Connect with us

Hi, what are you looking for?

Other News

[IT] รวมข่าวการล้มของบริษัทใหญ่อย่าง Sharp ที่ต้องอาศัยการช่วยเหลือจาก Foxconn เพื่อความอยู่รอด

เชื่อว่าหลายๆ ท่านคงจะได้ยินข่าวเรื่องที่บริษัทชื่อดังที่อยู่มาหลายยุคหลายสมัยของญี่ปุ่นอย่าง Sharp นั้นมีผลการประกอบการที่กระท่อนกระแท่นมาหลายปีต่อกันในช่วงหลังๆ นี้ โดยในช่วงที่ผ่านมานั้นนายกรัฐมนตรี

 

เชื่อว่าหลายๆ ท่านคงจะได้ยินข่าวเรื่องที่บริษัทชื่อดังที่อยู่มาหลายยุคหลายสมัยของญี่ปุ่นอย่าง Sharp นั้นมีผลการประกอบการที่กระท่อนกระแท่นมาหลายปีต่อกันในช่วงหลังๆ นี้ โดยในช่วงที่ผ่านมานั้นนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นอย่างคุณ Shinzō Abe ได้มีความพยายามเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยอุ้มบริษัท Sharp ให้รอดพ้นจากการเข้าซื้อของบริษัทต่างชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทใหญ่ๆ จากประเทศจีน(หรือในที่นี้คือไต้หวันซึ่งแล้วแต่ว่าคนมองนั้นจะเป็นคนชาติใดครับเนื่องจากทางจีนและบางประเทศเองก็ไม่ยอมรับว่าไต้หวันเป็นประเทศรัฐเอกราชซึ่งตรงนี้หากจะพูดถึงแล้วคงต้องลากยาวเรื่องประวัติศาสตร์กันเลยหล่ะครับ) มาโดยตลอดครับ

Advertisement

Sharp company 600 01

ทาง Abe นั้นพยายามที่จะยื่นข้อเสนอให้กับทาง Sharp ผ่านทางกองทุนนวัตกรรมที่สนับสนุนโดยรัฐบาลญี่ปุ่นอย่าง Innovation Network Corp. (INCJ หรือบริษัทเดียวกันกับ Japan Inc.) ซึ่งแน่นอนหล่ะครับว่าด้วยข้อเสนอดังกล่าวนี้นั้นทาง Sharp ก็จะยังคงอยู่ภายใต้ความดูแลของญี่ปุ่นต่อไปถือเป็นสมบัติชาติต่อไปโดยที่ไม่ต้องให้บริษัทต่างชาติเข้ามาครอบครอง อย่างไรก็ตามแต่ผู้ที่จ้องมอง Sharp อยู่นั้นมีมากมายครับหนึ่งในนั้นที่มาแรงสุดๆ ก็คือบริษัทจากทางจีน(หรือไต้หวัน) อย่าง Hon Hai(หรือที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า Foxconn) ครับ

แน่นอนครับว่าเมื่อมีหลายบริษัทสนใจที่จะเข้าซื้อ Sharp แบบนี้ย่อมมีการแข่งขันกันทางด้านราคาของการเข้าซื้อเกิดขึ้น จนกระทั่งตามข่าวลือและข้อมูลที่มีออกมาก่อนหน้านี้นั้นมายุติที่ 2 บริษัทคือในส่วนของ Hon Hai และ Japan Inc.(ซึ่งผ่านทางรัฐบาลญี่ปุ่นอีกที) โดยตามข่าวลือและข้อมูลนั้นระบุว่า Hon Hai ให้ข้อเสนอเรื่องของตัวเงินเข้าซื้อที่สูงกว่าคือมีมูลค่าอยู่ที่ $5.3 Billion หรือประมาณ 1.908 แสนล้านบาท ซึ่งราคานี้ถือว่าสูงมากครับแต่ก็แรกมากับบริษัท Sharp ทั้งบริษัทที่ต้องไม่ลืมนะครับว่า Sharp นั้นมีธุรกิจในหลายส่วนมากไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน, หน้าจอหรือกระทั่งเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นต้นครับ

หมายเหตุ – ตามข่าวลือที่มีมาก่อนหน้านี้จริงๆ เลยนั้น Sharp ตั้งใจจะขายส่วนธุรกิจแค่เฉพาะธุรกิจหน้าจอ LCD เพียงอย่างเดียวครับ ส่วนหนึ่งของข่าวลือนั้นก็อ้างเอาไว้ว่า Sharp นั้นอาจจะข่ายธุรกิจส่วนหน้าจอ LCD ทิ้งไปเพื่อที่จะหันไปพัฒนาเทคโนโลยีหน้าจอแบบอื่นออกมาเป็นธุรกิจตัวใหม่ของบริษัทแทน อีกบางแหล่งข้อมูลก็บอกเอาไว้ว่าในช่วงหลังนั้นธุรกิจส่วนหน้าจอ LCD ของ Sharp นั้นทำเงินได้ไม่ดีเท่าไรดังนั้น Sharp เลยจำเป็นที่จะต้องขายธุรกิจในส่วนนี้ทิ้งไปเพื่อเป็นการปรับโครงสร้างบริษัทคล้ายๆ กับ Sony ที่ขายส่วนธุรกิจคอมพิวเตอร์ PC ไปนั่นแหละครับ

Sharp company 600 02

จริงๆ แล้วหากจะว่าไปนั้นเรื่องของการขาดทุนในส่วนของธุรกิจหน้าจอ LCD ของ Sharp นั้นถือว่าเป็นเรื่องที่แปลกและน่าตกใจพอสมควรครับ เหตุผลส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะว่าทาง Sharp นั้นเป็นผู้ผลิตหน้าจอ LCD ให้กับทาง Apple มาอย่างเนิ่นนานซึ่งก่อนหน้าที่จะมีข่าวเรื่องบริษัทเริ่มขาดทุนนั้นส่วนธุรกิจ LCD ของ Sharp เองสามารถทำกำไรได้มากถึง 29.2 billion YEN หรือประมาณ 9.2 พันล้านบาท(คิดตามค่าเงินในปัจจุบัน แต่ข้อมูลเรื่องกำไรของ Sharp นี้เป็นข้อมูลเก่าก่อนที่จะขาดทุนตั้งแต่ในปี 2014 แล้วซึ่ง ณ เวลานั้นคิดเป็นเงินไทยได้ที่ประมาณ 8.6 พันล้านบาทครับ)

การขาดทุนของธุรกิจหน้าจอ LCD ของ Sharp นั้นเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่ในช่วงปี 2015 ที่ผ่านมาโดยในช่วงเดือนกันยายนปี 2015 ที่ผ่านมานั้นทาง Sharp ได้รายงานออกมาครับว่าในส่วนของธุรกิจหน้าจอ LCD นั้นขาดทุนไปถึง 25.2 billion YEN หรือประมาณ 7.92 พันล้านบาท(หรือคิดตามค่าเงิน ณ เวลานั้นอยู่ที่ประมาณ 7.63 พันล้านบาท) ซึ่งตรงจุดนี้นั้นได้มีการวิเคราะห์กันถึงเหตุผลว่าที่ Sharp ขาดทุนเยอะขนาดนี้ก็เนื่องจากสมาร์ทโฟนในประเทศจีนเริ่มจะมียอดจำหน่ายอืดๆ แถมทาง Apple เองก็มีข่าวว่าได้มีการสั่งการลดกำลังการผลิต iPhone ลงในช่วงเวลานั้นด้วยครับ

หมายเหตุ – ตามข้อมูลนั้นระบุว่า Sharp เป็นผู้ผลิตหน้าจอ LCD ป้อนให้กับ Apple คิดเป็น 20% ของการผลิตอุปกรณ์ของ Apple ทั้งหมดที่ใช้หน้าจอแบบ LCD ครับ

Kozo Takahashi ผู้ดำรงตำแหน่ง CEO ของทาง Sharp ได้ออกมาเป็นคนระบุถึงเรื่องดังกล่าวว่าเป็นความจริงด้วยตนเอง ซึ่งในการระบุนั้นได้ระบุลึกลงไปถึงในส่วนที่มีข่าวออกมาด้วยครับว่าทางบริษัทได้ทำการพิจารณาเรื่องของการขายบริษัท(เพื่อเป็นการปรับโครงสร้างหนี้) ซึ่งผู้ที่เข้าวินมานั้นก็มี 2 บริษัทอย่างที่ได้บอกไปในตอนต้นแล้วว่าเป็น Hon Hai กับ Japan Inc.

การออกมายอมรับในครั้งนี้ของ Takahashi นั้นก็เกิดขึ้นตั้งแต่ในช่วงเดือนกันยายนของปีที่ผ่านมาแล้ว ซึ่ง ณ เวลานั้น Atsushi Osanai รองศาสตราจารย์ประจำ Waseda Business School ผู้ซึ่งเคยเป็นอดีตพนักงานของ Sony ก็ได้ออกมากล่าวเตือน Sharp ไว้ด้วยอีกครับว่าควรที่จะจัดการกับเรื่องดังกล่าว(การขายกิจการ) ให้เสร็จสิ้นภายในปี 2015 ที่ผ่านมาเพราะไม่งั้นแล้วตัวเลขขาดทุนอาจจะแย่มากกว่านี้ครับ

Sharp company 600 03

จากข่าวก่อนล่าสุดนั้นได้มีการระบุออกมาครับว่าทาง Japan Inc. หลังจากที่ได้ยินข่าวลือเรื่องตัวเลขที่ทาง Hon Hai เสนอในการเข้าซื้อ Sharp แล้วทาง Japan Inc. เองก็ได้มีการของบประมาณในการเข้าซื้อ Sharp จากทางธนาคารญี่ปุ่นเพิ่มเติม เพราะตัวเลขที่ทาง Hon Hai เสนอกับทาง Sharp ไปนั้น(ว่ากันว่า) สูงกว่าทาง Japan Inc. กว่าเท่าตัวโดยข่าวดังกล่าวนี้มีออกมาในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาและยังได้มีการระบุไว้อีกด้วยครับว่า CEO ของ Sharp นั้นยังให้โอกาส Japan Inc. อยู่ด้วยโดยคาดว่าน่าจะรอตัวเลขอย่างเป็นทางการที่ทาง Japan Inc. จะสามารถนำเสนอได้และตัดสินใจอีกครั้งโดยได้มีการระบุเวลาว่าจะขอตัดสินใจกันภายในบริษัทโดยใช้เวลาประมาณ 1 เดือนครับ

ทว่าหลังจากนั้นไม่นานเท่าไรนัก ในช่วงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาสื่อของประเทศญี่ปุ่นอย่าง Nikkei ก็ได้มีการระบุออกมาอย่างเป็นทางการครับว่าทาง Sharp ได้ตัดสินใจตกลงขายบริษัทให้กับทาง Hon Hai อย่างเป็นทางการตามจำนวนเงินที่มากกว่าข่าวลือก่อนหน้านี้คืออยู่ที่ $6.2 Billion หรือประมาณ 2.208 แสนล้านบาทครับ

แต่ครับแต่เหตุการณ์ที่ดูเหมือนว่าจะเป็นการจบเรื่องอย่างดีของทาง Sharp นั้นกลับไม่เป็นไปตามที่ Sharp ตั้งใจเอาไว้ครับ เนื่องจากว่าในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมานั้นทาง Wall Street Journal ได้รายงานข่าวออกมาครับว่าทาง Hon Hai ได้ทำการชะลอเรื่องการเข้าซื้อขาย Sharp ในครั้งนี้เอาไว้ก่อนด้วยเหตุผลที่ว่าทาง Hon Hai ได้ไปตรวจเจอข้อมูลใหม่เข้าในเรื่องของสถานะทางการเงินของ Sharp ที่อาจจะกลายเป็นหนี้สินขึ้นมาได้โดยเจ้าหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตนี้นั้น(ตอนนี้ยังไม่เป็นหนี้สินแต่อย่างใดครับ) ก็มีมูลค่าสูงถึง $3.1 billion หรือประมาณ 1.104 แสนล้านบาท ซึ่งหนี้สินทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นได้นี้เป็นรายการภาระผูกพัน(หรือจะพูดง่ายๆ ก็ความเสี่ยงที่จะเกิดหนี้สินในอนาคตหล่ะครับ) กว่า 100 รายการครับ

ด้วยจำนวนหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้นคิดเป็นครึ่งหนึ่งของมูลค่าการซื้อขายแบบนี้ก็ไม่น่าแปลกใจเท่าไรนักหล่ะครับที่ทาง Hon Hai จะชะลอการเข้าซื้อ Sharp เอาไว้ก่อน เพราะถ้าเราพูดกันตามตรงจริงๆ แล้วนั้นทาง Hon Hai เองในช่วงไตรมาสที่ผ่านมานั้นกำไรก็ลดลงเช่นเดียวกัน ดังจะเห็นได้จากข่าวเก่าก่อนหน้านี้ที่มีการประกาศออกมาว่าทาง Hon Hai หรือ Foxconn โดนพิษที่ Apple สั่งลดกำลังการผลิตจนต้องไปขอเงินช่วยเหลือบริษัทจากทางเมืองเซินเจิ้นเพื่อไม่ให้เกิดการเลิกจ้างแรงงานเช่นกัน

Foxconn work 600

สัญญาณดังกล่าวของ Sharp นั้นแสดงให้เห็นถึงสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของทางญี่ปุ่นครับ โดยจะเห็นได้จากว่าถึงแม้ทางบริษัทภายในประเทศอย่าง Japan Inc. ภายใต้การร่วมมือของรัฐบาลและธนาคารของญี่ปุ่นเอง(ซึ่งตามข่าวนั้นระบุไว้ 2 ธนาคารได้แก่ Mizuho Bank และ Mitsubishi UFJ Bank) ที่เป็นธนาคารหลักที่ให้เงินทุนในการทำงานแก่ทาง Sharp นั้นก็ยอมแพ้กับเรื่องของการขาดทุนที่นับวันจะยิ่งหนักขึ้นเรื่อยๆ ของ Sharp เองไม่ไหว จนทาง Sharp ต้องตัดสินใจยอมรับความช่วยเหลือจากทาง Hon Hai ซึ่งเป็นบริษัทต่างชาติ(ซึ่งจะว่าไปแล้วเป็นเรื่องที่ปกติบริษัทญี่ปุ่นจะไม่อยากทำเท่าไรนักด้วยความรักชาติขนาดหนัก ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเลยก็อย่าง Sony ที่ขายส่วนกิจการคอมพิวเตอร์ PC ให้กับบริษัทภายในญี่ปุ่นกันเองครับ)

ในตอนแรกนั้นทางธนาคารหลักที่ให้ทุนแก่ Sharp ตั้งใจที่จะยอมรับข้อตกลงของทาง INCJ หรือ Japan Inc. ซึ่งเป็นองค์กรและบริษัทภายในญี่ปุ่นเองครับ ตามข้อมูลระบุเอาไว่ว่าในตอนแรกที่หากทาง Sharp ตัดสินใจขายกิจการให้กับทาง Japan Inc. นั้นทาง Japan Inc.(หรือ INCJ) จะพยายามพยุงการแยกบริษัทในส่วนธุรกิจหน้าจอ LCD ของทาง Sharp ไว้ไปจนถึงปี 2018 ซึ่งนั่นหมายความว่าทาง Sharp ไม่จำเป็นที่จะต้องการปรับโครงสร้างมากนักและมีเวลาในการที่จะหาลูกค้าและทำกำไรเพิ่มเติมเพื่อจัดการหนี้สิน

โดยหากหลังปี 2018 ทาง Sharp ยังไม่สามารถจัดการหนี้สินได้ทาง Japan Inc. นั้นก็จะแยกเอาส่วนธุรกิจหน้าจอ LCD ของ Sharp นี้ไปเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทตัวเองด้วยการดูแลและกำกับผ่านทาง INCJ ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐบาลญี่ปุ่นเองอีกที แน่นอนว่าถ้าในตอนแรกการตกลงออกมาเป็น Sharp เลือก Japan Inc. นั้นก็ดูเหมือนญี่ปุ่นจะสามารถรักษาบริษัท Sharp ที่มีมาอย่างยาวนานได้ แต่อย่างว่าครับด้วยจำนวนเงินที่ Hon Hai เสนอไปนั้นมากกว่าถึง 2 เท่าตัวเลยทีเดียวทำให้การตัดสินใจของ Sharp เลยกลายเป็น Hon Hai ไป

foxconn-workers

ถามว่าถ้าทาง Hon Hai ได้ Sharp ไปแล้วนั้นจะเกิดประโยชน์อะไรบ้าง บอกได้เลยครับว่าเกิดประโยชน์เยอะมากแน่นอน อย่างแรกที่เกิดขึ้นเลยก็คือ Hon Hai จะได้ชื่อแบรนด์ดังที่ยังสามารถจะใช้ในการค้าได้อยู่แถมยังได้ส่วนการผลิตผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของ Sharp ไปอยู่ในมือ นี่ไม่รวมถึงการที่ Hon Hai จะก้าวมาเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์อื่นๆ อย่างเช่นหน้าจอ LCD ป้อนให้กับบริษัทอื่นๆ ในตลาดอีกนอกจากที่เมื่อก่อนรับเป็นแค่ผู้ประกอบผลิตภัณฑ์ให้บริษัทอื่นเท่านั้น งานนี้เรียกได้ว่าได้หลายต่อทีเดียวครับ

หลังจากที่ทาง Hon Hai ออกมาชะลอการเข้าซื้อแบบนี้แล้วคงต้องรอดูต่อไปหล่ะครับว่า Sharp จะทำอย่างไรต่อไปกับอนาคตของบริษัทตัวเอง เพราะนี่ก็ใกล้จะจบไตรมาสที่ 1 ของปี 2016 ที่ทาง Sharp ต้องสรุปตัวเลขการดำเนินการแล้ว หากผลตัวเลขเป็นลบนั้นก็มีสิทธิ์สูงมากเลยทีเดียวที่มูลค่าการซื้อขายของบริษัทจะตกลงไปจากเดิม หรือไม่แน่ด้วยความที่ทาง Hon Hai ชะลอการเข้าซื้อไปนั้นทาง Japan Inc. และรัฐบาลญี่ปุ่นอาจจะยอมเพิ่มเงินทุนในการเข้าซื้อ Sharp เพิ่มขึ้นไปอีกเพื่อรักษาให้ Sharp ยังคงเป็นบริษัทของชาติก็เป็นได้ครับ

ที่มา : forbesWall Street Journal 1Wall Street Journal 2NikkeiNew York Times

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

Other News

หลายคนน่าจะคุ้นชื่อ Foxconn บริษัทจากแผ่นดินใหญ่ผู้ผลิตสินค้าให้ Apple อย่าง iPad และ MacBook แต่เนื่องจากเป็นบริษัทจีนและมาตรการกีดกันทางการค้ายังรุนแรงอยู่ รวมทั้งเพื่อเลี่ยงปัญหากำแพงภาษีสูง ทางบริษัทจึงเริ่มย้ายฐานการผลิตสินค้าออกจากจีนแผ่นดินใหญ่แล้ว เนื่องจากปัญหากีดกันทางการค้าและกำแพงภาษีสูง ทางบริษัทจึงได้คำขอจากคู่ค้ารายสำคัญเช่น Apple ให้ย้ายโรงงานผลิตสินค้าออกจากประเทศจีน ทำให้ทางบริษัทเลือกย้ายไปยังประเทศเวียดนามและรัฐวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา Advertisement Foxconn มีโรงงานใหม่ 2 แห่งไว้ผลิตอะไรบ้าง? ฟ็อกซ์คอนน์เริ่มลงทุนกับโรงงานในเวียดนามไปร่วม 270 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อผลิต...

IT NEWS

Dynabook Portégé X30W-J 2-in-1 Notebook 13 นิ้ว เบาที่สุดในโลก มาพร้อม Intel Core เจนเนอเรชั่น 11 และได้รับรองสมรรถนะ Intel Evo เบาเพียง 989 กรัม พิสูจน์ความเป็นเลิศด้านวิสัยทัศน์การออกแบบคอมพิวเตอร์พกพาของ Dynabook แบรนด์คอมพิวเตอร์และโซลูชันอุปกรณ์พกพา Dynabook (ไดนาบุ๊ก) เปิดตัวแล็ปท็อป Dynabook Portégé X30W-J รุ่นใหม่ มาพร้อมการรับรองสมรรถนะ Intel Evo และเบาเพียง 989 กรัม1 สร้างสถิติใหม่ของแล็ปท็อปไฮบริดขนาด 13 นิ้วเบาที่สุดในโลก...

Notebook News

ชาร์ป เผยโฉม Dynabook โน๊ตบุ๊คสัญชาติญี่ปุ่น 3 รุ่นใหม่ล่าสุด อย่างเป็นทางการในประเทศไทย รังสรรค์เพื่อประสิทธิภาพในการทำงานและความแข็งแรงทนทานของตัวเครื่อง ประกาศเปิดตัวโน๊ตบุ๊คแบรนด์ Dynabook อย่างเป็นทางการในประเทศไทย จำนวน 3 รุ่น คือ รุ่น Satellite Pro L40

REVIEW

หลักๆ แล้วฟีเจอร์และสเปกของ dynabook Satellite Pro L40 ถูกวางให้เป็นโน๊ตบุ๊คหน้าจอ 14" เน้นความบางเบา ได้วัสดุและงานประกอบคุณภาพสูง แบตเตอรี่ใช้งานได้ยาวนานทั้งวัน พร้อมประสิทธิภาพก็แรงพอตัว รองรับการใช้งานทั่วไปได้ลื่นไหล ด้วยการเลือกใช้ชิปประมวลผลเป็น Intel Core i5-10210U หรือ Core i7-10510U

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก