Connect with us

Hi, what are you looking for?

AMD

AMD ถูกกล่าวหาว่าโฆษณาเกินจริงเรื่องจำนวนของแกนการประมวลผลชิปสถาปัตยกรรม “Bulldozer”

ย้อนกลับไปในสมัยปี 2011 นั้นหากใครเป็นแฟนๆ หน่วยประมวลผลของทางค่ายสีแดงอย่าง AMD แล้วหล่ะก็เชื่อว่าท่านอาจจะต้องอยากได้หน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรมตัวแรงอย่าง “Bulldozer”

ย้อนกลับไปในสมัยปี 2011 นั้นหากใครเป็นแฟนๆ หน่วยประมวลผลของทางค่ายสีแดงอย่าง AMD แล้วหล่ะก็เชื่อว่าท่านอาจจะต้องอยากได้หน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรมตัวแรงอย่าง “Bulldozer” ในตอนนั้นไว้ครอบครองอย่างแน่นอนครับ ด้วยการโฆษณาของทาง AMD ที่บอกเอาไว้ว่า หน่วยประมวลผลที่มาพร้อมกับสถาปัตยกรรม “Bulldozer” นั้นจะมีจำนวนแกนการประมวลผลมากถึง 8 แกนหรือ 8-cores เลยทีเดียว ทว่าทางผู้กล่าวหาบอกครับว่าจริงๆ แล้ว หน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรม “Bulldozer” มีจำนวนแกนการประมวลผลไม่ถึง 8 แกนครับ

AMD_FAD2010_ChekibAkrout_FINAL_8_Cores_600

Advertisement

สำหรับแฟนๆ ตัวจริงของ AMD นั้นน่าจะพอทราบกันครับว่าทาง AMD นั้นให้่นิยามของแกนการประมวลผลหรือจำนวน core ไม่เหมือนกับทาง Intel โดยในกรณีของสถาปัตยกรรม “Bulldozer” นั้นนิยามของทาง AMD ไม่ได้บอกเอาไว้ครับว่าแต่ละแกนจะทำการประมวลผลแยกออกจากกันอย่างอิสระได้(เหมือนกับของ Intel) ดังนั้นแทนที่จะสามารถทำการประมวลผลได้ 8 threads แบบขนานควบคู่กันไป(อย่างที่ทุกคนจะเข้าใจกันเวลาพูดถึงหน่วยประมวลผลแบบ Octa-core) ผู้กล่าวหาบอกว่ามันจะประมวลผลได้แค่ 4 threads เท่านั้น(ตามรูปแบบของสถาปัตยกรรมจริงๆ ดังรูปด้านล่าง

AMD_Bulldozer_block_diagram_(8_core_CPU) 600

ภาพแสดง Diagram ของสถาปัตยกรรม “Bulldozer”

หากทุกท่านลองสังเกตดูดีๆ แล้วจะเห็นได้ครับว่าความหมายของคำว่า Octa-cores ของ AMD น่าจะหมายถึงการที่มี 4 Modules โดยแต่ละ Module นั้นจะมี Integer Cluster ที่ใช้ในการคำนวนแยกอยู่ 2 ชุด แต่ด้วยความที่มันยังคงอยู่ใน Module เดียวกันดังนั้นการส่งข้อมูลต่างๆ เข้าไปเพื่อไปประมวลผลตามหลักจริงๆ แล้วก็ต้องส่งเข้าไปได้แค่ Module ละ thread เดียวเท่านั้น ซึ่งดังนั้นแล้วตามความเป็นจริงหน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรม “Bulldozer” น่าจะเป็นหน่วยประมวลผลที่มีแกนการประมวลผล 4 แกนมากกว่าครับ

ทั้งนี้ทางผู้กล่าวหายังได้บอกอีกด้วยว่า AMD นั้นทำการหลอกโปรแกรมตรวจสอบหน่วยประมวลผลต่างๆ(รวมไปถึง Task Manager ของ Windows) ให้โชว์ว่าสามารถประมวลผลได้ทีเดียว 8 threads ด้วย ซึ่งตรงจุดนี้แหละครับที่กลายเป็นเรื่องที่ผู้กล่าวหานำไปฟ้องว่าทาง AMD ได้ทำการโฆษณาหน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรม “Bulldozer” เกินจริงว่าเป็นหน่วยประมวลผลแบบ Octa-cores(ซึ่ง ณ ตอนที่หน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรม “Bulldozer” วางจำหน่ายสื่อหลายๆ สำนักได้ทำการ Benchmark แล้วพบว่าประสิทธิภาพน่าผิดหวังครับ)

ถามว่าการหลอกแบบนี้คล้ายกับลักษณะใด อยากให้ท่านผู้อ่านได้ลองย้อนนึกไปถึงสมาร์ทโฟนบางยี่ห้อที่โฆษณาว่ามาพร้อมกับกล้องที่สามารถถ่ายภาพได้ที่ความละเอียดสูงๆ หลายๆ Megapixels แต่ในความเป็นจริงแล้วเซ็นเซอร์ของตัวกล้องนั้นไม่ได้มากถึงเท่ากับที่ได้โฆษณาไว้ทว่าได้นำภาพนำผ่านซอฟต์แวร์เพื่อปรับความละเอียดของภาพให้มีความละเอียดสูงขึ้นเป็นต้นครับ งานนี้คงต้องรอดูกันต่อไปครับว่าทาง AMD จะออกมาแก้ข้อกล่าวหาว่าอย่างไรบ้าง

หมายเหตุ – หน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรม “Bulldozer” ถูกวางจำหน่ายในชื่อ AMD FX อย่างเช่นรุ่น AMD FX 8150 เป็นต้น

ที่มา : notebookcheck

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

รีวิว MSI

MSI Stealth A16 AI+ ครีเอเตอร์โน๊ตบุ๊คเล่นเกมได้ ดีไซน์เรียบหรูและแรงด้วยพลัง AMD Ryzen AI ทำได้ทุกงานเล็กใหญ่!! นอกจาก MSI Titan กับ MSI Raider สองพี่น้องตัวแรงขวัญใจเกมเมอร์แล้ว ฝั่งครีเอเตอร์หน้าตาเรียบหรูซ่อนความแรงก็มี MSI Stealth A16 AI+ ให้ครีเอเตอร์หาซื้อเอาไว้ทำงานกราฟิคตั้งแต่แต่งภาพและตัดต่อวิดีโอความละเอียดสูงก็ได้ ปั้นโมเดล...

Special Story

ถ้านับในช่วงหลัง ๆ มา ชิปกราฟิกแบบ iGPU ที่อยู่ใน CPU โน้ตบุ๊กของ AMD ได้รับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดจนทำให้มีประสิทธิภาพสูงถึงระดับที่สามารถใช้งานได้จริง โดยเฉพาะกับการใช้เล่นเกมที่ข้ามกำแพงจากในอดีตกราฟิกแบบ iGPU มักจะทำได้อย่างมากก็เป็นเกมออนไลน์ เกมเก่าที่มีอายุนานพอสมควรแล้ว กลายมาเป็นสามารถเล่นเกมระดับ AAA และเกมใหม่ล่าสุดได้ ซึ่งปัจจุบันก็เดินทางมาถึง AMD Radeon 800M series ที่มาพร้อมกับชิป AMD...

Special Story

ปีนี้นับเป็นปีที่ซีพียูโน้ตบุ๊กของ AMD มีการเปลี่ยนแปลงแบบเห็นได้ชัด และมีความน่าสนใจในด้านประสิทธิภาพที่สูงขึ้นโดยที่ยังคุมการใช้พลังงานและความร้อนได้ดี ทำให้เราได้เห็นการนำซีพียู AMD ไปใช้ทั้งในโน้ตบุ๊กทำงานทั่วไป เกมมิ่งโน้ตบุ๊กตั้งแต่สเปคระดับเริ่มต้นไปจนถึงระดับท็อป รวมถึงในกลุ่มเครื่องเกมพีซีพกพาด้วย แต่ที่จะเด่นชัดสุดคงหนีไม่พ้นชิปรุ่นใหม่ล่าสุดที่มีโค้ดเนมว่า AMD Strix Point หรือในชื่อที่ใช้จริงนั่นคือ AMD Ryzen AI 300 series นั่นเอง

Special Story

สำหรับการเล่นเกม แน่นอนว่าพลังประมวลผลกราฟิกจาก GPU คือหนึ่งในปัจจัยสำคัญ เพราะจะเป็นสิ่งที่ชี้วัดถึงระดับประสิทธิภาพว่าจะสามารถเรนเดอร์ภาพออกมาได้สวย เฟรมเรตสูง ความหน่วงต่ำขนาดไหน ทำงานร่วมกับ CPU และฮาร์ดแวร์อื่น ๆ ในเครื่อง ซึ่งถ้าทั้งระบบสามารถทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี ก็จะช่วยยกระดับประสบการณ์การเล่นเกมให้ดีขึ้นไปด้วย นอกจากนี้เหล่าผู้ผลิตเองก็มีเทคโนโลยีที่จะมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับพลังกราฟิก โดยที่ยังลดภาระของฮาร์ดแวร์ลงด้วย หนึ่งในนั้นก็คือ AFMF 2 เทคโนโลยีล่าสุดจาก AMD นั่นเอง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก