Connect with us

Hi, what are you looking for?

PC Review

[Review] RAM G.Skill Trident Z DDR4 3600 แรมความเร็วสูง โอเวอร์คล็อกได้ ซิงก์ระบายความร้อนเยี่ยม

สำหรับชื่อชั้นของ G.Skill ในตลาดแรมบ้านเรานั้น ถือว่าเป็นอีกค่ายหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น Ripjaws หรือ Trident ที่ต่างสร้างความเชือมั่นให้กับผู้ใช้ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของบัสแรมความเร็วสูง ที่มีให้เลือกใช้อยู่หลายรุ่น การออกแบบซิงก์ระบายความร้อนที่ดีเยี่ยม รวมถึงฟีเจอร์ที่รองรับการโอเวอร์คล็อก เรียกว่าแรมหลายรุ่นที่ทาง G.Skill ออกมาวางจำหน่ายนั้น เป็นตัวเลือกที่ดีของนักโอเวอร์คล็อกชั้นนำทั้งในต่างประเทศและบ้านเราอีกด้วย

G (1)

Advertisement

เช่นเดียวกับแรม G.Skill Trident Z รุ่นนี้ ที่เป็นแรม DDR4 ความเร็วสูงบนบัส 3600MHz ซึ่งถือเป็นแรมเวอร์ชั่นใหม่ล่าสุดที่ทาง G.Skill พัฒนามาเพื่อการใช้งานร่วมกับชิปเซ็ตอินเทลรุ่นใหม่และซีพียู Intel Kaby Lake ที่เป็น Gen 7 series นี้อีกด้วย ซึ่งหากมองในตารางแรมที่ออกมาใหม่นี้ จะเป็นแรมรุ่นเกือบท็อปสุดของรุ่น ด้วยความเร็ว 3600MHz จะเป็นรองก็เพียง Trident Z 4000 ที่กำลังจะออกมาให้สัมผัสกันในไม่ช้านี้ ส่วนค่า CL รุ่นนี้ ยังอยู่ที่ 16-16-16-36 ซึ่งเป็นตัวเลขที่ดีทีเดียว สำหรับแรมในระดับความเร็วเดียวกัน แต่ถ้าใครอยากได้แบบ CL ต่ำกว่านี้อีก ก็มี 3600C15D ที่ให้ค่า CL 15-15-15-35 เท่านั้น ซึ่งออกมาเพื่อ Overclocker อย่างแท้จริง แรมรุ่นนี้มาพร้อมซิงก์สีดำขอบขาวขนาดใหญ่ และมีรุ่นขอบแดงให้เลือกอีกด้วย โดยที่ชุดซิงก์หรือ Heat spreader นี้ออกแบบมาให้ช่วยในการระบายความร้อนได้ดีเยี่ยม ซึ่งโอกาสหน้าทางทีมงานอาจจะนำเอาแรมในรุ่น Trident Z RGB ซึ่งเป็นแรมที่มีไฟหลากสีมาให้ได้ชมกัน

Specification

  • Series : Trident Z
  • Memory Type : DDR4
  • Capacity : 16GB (8GBx2)
  • Multi-Channel Kit : Dual Channel Kit
  • Tested Speed : 3600MHz
  • Tested Latency : 16-16-16-36-2N
  • Tested Voltage : 1.35v
  • Registered/Unbuffered : Unbuffered
  • Error Checking : Non-ECC
  • SPD Speed : 2133MHz
  • SPD Voltage : 1.20v
  • Fan lncluded : No
  • Height : 44 mm / 1.73 inch
  • Warranty : Limited Lifetime
  • Features : Intel XMP 2.0 (Extreme Memory Profile) Ready

รูปลักษณ์และการออกแบบ

G (23)

G (24)

ตัวแพ็คเกจเรียกว่าสวยงามกับการเล่นสีสันในโทนเกมมิ่ง ด้วยสีดำ-แดง บอกรายละเอียดต่างๆ มาครบ ไม่ว่าจะเป็น ความเร็ว 3600MHz, CL 16-16-16-36 และแรมดันไฟ 1.35V แรมชุดนี้มาพร้อมความจุ 16GB (8GB x 2)

G (4)

ซิงก์ขนาดใหญ่สีดำ-ขาว ตัดโทนกันอย่างลงตัวสวยงาม พร้อมครีบระบายความร้อนขนาดใหญ่ ซึ่งดีไซน์ได้อย่างลงตัว

G (8)

ครีบระบายความร้อน ซิงก์อลูมิเนียมลายโลหะขัด พร้อมโลโก้ Trident Z ขนาดใหญ่ดูสวยงาม

G (9) G (11)

ด้านบนติดโลโก้ GSkill บนแถบสีขาวตรงกลาง พร้อมซิงก์ที่แนบสนิดกับตัวแรม

G (12)

ซิงก์ที่แนบกับเม็ดแรม ซึ่งเราอยากจะแยกออกมาดูใจจะขาดว่าเป็นเม็ดแรมรุ่นไหน แต่ต้องนำแรมไปคืนสภาพเดิมเลยอดไป

