Connect with us

Hi, what are you looking for?

Accessories review

ASUS Radeon R9 380X Strix 4GB Review การ์ดจอ แรง เร็ว แถมราคาไม่แพง [บทความแปล]

สำหรับแฟนๆ ทางฝั่งเขียวอย่าง NVIDIA ที่ต้องการกราฟิกการ์ดในราคาระดับกลางๆ นั้น ตอนนี้ก็จะมีตัวเลือกอยู่กับ GTX 970 ที่มีราคาอยู่ที่ประมาณ $290 หรือ 10,440 บาท หรือไม่ก็ GTX 960

สำหรับแฟนๆ ทางฝั่งเขียวอย่าง NVIDIA ที่ต้องการกราฟิกการ์ดในราคาระดับกลางๆ นั้น ตอนนี้ก็จะมีตัวเลือกอยู่กับ GTX 970 ที่มีราคาอยู่ที่ประมาณ $290 หรือ 10,440 บาท หรือไม่ก็ GTX 960 ที่มีราคาอยู่ที่ประมาณ $170 หรือ 6,120 บาท ซึ่งในช่วงระหว่าง GTX 970 กับ GTX 960 นั้นทาง NVIDIA ไม่มีตัวเลือกออกมาให้ผู้ใช้ได้เลือกเลยครับ(จะมีก็เป็นการ์ดที่ใช้ชิปรุ่นเก่าอย่าง GTX 770 หรือไม่ก็ GTX 780 ไปเลย)

ดูเหมือนว่าทาง AMD จะเห็นช่องว่างของราคาในช่วงดังกล่าวตรงนี้ครับ ทาง AMD จึงได้ทำการส่ง Radeon R9 380 และ Radeon R9 380X ซึ่งมีราคาอยู่ระหว่างช่องว่างนี้มาเป็นตัวเลือกให้ผู้ใช้ได้เลือกซะเลย โดยล่าสุดนั้นทาง ASUS ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ชื่อดังก็ได้จับเอาชิปเซ็ท Radeon R9 380X มาผลิตเป็นการ์ดรุ่น ASUS Radeon R9 380X Strix 4GB ส่งลงตลาดเป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ

Advertisement

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 01

 

สเป็คของ ASUS Radeon R9 380X Strix

ลองมาดูตารางเปรียบเทียบสเป็คของ ASUS Radeon R9 380X Strix กับกราฟิกรุ่นอื่นๆ ดูครับว่าจะเป็นอย่างไรบ้าง

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 02

 

 

สำหรับชิปกราฟิก Radeon R9 380X นั้นจะเป็นชิปที่ถูกผลิตภายใต้สถาปัตยกรรม Tonga (ซึ่งได้รับการเปลี่ยนชื่อมาจากสถาปัตยกรรม Antigua โดยปรากฎตัวครั้งแรกบนชิป R9 285) แบบเดียวกับที่ใช้บน R9 380 โดย R9 380X นั้นจะผลิตที่กระบวนการผลิตขนาด 28 nm มาพร้อมกับเทคโนโลยีของ AMD รุ่นใหม่ล่าสุดทั้งหมด(ใหม่กว่าสถาปัตยกรรม Hawaii ที่ใช้บนซีรีส์ R9 390)

Radeon R9 380X จะประกอบไปด้วย Graphics CoreNext (GCN) 1.2 stream processors จำนวน 32 GCN ซึ่งทำให้บนตัวชิปมี stream processors ทั้งหมดถึง 2,048 ตัว, Render output unit(ROP) มากถึง 32 หน่วย พร้อมด้วยหน่วยความจำบนกราฟิกการ์ดขนาด 4 GB แบบ GDDR5 ที่ความกว้างแบนด์วิดธ์ 256-bit ความเร็วสัญญาณนาฬิกาของหน่วยความจำจะอยู่ที่ 1,425 MHz ซึ่งที่สเป็คระดับนี้นั้นทาง AMD บอกว่าสามารถจะทำการเล่นเกมที่ความละเอียด 1080p โดยเปิดเอฟเฟคเต็มสูบ หรือที่ความละเอียดระดับ 1440p โดยเปิดเอฟเฟคส่วนใหญ่ที่ระดับ High ได้ไหลลื่นอย่างสบายๆ ครับ

หมายเหตุ – ณ เวลาปัจจุบันนี้ทาง AMD ได้บอกเอาไว้ว่า Radeon R9 380X จะไม่มีรุ่นที่มาพร้อมกับหน่วยความจำขนาด 2 GB

ASUS Radeon R9 380X Strix 4GB นั้นจะมาพร้อมกับความพิเศษตามแบบฉบับของ ASUS โดยจะมีการ Overclocked ในส่วนของความเร็วชิปกราฟิกเพิ่มขึ้นจากชิป Radeon R9 380X มาตรฐาน(จาก 970 MHz มาอยู่ที่ 1030 MHz) แต่ในส่วนของสเป็คอื่นๆ นั้นก็จะเหมือนกับ Radeon R9 380X ทั่วไป และยังเสริมความพิเศษด้วยการใช้ระบบระบายความร้อนของทาง ASUS เองอย่าง DirectCU II cooling ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยี 0 dBA-ready หรือไร้เสียงรบกวนของพัดลมขณะที่ทำงานครับ

สำหรับราคาขายปลีกของ ASUS Radeon R9 380X Strix 4GB นั้นจะอยู่ที่ราวๆ $240 หรือประมาณ 8,640 บาทแพงกว่ากราฟิกการ์ดที่มาพร้อมกับชิป Radeon R9 380X มาตรฐานในตลาดทั่วไปราวๆ $10 หรือ 360 บาทเท่านั้นครับ

หมายเหตุ – ราคาอ้างอิงจากต่างประเทศ เมื่อเข้าไทยแล้วอาจจะราคาไม่เท่ากับที่อ้างอิงในบทความนี้

บรรจุภัณฑ์และอุปกรณ์ที่แถมมาในชุดจำหน่าย

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 001

ทางด้านหน้าของกล่อง ASUS Radeon R9 380X Strix 4GB ดูเรียบง่ายแต่หรูหราด้วยสัญลักษณ์รูปนกฮูกที่เป็นตราของผลิตภัณฑ์ในซีรีส์ Strix โดยจะมีการระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นการ์ดที่มาพร้อมกับชิปกราฟิก Radeon R9 380X พร้อมด้วยสัญลักษณ์รองรับ Windows 10 และรูปแสดงเกมที่แถมมาด้วยในชุดจำหน่ายครับ(สำหรับเกมที่แถมจะพูดถึงต่อไปครับ)

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 002

ทางด้านหลังของกล่องนั้นจะบ่งบอกถึงฟีเจอร์ต่างๆ ของตัวการ์ดไม่ว่าจะเป็นระบบระบายความร้อน DirectCU II, พัดลมที่ไม่สร้างเสียงรบกวน, การใช้องค์ประกอบบนตัวกราฟิกการ์ดที่มีคุณภาพ รวมไปถึงซอฟต์แวร์ควบคุมการทำงานของกราฟิกการ์ดจากทาง ASUS อย่าง GPU Tweak II ส่วนทางด้านล่างของตัวกล่องซ้ายมือจะเป็นสเป็คของตัวการ์ด(ซึ่งไม่ได้ระบุละเอียดมากนัก) ตามมาด้วยช่องเชื่อมต่อที่อยู่บนตัวการ์ดและภาพแสดงตัวการ์ดเมื่อมองจากทางด้านบนครับ

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 03

อุปกรณ์ที่ให้มาในกล่องประกอบไปด้วย

  • ตัวกราฟิกการ์ดและ driver CD
  • เอกสารแสดงข้อมูลต่างๆ เช่นการประกอบ, การรับประกันและการใช้งานซอฟต์แวร์เบื้องต้น(เป็นต้น)
  • สติกเกอร์ ASUS STRIX สำหรับเอาไว้ติดที่เคสเพื่อความเทห์
  • PCIe power cable
  • World of Warships coupon(เกมที่แถมมาให้ด้วยซึ่งจะต้องเอารหัสไปใช้แลกตัวเกมในรูปแบบดิจิทัล)

ส่วนของตัวกราฟิกการ์ด

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 04

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 05

ตัวกราฟิกการ์ด ASUS Radeon R9 380X Strix 4GB นั้น ASUS ยังคงใช้ดีไซน์แบบเดียวกับการ์ดที่ใช้ชิป R9 380 ของตัวเองครับ หากผลิกกลับมามองทางด้านล่างของการ์ดจะเห็นโลหะแผ่นรองหลังที่ดูสวยงามประกอบไว้อยู่ สำหรับขนาดของตัวการ์ดนั้นก็อยู่ที่ 27 cm x 14 cm เรียกได้ว่าไม่เล็กและก็ไม่ใหญ่จนเกินไปครับ

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 06

ASUS Radeon R9 380X Strix 4GB ต้องการพื้นที่ในการติดตั้ง 2 slots ด้วยกันซึ่งก็เป็นมาตรฐานของการ์ดระดับกลางทั่วไป โดยหากเอาไปติดตั้งกับเมนบอร์ดแบบ ATX From Factor น่าจะไม่มีปัญหาอะไรครับ

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 07

พอร์ทการเชื่อมต่อของ ASUS Radeon R9 380X Strix 4GB นั้นจะประกอบไปด้วย DVI จำนวน 2 พอร์ท, HDMI 1.4a และ DisplayPort โดยตัวชิปกราฟิกนั้นจะมาพร้อมกับ HDMI sound device ทำให้รองรับการส่งสัญญาณเสียง HD Audio ผ่านทาง HDMI และยังสนับสนุน Blu-ray 3D movies อีกด้วยครับ(เมื่อเชื่อมต่อกับหน้าจอที่รองรับการแสดงภาพแบบ 3 มิติและเครื่องของคุณต้องมี Blu-Ray Drive ติดตั้งไว้ด้วย)

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 08

กราฟิกการ์ดรุ่นใหม่ๆ ของ AMD จะได้ทำการตัดส่วนที่เอาไว้ใช้สำหรับการเชื่อมต่อ CrossFire ทางกายภาพ(แบบเก่า) ทิ้งไปแล้วครับ เพราะในปัจจุบันนี้ AMD ได้ใช้เทคโนโลยีการ CrossFire โดยทำการส่งผ่านข้อมูลทาง PCI-Express bus แทน(ซึ่งทำให้สะดวกในการใช้งานแบบ CrossFire มากยิ่งขึ้น)

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 09

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 10

เมื่อถอดโลหะรองด้านหลังและพัดลมระบายความร้อนออกจะทำให้เห็นตัวการ์ดเปลือยๆ ครับ ซึ่งการวางตัวของชิปกราฟิกและหน่วยความจำบน ASUS Radeon R9 380X Strix 4GB นั้นไม่ได้แตกต่างจากการ์ดอ้างอิงของทาง AMD ครับ จะมีก็แต่องค์ประกอบอื่นๆ ที่ทาง ASUS เลือกใช้งานของที่มีคุณภาพตามสไตล์ของ ASUS โดยเฉพาะ

เจาะลึกองค์ประกอบบนกราฟิกการ์ด

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 11

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 12

ในส่วนของระบบระบายความร้อน DirectCU II ที่ทาง ASUS เลือกใช้กับการ์ดรุ่นนี้นั้นก็ไม่ได้แตกต่างจากรุ่นอื่นมากเท่าไรนักครับ โดยหากมองในส่วนของ heatsink นั้นจะเห็นได้ว่าค่อนข้างเรียบง่าย ด้วยการใช้ heatpipes จำนวน 3 ท่อต่อตรงจากส่วนที่สัมผัสกับผิวหน้าของ GPU เพื่อทำการระบายความร้อนโดยตรงส่งไปยังครีบระบายความร้อน ซึ่งทาง ASUS บอกว่าการออกแบบเช่นนี้จะทำให้การส่งผ่านความร้อนนั้นมีอัตราเร็วมากที่สุด(แต่น่าจะเฉพาะกับชิปกราฟิกบางรุ่น)

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 13

เมื่อทำการนำเอาระบบระบายความร้อนหลักออกไปแล้ว คุณจะยังเห็น heatsink เล็กๆ อีกอันหนึ่ง ซึ่ง heatsink ตัวนี้จะทำหน้าที่ในการระบายความร้อนให้กับวงจร VRM ครับ

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 14

ในส่วนของการใช้พลังงานนั้น ASUS Radeon R9 380X Strix 4GB ต้องการการเชื่อมต่อ 6-pin PCI-Express power connectors ถึง 2 หัวด้วยกัน ซึ่งจากสเป็คอย่างเป็นทางการของ Radeon R9 380X นั้นบอกเอาไว้ว่ามันต้องการพลังงานไฟฟ้ามากถึง 225 W เลยทีเดียว ดังนั้นแล้วหากท่านใช้ Power Supply ที่มีกำลังน้อยกว่า 550 W อาจจะต้องระวังเรื่องนี้ไว้หน่อยครับว่าไฟอาจจะไม่พอ(โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่มีอุปกรณ์ต่อพ่วงในเครื่องคอมพิวเตอร์เยอะ อย่างเช่นมีฮาร์ดดิสหรือ DVD Drive หลายตัวเป็นต้น)

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 15

ASUS เลือกใช้ตัวควบคุมแรงดันไฟฟ้าของตัวเองกับ ASUS Radeon R9 380X Strix 4GB ครับ ดังนั้นการควบคุมรวมถึงติดตามเรื่องเกี่ยวกับแรงดันไฟฟ้าผ่านซอฟต์แวร์ของ ASUS นั้นเป็นไปได้โดยง่าย

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 16

ในส่วนของหน่วยความจำบน ASUS Radeon R9 380X Strix 4GB นั้น ทาง ASUS เลือกใช้ GDDR5 จากทาง Elpida ซึ่งมาพร้อมกับหมายเลขโมเดล W4032BABG-60-F ที่ตามสเป็คจริงๆ ที่ทาง Elpida ระบุไว้นั้นสามารถที่จะรันได้ที่ความเร็วถึง 1,500 MHz เลยครับ(หรือมีประสิทธิภาพคิดเป็น 6,000 MHz ตามสเป็คของ GDDR5)

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 17

ท้ายสุดกับพระเอกของเราอย่างชิปกราฟิก Radeon R9 380X ภายใต้สถาปัตยกรรม Tonga ผลิตด้วยกระบวนการผลิตที่ขนาด 28 nm โดยบริษัท TSMC(จากไต้หวัน) ภายในประกอบไปด้วยทรานซิสเตอร์มากกว่า 5 พันล้านตัว ขนาดของชิปอยู่ที่ 17.5 x 20.9 mm = 366 mm² ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าชิปสถาปัตยกรรม Tahiti และอื่นๆ เล็กน้อย(แถมยังแพงกว่านิดหน่อยในการผลิตครับ)

ระบบที่ใช้ในการทดสอบ

สำหรับเครื่องที่ใช้ในการทดสอบนั้นมีสเป็คดังต่อไปนี้ครับ

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 18

หมายเหตุของการทดสอบ

  • ทุกเกมที่ใช้ในการทดสอบจะถูกตั้งคุณภาพของภาพภายในเกมให้อยู่ที่ระดับสูงสุด(เว้นบางเกมที่ไม่ได้ตั้งไว้สูงสุดจะระบุแยกต่างหาก)
  • AA และ AF จะทำการเปิดผ่านการตั้งค่าจากในเกมที่ใช้ทดสอบโดยตรงไม่ทำการเปิดผ่านทาง Driver

แต่ละเกมที่ใช้ทดสอบจะทำการทดสอบที่ความละเอียดแตกต่างกันไปด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

  • 1600 x 900 pixels : สำหรับเปรียบเทียบการใช้งานบนหน้าจอขนาดเล็กที่มีขนาดหน้าจออยู่ที่ 17 – 19 นิ้ว
  • 1920 x 1080 pixels : สำหรับเปรียบเทียบกับหน้าจอ widescreen ทั่วไปที่ความละเอียดมาตรฐานและหน้าจอที่มีขนาดอยู่ที่ 22 – 26 นิ้ว
  • 2560 x 1440 pixels : สำหรับเปรียบเทียบหน้าจออัตราส่วน 16:9 ที่ความละเอียดสูงสุดและหน้าจอมีขนาดอยู่ที่ 27 – 32 นิ้ว
  • 3840 x 2160 pixels : สำหรับเปรียบเทียบหน้าจอที่ความละเอียดสูงสุดในปัจจุบันระดับ 4K Ultra HD

ผลการทดสอบ

1. เกม Assassin’s Creed: Unity

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 19

เกมแนวสายลับรอบเล้นย้อนยุคล่าสุดจากทาง Ubisoft ซึ่งใช้เอนจินในการออกแบบเกมของ Ubisoft เองอย่าง AnvilNext engine โดยผลการทดสอบนั้นจะแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการรันเกม DirectX 11 ที่ในตัวเกมมีตัวละครร่วมด้วยอยู่มากมายทั้งผู้เล่นแบบ Co-op และ NPC(แต่ก็เต็มไปด้วย Bug หลากหลาย ทว่าทาง TechpowerUp ได้ทำการอัพเดท patch ล่าสุดก่อนการทดสอบแล้ว) ผลการทดสอบมีดังต่อไปนี้ครับ

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 20

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 21

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 22

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 23

2. Battlefield 3

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 24

ต่อกันที่เกมเก่าหน่อยอย่าง Battlefield 3 ที่ออกมาให้ได้เล่นกันตั้งแต่ปี 2011 แต่ยังเก๋าอยู่ด้วยเอนจิ้น Frostbite 2 ของทาง EA-DICE โดยทาง EA ได้มีการปรับแต่งตัวเกมให้รับรองกับการใช้งานผ่านทาง DirectX 11 ผลการทดสอบจะเป็นอย่างไรนั้นไปชมกันได้เลยครับ

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 25

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 26

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 27

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 28

3. Battlefield 4

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 29

ภาคต่อของเกมขายของ EA อย่าง Battlefield 4 ที่วางจำหน่ายออกมาเมื่อปี 2014 ตัวเกมผลิตโดย EA Digital Illusions CE ใช้เอนจิน Frostbite 3 จากทาง DICE โดยรองรับการใช้งานผ่านทั้งทาง DirectX 11 และ DirectX 11.1 ได้เป็นอย่างดี แถม Battlefield 4 ยังถือว่าเป็นเกมแรกที่พัฒนาขึ้นด้วยโค๊ดแบบ 64-bit binaries ตั้งแต่ต้นครับ ผลการทดสอบจะเป็นอย่างไรนั้นไปดูกันเลยครับ

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 30

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 31

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 32

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 33

4. Civilization: Beyond Earth

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 34

เปลี่ยนแนวเกมมาเป็นเกมวางแผนกันบ้างกับ Civilization: Beyond Earth ที่วางจำหน่ายเมื่อปี 2014 ที่ผ่านมา ตัวเกมถูกพัฒนาโดย Firaxis Games ผ่านทางเอนจินเดียวกับเกม Civilization V แต่ได้รับการขัดเกลาใหม่ให้รองรับการใช้งานกับ DirectX 11 ด้วยความที่เป็นเกมแนววางแผนนั้นทำให้ยิ่งมีตัวละครและสิ่งก่อสร้างในเกมมากยิ่งใช้พลังในการประมวลผลมากทาง TechpowerUp จึงได้ทำการทดสอบเกมนี้ด้วยการสร้างตัวละครและสิ่งก่อสร้างให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ผลการทดสอบจะเป็นอย่างไรนั้นไปชมกันได้เลยครับ

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 35

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 36

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 37

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 38

5. Call of Duty: Advanced Warfare

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 39

กลับมาที่เกมแนวเดินยิงอีกครั้งแต่ข้ามค่ายมาที่เกมดังของทาง Activision กับเกม Call of Duty: Advanced Warfare ที่วางจำหน่ายไปช่วงปลายปี 2014 ที่ผ่านมา ด้วยฝีมือการพัฒนาของ Sledgehammer Games, High Moon Studios และ Raven Software โดยทางผู้พัฒนาหลักอย่าง Sledgehammer Games ได้บอกเอาไว้ว่าเกมนี้ได้ทำการสร้างเอนจินใหม่หมดตั้งแต่ต้นเพื่อปรับปรุง visuals, animations และ sound effects ให้เจ๋งกว่าเกมภาคก่อน ทั้งนี้ตัวเกมรันผ่าน DirectX 11 ผลการทดสอบจะเป็นอย่างไรนั้นไปดูกันเลยครับ

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 40

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 41

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 42

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 43

6. Crysis 3

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 44

การทดสอบความแรงของกราฟิกการ์ดนั้นไม่ว่าจะเป็นสื่อใดก็จะขาดเกมนี้ไปไม่ได้ครับ กับเกมปราบเซียนอย่าง Crysis 3 ที่วางจำหน่ายมาตั้งแต่ช่วงต้นปี 2013 แล้ว แต่ไม่ว่าจะมีกราฟิกการ์ดผ่านมากี่รุ่น ถ้าไม่ใช่รุ่นใหญ่ก็สยบเกมนี้ไม่อยู่สักที ตัวเกมนั้นใช้เอนจิน CryEngine 3 รุ่นปรับปรุงพิเศษเพิ่มความเจ็งซึ่งสนับสนุนกับการใช้งานผ่าน DirectX 11 ผลการทดสอบจะเป็นอย่างไรนั้นไปชมกันได้เลยครับ

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 45

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 46

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 47

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 48

7. Fry Cry 4

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 49

ตามมาติดๆ กับเกมแนวเดินยิงสุดดังประจำปี 2014 เช่นเดียวกันกับ Far Cry 4 ของ Ubisoft ที่ใช้เอนจิน Dunia 2 เวอร์ชันล่าสุดผ่านทาง DirectX 11 โดยเกม Far Cry 4 นี้ถือว่าเป็นเกมหนึ่งที่ได้รับการยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าใช้ทรัพยากรของเครื่องเยอะมาก ผลการทดสอบจะเป็นอย่างไรนั้นไปติดตามกันได้เลยครับ

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 50

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 51

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 52

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 53

8. Grand Theft Auto V

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 54

อีกหนึ่งเกมสุดโหดที่ตั้งแต่ภาค 3 มานั้นการจะเล่นบนคอมพิวเตอร์ให้ได้ลื่นๆ เรียกได้ว่าต้องปาดเหงื่อสะสมเงินเพื่ออัพเกรดฮาร์ดแวร์กันยกใหญ่เลยทีเดียว ในภาคล่าสุดของ Grand Theft Auto อย่างภาคที่ 5 นั้นถูกปล่อยหลังจากที่เครื่องเกมคอนโซลได้เล่นกันไปแล้วถึง 18 เดือนด้วยกันโดยทางผู้พัฒนาอย่าง Rockstar Games นั้นบอกว่าอยากจะทำเวอร์ชัน PC ออกมาให้ดีที่สุดซึ่งก็ดีตามคาดครับเพราะได้รับคะแนนรีวิวไปทะลุเป้าจากทุกสื่อ

ตัวเกม Grand Theft Auto V ถือว่าเป็นเกมหนึ่งที่ใช้ทรัพยากรเยอะมากทั้ง CPU และ GPU โดยถึงแม้ว่าทาง Rockstar Games จะโฆษณาว่าเวอร์ชัน PC นั้นสามารถที่จะรันที่ความละเอียดระดับ 4K ที่ 60 FPS ได้ แต่การที่จะทำแบบนั้นได้ก็ต้องใช้เครื่องที่แรงมากๆ แถมยังต้องปิดเอฟเฟคบางอย่างทิ้ง สำหรับการทดสอบในครั้งนี้นั้นทาง TechpowerUP ได้เปิดเอฟเฟคทุกอย่างไว้ที่ “very high” แต่ปิด MSAA ไว้ครับ ผลการทดสอบจะเป็นอย่างไรไปดูกันได้เลยครับ

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 55

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 56

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 57

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 58

9. Mad Max

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 59

ก้าวเข้าสู่ยุคปี 2015 กันบ้างโดยเริ่มต้นที่เกม Mad Max จาก Square Enix studio ที่ขับเคลื่อนด้วยเอนจิน Avalance(เอนจินเดียวกันกับเกม Just Cause) ผ่านทาง DirectX 11 โดยตัวเกมนั้นออกแบบมาให้เน้นการใช้ geometric และ optic effects ของฮาร์ดแวร์ GPU ใหม่ๆ ระดับสูง ผลการทดสอบจะเป็นอย่างไรนั้นไปดูกันเลยครับ

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 60

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 61

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 62

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 63

10. Metal Gear Solid V: The Phantom Pain

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 64

อีกเกมหนึ่งที่เป็นตัวแทนเกมทดสอบกราฟิกการ์ดได้เป็นอย่างดีประจำปี 2015 อย่าง Metal Gear Solid V: The Phantom Pain ที่ในครั้งนี้นั้นผู้เล่นบน PC ไม่ต้องรอการพอร์ทยาวนานเนื่องจากตัวเกมออกพร้อมกับเครื่องคอนโซล ความสวยงามของตัวเกมขับเคลื่อนด้วยเอนจินสุดนิยมของ Konami อย่าง Fox Engine ผ่าน DirectX 11 ที่ค่อนข้างจะบริโภคการประมวลผลของ GPU พอสมควรถึงแม้จะเป็น GPU รุ่นใหม่ๆ โดยในการทดสอบนั้นทาง TechpowerUP ได้เอาตัวเลือก 60 FPS limit ออกไปแต่ยังไงก็ไม่สามารถที่จะรันเกมได้เกิน 96.5 FPS เลยครับ

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 65

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 66

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 67

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 68

11. Ryse

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 69

อีกหนึ่งเกมน่าเล่นจากผู้ผลิตที่ได้ชื่อว่าเก็บรายละเอียดของเกมที่ทำออกมาได้หมดอย่าง Crytek(โดยสตูดิโอ Crytek Frankfurt) กับเกม Ryse ขับเคลื่อนด้วยเอนจิน CryEngine 4 ผ่านทาง DirectX 11 ซึ่งถึงแม้ว่าตัวเกมจะออกมาให้เล่นตั้งแต่ในปี 2014 แล้วแต่ฮาร์ดแวร์ที่ตัวเกมต้องการนั้นก็จัดว่าสูงแถใยังต้องเป็นระบบ 64-bit เท่านั้น ความสวยงามของตัวเกมนั้นคงไม่ต้องพูดถึงกันครับเพราะสุดยอดมากจริงๆ แต่ทั้งนี้ในการทดสอบนั้นทาง TechpowerUp เปิดเอฟเฟคไว้ที่ “maximum” ทั้งหมด แต่ปิด anti-aliasing(เพราะไม่มีให้เลือก) ส่วนผลการทดสอบจะเป็นอย่างไรนั้นไปดูกันเลยครับ

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 70

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 71

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 72

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 73

12. Middle Earth: Shadow of Mordor

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 74

เกมที่สาวก The Lord of the Rings ไม่ควรพลาดอย่างเด็ดขาดกับ Middle Earth: Shadow of Mordor ที่พัฒนาโดย Monolith Productions ผู้พัฒนาที่โด่งดังมากับเกมเดินยิงสยองขวัญอย่าง F.E.A.R ขับเคลื่อนด้วนเอนจิน LithTech Juper EX engine เวอร์ชันล่าสุดผ่านทาง DirectX 11 ที่ตัวเกมยังใช้เทคโนโลยี Tessellation และ rendering techniques ภายใน DirectX 11 ด้วย ในการทดสอบนี้ทาง TechpowerUP ใช้ Benchmark ที่ติดมากับตัวเกมโดยตรงผลจะเป็นอย่างไรนั้นไปชมกันได้เลยครับ

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 75

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 76

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 77

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 78

13. The Witcher 3: Wild Hunt

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 79

อีกเกมเด็ดประจำปี 2015 ที่หลายๆ ท่านอาจจะเล่นจบไปแล้ว(แต่ตัวเกมก็ใหญ่มากเปิดโอกาสให้กลับวนเล่นใหม่ได้หลายรอบ) มาในสไตล์ action-RPG ตามแบบฉบับของฝั่งตะวันตก พัฒนาโดย CD Projekt RED แถมเกม The Witcher 3: Wild Hunt นั้นยังถือว่าเป็นเกมแรกที่เอาไว้โชว์ความสามารถของเอนจิน REDengine 3 game engine อีกด้วย ตัวเกมใช้เทคนิคใน DirectX 11 แบบจัดเต็มไม่ว่าจะเป็น tessellation และเทคนิคบางส่วนของ post-processing effects อย่างไรก็ตามในการทดสอบครั้งนี้ทาง TechpowerUP ได้ทำการปิดฟีเจอร์ HairWorks เอาไว้ ผลการทดสอบจะเป็นอย่างไรนั้นติดตามกันได้เลยครับ

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 80

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 81

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 82

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 83

14. Watch_Dogs

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 84

ย้อนไปดูเกมจากปี 2014 ที่ยังคงดูมีระดับอีกรอบกับ Watch_Dogs ของ Ubisoft ครับ เกมนี้เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่ดีมากๆ ของการพัฒนาเกมเพราะเครื่อง PC เรานั้นวางจำหน่ายพร้อมกับเครื่องคอนโซลอื่นๆ (เว้น Wii U ที่ออกหลังเพื่อน) ตัวเกมขับเคลื่อนด้วยเอนจินใหม่ของ Ubisoft อย่าง Disrupt engine ซึ่งพัฒนาขึ้นมาจาก AnvilNext(เอนจินของเกมซีรีส์ Assassin’s Creed) กับ Dunia(เอนจินของเกม Far Cry) รวมกัน

ถึงแม้การวางจำหน่ายจะพร้อมกับเครื่องคอนโซลก็ตามแต่จริงๆ แล้วในตอนแรกตัวเกมนั้นถูกตั้งใจทำขึ้นเพื่อเครื่องเกมคอนโซลเท่านั้นครับ นั่นหมายความว่าเมื่อนำมาทำสำหรับ PC เลยต้องมีการพอร์ทหน่อยทว่าข้อดีของ PC เราก็คือตัวเกมไม่ได้ถูกจำกัดความละเอียดเอาไว้ครับ ทั้งนี้ Watch_Dog รันผ่าน DirectX 11 และมีการใช้ฟีเจอร์ของ DirectX 11 ด้วยอย่าง tessellation และ advanced shader and lighting effects

อย่างไรก็ตามแต่ตัวเกม Watch_Dog นั้นถือว่าเป็นเกมหนึ่งที่ใช้ปริมาณหน่วยความจำบนกราฟิกการ์ดค่อนข้างที่จะมากเมื่อทำการเปิดเอฟเฟค Ultra Textures ในการทดสอบครั้งนี้ทาง TechpowerUp ได้ตั้งค่าเอฟเฟคทุกอย่างไว้ที่ “Ultra” หมดแต่ทำการปิด anti-aliasing ไว้ครับ ผลการทดสอบจะเป็นอย่างไรนั้นติดตามกันได้เลยครับ

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 85

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 86

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 87

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 88

15. World of Warcraft: Warlords of Draenor

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 89

ท้ายสุดกับเกมออนไลน์ชื่อดังของทาง Blizzard Entertainment ที่บ้านเราคนเล่นอาจจะไม่เยอะมากเท่าไรนัก(เมื่อเทียบกับเกมออนไลน์อื่นๆ เพราะเกมนี้ไม่ฟรี) แต่ที่ตะวันตกและบางประเทศในเอเชียนั้นคนเล่นมหาศาลครับ(รวมๆ แล้วมีผู้เล่นขาประจำมากกว่า 10 ล้านคนทั่วโลกต่อเดือน) กับเกม World of Warcraft ที่ตอนนี้ภาคล่าสุดคือ Warlords of Draenor วางจำหน่ายเมื่อปี 2014 ที่ผ่านมา

ในเกมภาคนี้นั้น Blizzard ไม่เพียงแต่เพิ่มเนื่อเรื่องเข้าไปใหม่เท่านั้นแต่ยังคงทำการปรับปรุงกราฟิกต่างๆ ให้สวยงามขึ้นตามยุคสมัยด้วย(เนื่องจากตัวเกมต้นฉบับนั้นออกบางจำหน่ายมาตั้งแต่ปี 2004 แล้ว) สิ่งหนึ่งที่ทาง Blizzard ทำได้ดีกับเกม World of Warcraft มาโดยตลอดก็คือไม่ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้เล่นจะใช้ฮาร์ดแวร์ที่ระดับใดตัวเกมก็ยังมีการแสดงผลที่สวยงาม โดยหากผู้เล่นมีฮาร์ดแวร์ในระดับสูงหล่ะก็ ผู้เล่นสามารถที่จะทำการเปิดเอฟเฟคได้แบบสุดๆ ถึงใจเลยครับ ในการทดสอบนี้ทาง TechpowerUP ได้ทดสอบเกมโดยใช้โหมด DirectX 11 และปรับตัวเลือกเอฟเฟคทุกอย่างไว้ที่ “Ultra” ผลการทดสอบจะเป็นอย่างไรนั้นไปชมกันได้เลยครับ

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 90

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 91

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 92

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 93

การทดสอบการใช้พลังงาน

ในส่วนของการทดสอบการใช้พลังงานของ ASUS Radeon R9 380X Strix 4GB นั้นทาง TechpowerUp ได้แบ่งออกเป็น 6 การทดสอบตามลักษณะของการใช้งานครับ ทั้งนี้ทาง TechpowerUP ได้ใช้ Keithley Integra 2700 digital multimeter ในการวัดอัตราการใช้พลังงานเฉพาะส่วนของกราฟิกการ์ดเท่านั้น แต่ละการทดสอบจะเป็นอย่างไรบ้างไปชมกันได้เลยครับ

1. Idle

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 94

ในการทดสอบนี้ทาง TechpowerUp จะเปิดหน้าจอ Windows 10 เอาไว้เฉยๆ โดยความละเอียดของหน้าจอนั้นจะอยู่ที่ 1920 x 1080 pixels และไม่มีการเปิด Windows หรือหน้าต่างอื่นๆ ใดๆ ทั้งสิ้นและได้ลง Driver ของทาง AMD เองไว้แล้ว โดยจะทำการรอให้ตัวเลขนิ่งจึงจดค่าออกมาได้ตามกราฟทางด้านบนครับ

2. Multi-monitor

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 95

ต่อด้วยการทดสอบแบบต่อหน้าจอหลายหน้าจอโดยที่ไม่มีการใช้งานใดๆ ทั้งสิ้น(ต่อหน้าจอแล้วเปิดทิ้งไว้เฉยๆ) สำหรับหน้าจอหลักนั้นจะใช้ความละเอียดที่ระดับ 1920 x 1080 pixels หน้าจอที่สองใช้ความละเอียด 1080 x 1024 pixels ทั้งนี้ทาง TechpowerUp ต้องการจะสื่อผลของการทดสอบในกรณีที่มีการเชื่อมต่อหน้าจอที่มีขนาดแตกต่างกันครับ ผลเป็นไปดังกราฟทางด้านบนครับ

3. Blu-ray Playback

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 96

มาที่การทดสอบการเล่นภาพยนตร์ Blu-Ray ด้วยซอฟต์แวร์ Power DVD 15 Ultra ที่ความละเอียดหน้าจอ 1920 x 1080 pixels โดยภาพยนตร์ที่ใช้ในการทดสอบนั้นคือเรื่อง Batman: The Dark Knight และในการทดสอบครั้งนี้ได้เปิดฟีเจอร์ GPU acceleration บนซอฟต์แวร์ไว้เพื่อให้การถอดรหัสสัญญาณภาพทำผ่าน GPU การวัดเริ่มตั้งแต่นาทีที่ 1.19 เป็นต้นมา(โดยดูจากช่วงที่ Bitrate ของภาพสูงที่สุดที่ระดับ 40 Mb/s) จนกระทั่งได้ค่าการใช้พลังงานที่นิ่งที่สุดจนหนังจบเรื่องครับ

4. Average

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 97

สำหรับการทดสอบที่ 4 หรือการใช้พลังงานแบบเฉลี่ยทั่วไปสำหรับการเล่นเกมแบบปกติ โดยทาง TechpowerUp ได้ทำการทดสอบโดยการรันเกม Metro: Last Light ที่ความละเอียด 1920 x 1080 pixels โดยจะทำการวัดตั้งแต่เมื่อทำการรัน Benchmark ภายในเกม(ไม่สนใจตอนเริ่มต้นเข้าเกม) ไปได้สักระยะหนึ่ง แล้วทำการหาค่าเฉลี่ยทุกๆ 12 วินาทีที่ Benchmark ทำการรันอยู่ออกมาครับ

หมายเหตุ – ค่าของผลการทดสอบที่ 4 นี้หมายถึงพลังงานเฉลี่ยที่ใช้ในช่วงของการเล่นเกมตามความละเอียดในระดับมาตรฐานที่ผู้คนส่วนใหญ่ใช้กันครับ และอีกส่วนหนึ่งก็คือทาง TechpowerUP ใช้การทดสอบที่ 4 นี้เพียงแค่ครั้งเดียวเท่านั้น(รัน Benchmark แค่รอบเดียว) เพื่อใช้เป็นการอุ่นเครื่องตัวการ์ดก่อนทำการทดสอบที่ 5 ครับ

5. Peak

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 98

สำหรับการทดสอบที่ 5 นี้จะหมายถึงอัตราการใช้พลังงานมากสุดในการเล่นเกมตามมาตรฐานทั่วไป โดยทาง TechpowerUp ยังคงใช้เกม Metro: Last Light ที่ความละเอียด 1920 x 1080 pixels ในการทดสอบ สำหรับค่าที่ได้ตามกรานั้นเป็นค่าสูงสุดเพียงค่าเดียวที่เกิดขึ้นขณะทำการทดสอบครับ

6. Maximum

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 99

สำหรับการทดสอบสุดท้ายนั้นเป็นการวัดอัตราการใช้พลังงานที่มากที่สุดของตัวการ์ดซึ่งทาง TechpowerUp ทำการทดสอบด้วยการรันโปรแกรม Benchmark อย่าง Furmark ในโหมด Stability Test ที่ความละเอียด 1280 x 1024 pixels และ 0xAA ซึ่งค่าที่วัดได้นั้นจะเป็นค่าอัตราการใช้พลังงานที่มากที่สุดโดยที่หากคุณเล่นเกมธรรมดาทั่วไปหล่ะก็จะไม่มีทางที่ทำให้อัตราการใช้พลังงานสูงมากถึงค่าดังกล่าวแน่นอนจะต้องทำการทดสอบผ่านโปรแกรมแนว stress-testing ทั้งนี้ค่าที่แสดงบนกราฟด้านบนนี้เป็นค่าสูงสุดจากการอ่านเพียงครั้งเดียวหลังจากที่ทำการรัน Benchmark ไปได้ไม่นานเท่าไรนักครับ

หมายเหตุ – จริงๆ แล้วในตอนเริ่มต้นสุดของการทำ Benchmark นี้ค่าอัตราการใช้พลังงานที่วัดได้จะมากกว่านี้แต่ทาง TechpowerUp ไม่นำค่านั้นมาใช้เนื่องจากว่าค่านั้นจะพุ่งขึ้นมาเพียงแค่แป๊บเดียวเท่านั้นแล้วก็ตกลงเรื่อยๆ จนอยู่ในระดับนิ่งดังค่าในกราฟครับ

ผลสรุปของอัตราการใช้พลังงานบน ASUS Radeon R9 380X Strix 4GB

ทั้งนี้โดยรวมแล้วต้องบอกว่า ASUS Radeon R9 380X Strix 4GB มีอัตราการใช้พลังงานที่ไม่ค่อยดีมากนักสักเท่าไรครับถ้าเทียบกับชิปสถาปัตยกรรม Fiji ที่พบบนกราฟิกการ์ดซีรีส์ Fury ที่ถึงแม้ว่าจะยังใช้กระบวนการผลิตที่ขนาด 28 nm เท่ากัน แต่กราฟิกการ์ดที่ใช้ชิป Fiji นั้นมาพร้อมกับหน่วยความจำ HBM แบบใหม่ที่มีอัตราการใช้พลังงานต่ำกว่า GDDR5 มาก ทำให้กราฟิกการ์ดซีรีส์ Fury มีอัตราการใช้พลังงานที่ดูดีกว่าเยอะ

ในส่วนของข้อดีนั้นก็ยังมีอยู่ครับเพราะเมื่อเปิดเครื่องไว้เฉยๆ นั้น ASUS Radeon R9 380X Strix 4GB มีอัตราการใช้พลังงานที่ค่อนข้างต่ำพอสมควร แต่เมื่อต่อออก 2 หน้าจอหรือรันภาพยนตร์ Blu-Ray กลับพบว่าอัตราการใช้พลังงานของ ASUS Radeon R9 380X Strix 4GB นั้นเพิ่มขึ้นมามากกว่าเท่าตัว ซึ่งในส่วนนี้นั้นการ์ดของทางฝั่ง NVIDIA สามารถทำได้ดีกว่ามากเลยทีเดียว(โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกราฟิกการ์ดสถาปัตยกรรม Maxwell)

อย่างไรก็ตามแต่ต้องยอมรับอย่างหนึ่งครับว่า ASUS ทำการบ้านในเรื่องของความต้องการการใช้พลังงานบน ASUS Radeon R9 380X Strix 4GB ออกมาได้ดีมาก เพราะจากผลการทดสอบอัตราการใช้พลังงานสูงสุด(ผ่าน Furmark) ซึ่งอยู่ที่ 227 W นั้น การที่ ASUS Radeon R9 380X Strix 4GB มาพร้อมกับ 2×6-pin power inputs ก็เพียงพอต่อความต้องการตามสเป็คอย่างไม่ผิดเพี้ยนครับดังนั้นจึงมั่นใจได้ว่าหาก Power Supply คุณมีกำลังไฟมากพอคุณก็สามารถใช้งาน ASUS Radeon R9 380X Strix 4GB ได้แบบสบายๆ

การทดสอบเสียงรบกวนจากพัดลมระบายความร้อน

ในการทดสอบเสียงรบกวนของพัดลมระบายความร้อนขณะที่ใช้งานนั้นทาง TechpowerUP ได้ใช้ Bruel & Kjaer 2236 sound-level meter เป็นตัววัดความดังของเสียง โดยจะทำการวัดความดังที่ระยะห่างจากเคสเครื่อง 100 cm(หรือ 1 m) ซึ่งตัวเคสจะทำการเปิดฝาด้านข้างไว้ฝั่งหนึ่งและทำการทดสอบ 2 แบบด้วยกันครับ

หมายเหตุ – เสียงรบกวนรอบข้างมีน้อยกว่า 20 dBA

หมายเหตุ 2 – ระบบระบายความร้อนของส่วนอื่นๆ เป็นแบบ passive cooling ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น PSU, CPU และเมนบอร์ด รวมทั้งแหล่งเก็บข้อมูลที่ใช้ก็เป็นแบบ SSD เพื่อที่จะทำให้เสียงที่วัดออกมานั้นมีการรบกวนจากอุปกรณ์อื่นน้อยที่สุด

1. Idle

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 100

ขณะที่ทำการทดสอบแบบ Idle หรือเปิดเครื่องทิ้งไว้เฉยๆ ไม่ได้ใช้งานอะไรนั้น ASUS Radeon R9 380X Strix 4GB ทำได้ตามที่โฆษณาไว้เลยครับคือระดับเสียงไม่ขึ้นเลยวัดได้ที่ 0 dBA ซึ่งที่ผลเป็นเช่นนี้นั้นอาจจะเนื่องมาจากตัวการ์ดทำการปิดพัดลมไปเลยครับทำให้ไม่มีเสียง ทว่าข้อเสียที่เกิดขึ้นตามมาก็คือความร้อนของ GPU นั้นจะสูงขึ้นไปอยู่ที่ราวๆ 60 องศาเซลเซียสครับ

2. Load

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 101

ในการทดสอบเมื่อทำการรันเกมนั้น ASUS Radeon R9 380X Strix 4GB ก็สร้างเสียงรบกวนน้อยน่าประทับใจไม่แพ้กันครับ โดยความดังที่สามารถวัดได้นั้นอยู่ที่ 29 dBA เท่านั้นครับ

ประสิทธิภาพโดยรวมของ ASUS Radeon R9 380X Strix 4GB

สำหรับประสิทธิภาพโดยรวมของ ASUS Radeon R9 380X Strix 4GB เมื่อเทียบกับกราฟิกการ์ดที่ใช้ชิปเซ็ทอื่นๆ แยกตามความละเอียดในการรันภาพจะเป็นดังต่อไปนี้ครับ

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 102

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 103

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 104

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 105

การ Overclocked บน ASUS Radeon R9 380X Strix 4GB

หากท่านผู้อ่านไม่ได้พลาดข้อมูลเบื้องต้นจะเห็นได้ครับว่าจริงๆ แล้ว ASUS Radeon R9 380X Strix 4GB นั้นก็ได้มีการ Overclocked ในส่วนของความเร็วสัญญาณนาฬิกาตัวชิปกราฟิกจาก 970 MHz มาเป็น 1030 MHz ตั้งแต่ออกมาจากโรงงานอยู่แล้ว ทว่าเมื่อขึ้นชื่อว่าเป็นการ์ดของ ASUS แถมยังมาพร้อมกับซอฟต์แวร์การปรับแต่งความเร็วอีกดังนั้นจึงต้องมีการจับ Overclocked เพิ่มสักหน่อยว่าจะไปได้ไกลอีกแค่ไหน โดยทาง TechpowerUp ได้ทำการ Overclocked จนได้ค่ามากที่สุดที่ตัวการ์ดยังสามาารถใช้งานได้อย่างเสถียรตามนี้ครับ

gpuz_oc 600

  • ความเร็วชิปกราฟิกจากเดิม 1,030 MHz เพิ่มไปเป็น 1,135 MHz (เพิ่มขึ้น 10%)
  • ความเร็วชิปหน่วยความจำจากเดิม 1,420 MHz เพิ่มไปเป็น 1,638 MHz (เพิ่มขึ้น 15%)

ผลการทดสอบของตัวการ์ดที่ความเร็วหลังจาก Overclocked ผ่านเกม Battlefield 3 เป็นดังต่อไปนี้ครับ

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 106

สรุปแล้วเมื่อทำการ Overclocked ASUS Radeon R9 380X Strix 4GB แล้วนั้นตัวการ์ดจะมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นประมาณ 9.1% ครับ

หมายเหตุ – ประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นนี้ใช้อ้างอิงได้เฉพาะกับเกม Battlefield 3 เท่านั้น สำหรับเกมอื่นๆ อาจจะมีประสิทธิภาพหลัง Overclocked เพิ่มขึ้นไม่เท่านี้

อุณหภูมิที่เกิดขึ้นบนตัวการ์ด

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 107

อีกสิ่งหนึ่งที่หลายๆ ท่านน่าจะอยากทราบก็คืออุณหภูมิที่เกิดขึ้นบนตัวการ์ดขณะที่ใช้งานครับ โดยจากภาพทางข้างบนนี้นั้นจะเห็นได้ว่าอุณหภูมิของ ASUS Radeon R9 380X Strix 4GB นั้นในโหมด Idle หรือเปิดเครื่องทิ้งไว้เฉยๆ อาจจะไม่ค่อยดีเท่าไรเพราะอุณหภูมิสูงถึง 57 องศาเซลเซียสแต่ต้องไม่ลืมนะครับว่าที่โหมดนี้พัดลมระบายความร้อนของตัวการ์ดไม่ทำงานซึ่งทำให้ไม่มีเสียงรบกวนเลย ถือว่าเป็นเรื่องที่ได้อย่างเสียอย่างหล่ะครับ

ส่วนในโหมดของการใช้งานปกติและการใช้งานเมื่อมีการ Overclocked นั้น อุณหภูมิที่วัดได้ของตัวการ์ดเท่ากันอยู่ที่ 69 องศาเซลเซียส ซึ่งถือว่าดีมากๆ ครับ ต้องขอบคุณระบบระบายความร้อน DirectCU II ของทาง ASUS แต่เมื่อดูรวมๆ แล้วก็ยังสู้กราฟิกชิปสถาปัตยกรรม Maxwell ของทาง NVIDIA ไม่ได้อยู่ดีในเรื่องนี้ครับ

สรุป

ASUS Radeon R9 380X STRIX 600 001

จุดเด่น

  • ถือว่าเป็นการ์ดที่เข้ามาอยู่ในจุดช่วงราคาระดับกลางประมาณไม่เกิน $250 หรือ 9,000 บาทได้เป็นอย่างดี
  • มีการ Overclocked ออกมาตั้งแต่จากโรงงาน
  • การใช้งานเงียบมากถึงแม้ว่าจะขณะที่ทำการเล่นเกมก็ตาม
  • พัดลมระบายอากาศปิดตัวเองไปโดยอัตโนมัติทำให้ที่สถานะ Idle ไม่มีเสียงรบกวนจากกราฟิกการ์ดเลย
  • มาพร้อมกับหน่วยความจำแบบ GDDR5 มากถึง 4 GB
  • ตัวการ์ดมีฝาโลหะยึดมาทางด้านหลังทำให้แข็งแกร่งมากขึ้น

จุดด้อย

  • ราคาต่อประสิทธิภาพหากเทียบกับการ์ดรุ่นอื่นที่มีระดับราคาอยู่ในช่วงเดียวกันถือว่าต่ำกว่า(โดยเฉพาะกับการ์ดจากฝั่งคู่แข่งอย่าง GTX 960 ที่มีราคาต่ำกว่ามาก แต่ประสิทธิภาพในการเล่นเกมไม่ได้ทิ้งห่างกันสักเท่าไรนัก)
  • อัตราการใช้พลังงานสู้กราฟิกการ์ดของทาง NVIDIA ที่ใช้ชิปเซ็ทสถาปัตยกรรม Maxwell ไม่ได้เลย
  • หน่วยความจำแบบ GDDR5 ที่ให้มามากถึง 4 GB นั้นเมื่อทดสอบการเล่นเกมจริงแล้วให้ความแตกต่างระหว่างความละเอียด 1080p กับ 1440p น้อยมาก
  • พอร์ทเชื่อมต่อแบบ HDMI ยังคงเป็นมาตรฐาน 1.4a ไม่ใช่ 2.0

โดยรวมแล้ว ASUS Radeon R9 380X Strix 4GB ถือเป็นการ์ดที่ดีการ์ดหนึ่งครับเพราะมันสามารถรองรับการเล่นเกมที่ความละเอียดระดับ 1080p และ 1440p(บนบางเกม) โดยเปิดเอฟเฟคแบบจัดเต็มหมดได้แบบสบายๆ และราคาของมันนั้นก็ถือว่าค่อนข้างน่าคบหาพอสมควร(ถ้าเข้ามาในเมืองไทยแล้วไม่ได้มีการอัพราคาสูงเยอะไปกว่านี้มาก) ที่สำคัญคือตัวการ์ดยังสามารถจะทำการ Overclocked ไปได้ค่อนข้างไกลซึ่งน่าจะเหมาะกับนัก Mod หลายๆ คน

ทั้งนี้ Radeon R9 380X จะมีคู่แข่งอย่างทันทีถ้าทาง NVIDIA ตัดสินใจที่จะส่งชิปกราฟิกสำหรับกราฟิกการ์ดในช่วงราคาเดียวกันออกมา ซึ่งไม่แน่ว่าอาจจะเป็น GTX 960 Ti(ตามสไตล์ของ NVIDIA ซึ่งก็ไม่แน่อีกว่าอาจจะมาพร้อมกับสถาปัตยกรรมใหม่) หรือไม่ก็ลดราคา GTX 970 ลงมาอีกนิด ผู้ซื้อที่ไม่ได้เป็นแฟนค่ายแดงอาจจะหันไปหา NVIDIA แทนที่จะมอง Radeon R9 380X ได้ครับ

ที่มา : techpowerup

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

Buyer's Guide

คอม All in One 7 รุ่นเด็ด จอใหญ่ ดีไซน์สวย สเปคดี ซีพียูแรง แรม 16GB พร้อม Windows 11 เน้นทำงานและความบันเทิง คอม All in One หรือ ออลอินวันพีซี เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับคนที่ต้องการพีซีที่มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับคอมตั้งโต๊ะ แต่ประหยัดไฟและประหยัดพื้นที่ได้มากกว่า...

Buyer's Guide

หน้าจอคอมในปัจจุบันเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ 18.5 นิ้วเมื่อสิบกว่าปีก่อน จนตอนนี้ก็มีจอคอม 32 นิ้ว ทั้งจอคอมทำงานและจอคอมเล่นเกมให้เลือกซื้อมากมายหลายรุ่น แม้บางคนอาจคิดว่ามันมีขนาดใหญ่จนเท่ากับจอทีวีรุ่นเล็กแล้วจะวางบนโต๊ะคอมก็คงใหญ่เกินไป แต่ในความเป็นจริงขนาดของมันก็ใหญ่กว่าจอ 27 นิ้ว ตรงหน้าไปอีกนิดเดียว ทำให้พื้นที่แสดงผลกว้างจนสุดขอบสายตายิ่งขึ้น ถ้าใครเล่นเกมเป็นประจำจะได้เห็นฉากหลังของเกมเต็มสายตาจนดื่มด่ำไปกับบรรยากาศได้เต็มอิ่มยิ่งขึ้น กรณีจอทำงานก็มีพื้นที่แสดงผลกว้างขึ้นทั้งมองเห็นตารางและหน้าเอกสารกว้างขึ้น รวมไปถึง Timeline เวลาตัดต่อคลิปยาวกว่าเดิม ถ้าสังเกตจะเห็นว่าผู้ผลิตหน้าจอแบรนด์ต่างๆ พากันใส่ฟีเจอร์มาให้หน้าจอขนาดนี้มากขึ้นจนกลายเป็นจอพรีเมี่ยมระดับเริ่มต้นกันแล้ว ไม่ว่าจะได้พาเนลคุณภาพขอบเขตสีกว้างใช้ทำงานกราฟิคได้, มีพอร์ต USB-C...

CONTENT

ในปัจจุบัน นอกเหนือจากโน้ตบุ๊กที่เป็นดีไซน์แบบฝาพับอย่างที่คุ้นเคยกันมาอย่างยาวนานแล้ว ตัวเครื่องยังมีการพัฒนารูปทรงเพื่อเพิ่มความคล่องตัวให้กับการพกพา และอรรถประโยชน์ในการใช้งานให้สูงขึ้นไปอีก ซึ่งหนึ่งในรูปแบบที่ได้รับความนิยมก็คือการทำออกมาเป็นโน้ตบุ๊ก 2-in-1 โดยใช้หน้าจอสัมผัสที่สามารถพลิกจอได้ 360 องศา ทำให้สามารถใช้เป็นได้ทั้งโน้ตบุ๊กและแท็บเล็ตในเครื่องเดียว ในบทความนี้ก็เลยจะมาแนะนำโน้ตบุ๊กจอพับ AMD ในรูปแบบ 2-in-1 ที่น่าใช้กันครับ ตอบโจทย์ทั้งใช้ทำงาน ไปจนถึงการเล่นเกมได้เลยในบางรุ่น

AMD

เราปฏิเสธไม่ได้ว่าตอนนี้ปัญญาประดิษฐ์เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของเราอย่างเลี่ยงไม่ได้แล้ว และโน๊ตบุ๊ครุ่นใหม่ติดตั้งชิปเซ็ต AMD Ryzen AI NPU ก็เริ่มหาซื้อได้ง่ายขึ้น มีตัวเลือกมากมายแถมซอฟท์แวร์หรือส่วนเสริม AI จากบริษัทชั้นนำก็มีให้ใช้งานมากขึ้นรวมทั้ง Microsoft ก็รับลูก จับมือกับผู้พัฒนาซีพียูปรับแต่ง Windows 11 ให้ใช้งานกับซีพียูรุ่นใหม่มี NPU ได้ดีขึ้นและมีฟังก์ชั่นตรวจจับการทำงานเพิ่มเข้ามาใน Task Manager เป็นพิเศษ ทำให้ผู้ใช้ดูได้ว่าชิปเซ็ตใหม่นี้ทำงานตอนไหนบ้าง อย่างไรก็ตามชิปนี้ถูกออกแบบมาใช้ทำงานเฉพาะอย่าง ปกติมักไมเ่ห็นคอร์นี้ทำงานบ่อยนักจนบางคนเกิดกังขาว่าชิปเซ็ตตัวนี้มันสมคำโฆษณาหรือเปล่า?...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก