สำหรับปี 2016 ที่ผ่านเข้ามานี้ นับเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับผู้ใช้โน๊ตบุ๊คอีกปีหนึ่ง ซึ่งนับได้ว่าจากปีที่ผ่านมา มีเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย และนำสิ่งดีๆ มาให้ผู้ใช้โน๊ตบุ๊คทำงานได้อย่างสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับเวลานี้ ก็เป็นอีกช่วงหนึ่งที่ผู้ใช้น่าจะได้สัมผัสกับเทคโนโลยีดีๆ ที่ผู้ใช้โน๊ตบุ๊คจะได้พบในปี 2016 นี้
หากคุณวางแผนที่จะซื้อโน๊ตบุ๊คในปี 2016 นี้ ไม่ว่าจะเป็นโน๊ตบุ๊คสำหรับใช้งานทั่วไปหรือจะเป็นโน๊ตบุ๊คสำหรับงานธุรกิจที่สำคัญ ลองมองให้ดีว่ามีฟีเจอร์เหล่านี้อยู่ในรายการหรือไม่ รวมไปถึงโน๊ตบุ๊ครุ่นอื่นๆ ที่คุณสนใจ ไม่ว่าจะเป็นโน๊ตบุ๊คเกมมิ่ง อัลตร้าบุ๊กหรือจะเป็นโน๊ตบุ๊คในแบบ Convertible หรือแบบ 2-in-1 นั่นเอง แม้ในความเป็นจริง คงไม่มีโน๊ตบุ๊คใดที่ออกแบบมาได้อย่างเลิศเลอเพอร์เฟกต์ แต่ก็เชื่อว่ายังมีโน๊ตบุ๊คอีกหลายรุ่นที่สามารถตอบสนองความต้องการให้คุณได้อย่างถูกใจแน่นอน รวมไปถึงอยากจะให้มองฟีเจอร์ต่างๆ เหล่านี้ ที่จะช่วยให้คุณได้ใช้งานได้สนุกมากขึ้นในชีวิตประจำวัน
1.USB Type-C : New MacBook ถือเป็นรายแรกๆ ที่เริ่มต้นกับพอร์ต Type-C ในท้องตลาด ด้วยขนาดที่เล็ก ให้สามารถเชื่อมต่อและใช้งานร่วมกับสมาร์ทโฟนและแท็ปเล็ตได้ บวกกับใช้ในการชาร์จไฟบนโน๊ตบุ๊คและโอนถ่ายข้อมูลได้ในตัว ในแง่ของคุณสมบัติการทำงาน ให้ความเร็วได้มากถึง 10Gbps (Gen2) กับจัดการพลังงานได้ดีและคุณยังใช้ในการเชื่อมต่อกับพอร์ตอุปกรณ์ที่เป็นแบบ Type-C ได้ด้วยอแดปเตอร์แบบเดียวเท่านั้น
2.Mini DisplayPort : ตั้งแต่ DisplayLink ผ่านมาถึง USB Type-C จนได้รับความนิยมแพร่หลาย ทุกคนต้องการที่จะใช้งานผ่านจอภาพแบบ 4K และต้องการเชื่อมต่อ DisplayLink ในการเชื่อมต่อ ราคาของจอภาพ 4K ดูจะลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากกลไกของขนาดจอในท้องตลาด จะเห็นได้ว่าราคาหลายรุ่นลงมากว่า 365USD (13,100) และคงไม่ต้องแปลกใจถ้าจะได้รับความนิยมมากขึ้น และแน่นอนว่าจอภาพเดียวในความละเอียด 4K จะมาแทนที่จอสี่จอในแบบ 1080p ได้ในไม่ช้า นับเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ว่าเราจะสามารถเชื่อมั่นได้ถึงความละเอียด 4K จะเหมาะกับงานธุรกิจได้ในทุกขนาด
3.หน้าจอแบบ Full-HD : หลายครั้งเราพบว่าผู้จำหน่ายบางรายขายโน๊ตบุ๊คราคาประมาณ 1460USD หรือประมาณ 52,500 บาท ด้วยหน้าจอที่ต่ำกว่า 1920 x 1080 พิกเซล ซึ่งสวนทางกับการมาของหน้าจอพื้นฐานของสมาร์ทโฟนที่มีราคาต่ำกว่าหลายเท่า แต่ใช้หน้าจอแบบ Full-HD ชั่วโมงนี้ดูเหมือนว่าอะไรที่น้อยกว่า Full-HD จะถูกลดบทบาทลง เพราะการมาของ QHD, QHD+ และ 4K กำลังเข้ามาเป็นตัวเลือกในการใช้งานมากยิ่งขึ้น ทั้งในแง่ของความสบายตา และความคมชัดที่เข้าใกล้กับการมองของสายตามนุษย์ แต่ก็อาจจะต้องแลกกับการใช้พลังงานที่มีผลกระทบต่อเวลาการใช้งานของแบตด้วยเช่นกัน
4.อุปกรณ์เสริมชั้นเยี่ยม : ในเมื่อโน๊ตบุ๊คและที่ชาร์จเป็นสิ่งที่ใช้คู่กันในเวลาทำงาน แต่ก็ไม่สามารถครอบคลุมการใช้งานได้ในทุกที่ทุกเวลา ผู้จำหน่ายหลายรายจึงผลิตอุปกรณ์เสริมออกมาให้รองรับการทำงาน ไม่ว่าจะเป็น ตัวแปลงไฟหรือ Docking Station แม้บางครั้งจะไม่ได้เสริมประสิทธิภาพให้ใช้งานได้อย่างเต็มที่ แต่ก็มีส่วนช่วยให้การทำงานกับอุปกรณ์ได้ดีขึ้น ผู้จำหน่ายบางราย มีอุปกรณ์เสริมที่ทำงานได้ดีเกินคาด เพราะนอกจากจะเพิ่มประโยชน์ใช้สอยในการทำงานแล้ว ยังพกพาสะดวก แถมยังช่วยชาร์จไฟและประหยัดพลังงานอีกด้วยเช่นกัน
5.Hello (Windows 10) : เป็นที่ทราบกันดีว่า Windows 10 เป็นระบบปฏิบัติการใหม่สำหรับคอมพิวเตอร์ในยุคต่อไปนี้ ก็มาพร้อมฟีเจอร์ที่ล้ำสมัยอย่าง Hello ซึ่งเป็นระบบที่ใช้ในการล็อกอินหรือตรวจสอบเพื่อยืนยันบุคคลในการเข้าใช้ โดยสามารถใช้การสแกนใบหน้าแทนการใช้รหัสผ่านตามปกติ ไมโครซอฟท์ได้ใส่คุณสมบัติในระดับองค์กรนี้ลงมาในระบบ โดยไม่จำเป็นที่ผู้ใช้ต้องไปใส่พาส์เวิร์ดให้ยุ่งยาก ซึ่งระบบต้องการเพียงกล้องที่ใช้ในการตรวจสอบเท่านั้น หนึ่งในคุณสมบัติที่ได้มานี้ เกิดจาก Intel RealSense Camera ที่ใช้เซ็นเซอร์ 3 ตัวทำให้มีกระบวนการตรวจสอบที่แม่นยำมากขึ้น
6.แบตเตอรี่ถอดเปลี่ยนได้แบบ Hotswapp : โน๊ตบุ๊ครุ่นล่าสุดที่สามารถถอดเปลี่ยนแบตได้แบบ Hotswapp จะเป็น Lenovo T450S ซึ่งมีฟีเจอร์ในการถอดเปลี่ยนแบตได้ตามต้องการ ซึ่งเป็นผลดีในกรณีที่อยู่ระหว่างการเดินทางและมีงานเร่งด่วนที่ต้องทำ แต่น่าเสียดายที่โน๊ตบุ๊คจำนวนมาก เช่น อัลต้าบุ๊กหรือโน๊ตบุ๊คที่บางเบาพิเศษ ซึ่งไม่สามารถถอดแบตออกได้ จึงไม่สามารถเปลี่ยนเพื่อใช้งานแบตภายนอกเช่นนี้ได้ อย่างไรก็ดีด้วยธรรมชาติของโน๊ตบุ๊คเหล่านี้ก็สามารถใช้งานได้นานอยู่แล้วหรือทำงานในบริเวณที่พอมองเห็นปลั๊กไฟได้บาง ก็เพียงพอต่อการใช้งานเมื่อแบตใกล้หมด
7.บอดี้ไม่บางไปและไม่หนาไป : ด้วยฟีเจอร์ต่างๆ ที่ว่ามาในข้างต้น อาจมีได้จริงแค่หนึ่งหรือมากกว่านั้นไม่มาก แต่เพื่อให้ครอบคลุมสิ่งต่างๆ เหล่านั้น ส่วนหนึ่งจำเป็นต้องไม่มีข้อจำกัดมากเกินไป โน๊ตบุ๊คต้องไม่เล็กหรือบางจนเกินไป เพื่อให้สอดคล้องกับฟีเจอร์และผลที่ตามมาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น อายุแบต, การอัพเกรด, พัดลม, คุณภาพเสียง, ความเสถียรและพอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ แต่โน๊ตบุ๊คบางรุ่นก็ใช้วิธีในการประยุกต์ตัวเองให้ลดข้อจำกัดลง เช่น แยกเป็นแท็ปเล็ตและมีคีย์บอร์ดเสริม เพื่อให้ได้ขนาดที่บางและเล็ก แต่ยังคงสถานะในการทำงานที่ยาวนานขึ้น
8.หน่วยความจำแบบ Dual channel : หากคุณต้องการประสิทธิภาพที่มากขึ้นอีกเล็กน้อยประมาณสัก 10% จากโน๊ตบุ๊คที่ใช้อยู่ การเลือกอัพเกรดหน่วยความจำในแบบ Dual channel เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เหมาะสม แต่โน๊ตบุ๊คนั้นก็ต้องมีสล็อตหน่วยความจำอย่างน้อย 2 โมดูล และต้องมีความจุตามที่ระบุเอาไว้ รวมถึงซีพียูก็ต้องรองรับการทำงานหน่วยความจำ Dual channel ในความหมายก็คือ เลือกติดตั้งแรมในแบบคู่ เช่น 8GB (2x4GB) หรือ 16GB (2x8GB) ซึ่งโมดูล 16GB สำหรับโน๊ตบุ๊คอาจจะมีราคาค่อนข้างสูง คิดเป็นสัดส่วนที่มากกว่าแรมความจุน้อยกว่าในระดับพื้นฐาน อย่างไรก็ดีการอัพเกรดแรมความจุสูง ย่อมดูคุ้มค่ากว่าในปัจจุบัน โดยเฉพาะซีพียูรุ่นใหม่ที่รองรับแรมได้มากยิ่งขึ้น
9.สนับสนุนมาตฐานเชื่อมต่อ 802.11ac : นับเป็นระยะเวลามากกว่า 4 ปีแล้ว ตั้งแต่ครั้งแรกที่โน๊ตบุ๊คและเราเตอร์ได้ออกมาสนับสนุนโพรโตคอลนี้ ด้วยการทำงานของ 802.11ac ที่ให้ความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ดีกว่าและสิ่งสำคัญอีกมากมายในด้านการเชื่อมต่อไร้สายในอนาคต ฮาร์ดแวร์จึงต้องรองรับการทำงานร่วมกับ 802.11ac นี้ด้วย ส่วนในยุคถัดไป WiFi, 802.11ad จะเริ่มมีบทบาทมากขึ้นกับโน๊ตบุ๊คและเราเตอร์ พร้อมการสนับสนุนอย่างชัดเจนจากอินเทล ที่ทำให้มีแนวโน้มว่าจะลงสู่ตลาดได้เร็วขึ้น ด้วยคุณสมบัติที่ให้การเชื่อมต่อไร้สายเร็วสูง แต่จะเป็นช่วงระยะที่สั้น เหมาะกับการเชื่อมต่อบางอย่าง เช่น มอนิเตอร์แบบไร้สาย เป็นต้น
10.กรอบจอที่บางลง : Dell ปฏิวัติรูปแบบของโน๊ตบุ๊คไซส์เล็ก ด้วยการออกแบบโน๊ตบุ๊คที่มีกรอบจอบางจนแทบไม่น่าเชื่อ XPS 13 ดูจะเป็นแพลตฟอร์มที่นำมาสู่การพัฒนาของโน๊ตบุ๊คสุดบางเบาในปัจจุบันได้ดี เช่นเดียวกับ MacBook Air ในปี 2008 รวมถึง Chromebook และ Cloudbook กับหน้าจอขนาดเล็ก 13.3 นิ้ว และกรอบจอที่บางเพียง 10มม. แสดงให้เห็นความสมดุล ในเรื่องของความคมชัดของหน้าจอที่เพิ่มมากขึ้น (DPI) บนความละเอียดของที่เท่ากัน เมื่อเทียบกับรุ่นที่ใหญ่กว่า
ที่มา :techradar