G (14)

ลาเบลที่ติดมานั้น บอกไว้อย่างชัดเจน ทั้งในเรื่องความเร็ว ความจุ CL และแรมดันไฟ พร้อมรองรับ XMP 2.0 ที่ความเร็ว 3600MHz

G (16)

เมื่อส่องดูจากด้านข้างริมๆ PCB จะเห็นอย่างชัดเจนว่าเป็นแรม 8GB 3600MHz

G (17)

ต้องบอกว่าเป็นแรมอีกรุ่นหนึ่งที่ดีไซน์ได้อย่างสวยงามและคุณภาพงานที่ละเอียดละออ เห็นแล้วอยากจับจองเป็นเจ้าของ

G (7)

G (25)

ประสิทธิภาพในการทำงาน

G-Skill-TridenZ-3600-BIOS

ในเบื้องต้นเมื่อติดตั้งแรมและบูตเข้าไบออส ระบบตรวจสอบแรมได้ในการทำงานพื้นฐานที่ความเร็ว 2133MHz เท่านั้น

G-Skill-TridenZ-3600-BIOS-1

การจะใช้แรมความเร็วของแรมเต็มรูปแบบ จำเป็นต้องเข้าไปตั้งค่า XMP ในไบออสเสียก่อน ซึ่งเมนบอร์ดรุ่นนี้ ตรวจสอได้ที่ DDR4 3603 CL 16-16-16-36

G-Skill-TridenZ-3600-BIOS-2

G-Skill-TridenZ-3600-BIOS-4

หรือถ้าไม่ได้ ก็อาจจะต้องเข้าไปเลือกใน DRAM Frequency ตามบัสของแรมที่แท้จริง แต่ในโหมดนี้คงต้องเข้าไปปรับแรมดันไฟ ตามที่แรมระบุมาด้วย

G-Skill-TridenZ-3600-BIOS-3

ค่า CL ยังคงเป็นไปตามความเร็วแรมของ TridentZ รุ่นนี้ คืออยู่ที่ 16-16-16-36

G (2)

CPUz

CPUz-1 CPUz-2

การตรวจสอบที่ได้บน CPUz บอกรายละเอียดของ XMP และความเร็ว 3600MHz รวมถึงค่า CL ได้อย่างถูกต้อง

Memory-Info-AIDA64

เช่นเดียวกับการตรวจสอบบน AIDA 64 ที่บอกถึงความเร็วและรายละเอียดต่างๆ ของแรมได้ตรงจุด

Benchmark-AIDA64-compare

ผลทดสอบบน AIDA64 เปรียบเทียบแรมความเร็วพื้นฐานและความเร็ว 3600MHz CL 16-16-16-36 บน G.Skill Trident Z จะเห็นได้ว่าประสิทธิภาพที่ได้นั้น ดีกว่าแรมความเร็วพื้นฐานอยู่ค่อนข้างมากทีเดียว

Conclusion

G (26)

ในแง่ของประสิทธิภาพ G.Skill Trident Z DDR4 3600 รุ่นนี้ ตอบโจทย์การใช้งานในแง่ต่างๆ ได้สบายๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานหรือการเล่นเกมก็ตาม โดยเฉพาะการใช้งานในแบนด์วิทธ์สูงๆ แรมตัวนี้สามารถขับเคลื่อนระบบไปได้อย่างที่คุณต้องการ เพราะถ้ามองในแง่ของบัสที่เหนือกว่ามาตรฐานทั่วไปเกือบเท่าตัว จึงเป็นการยกระดับความเร็วให้กับระบบได้ดียิ่งขึ้น ที่สำคัญยังรองรับการปรับแต่งได้ดีพอตัว ซึ่งหากคุณมีเมนบอร์ดที่รองรับการปรับแต่งที่ละเอียด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องบัสหรือ CL และแรงดันไฟ ก็น่าจะขยับความเร็วไปได้อีกไม่น้อย ในกรณีที่คุณอาจจะปรับ CL ให้มากกว่าเดิมเล็กน้อย รวมถึงจัดแรงดันไฟขึ้นไปอีกนิด ก็เพียงพอแล้วสำหรับแรมรุ่นนี้ แต่ก็ต้องดูที่เมนบอร์ดด้วยว่าไปไหวหรือไม่ เพราะบางรุ่นอาจจะรับได้ประมาณ 3866+ เท่านั้น การจะวิ่งไปเกินที่ 4000+ MHz ก็ต้องอาศัยการปรับแต่งที่ลงตัวและเมนบอร์ดที่รองรับการปรับแต่งที่ดีด้วยเช่นกัน ส่วนเรื่องความร้อนยังถือว่าไม่มากนักสำหรับแรมจาก G.Skill รุ่นนี้ ซึ่งต้องยกความดีให้กับการออกแบบซิงก์ที่มีคุณภาพ และระบายความร้อนได้อย่างรวดเร็ว ในภาพรวมจัดว่าเป็นแรมความเร็วสูงที่น่าจับตามองในเวลานี้ ซึ่งหากคุณกำลังซีเรียสในการวางแผนเพิ่มประสิทธิภาพของระบบโดยรวมให้ดีขึ้น แรมรุ่นนี้ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ไม่ควรพลาด

จุดเด่น

  • ออกแบบซิงก์ระบายความร้อนได้ดี
  • ให้ความเร็วได้สูงถึง 3600MHz
  • รองรับการปรับแต่งบัสและ CL

ข้อสังเกต

  • กรณีที่ใช้บัส 3600MHz ต้องใช้ XMP mode
  • ใช้แรงดันไฟ 1.35V

ราคาประมาณ : 6,500 บาท

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

CONTENT

เรื่องของหน่วยความจำหลัก นอกจากแรมที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งทำงานร่วมกับอุปกรณ์อื่น เช่น CPU, SSD/HDD และการ์ดจอแล้ว ในฮาร์ดแวร์อื่นก็ย่อมมีหน่วยความจำแรมของตัวเองเช่นกัน อย่างฝั่งของการ์ดจอที่จำเป็นต้องมีไว้ใช้ทำงานร่วมกับ GPU โดยจะใช้แรมเป็นแบบ GDDR ที่ต่างจากแรม DDR ทั่วไปเล็กน้อย ซึ่งล่าสุดก็มีข่าวของแรมการ์ดจอมาตรฐานใหม่ออกมาอีกแล้ว นั่นคือแรม GDDR7 ที่เป็นไปได้ว่าอาจจะเริ่มลงมาอยู่ในการ์ดจออย่างเร็วสุดภายในปี 2024 นี้เลย เรามาเจาะรายละเอียดเท่าที่มีออกมาในขณะนี้กันครับ เพื่อดูว่าแรมแบบใหม่นี้จะดีกว่าเดิมอย่างไร ขนาดไหน...

CONTENT

Windows รุ่นต่อไป อาจต้องเริ่มต้นแรม 16GB เป็นมาตรฐาน จำเป็นมั้ย คอมเก่าไหวรึเปล่า? ระบบปฏิบัติการ (OS) มีการพัฒนาความสามารถอยู่ต่อเนื่อง ในการจะไปสู่ Windows ใหม่แต่ละรุ่นก็มักจะต้องการความสามารถของฮาร์ดแวร์ที่สูงขึ้นด้วย เพื่อให้รองรับรูปแบบการทำงานใหม่ๆ ได้ดี เช่น แรม (RAM) ซึ่งจุดที่มักเห็นชัดและสังเกตง่ายสุดก็คือแรม ที่จะอยู่ในหนึ่งข้อจำกัดด้านความต้องการของแต่ละซอฟต์แวร์และ OS อยู่เสมอ ล่าสุดก็มีข่าวลือออกมาว่า Microsoft...

CONTENT

FlexRAM ยุคใหม่วงการแรม ยืดหยุ่น เร็ว ใส่ได้ทุกอุปกรณ์ เก็บข้อมูลได้นานกว่า หนึ่งในฮาร์ดแวร์ที่เป็นส่วนสำคัญมากของระบบคอมพิวเตอร์ก็คือ แรมหรือหน่วยความจำ ที่ระบบจะใช้เก็บข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลมาแล้ว หรือใช้พักข้อมูลก่อนที่จะส่งไปใช้งานในส่วนต่างๆ ล่าสุดมีข่าวเกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรมสำหรับแรมออกมาแล้ว นั่นก็คือ FlexRAM ที่ในบทความนี้เราจะมาลองทำความรู้จักกัน เพราะนี่อาจเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ออกสู่วงกว้างได้ในอนาคต และอาจจะมาแก้จุดด้อยของแรมที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันได้หลายด้านอีกด้วย แรมของระบบคอมพิวเตอร์ รวมถึงในอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ต้องมีแรมในปัจจุบัน ปกติแล้วจะอยู่ในรูปแบบชิปที่ติดตั้งอยู่บนแผงวงจรอีกที ทำให้เรื่องขนาดของชิปแรมและฮาร์ดแวร์เอง ก็เป็นส่วนหนึ่งในข้อจำกัดการออกแบบผลิตภัณฑ์ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะกับพวกอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็ก...

IT NEWS

ข่าวดีสำหรับชาว PC ตอนนี้ MSI ประกาศปล่อยอัปเดตเฟิร์มแวร์ใหม่ เพิ่มการรองรับ RAM สูงสุดถึง 256GB บนเมนบอร์ดทั้งฝั่ง Intel และ AMD ก่อนหน้านี้ เมนบอร์ดสำหรับผู้ใช้งานทั่วไปมีขีดจำกัดความจุ RAM สูงสุดอยู่ที่ 192GB แต่การอัปเดตครั้งนี้ของ MSI ช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดตั้ง Ram DDR5 ขนาด...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก