Connect with us

Hi, what are you looking for?

PC Review

Review – Kingston A1000 M.2 NVMe หน่วยความจำ SSD รุ่นใหม่ ใช้ 3D NAND เพื่อเกมเมอร์อัพเกรดจัดสเปกสายคุ้ม

Kingston A1000 จัดว่าเป็น SSD ในแบบ M.2 NVMe 2280 อีกรุ่นหนึ่งที่ออกแบบมาเพื่อกลุ่มผู้ใช้ทั่วไป ที่อยากเริ่มต้นกับ SSD ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นให้มากกว่าฮาร์ดดิสก์ที่ใช้อยู่เดิม หรือกลุ่มเกมเมอร์ที่อยากลดเวลาในการโหลดไฟล์เกมขนาดใหญ่

เชื่อว่าหลายๆ คนที่ใช้ฮาร์ดดิสก์ในปัจจุบัน ก็อยากจะขยับขยายไปเป็น SSD บ้าง แต่ติดอยู่ตรงความจุไม่ได้หรืออยากเปลี่ยนไปเป็นแบบที่เร็วขึ้นกว่า SATA ปกติ ที่วิ่งไปแตะๆ 450-500MB/s แต่ถ้าย้ายไปเป็น NVMe บางทีราคาก็สู้ไม่ไหว เพราะอย่างที่เห็นคือ แพงกว่า SSD SATA อยู่เยอะทีเดียวบนความจุเดียวกัน แต่ในปัจจุบัน มีตัวเลือกให้ใช้งานได้มากขึ้น เช่นเดียวกับ SSD M.2 NVMe รุ่นประหยัดจาก Kingston รุ่นนี้ ที่เรียกว่าน่าใช้เลยทีเดียว

Kingston A1000 16

Advertisement

Kingston A1000 จัดว่าเป็น SSD ในแบบ M.2 NVMe 2280 อีกรุ่นหนึ่งที่ออกแบบมาเพื่อกลุ่มผู้ใช้ทั่วไป ที่อยากเริ่มต้นกับ SSD ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นให้มากกว่าฮาร์ดดิสก์ที่ใช้อยู่เดิม หรือกลุ่มเกมเมอร์ที่อยากลดเวลาในการโหลดไฟล์เกมขนาดใหญ่ รวมไปถึงกลุ่มผู้ใช้สำนักงานที่ต้องการเพิ่มศักยภาพให้กับการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นงานกราฟฟิก เอกสารหรือโปรแกรมด้านสามมิติ ที่ต้องอาศัยการเขียนข้อมูลที่รวดเร็ว โดยที่ใช้หน่วยความจำแบบใหม่ 3D NAND ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ Kingston นำมาใช้กับ SSD ในซีรีส์ดังกล่าวนี้ และมีตัวควบคุม Phison 5008-E8 คุณภาพสูงมาทำงานร่วม ในรูปแบบการเชื่อมต่อ PCIe NVMe Gen 3.0 x2 ที่ให้ความเร็วในระดับที่ดี โดยมีขนาดให้เลือกตั้งแต่ 240GB, 480GB ไปจนถึง 960GB เลยทีเดียว

Specification

  • M.2 2280 Form Factor: ช่องต่อเอนกประสงค์ SFF ใช้แทนสล็อต mSATA และ mini-PCIe ขนาดเล็กได้
  • Form Factor: M.2 2280
  • การเชื่อมต่อ: PCIe NVMe Gen 3.0 x2 Lanes
  • ความจุ2: 240GB, 480GB, 960GB
  • ตัวควบคุม: Phison 5008-E8
  • NAND: 3D TLC
  • อ่าน/เขียน ต่อเนื่อง
  • 240GB: ได้สูงถึง 1,500/800MB/s
  • 480GB: ได้สูงถึง 1,500/900MB/s
  • 960GB: ได้สูงถึง 1,500/1,000MB/s
  • อ่าน/เขียน 4K แบบสุ่ม
  • 240GB: up to 100,000/80,000IOPs
  • 480GB: up to 100,000/90,000IOPs
  • 960GB: up to 120,000/100,000IOPs
  • การใช้พลังงาน: 0.011748W ว่าง / 0.075623W เฉลี่ย / 0.458W (สูงสุด) อ่าน / 0.908W (สูงสุด) เขียน
  • ขนาด: 80มม x 22มม x 3.5มม
  • อายุการใช้งาน: 1 ล้านชั่วโมง MTBF
  • ปริมาณการเขียนโดยรวม (TBW):
  • 240GB: 150TB
  • 480GB: 300TB
  • 960GB: 600TB

ฟังก์ชั่นและประสิทธิภาพในการทำงาน

Kingston A1000 2

Kingston A1000 4

ในส่วนของแพ็คเกจที่ทีมงานได้รับมาทดสอบ เป็นกล่องพลาสติกธรรมดา มีข้อมูลของรุ่นระบุเอาไว้ด้านหลัง โดยรุ่นนี้มาพร้อมความจุ 480GB

Kingston A1000 6

ส่วนหน้าตาของ Kingston A1000 มาในรูปแบบของ M.2 NVMe 2280 พร้อมโลโก้และแจ้งความจุมาให้อย่างชัดเจน

Kingston A1000 8

Kingston A1000 10

ในส่วนของอินเทอร์เฟสเป็นแบบ B-Key ใช้การเชื่อมต่อในแบบ PCIe NVMe Gen 3.0 x2 Lanes

Kingston A1000 11

ด้านหลังไม่มีอะไรเป็นพิเศษ นอกจากลายวงจรเล็กน้อย โดยโครงสร้างหลักจะอยู่ด้านหน้าทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น 3D NAND, และคอนโทรลเลอร์ Phison 5008-E8

Kingston A1000 13

ด้านบนเป็นส่วนที่ใช้ยึดน็อตเข้ากับเมนบอร์ด ด้านล่างเป็นอินเทอร์เฟสในการเชื่อมต่อเข้ากับสล็อต M.2 NVMe

Kingston A1000 15

ตัวอย่างเมนบอร์กที่นำมาใช้ในการติดตั้ง Kingston A1000 นี้ ซึ่งระบุการสนับสนุนมาบนเมนบอร์ดอย่างชัดเจน ในรุ่นนี้ติดตั้งได้ทั้ง M-key และ E-key

Kingston A1000 18

การติดตั้งค่อนข้างง่ายทีเดียว เพียงเสียบลงไปบนสล็อตและยึดน็อตเข้ากับตัวล็อคเท่านั้น เพียงแต่อาจจะต้องสังเกตให้ดีว่า เมนบอร์ดที่รองรับ M.2 2280 ด้วยหรือไม่

Kingston A1000 19

ใช้พื้นที่ในการติดตั้งไม่มาก โดยในรุ่นนี้จัดวางสล็อตอยู่ที่ตรงกลางของเมนบอร์ด

Kingston A1000 Prop

เมื่อติดตั้งลงบนเมนบอร์ดแล้ว ปกติจะยังไม่ทำงานหรือแสดงให้เห็นในทันที เพราะต้องไปสร้าง New Disk ในฟังก์ชั่น Disk Management ก่อน และฟอร์แมต เพื่อให้สามารถใช้งานได้

Kingston A1000 AF format

หลังจากที่ฟอร์แมต Kingston A1000 แล้ว ความจุที่ใช้งานได้อยู่ที่ประมาณ 447GB

Kingston A1000 Anvil

การทดสอบแรก ด้วยโปรแกรม Anvil’s Storage ให้ความเร็วในการอ่าน/เขียนสูงสุด อยู่ที่ราวๆ 730MB/s และ 480MB/s ตามลำดับ

Kingston A1000 ASSSD 1

ส่วนการทดสอบด้วย AS SSD ซึ่งเป็นโปรแกรมยอดนิยม ให้ผลค่อนข้างสอดคล้องกัน อยู่ที่ประมาณ 750MB/s และ 680MB/s สำหรับอ่าน/เขียนข้อมูล

Kingston A1000 ASSSD 2

ในการทดสอบ Copy Benchmark ให้ความเร็วในการก็อปปี้ไฟล์ที่เป็น ISO, Program และ Game ด้วยตัวเลขที่ดีทีเดียว

Kingston A1000 ASSSD CrystalD

ส่วนในการทดสอบด้วย CrystalDiskMark คะแนนเรียกว่าค่อนข้างจะโดดเด่นกว่าโปรแกรมอื่นๆ ด้วยตัวเลขที่ทำลุ 800MB/s สำหรับการอ่านข้อมูล

Kingston A1000 Copy2

ในด้านการทดสอบก็อปปี้ไฟล์ด้วยไฟล์วีดีโอขนาด 47.4GB จาก SSD พื้นฐานที่ใช้บูตระบบ มายัง Kingston A1000 ใช้เวลาประมาณ 1.18 นาทีเท่านั้น

Conclusion

Kingston A1000 14

Kingston A1000 นับเป็น SSD รุ่นใหม่ ซึ่งน่าจะกลายมาเป็นตัวแทนของ SSD ให้กับกลุ่มผู้ใช้ที่ต้องการความคุ้มค่าหรืออยากเริ่มต้นกับ SSD สักรุ่น แต่อยากจะขยับความเร็วจาก SATA ปกติที่ใช้กันทั่วไป มาเป็น M.2 NVMe ซึ่งจากการทดสอบก็เห็นได้ชัดว่า ทำความเร็วได้เหนือกว่า อีกทั้งยังใช้ประโยชน์จากความเร็วที่มีบนเมนบอร์ดหรือโน๊ตบุ๊คได้อย่างเต็มที่อีกด้วย โดยเฉพาะคนที่มี SSD SATA อยู่แล้ว แต่อยากจะเสริม Storage เข้าไปเพิ่มแบบไม่ต้องเปลี่ยนอันเก่าออก ยิ่งเป็นผู้ใช้โน๊ตบุ๊คแล้ว ก็ยิ่งน่าสนใจมากขึ้น เพราะมีให้เลือกทั้ง SATA และ M.2 อีกทั้งสนนราคาก็ดูไม่สูงเกินไป

อย่างไรก็ดีจะสังเกตเห็นได้ว่า สเปกที่ระบุเอาไว้ Kingston A1000 นี้ ใช้ประโยชน์จาก PCIe 3.0 ในแบบ x2 เท่านั้น ความเร็วจึงไม่สูงมาก เมื่อเทียบกับในรุ่นที่เป็น Gen 3 x4 ที่ส่วนใหญ่จะแตะระดับ 1000MB/s ขึ้นไป สำหรับการอ่านและเขียนข้อมูล แม้ว่า Kingston จะเลือกใช้ 3D NAND บน SSD รุ่นนี้ก็ตาม ซึ่งดูแล้ว หากจะต้องการจะเปลี่ยนไปใช้คอนโทรลเลอร์และอินเทอร์เฟสใหม่ ในรุ่น KC1000 ที่มีสเปกดีกว่า แต่ราคาก็จะขยับสูงขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นถ้าคุณมีงบประมาณจำกัดหรือไม่ได้ต้องการประสิทธิภาพที่เกินความจำเป็น  Kingston A1000 ตอบโจทย์คุณได้อย่างคุ้มค่าแบบไม่ต้องสงสัย

จุดเด่น

  • มีความจุให้เลือก 3 ขนาด 240GB, 480GB และ 960GB
  • ให้ความเร็วในการอ่านข้อมูลทสูงกว่า 600MB/s

ข้อสังเกต

  • เชื่อมต่อในแบบ PCIe NVMe Gen 3.0 x2

ติดต่อ: Kingston

ราคา: ราวๆ 189USD หรือประมาณ 6,000 บาท

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

Buyer's Guide

ถ้าประกอบคอมหรือซื้อโน๊ตบุ๊คมาสักเครื่อง นาทีนี้เป็นใครก็อยากได้ SSD 1TB มาใส่ในเครื่องสัก 1~2 ชิ้นแน่นอน จะได้ติดตั้งโปรแกรมทำงาน, เกมและเก็บไฟล์งานเรียกใช้บ่อยได้สะดวก เพราะตอนนี้จะเกมหรือโปรแกรมไหนก็กินพื้นที่กันหลัก 50~100GB กันทั้งนั้น ยังไม่รวมส่วนเสริมอีกร้อยแปดสำหรับเพิ่มลูกเล่นให้งานเสร็จเร็วหรือน่าสนใจยิ่งขึ้นซึ่งอาจใช้พื้นที่เพิ่มอีกพอควร ยิ่งตอนนี้โน๊ตบุ๊คทำงานขนาดปกติกับเกมมิ่งส่วนใหญ่ก็ติดตั้ง SSD ตัวเสริมเข้าไปได้แทบทุกรุ่นอยู่แล้ว ดังนั้นจะซื้อมาใส่ในเครื่องตั้งแต่ก่อนเริ่มใช้งานก็ดี เปิดเครื่องมาตั้งค่าอีกหน่อยก็ใช้งานได้เลย อย่างไรก็ตาม SSD ในปัจจุบันจะมีอินเทอร์เฟสให้เลือกหลายเวอร์ชั่น ตั้งแต่ PCIe 3.0...

Accessories review

ถ้าคุณเป็นครีเอเตอร์ Lexar Portable SSD SL400 คือไอเท็มสำคัญควรมีติดกระเป๋า! ในวงการหน่วยความจำแล้ว Lexar ก็เป็นผู้ผลิตหน่วยความจำระดับโลกซึ่งมีสินค้าหลากหลายแบบให้เลือกใช้ เช่น Lexar Portable SSD SL400 สำหรับครีเอเตอร์ยุคใหม่เจ้าของ iPhone 15 Pro และ 16 Pro Series ได้ถ่ายคลิปเก็บไอเดียสร้างสรรค์ไว้ทำงานต่อได้หรือพกคู่มือถือ Android...

PC Review

WD Blue SN5000 1TB เปิดเครื่องไว ก็อปปี้ไฟล์ ย้ายข้อมูลรวดเร็ว SSD เพื่อสายทำงาน สาย AI และงานที่เร่งด่วน WD Blue SN5000 เป็นหนึ่งในซีรีย์ของ SSD ระดับเพาเวอร์ยูสเซอร์และเกมเมอร์ของทาง WD ที่ออกแบบมาให้กับผู้ใช้ได้รับประสบการณ์ใช้งานด้านความเร็ว ในการอ่านและเขียนข้อมูล บนมาตรฐาน M.2 NVMe...

REVIEW

Kingston NV3 2TB ความจุเยอะ อ่านเขียนไว ตอบโจทย์คนทำงาน คอเกมและครีเอเตอร์ Kingston NV3 เป็น SSD M.2 NVMe รุ่นใหม่ล่าสุด ออกแบบมาเพื่อผู้ใช้งานเริ่มต้นกับ SSD M.2 ไม่ว่าจะเป็นบนคอมพิวเตอร์พีซี โน๊ตบุ๊ค ในชีวิตประจำวัน กับความจุที่มากสุดถึง 2TB ทำให้รองรับได้ทั้งการติดตั้งระบบปฏิบัติการ ไปจนถึงการลงโปรแกรม...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก