ถึงแม้ว่าอุปกรณ์สำหรับการสร้างภาพเสมือนจริงนั้นจะสามารถสร้างประสบการณ์อันดื่มด่ำให้กับคุณได้เป็นอย่างดี ทว่าเวลาใช้งานอุปกรณ์การสร้างภาพเสมือนจริงในปัจจุบันนั้นมีข้อเสียอยู่อย่างหนึ่งก็คือมือของคุณยังคงต้องทำการถือคอนโทรลเลอร์เพื่อที่จะทำการบังคับต่างๆ ครับ(เช่นการเล่นเกม) แน่นอนว่าการที่ต้องถือคอนโทรลเลอร์อยู่ในมือเพื่อทำการบังคับต่างๆ นั้นคงไม่สามารถทำให้คุณได้รับประสบการณ์เวสมือนจริงได้ 100% เต็มอย่างแน่นอนเพราะจะมีสิ่งที่คอยเตือนใจคุณในโลกจริงอยู่บนมือคุณตลอดเวลาครับ ดังนั้นแล้วในช่วงที่ผ่านมานั้นเราจึงได้เห็นหลายๆ บริษัทพยายามที่จะทำการพัฒนาระบบควบคุมที่ใช้งานร่วมกับอุปกรณ์สร้างภาพเสมือนจริงซึ่งหนึ่งในนั้นที่หลายๆ ท่านน่าจะเคยได้ยินชื่อบ้างก็คือ Leap Motion ครับ
ตลอดระยะเวลา 2 – 3 ปีที่ผ่านมานั้นทาง Leap Motion ได้วุ่นอยู่กับการพัฒนา Interaction Engine ซึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยวข่องกับการหยิบจับวัตถุในโลกเสมือนจริงแล้วมีการสร้างความรู้สึกว่าเป็นจริงเสมือนกับผู้ใช้ได้หยิบจับสิ่งนั้นในโลกจริงๆ ครับ และใน ช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมานั้นทาง Nicole Lee นักเขียนสาวของ Engadget ได้มีโอกาศได้ทดสอบ Oculus Rift DK2 ที่มาพร้อมกับระบบ Leap Motion 3D motion sensors ที่ติดอยู่ทางด้านหน้าตัวเครื่อง และเธอได้นำประสบการณ์ของเธอมาถ่ายถอดไว้ดังนี้ครับ
- ครั้งแรกที่เริ่มสวม Oculus Rift DK2 เข้าไปกับศรีษะของเธอนั้นเธอจะมองเห็นมือของเธอจริงๆ บนหน้าจอ(แต่อยู่ในรูปแบบของ infrared environment ดังรูปที่แสดงด้านบน) โดยเธอจะมองเห็นชุดทดสอบแรกที่เป็นรูปกล่องเสมือนจริงที่เธอสามารถขว้างไปมาได้โดยการสบัดมือของเธอไปรอบๆ ครับ
- ชุดทดสอบต่อมาที่เธอได้ทำการทดสอบนั้นเกี่ยวข้องกับ Interaction Engine แบบเต็มๆ ซึ่งนั่นก็คือเธอจะเห็นภาพในโลกเสมือนจริงเป็นตารางที่มีบอลทรงกลมสีเขียววางอยู่(ดังรูปด้านบน) โดยเธอได้ถูกบอกให้ทำการเลือกบอลขึ้นมาจากตารางเสมือนจริงในช่องไหนก็ได้แล้ววางบอลนั้นลงไปนอกกรอบ โดยหากเธอทำได้ถูกต้องนั้นจะมีเสียงดังเตือนขึ้นให้เธอรู้ว่าเธอทำถูกต้อง สิ่งที่เธอทำ ณ เวลานั้นตัวเธอทำเป็นเหมือนกับว่าทำการหยิบวัตถุจริงๆ ที่อยู่ตรงข้างหน้าเธอซึ่งให้ความรู้สึกเหมือนจริงมากครับ
- อย่างไรก็ตามแต่ในครั้งแรกที่เธอทำนั้นความรู้สึกเหมือนจริงมีแค่การออกท่าทางที่เธอต้องทำเหมือนกับหยิบบอลขึ้นมาเท่านั้น ทว่าเมื่อเธอหยิบบอลแล้วโยนบอลทิ้งไปนอกช่องตารางตามที่เธอถูกบอกให้ทำนั้นเธอกลับไม่รู้สึกอะไรเลย คือในครั้งแรกนั้นมันไม่มีการตอบกลับ(tactile feedback) อะไรให้เธอได้รับรู้เลยนอกจากเสียงที่ได้ยินขึ้นมาว่าเธอทำถูกต้องครับ
- เมื่อผ่านจุดที่เธอยังคงไม่รู้สึกรับรู้ถึงการตอบกลับเสมือนจริงของ Interaction Engine นั้นเธอได้คุยกับ Caleb Kruse ผู้ซึ่งเป็นคนนำการทดสอบให้กับเธอไปทีละขั้นตอนโดย Kruse ได้บอกกับเธอว่าสิ่งที่เธอทำไปในครั้งแรกนั้นเป็นเพียงแค่การค้นหาความแม่นยำของการกระทำของเธอและแปลความแม่นยำดังกล่าวไปเป็นวัตถุดิจิทัลสำหรับในการใช้งานครั้งแรกเริ่มต้นเท่านั้น โดยทาง Michael Buckwald ผู้เป็น CEO และผู้ร่วมก่อตั้งของ Leap Motion ได้บอกขึ้นมาว่าการทดสอบนี้นั้นทำขึ้นเพื่อที่จะให้ผู้ใช้ได้ใช้ความรู้สึกในการบังคับหรือหยิบจับต่างๆ ผ่านทาง Leap Motion เสมือนกับว่าอยู่ในโลกจริงๆ และเพื่อเป็นการส่งข้อมูลให้ Leap Motion สามารถทำการวิเคราะห์และจำแนกการทำงานได้อยู่เสมอไม่ว่าผู้ใช้จะมีลักษณะการออกท่าทางอย่างไรครับ
- การสาธิตต่อมานั้นเป็นของใหม่ที่ทางทีมงานพึ่งจะทำการเปิดตัวเป็นครั้งแรกในชื่อว่า Zero G ครับ Lee ได้รับคำแนะนำให้นำเอาน้ำหัวแม่มือและนิ้วชี้ติดกันไว้บนมือทั้ง 2 ข้าง หลังจากนั้นให้ทำการคลายมือออกพร้อมกับทำการแยกมือไปพร้อมๆ กัน ในครั้งนี้นั้นเธอพบว่าเธอสามารถที่จะทำการสร้างกล่องขึ้นมาในโลกเสมือนจริงได้ ยิ่งเธอขยายมือออกมากขึ้นหรือทำซ้ำไปซ้ำมามากขึ้นเท่าไรก็จะพบว่าเธอได้สร้างกล่องขึ้นมาซ้อนทับกันมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายมาเป็นหอคอยรูปกล่องที่เธอสร้าง จากนั้นเธอก็ทำการทำลายหอคอยที่เธอสร้างมาดังกล่าวด้วยการกวาดมือของเธอไปมาและเธอยังสามารถที่จะจับกล่องที่เธอสร้างขึ้นจากด้านหนึ่งแล้วหมุนกล่องไปมาได้ครับ
- สำหรับตัวอย่างดังกล่าวนั้นทาง Kruse ได้บอกกับ Lee ว่าเป็นการทำขึ้นเพื่อที่จะสร้างการตรวจจับมือที่แม่นยำขึ้นมาแทนที่จะทำการควบคุมวัตถุผ่าน robust graphic engine ซึ่ีงมีความแม่นยำน้อยกว่า ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปได้ระยะหนึ่งที่เธอทำการทดสอบ Zeor G นั้นเธอพบว่าเธอเริ่มเกิดความพึงพอใจเป็นอย่างมากและเริ่มรู้สึกเหมือนกับว่าเธอกำลังเล่นอยู่กับกล่องจริงๆ โดยความรู้สึกที่ว่ามือเธอคือแหล่งนำเข้าข้อมูลที่ใช้ในการบังคับนั้นเริ่มหายไปทีละนิดๆ ครับ
ทาง Leap Motion ได้บอกเอาไว้ครับว่าเทคโนโลยีของทาง Leap Motion นั้นน่าจะเหมาะสมกับการบังคับในโลกเสมือนจริงในรูปแบบที่เสมือนกับว่าตัวของผู้ใช้นั้นได้ไปอยู่ ณ จุดๆ นั้นจริงๆ มากกว่าที่จะนำเอาไปใช้กับการบังคับเกมจำพวกขับรถแข่งหรือว่าต่อสู้ ก้าวต่อไปของทาง Leap Motion ก็คือจะต้องหาวิธีการที่จะนำเทคโนโลยีดังกล่าวนี้ไปยังตลาดอุปกรณ์สร้างภาพเสมือนจริงสำหรับผู้บริโภคซึ่งทาง Leap Motion คิดเอาไว้ว่าเทคโนโลยีของตนนั้นเป็นอนาคตที่เหมาะสมมากกว่าเพราะถือว่าเป็นการสร้างความคล่องตัวในการเคลื่อนที่ให้เกิดขึ้นมาจริงๆ แทนที่อุปกรณ์ VR headsets นั้นจะต้องไปยึดอยู่กับ PC หรือสมาร์ทโฟนครับ
ที่มา : engadget