ถือว่าเป็นอีกหนึ่งข่าวดีของวงการการแพทย์ที่เทคโนโลยีการสร้างภาพเสมือนจริงพร้อมโครงกระดูกแบบภายนอกสามารถช่วยให้ผู้ป่วยกลุ่ม paraplegics หรือกลุ่มโรคอาการเส้นประสาทมีเดียนถูกกดทับบริเวณอุโมงค์ข้อมือของผู้ป่วยอัมพาตครึ่งล่างซึ่งทำให้ไม่สามารถเดินได้กลับมาเดินได้ตามปกติอีกครั้งด้วยการใช้เทคโนโลยีการสร้างภาพเสมือนจริง(VR) ร่วมกับโครงกระดูกแบบภายนอกครับ
อย่างไรก็ตามแต่เรื่องดังกล่าวนี้ยังเป็นงานวิจัยที่ยังคงมีการศึกษาอยู่นะครับ โดยเมื่อไม่นานมานี้นั้นทางวารสาร Scientific ได้มีการรายงานออกมาว่านักวิจัยนั้นสามารถที่จะใช้เทคโนโลยีการสร้างภาพเสมือนจริง(VR) ร่วมกับโครงกระดูกแบบภายนอก ช่วยในการทำการบำบัดผู้ป่วยกลุ่มอาการ paraplegics ที่ไม่สามารถขยับแขนขาได้ตามปกติสามารถทำการกายภาพจนสามารถกลับมาเดินได้อีกครั้ง ตามข้อมูลได้ระบุเอาไว้ว่าการใช้งานอุปกรณ์ดังกล่าวนั้นสามารถช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาเดินได้อีกครั้งถึง 8 รายเลยทีเดียวครับ
ตามรายงานนั้นเผยเพิ่มเติมว่า 1 ในผู้ป่วยที่ได้เข้ารับการทดสอบตามงานวิจัยดังกล่าวนั้นถูกวินิจฉัยไปแล้วด้วยซ้ำว่าเขาเป็นอัมพาตอย่างสมบูรณ์เนื่องจากการบาดเจ็บที่เส้นประสาทไขสันหลัง และที่ผ่านมานั้นขนไข้ทั้ง 8 รายไม่มีรายใดเลยที่มีการตอบสนองต่อการกายภาพมาก่อนหน้านี้ครับ การวิจัยนี้มีระยะเวลาในการดำเนินการอยู่ที่ 12 เดือนโดยคนไข้จะได้รับการฝึกฝนตั้งแต่เรื่องของวิธีการใช้งานระบบสำหรับการสร้างภาพเสมือนจริง, การตอบสนองแบบเสมือนจริงที่สามารถสัมผัสได้และการฝึกการเดินด้วยขาส่วนล่างผ่านการช่วยเหลือของโครงกระดูกแบบภายนอกครับ
จากการฝึกฝนนั้นพบว่าผู้ป่วยจะมีอาการที่ดีขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดก็สามารถที่จะกลับมาเดินได้เองครับ งานนี้นั้นจะเห็นได้ครับว่าเป็นการผสมผสานการรักษาคนไข้เข้ากับเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ได้อย่างลงตัว ในงานวิจัยนี้นั้นใช้งานอุปกรณ์สร้างภาพเสมือนจริงที่โด่งดังอย่าง Oculus Rift โดยในโลกเสมือนจริงนั้นคนไข้จะเห็นการเดินของตัวเองผ่านขาของนักฟุตบอลครับ ดูเหมือนว่าอุปกรณ์สำหรับการสร้างภาพเสมือนจริงนั้นจะไม่ได้มีประโยชน์แค่เอาไว้ใช้สำหรับเล่นเกมเพียงอย่างเดียวอีกต่อไปแล้วหล่ะครับ
ที่มา : theverge