Connect with us

Hi, what are you looking for?

Notebook Review

ASUS EeeTop PC 1610PT [All-in-One PC สำหรับงานธุรกิจ]

001

Spec

Advertisement

วันนี้มีเครื่อง All-in-One PC สำหรับเหมาะสำหรับการใช้งานทั้งออฟฟิตและภายในบ้าน จากทาง ASUS กับรุ่น EeeTop PC 1610PT มาให้ลองทดสอบ เหมาะกับใครที่ต้องการเครื่องที่ประหยัดพื้นที่และดูโดดเด่นสะดุดตา สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวกพอตัว นอกจากนั้นตัวเครื่องรุ่นนี้มีจุดเด่นเฉพาะตัว ตรงที่มันเป็นจอ Touch Screen ด้วย เหมาะมากๆ สำหรับเอาไว้ใช้พรีเซ็นต์งานหรือวาดรูปเล่นกับเด็กๆ แต่ตอนนี้มาดูสเปคของเครื่องด้านในก่อนดีกว่า

สเปค โดยรวมแล้ว EeeTop PC 1610PT มีระบบภายในเป็นเหมือนเน็ตบุ๊กตั้งโต๊ะขนาดใหญ่เครื่องหนึ่ง ประมวลผลด้วย Intel Atom D410 ความเร็ว 1.66 GHz แม้จะมีแกนเดียวแต่ก็มี Hyper Threading ทำงานได้พร้อมกันที่ 2 Threads ตัวเครื่องใส่หน่วยความจำแบบ DDR2 ขนาด 1 GB กราฟิกการ์ดเป็น Intel GMA 3150 แสดงผลด้วยหน้าจอขนาดใหญ่ 15.6 นิ้ว แบบสัมผัส ฮาร์ดดิสก์ขนาด 160 GB สำหรับระบบปฏิบัติการเครื่องนี้ติดตั้งมาพร้อม Windows XP ครับ

002

008

ตัวเครื่อง EeeTop PC 1610PT เป็นสีดำเงาตลอดทั้งตัว ทำจากพลาสติกเป็นรอยนิ้วได้ง่าย ลักษณะเหมือนกรอบรูป หรือคล้ายๆ Sony Series J แต่มีความโค้งมนกว่า มีเฉพาะแผ่นด้านหลังที่เป็นดำด้าน จับแล้วไม่ลื่น ยกไปไหนสบาย น้ำหนักประมาณ 4.3 กิโลกรัม

001

นอกจากตัวเครื่องขนาด 15.6 นิ้วแล้ว ก็ยังมีเม้าส์และคีย์บอร์ดสีดำเงา เข้าชุดกันด้วย

012

013

ขาตั้งสามารถก้างออกได้ถึง 45 องศา และจะเห็นว่ามีช่อง USB มาให้ 2 ช่องและช่องเสียบการ์ด SD/MMC

014

015

ด้านหลังเครื่องดูเรียบๆ และมีพอร์ตสำหรับเสียบอุปกรณ์พื้นฐานไว้ให้ มีโลโก้ ASUS ตัวใหญ่ชัดเจน มีช่องระบายอากาศเล็กๆ ให้ด้วย

034

มีอแดปเตอร์เสียบเหมือนโน๊ตบุ๊ค

003

024

เมื่อถอดขาตั้งออกจะเห็นว่ามีช่องระบายอากาศช่องเล็กๆ อยู่

026

ช่องเสียบด้านหลังของเครื่องประกอบไปด้วย Ethernet / USB 2 ช่อง เอาไว้เสียบเม้าส์กับคีย์บอร์ด / ช่องเสียบสายไฟ / ไมค์ / หูฟัง / USB อีกหนึ่งช่อง / สายล็อคเครื่อง


004Keyboard

028

คีย์บอร์ดที่ติดมาด้วย มีแป้นแบนๆ คล้ายๆ ของโน๊ตบุ๊ค มีปุ่ม FN ให้ใช้งานด้วย แต่อยู่ผิดที่ผิดทาง กดผิดเอาง่ายๆ

029

ไฟแสดงสถานะสีเหลือง ตัวผิวด้านนอกจะเงาเหมือนตัวเครื่องใหญ่ ส่วนตัวแป้นพิมพ์ให้สัมผัสที่ดี เวลาพิมพ์ไม่กระด่างนิ้วและก็ไม่ลื่น

031

030

พิมพ์ไม่ถนัดก็ยกขาตั้งแป้นขึ้นมาได้

Mouse

032

เม้าส์ของเครื่องที่ติดมาด้วยกัน มีขนาดเล็กแบบของโน๊ตบุ๊ค พื้นผิวก็มันเงาได้ใจแบบที่เห็นครับ

033

Touch Screen

035

นอกจากจะมีเม้าส์และคีย์บอร์ดแล้ว ยังสามารถใช้นิ้วจิ้มลงไปตรงๆ ที่จอได้เลย แต่จากซอร์ฟแวร์ที่ ASUS ให้มากกับเครื่องตัวนี้ ทำได้แค่คลิกซ้ายนะครับ เป็น SingleTouch ไม่สามารถทำย่อขยายเปลี่ยนหน้าได้แบบ SmartPad

005

Front Panel

022

ปุ่มควบคุมบริเวณด้านหน้าเครื่อง มีลำโพงสเตอริโอฝังอยู่ในตัวด้วย ให้เสียงที่ดีไม่มีอะไรมาบดบังมากนัก

006

บริเวณด้านซ้ายจะมีปุ่มปรับความสว่าง / ปุ่มปรับเสียง / ด้านล่างเป็นไฟแสดงสถานะ WiFi และ HDD

007

โลโก้ของ Eee เป็นสีเงินตัวใหญ่มากๆ ที่เป็นสี่เหลี่ยมสีดำๆ คือลำโพงคู่ ให้เสียงที่ชัดเจนดีมาก

003

ด้านขวาสุดเป็นสติกเกอร์ Intel Atom และ Microsoft Windows XP

007

Webcam

019

กล้องมาตรฐาน 0.3 MP พร้อมไมค์ด้านข้าง

009

010

011

Windows

ระบบปฏิบัติการที่ลงมาให้เป็น Microsoft Windows XP SP3

012

CPU-Z 001

CPU-Z 002

เครื่อง EeeTop PC 1610PT ใช้ CPU Intel Atom D410 1.66 GHz ไม่มี Cache L3 แต่มี Hyper Threading ทำให้รันได้ 2 Threads พร้อมกัน ผลิตแบบ 45 nm ตัวนี้ใช้ไฟ 10 Watt ถึงจะไม่ได้พกไปไหนแต่ก็ช่วยทำให้ค่าไฟไม่พุ่งได้เหมือนกัน

CPU-Z 003

ส่วนเมนบอร์ดเป็นรุ่น ET1610PT ทำออกมาโดยเฉพาะ ใช้ชิป Intel NM10

CPU-Z 004

CPU-Z 005

แรมที่ใส่มาให้เป็น DDR2 (400 MHz) ขนาด 1 GB ของ A-Data Technology และแจ้งว่าในตัวเครื่องมีช่องเสียบแรมได้ 2 ตัว แต่ดูจากฝาหลังแล้ว จะเปลี่ยนทีน่าจะลำบาก

013

GPU-Z 001

ส่วนของตัวประมวลผลกราฟิกเป็น Intel Graphic Media Accelerator 3150 ที่ติดมากับตัว Intel Atom ตัดความสามารถด้าน HD ออก แต่ก็เพียงพอกับการใช้งานทั่วๆ ไป ดูหนังฟังเพลงเล่นเน็ต

014

Monitor

ความละเอียดของจอภาพขนาดมาตรฐาน 1366 x 768 px

015

016

โปรแกรม Super PI คือ การคำนวณค่า PI จากเส้นรอบวง (กลม)/เส้นผ่านศูนย์กลาง จะได้เป็นค่า 3.14? โดยที่ทศนิยมนั้นเป็นเลขที่ไม่ลงตัวที่มีค่าอนันต์ (เลขหลังทศนิยมไม่มี Loop ซ้ำ) ดังนั้น เมื่อ Loop เป็นค่าอนันต์ เครื่องคอมพิวเตอร์จึงไม่สามารถหยุดการคำนวณได้ ถ้าไม่สั่งให้มันหยุด ในโปรแกรม Super PI จะทำการกำหนดเอาไว้ว่าให้คำนวณที่จุดสิ้นสุดตรงไหน (เช่น 1M คือ คำนวณที่ทศนิยม 1 ล้านตำแหน่ง) โดยแบ่งเป็นช่วง Loop อย่าง PI 1M ใช้ 19 Loop เท่ากับคำนวณ Loop ละ 52632 ตำแหน่ง ต่อ 1 Loop ยิ่งซีพียูมีประสิทธิภาพเท่าไร ยิ่งใช้เวลาคำนวณได้น้อยลง

Super PI

Super PI ใช้เวลาในการคำนวนไป 1.29 นาที มีความเร็วใกล้เคียงกับ Intel Atom N450 ที่เป็นรุ่นของเน็ตบุ๊ก

018

ทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องทั้งหมดด้วยโปรแกรม PCMark05

PCMark05

PCMark05 ถึงจะไม่สามารถคำนวนคะแนนรวมออกมาได้ แต่ก็เห็นคะแนน CPU อยู่ที่ 1558 ใกล้เคียงกับ Intel Atom N450

020

โปรแกรมทดสอบอีกตัวที่อยากแนะนำ โดยเป็นโปรแกรมที่ทดสอบภาพรวมของเครื่องแล้วสรุปมาเป็นคะแนนรวม ทำให้สามารถเปรียบเทียบกับรุ่นอื่นๆ ได้ง่าย อีกทั้งยังแจกแจงคะแนนทดสอบในแต่ละส่วนให้เห็นอีกด้วย

PT

คะแนนออกมาก็ไม่น่าแปลกใจครับ ไม่ต่างกับเน็ตบุ๊กตัวเล็กๆ ที่พกกันเท่าไร เพราะมันถอดแบบระบบออกมาเหมือนกัน

022

ทดสอบความเร็วในการอ่านข้อมูลของ HDD

HD TUNE

Harddisk ที่ใช้เป็นของ Hitachi มีรอบหมุนอยู่ที่ 5400 รอบ มีความเร็วเฉลี่ยในการส่งข้อมูล 47.3 MB/s ส่วนการเข้าถึงข้อมูลอยู่ที่ 17.9 ms ถือว่าโอเคสำหรับการใช้งานทั่วไป ยังไม่เห็นอาการหนืดในการโหลด

023

Nero InfoTool

สิ่งที่ดูผิดคาดที่สุดของเครื่อง ASUS EeeTop PC 1610PT คือ ไม่มีการติดตั้ง DVD-RW มาให้เลย ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย สำหรับ All-in-One เครื่องนี้อย่างยิ่ง อาจจะเป็นเพราะการออกแบบให้ขอบเครื่องมันโค้งมากๆ ก็เลยทำให้การทำช่องใส่ DVD อาจจะทำให้เครื่องดูไม่สวยแบบที่ตั้งใจ ใครจะลงโปรแกรมหรือจะเปิดงานของลูกค้าคงต้องทำใจซื้อ External มาต่อเพิ่มนะครับ

026

มาถึงเรื่องที่น่าสนใจกันแล้วคือ อุณหภูมิของตัวเครื่องครับ เพราะว่าเครื่อง All-in-One มีพื้นที่ในการระบายความร้อนน้อยมาก ใช้ไปนานๆ จะร้อนทั้งเครื่องทั้งคนเอา

อุณหภูมิก่อนการทดสอบ อุณหภูมิของห้องอยู่ที่ 25 ? 28 องศา

HWM 001

ตัวเครื่องได้ทำการเปิดใช้งานมาหลายชั่วโมงแล้ว อุณหภูมิของ Intel Atom D410 ตัวนี้อยู่ที่ 71 องศาเลยทีเดียว นับว่าสูงมากๆ เพราะปกติควรจะไม่เกิน 55 องศา

วิธีการทดสอบ ใช้โปรแกรม เปิดโปรแกรม Burning CPU ตามจำนวน Thread ของเครื่อง คือ 2 ตัว และเปิด ATITool เพื่อทดสอบอุณหภูมิ GPU ไปคู่กันด้วย

HWM 002

ผลที่ออกมา CPU ร้อนได้ใจ ขึ้นไปสูงสุดอยู่ที่ 97 องศา เป็นครั้งแรกที่ทดสอบแล้วอยากเห็นว่าแรงเกินร้อย สาเหตุที่ร้อนขนาดนี้ เพราะว่า Intel GMA 3150 นั้นถูกฝังอยู่กับตัว CPU ด้วยเลย ดังนั้น เวลาทำงานที่ต้องใช้กราฟิกจะ CPU จะต้องแบกรับภาระอยู่ตัวเดียว อีกสาเหตุก็คือ ตัวเครื่องมีช่องระบายอากาศน้อยมากๆ ด้านหลังมีแค่ช่องเล็กๆ ช่องเดียว มีแนวระบายเล็กๆ ด้านบนเล็กน้อยเท่านั้น ใครจะซื้อเครื่องนี้ไปทำงานออฟฟิตหรือที่บ้าน ต้องเปิดพื้นที่ให้อากาศไหลเวียนได้ด้วยนะครับ

027

036

ผลการทดสอบเครื่อง ASUS EeeTop PC 1610PT ก็ถือว่าไม่เลวสำหรับเครื่อง All-in-One ที่ใช้ CPU เป็น Intel Atom D410 ซึ่งความเร็วหรืออุปกรณ์ก็จะคล้ายๆ กับเครื่องเน็ตบุ๊กที่ใช้กันทั่วไป เหมาะสำหรับการงานในออฟฟิตที่ต้องการประหยัดพื้นที่ หรือว่าจะเอาไว้ใช้พรีเซ็นเตชั่นงานกับลูกค้า หรือเอาไปเขียนโปรแกรมที่เอาไว้กับหน้าจอสัมผัส เช่น ระบบช่วยเรียนรู้ของนักเรียน จะเหมาะมากๆ อุปกรณ์ที่ให้ก็พื้นฐานก็ครบครับ ทั้งเมาส์ คีย์บอร์ด ถึงจะทำมาเหมือนกับของโน๊ตบุ๊คมากเกินไปนิด โดนเฉพาะเม้าส์ที่ผมคิดว่าให้ตัวใหญ่มาเลยดีกว่า เพราะคงไม่มีใครยกเครื่องนี้ไปไหนไกลๆ หรอก แต่สิ่งที่เครื่องนี้ขาดสำหรับสำหรับ All-in-One แท้ๆ ไปก็คือ Drive DVD ครับ ที่ต้องไปเสียเงินซื้อแบบพกพามาต่อเข้าไปเอง ส่วนเรื่องที่ต้องระวังก็คืออุณหภูมิของเครื่องและสัญญาณ WiFi ครับ เพราะเครื่องที่เราทดสอบนี้ ไม่สามารถหาสัญญาณอินเตอร์เน็ตได้เลย เลยไม่มีผลการทดสอบมาให้ โดยรวมแล้ว ASUS EeeTop PC 1610PT เหมาะกับการใช้งานทั้งที่บ้านและออฟฟิตที่ไม่ต้องการการประมวลผลที่สูงมากนัก และได้ประโยชน์จากการใช้งานจอ Touch Screen

Conclusion1

เว็บไซต์ : ASUS EeeTop PC 1610PT

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

รีวิว Asus

ASUS Vivobook S 15 S5507QA ความหวังใหม่ของคนทำงานด้วยพลัง Snapdragon X Elite และฟีเจอร์ครบเครื่อง! ถ้าพูดถึง Qualcomm ทุกคนย่อมคิดถึงชิปเซ็ตในสมาร์ทโฟนก่อน จนกระทั่งยักษ์แห่งวงการสมาร์ทโฟนจับมือกับเหล่ายักษ์แห่งวงการคอม ก็ได้เป็น ASUS Vivobook S 15 S5507QA โน๊ตบุ๊ค Copilot+ PC รุ่นแรกรับยุคแห่ง...

CONTENT

หลังจากที่มีการเปิดตัวชิปประมวลผลรุ่นใหม่สำหรับโน้ตบุ๊กอย่าง AMD Ryzen AI 300 Series ไปเมื่องาน Computex 2024 ที่ผ่านมา โดยเน้นเรื่องของประสิทธิภาพ พลังกราฟิกที่สูงขึ้น และการรองรับระบบ AI ได้แบบเต็มศักยภาพกว่าที่เคย พร้อมกันนี้ก็มีการเปิดเผยตัวอย่างของโน้ตบุ๊กที่จะมาพร้อมกับชิปประมวลผลซีรีส์ใหม่นี้ออกมาด้วย

CONTENT

ตั้งแต่หลังยุค Ryzen เป็นต้นมา CPU ของ AMD ก็เริ่มกลับเข้ามาอยู่ในโน้ตบุ๊กที่ขายในไทยมากขึ้น ด้วยตัวชิปเองที่มีประสิทธิภาพดี มีการใช้พลังงานที่เหมาะสม ประกอบกับแต่ละแบรนด์ผู้ผลิตก็ทำราคามาได้น่าสนใจขึ้นด้วย ในบทความนี้เราจะมาดูกันครับว่าในช่วงกลางปี 2024 นี้มี CPU AMD สำหรับแพลตฟอร์มโมบายล์รุ่นไหนที่น่าสนใจบ้าง พร้อมกับแนะนำโน้ตบุ๊ก AMD ที่น่าซื้อ สำหรับการใช้งานแต่ละแบบ Advertisement 1) AMD Ryzen...

CONTENT

ช่วงเปิดเทอมแบบนี้ เชื่อว่ามีหลายท่านก็กำลังเล็งว่าจะซื้อโน้ตบุ๊กใหม่ ไม่ว่าจะเพื่อใช้ประกอบการเรียน หรืออาศัยรอโปรโมชัน back to school ที่มักมีโน้ตบุ๊กราคาพิเศษหรือมีของสมนาคุณคุ้ม ๆ มาให้เลือกหลากหลายรุ่น ในบทความนี้เราก็จะมาแนะนำโน้ตบุ๊ก AMD ล้วนที่ใช้ทั้ง CPU และ GPU ของค่ายแดงแบบเต็มตัว ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในหน้าค้นหาโน้ตบุ๊กของเว็บไซต์เราเองในช่วงกลางปี 2024 โดยคัดมา 5 รุ่นจาก 5 แบรนด์ไม่ซ้ำกัน...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก