สมาร์ทโฟนนั้นถือได้ว่าเหมาะสมกับการใช้งานด้วยการสัมผัสอย่างแท้จริงครับ ปฎิเสธไม่ได้เลยครับว่าหากไร้ซึ่งการควบคุมด้วยการสัมผัสแล้วนั้น สมาร์ทโฟนอาจจะยังไม่สามารถมีฟีเจอร์เด็ดๆ อย่างที่เราๆ ท่านๆ ได้ใช้งานกันในทุกวันนี้ แต่ก็นั่นแหละครับวิธีการควบคุมด้วยการสัมผัสนั้นไม่ได้เหมาะสมกับอุปกรณ์ทุกอย่างเสมือนไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับชุดหูฟังแล้วนั้นบอกได้คำเดียวว่ามันเป็นอะไรที่ลำบากเอามากๆ เลยในการบังคับครับ
ชุุดหูฟัง Beoplay ซีรีส์ 6 ที่มาพร้อมกับการบังคับด้วยการสัมผัส
หนึ่งในหูฟังที่มาพร้อมกับการควบคุมด้วยการสัมผัสที่บริเวณที่ครอบหูแล้วไม่ดีอย่างที่คิดนั้นเป็นของ B&O Play ในซีรีส์ Beopaly ทั้งแบบมีสายอย่าง H6 ไปจนถึงแบบไร้สายอย่าง H7, H8 และ H9 ครับ การสัมผัสบริเวณที่ครอบหูนั้นดูเป็นอะไรที่แปลกใหม่เอามากๆ แต้ก็เท่านั้นแหละครับ
ทุกๆ อย่างจะปรากฎให้เห็นชัดเลยเมื่อคุณได้มีโอกาสในการใช้งานจริงๆ โดยการใช้งานด้วยการสัมผัสนั้นทำให้การควบคุมต่างๆ ทำได้อย่างยากเย็น แถมบางทีแล้วคุณต้องการสั่งหูฟังให้ทำอย่างหนึ่ง ทว่าหูฟังของคุณดันเข้าใจและไปทำอีกคำสั่งหนึ่งนั้นมันเป็นเรื่องอะไรที่น่ารำคาญเป็นอย่างมากและทำให้อรรถรสในการฟังเพลงนั้นแย่อย่างรุนแรงครับ
โฆษณาการควบคุมชุดหูฟังด้วยการสัมผัสและออกท่าทางของ Sony MDR-1000X
จากคลิปโฆษณาการบังคบชุดหูฟังด้วยการสัมผัสและการออกท่าทางของ Sony MDR-1000X นั้นดูเหมือนว่าทุกอย่างจะง่ายไปทั้งหมด แต่ในการใช้งานจริงแล้วนั้นคุณจะต้องอดทนและใจเป็ยเป็นอย่างมากเพราะว่าการควบคุมของ MDR-1000X นั้นไม่ได้ง่ายอย่างที่มันควรจะเป็น คุณจำเป็นต้องใช้เวลาสักพักใหญ่ๆ ถึงจะสามารถคอบคุมมันได้อย่างใจนึกครับ(โดยเฉพาะเรื่องการสั่งการแบบ double-tapping นั้นเป็นอะไรที่ต้องฝึกฝนเรื่องจังหวะให้ตรงตามที่กำหนดไว้อย่างมากไม่งั้นคุณก็จะสั่งงานเจ้าหูฟังนี้ผิดไปได้ครับ)
ถึงแม้ว่ามันจะดีกว่าถ้าหากคุณได้ทำการเรียนรู้วิธีการใช้ชุดหูฟังที่มาพร้อมกับการควบคุมด้วยการสัมผัสหรือออกท่าทาง แต่ทว่ามีสิ่งหนึ่งที่น่าเสียดายก็คือเรื่องของวิธีการสัมผัสและการออกท่าทางเพื่อควบคุมชุดหูฟังนี้นั้นไม่มีมาตรฐานที่เป็นสากลทำให้เมื่อคุณต้องการที่จะเปลี่ยนชุดหูฟังใหม่ คุณก็ต้องไปนั่งเรียนรู้วิธีควบคุมของหูฟังชุดใหม่ด้วยครับ(คงจะดีมากหากผู้จำหน่ายหันมาตั้งมาตรฐานในการควบคุมให้เหมือนๆ กัน แต่นั่นก็คงเป็นเรื่องยากเพราะจะทำให้สุดท้ายแล้วทางบริษัทไม่สามารถสร้างความแตกต่างในเรื่องของการควบคุมได้ครับ)
เรื่องของการใช้การสัมผัสเพื่อควบคุมในชุดหูฟังนั้นบอกได้เลยครับว่ามันเป็นแนวคิดใหม่ที่ไม่น่าเอามาใช้งานได้จริงในหลายๆ ส่วนไม่เหมือนกับสมาร์ทโฟนที่เปลี่ยนมาเป็นหน้าจอสัมผัสเพราะสมาร์ทโฟนนั้นยังสามารถที่จะให้การตอบกลับที่และเกิดความน่ารื่นรมณ์เวลาใช้งาน โดยความรู้สึกดังกล่าวนี้นั้นแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากชุดหูฟังที่มาพร้อมกับการควบคุมด้วยการสัมผัสหรืออกท่างด้วยมือครับ
ที่น่าตดใจในตอนนี้นั้นก็คือได้มีผู้ผลิตอย่าง Vinci ผลิตชุดหูฟังที่มาพร้อมกับหน้าจอสัมผัสได้ตรงที่ครอบหูทั้ง 2 ข้างของชุดหูฟัง ซึ่งแน่นอนครับว่ามันเท่ห์และดูทันสมัยเป็นอย่างมาก แต่สิ่งที่คุณต้องไม่ลืมเลยนั้นก็คือเวลาใช้งานเมื่อทำการสวมชุดหูฟังนั้นเข้าไปคุณก็จะไม่ได้เห็นสิ่งที่แสดงอบู่บนหน้าจอนั้นอีกต่อไป ดังนั้นแล้วจุงมีความถามเกิดขึ้นตามมาครับว่าเราขะใส่ตัวหน้าจอเอาไว้ทำไมในเมื่อเวลาใช้งานจริงผู้ใช้อย่างเราๆ ท่านๆ ก็ไม่ได้ไปเห็นหน้าจอที่อยู่ข้างๆ ที่ครอบหูอีกด้วยซ้ำ
เอาเป็นว่าในตอนนี้นั้นชุดหูฟังที่ควบคุมด้วยการสัมผัสหรือการออกท่าทางนั้นน่าจะยังไม่เหมาะกับตลาดโลกสักเท่าไร ความทันสมัยและการเป็นสิ่งที่แตกต่างนั้นต้องแรกมาพร้อมกับอะไรหลายๆ อย่างที่ผู้ผลิตตัดออกไป เหนือสิ่งอื่นใดเลยก็คือการซื้อชุดหูฟังแบบนี้มาใช้งานนั้นคุณจำเป็นที่จะต้องใหเเวลากับมันสักพักใหญ่ๆ ถึงจะสามารถใช้งานมันได้ครับ
หมายเหตุ – ชุดหูฟังที่มีหน้าจอสัมผัสนั้นมีขนาดน้ำหนักมากกว่าชุดหูฟังทั่วไป ดังนั้นก่อนการซื้อคุณต้องถามตัวเองก่อนแล้วหล่ะครับว่าอยากได้ชุดหูฟังที่มาพร้อมกับความไม่เหมือนใคร แต่พอใช้ไปสักพักก็ต้องมาทนนั่งปวดคอแทนครับ
ที่มา : theverge