของเมนบอร์ดแต่ละบอร์ดก็จะมีตัวเลขเรียงกันไปเรื่อยๆ ไม่ซ้ำกัน
สรุปอย่างสั้นๆง่ายๆก็คือ
Windows แบบ FPP นั่นจะเป็นแบบ 1 License ลงได้ 1 เครื่อง แต่ถ้ามี 2 License ก็ลงได้ 2 เครื่อง กรณีเครื่องพัง ก็ยังสามารถ Active ได้อยู่
Windows แบบ OEM ฝังมากับบอร์ด ส่วนมากจะพบในโน๊ตบุ๊คของแบรนด์ที่ชอบแถม Windows มาให้มักเป็นแบบ OEM ลบลงใหม่ไม่ต้อง Active อะไรติดตั้งแบบไม่ต้องใส่คีย์ แต่ถ้า คอมพังเมนบอร์ดไหม้ งานงอกแน่นอน หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้เพื่อนๆ เข้าใจ ถึงความแตกต่างของ License ทั้ง 2 แบบ ระหว่าง FPP กับ OEM กันแล้วนะครับ