Connect with us

Hi, what are you looking for?

AMD

[News] ชิปประมวลผลสถาปัตยกรรม Zen ของ AMD อาจจะมีแกนทำงานมากถึง 32 Cores/Socket

งานนี้ไม่รู้ว่าจะเป็นเรื่องจริงหรือแค่ข้อมูลที่ทาง AMD บลัฟออกมาเพื่อกันแฟนๆ หันไปทาง Intel มากขึ้นครับเมื่อทาง The New Citavia Blog ได้ไปค้นพบส่วนหนึ่งของโค๊ด Linux บน LKML.org ที่คาดว่าน่าจะหมายถึง

งานนี้ไม่รู้ว่าจะเป็นเรื่องจริงหรือแค่ข้อมูลที่ทาง AMD บลัฟออกมาเพื่อกันแฟนๆ หันไปทาง Intel มากขึ้นครับเมื่อทาง The New Citavia Blog ได้ไปค้นพบส่วนหนึ่งของโค๊ด Linux บน LKML.org ที่คาดว่าน่าจะหมายถึงส่วนของข้อมูลที่ระบุถึงหน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรมใหม่ของทาง AMD อย่าง Zen ที่ตามข้อมูลนั้นบอกว่าจะเปิดตัวและวางจำหน่ายในช่วงสิ้นปีนี้(และจะมี APU ตามมาในช่วงต้นปี 2017) ซึ่งจุดที่ทำให้คิดว่าส่วนของโค้ดที่เผยออกมาเป็นหน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรมใหม่ของทาง AMD นั้นก็คือการที่มันระบุถึงชื่อรหัสว่า “Zen” และ “Zeppelin” ครับ

amd-zen-32-core-apu-600 01

Advertisement

รหัส “Zeppelin” นั้นถูกกล่าวถึงครั้งแรกเลยในช่วงเดือนสิงหาคมของปี 2015 ที่ผ่านมาครับ ซึ่งส่วนของโค้ด Linux ดังกล่าวนั้นได้ระบุเอาไว้ครับว่ามันเป็นหน่วยประมวลผล “family 17h model 00h” ดังรูปต่อไปนี้ครับ

amd-zen-32-core-apu-600 02 e

นอกไปจากนั้นแล้วในรายการโค๊ดเดียวกันนั้นได้มีส่วนโค๊ดที่ได้ระบุเอาไว้เป็นนัยๆ ครับว่าหน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรม Zen รุ่นดังกล่าวนี้จะมาพร้อมกับแกนการประมวลผลภายในมากถึง 32 แกน ซึ่งโค๊ดในส่วนนี้นั้นได้ถูกพบภายหลังและเปิดเผยออกมาในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2015 ที่ผ่านมาดังรูปทางด้านล่างนี้ครับ

amd-zen-32-core-apu-600 03 e2

ส่วนของโค๊ดดังกล่าวนั้นจะมีการระบุในส่วนของการอธิบายวิธีการที่ last level cache (LLC) ID ถูกคำนวนสำหรับ MPU(Micro-Processing Unit หรือหน่วยประมวลผล) ของสถาปัตยกรรม Zen ซึ่งจะเป็นการคำนวนดังต่อไปนี้ครับ

  • “core_complex_id” ที่มีการระบุในส่วนของโค๊กนั้นก็คือ “compute unit” ตามที่ Dresdenboy ได้อ้างอิงถึงและอธิบายออกมาตามที่ทาง AMD ได้ใช้คำว่า Core complex แทน compute unit ในหลายๆ สิทธิบัตรช่วงหลังของทาง AMD ซึ่งในบรรทัดแรกของโค๊ดนั้นจะเห็นได้ว่าส่วนที่ระบุ >> 3 หรือ shift right by 3 นั้นหมายถึงเท่ากับหารด้วย 8
  • ดังนั้นแล้วจึงหมายความว่าบนหน่วยประมวลผลตัวนี้ในทุกๆ physical core จะมี logical cores อยู่ 2 แกน(ตามที่ระบุไว้ใน SMT:Surface-mount technology)
  • สรุปแล้วใน 1 Core complex อาจจจะบรรจุแกนการประมวลผลสถาปัตยกรรม Zen อยู่ทั้งหมดจำนวน 4 แกนและใช้ LLC แบบแชร์กันภายใน
  • ในบรรทัดที่ 2 นั้นจะมีการระบุเอาไว้ว่า per_cpu(หมายถึงแต่ละหน่วยประมวลผลหลัก) จะเท่ากับ socket_id<<3 | core_complex_id ซึ่งมีความหมายว่า socket ID จะถูก shifted left ด้วย 3 และ ภายในจะมีการประกอบไปด้วย 3 bits สำหรับ core complex ID
  • จากสมการดังกล่าวนั้นทำให้คาดเดาได้ว่าจำนวนแกน core complexes ต่อ socket นั้นอาจจะมีได้มากสุดที่ 8 แกน core complexes
  • และจากที่ระบุไว้ในบรรทัดที่ 1 ของโค้ดที่แปลออกมาแล้วว่าแต่ละ Core Complex นั้นจะมีแกนการประมวลผลสถาปัตยกรรม Zen อยู่ได้สูงสุด 4 แกน ดังนั้น ก็จะสามารถคำนวนแกนการประมวลผลแบบ physical cores ของหน่วยประมวลผลรุ่นนี้ได้มากที่สุดที่ 32 แกนครับ(4 แกนย่อยใน Core Complex  x 8 แกนหลักใน 1 Socket = 32 แกนการประมวลผลแบบ physical cores)

ทั้งนี้นั้นก่อนหน้านี้ตามข้อมูลที่มีการเปิดเผยออกมานั้นได้ระบุเอาไว้ครับว่าหน่วยประมวลผลที่มาพร้อมกับสถาปัตยกรรม Zen นั้นจะมีแกนการประมวลผลอยู่ที่ 16 แกน หากโค๊ดดังกล่าวเป็นเรื่องจริงนั้นเราอาจจะได้เห็นหน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรม Zen ที่แรงมากขึ้นกว่าเดิมไปอีก ทั้งนี้หน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรม Zen นั้นจะถูกผลิตที่กระบวนการผลิตระดับ 14 nm และใช้ unified AM4 socket รุ่นใหม่ รองรับการใช้งานกับหน่วยความจำ(RAM) แบบ DDR4 ซึ่งตามข้อมูลที่หลุดออกมาก่อนหน้านี้บอกเอาไว้ครับว่าหน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรม Zen นั้นจะมี instructions per clock (IPC) เพิ่มขึ้นถึง 40% เลยทีเดียว งานนี้คงต้องรอดูกันต่อไปหล่ะครับ

ที่มา : techfrag

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

รีวิว MSI

MSI Stealth A16 AI+ ครีเอเตอร์โน๊ตบุ๊คเล่นเกมได้ ดีไซน์เรียบหรูและแรงด้วยพลัง AMD Ryzen AI ทำได้ทุกงานเล็กใหญ่!! นอกจาก MSI Titan กับ MSI Raider สองพี่น้องตัวแรงขวัญใจเกมเมอร์แล้ว ฝั่งครีเอเตอร์หน้าตาเรียบหรูซ่อนความแรงก็มี MSI Stealth A16 AI+ ให้ครีเอเตอร์หาซื้อเอาไว้ทำงานกราฟิคตั้งแต่แต่งภาพและตัดต่อวิดีโอความละเอียดสูงก็ได้ ปั้นโมเดล...

Special Story

ถ้านับในช่วงหลัง ๆ มา ชิปกราฟิกแบบ iGPU ที่อยู่ใน CPU โน้ตบุ๊กของ AMD ได้รับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดจนทำให้มีประสิทธิภาพสูงถึงระดับที่สามารถใช้งานได้จริง โดยเฉพาะกับการใช้เล่นเกมที่ข้ามกำแพงจากในอดีตกราฟิกแบบ iGPU มักจะทำได้อย่างมากก็เป็นเกมออนไลน์ เกมเก่าที่มีอายุนานพอสมควรแล้ว กลายมาเป็นสามารถเล่นเกมระดับ AAA และเกมใหม่ล่าสุดได้ ซึ่งปัจจุบันก็เดินทางมาถึง AMD Radeon 800M series ที่มาพร้อมกับชิป AMD...

Special Story

ปีนี้นับเป็นปีที่ซีพียูโน้ตบุ๊กของ AMD มีการเปลี่ยนแปลงแบบเห็นได้ชัด และมีความน่าสนใจในด้านประสิทธิภาพที่สูงขึ้นโดยที่ยังคุมการใช้พลังงานและความร้อนได้ดี ทำให้เราได้เห็นการนำซีพียู AMD ไปใช้ทั้งในโน้ตบุ๊กทำงานทั่วไป เกมมิ่งโน้ตบุ๊กตั้งแต่สเปคระดับเริ่มต้นไปจนถึงระดับท็อป รวมถึงในกลุ่มเครื่องเกมพีซีพกพาด้วย แต่ที่จะเด่นชัดสุดคงหนีไม่พ้นชิปรุ่นใหม่ล่าสุดที่มีโค้ดเนมว่า AMD Strix Point หรือในชื่อที่ใช้จริงนั่นคือ AMD Ryzen AI 300 series นั่นเอง

Special Story

สำหรับการเล่นเกม แน่นอนว่าพลังประมวลผลกราฟิกจาก GPU คือหนึ่งในปัจจัยสำคัญ เพราะจะเป็นสิ่งที่ชี้วัดถึงระดับประสิทธิภาพว่าจะสามารถเรนเดอร์ภาพออกมาได้สวย เฟรมเรตสูง ความหน่วงต่ำขนาดไหน ทำงานร่วมกับ CPU และฮาร์ดแวร์อื่น ๆ ในเครื่อง ซึ่งถ้าทั้งระบบสามารถทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี ก็จะช่วยยกระดับประสบการณ์การเล่นเกมให้ดีขึ้นไปด้วย นอกจากนี้เหล่าผู้ผลิตเองก็มีเทคโนโลยีที่จะมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับพลังกราฟิก โดยที่ยังลดภาระของฮาร์ดแวร์ลงด้วย หนึ่งในนั้นก็คือ AFMF 2 เทคโนโลยีล่าสุดจาก AMD นั่นเอง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก