OCZ หนึ่งในผู้ผลิต SSD คุณภาพสูงในระดับแนวหน้าของโลกแต่ภายหลังถูก บริษัทถูกซื้อกิจการโดย Toshiba ทำให้ OCZ เป็นลูกค้าระดับ First-Class สู่เทคโนโลยีต่าง ๆ ของ Toshiba ไม่ว่าจะเป็น Flash Chips, NAND และเทคโนโลยีอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งทำให้ OCZ ถูกผนวกเข้ากับ Toshiba อย่างเต็มรูปแบบ
OCZ VX500 แตกต่างจาก SSD รุ่นอื่นๆอย่างมากเนื่องจากไม่ได้ใช้ TLC แต่มาพร้อมกับ LC แทน ซึ่งทำให้ที่ประสิทธิภาพที่น่าเชื่อถือมากขึ่น และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานยิ่งขึ้น ในส่วนของ Controller ได้ใช้งานToshiba TC358790 แทน Indilinx ซึ่งจะมาแทนที่รุ่น OCZ Vector 180 แต่ก็ควรจะมาในราคาที่ถูกกว่า โดยตอนนี้ VX500 มีราคาอยู่ที่ 128 GB (2,290 บาท), 256 GB (3,250 บาท), 512 GB (5,390 บาท) และ 1 TB (11,900 บาท)
หน้าตากล่องโทนสีฟ้า โดยส่วนที่เปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดคือโลโก้ TOSHIBA ที่โดดเด่นกว่า OCZ ที่ดูเหมือนชื่อรุ่นเล็ก ๆ อยู่บริเวณมุมกล่อง
SSD ขนาด 2.5 นิ้ว มีความหนาเพียง 7 มิลลิเมตร บอดี้ทำจากโลหะเพื่อความทนทาน OCZ VX500 ใช้อินเตอร์เฟซ SATA 6 Gbps สามารถใช้งานได้กับพอร์ต SATA ทุกเวอร์ชัน แต่ถ้าเป็นเวอร์ชันที่เก่ากว่าการทำงานก็จะมีประสิทธิภาพลดลง
เมื่อถอดบอดี้ด้านนอกออกจะพบกับ PCB สีฟ้าเขียว จะมี Controller อยู่ตรงกลาง ล้อมรอบด้วบ Flash Chips จำนวน 8 ตัว
ภายใน SSD OCZ ได้ใช้ชิป controller ของ Toshiba รุ่น TC358790 และ Flash Chips MLC ที่ผลิตโดย Toshiba ด้วยเทคโนโลยีการผลิตขนาด 15 นาโนเมตร
TEST
ระบบที่ใช้ในการเทสไม่จำเป็นต้องใช้สเปคที่ใหม่มากนัก ด้วย CPU i7 4770K 3.5GHz เมนบอร์ด Asrock Z97M OC Formula แรม 8GB DDR3 โดยประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับตัว SSD เป็นหลัก
Windows 10 Startup Time
ในการทดสอบนี้วัดเวลาที่ใช้ในการบูต Windows 10 จับเวลาจากตอนที่ kernel เริ่มทำงานไปจนถึง โปรแกรม start-up ต่าง ๆ สิ้นสุด
WinRAR Compression
ทดสอบการแตกไฟล์ขนาดใหญ่ด้วย WinRAR
MP3 Indexing
ทดสอบด้วยโปรแกรม Winamp นำเพลง 1000 เพลงลง media library
ISO File Copy
ไฟล์ Windows 10 64 bit.iso ขนาด 4.3 GB ถูกคัดลอกไปยังโฟลเดอร์ที่แตกต่างกันในไดรฟ์เดียวกัน เพื่อทดสอบประสิทธิภาพในการ Copy ขนาดใหญ่
Office 2013 Installation
ทดสอบการติดตั้ง Microsoft Office 2013 Professional โดยไม่ได้ปรับแต่งการติดตั้ง
Avast Antivirus
ทดสอบการใช้ Avast Antivirus 2015 แสกนโฟลเดอร์ C: \ Windows \ System32 โดยเปิดใช้งาน “สแกนไฟล์เต็ม” และ “สแกนไฟล์ทั้งหมด”
Photoshop CS6 Startup
วัดระยะเวลาที่ใช้ Photoshop CS6 เริ่มต้นโปรแกรมโหลดภาพ 50 ล้านพิกเซล ปิดภาพและออกจากโปรแกรม
Photoshop CS6 Performance
ในการทดสอบนี้วัดระยะเวลาในการใช้ Photoshop CS6 เปิดภาพ 15 ล้านพิกเซล 50 ภาพในเวลาเดียวกัน และเมื่อเปิดภาพทั้งหมดเสร็จแล้วจะทำการ crop, move, auto levels, resize to 1024×768 และทำการ save for web เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการ โดนจะทำแบบอัตโนมัตทั้งหมด
ประสิทธิภาพในการโหลดเข้าเกมด้วย VX500 ด้วยเกมที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ รายละเอียดเยอะ ทำให้ใช้เวลาโหลดนาน ซึ่งถ้าเป็นฮาร์ดดิสแบบจานหมุนด้วยแล้ว ประสิทธิภาพในการโหลดจะช้าขึ้นสองถึงสามเท่าตัว
Crysis 3 Level Loading
Battlefield 4 Level Loading
Grand Theft Auto V Level Loading
Assassin’s Creed Syndicate Level Loading
Performance Summary
ประสิทธิภาพโดยรวมของ VX500 ทำได้ข้อนข้างน่าพอใจถึงแม้ในหลาย ๆ การเทสจะดูไม่ต่างกับรุ่นอื่น ๆ ในระดับเดียวกันมากนัก ซึ่งก็ต่างกันในระดับเสี้ยววินาที ถึงม้คนเราจะแยกความแตกต่างนี้ไม่ออก แต่สำหรับประสิทธิภาพในการทดสอบแถ้วถือว่าแตกต่างเป็นอย่างมาก
Performance per Dollar
ถ้ามองในเรื่องความคุ้มค่าต่อราคา VX500 ถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดีรุ่นหนึ่ง มีประสิทธิภาพที่คุ้มค่ามากกว่า SSD ในท้องตลาดอีกหลายยี่ห้อ
Price per GB
ด้วยเทคโนโลยีการผลิต Flash Chips MLC ที่ผลิตโดย Toshiba ทำให้ SSD ของ OCZ มีราคาถูกลงมาก เมื่อเทียบราคากับความจุที่ได้ เพียงราคา 30USD / GB
ถือว่าเห็นการพัฒนาดีขึ้นของ OCZ หลังจากที่ถูก Toshiba ซื้อกิจการไป ทำให้มีการผสานเทคโนโลยีของทั้งสองบริษัท ซึ่งทำให้ SSD OCZ มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และมีราคาที่ถูกลง ในยุคฮาร์ดดิสก์จานหมุน Toshiba ได้ชื่อว่าเป็นฮาร์ดดิสก์ที่มีความทนทานสูงยี่ห้อหนึ่ง ซึ่งเมื่อลงตลาด SSD ก็สามารถผลิตออกมาได้อย่างดีเยี่ยม ทำให้ SSD ของ OCZ & Toshiba น่าสนใจและน่าซื้อมาใช้งาน โดยตอนนี้ในประเทศไทยยังไม่มีการวางจำหน่าย แต่ในอณาคตเร็วนี้ ๆ จะถูกนำมาจำหน่ายอย่างแน่นอน
ที่มา : techpowerup