Lenovo Z5170 สเปกที่ขายในไทย ราคา 24,990 บาท
สำหรับโน๊ตบุ๊คในกลุ่มของ Z series จากทาง Lenovo จะเป็นโน๊ตบุ๊คที่เติมความต้องการของผู้ใช้ในด้านธุรกิจและความบันเทิงได้ควบคู่กันไป ด้วยทั้งขุมพลังการประมวลผลและการออกแบบังก์ชั่นต่างๆ ให้สอดคล้องกับการใช้งานในชีวิตประจำวันของผู้ใช้ ภายใต้รูปลักษณ์ที่ดูเรียบง่าย ให้ความรู้สึกที่บาง และน้ำหนักไม่มากเกินไป เช่นเดียวกับ Lenovo Z5170 ที่เป็น Z series รุ่นใหม่นี้ ที่มาพร้อมกับการปรับปรุงในด้านมัลติมีเดียและกราฟฟิกการ์ดในระดับกลางจากทาง AMD พร้อมกับหน้าจอและระบบเสียงที่ตอบสนองการใช้งานด้านความบันเทิงได้ดี รวมถึงคีย์บอร์ดที่แข็งแกร่ง ออกแบบมาเพื่องานในสำนักงานได้อย่างคุ้มค่า
โดยที่ Lenovo Z5170 มาในรูปแบบของโน๊ตบุ๊คมัลติมีเดีย ที่มีหน้าจอขนาด 15.6″ มีหน่วยประมวลผล Intel Core i5-5200U และแรม 8GB รวมถึง SSD 256GB มาบนบอร์ด แม้จะเป็นพื้นที่ที่ค่อนข้างจำกัดก็ตาม แต่มันก็ทำให้ได้ความเร็วและการเคลื่อนไหวได้ราบลื่นยิ่งขึ้นสำหรับการเปิดโปรแกรมหรือเกมก็ตาม ที่น่าสนใจก็คือ การใช้ชิปกราฟฟิกที่พัฒนาล่าสุด AMD Radeon R9 M375 ซึ่งเป็นกราฟฟิกในระดับกลาง ที่มาพร้อมกับหน่วยความจำ 2GB แยกต่างหาก ที่สามารถเรนเดอร์เกมในเวอรั่นล่าสุดได้ลื่นบนความละเอียดระดับกลาง
สำหรับ Lenovo Z51 series มีแยกย่อยออกเป็น 8 รุ่นด้วยกัน โดยมีตั้งแต่ราคา 647 – 1125USD หรือประมาณ 23,000 – 40,000 บาท โดยที่ Lenovo ออกแบบบอดี้ได้น่าสนใจยิ่งขึ้น ด้วยการใช้กรอบหน้าจอแบบอลูมิเนียมที่มีพื้นผิวลายขัด ทำให้ลดการเกิดรอยนิ้วมือได้ดีขึ้น พร้อมฝาปิดที่มีความบาง ตัวฐานสามารถบิดตัวได้เล็กน้อย แม้โครงสร้างจะเป็นโลหะก็ตามและแบตเตอรี่ที่ถอดเปลี่ยนได้ตามรูปแบบพื้นฐานของ Z50 series นั่นเอง
การเชื่อมต่อ
Lenovo เลือกวางพอร์ตเชื่อมต่ออุปกรณ์ให้ไม่ใช้งานยากจนเกินไป โดยมีการกระจายพอร์ตออกไปได้อย่างเหมาะสม โดยด้านซ้ายของเครื่องจะเป็นส่วนหลักในการติดตั้งพอร์ต ที่มีทั้ง USB 3.0, LAN เพื่อความสะดวกในการใช้อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลและอื่นๆ และพอร์ตแสดงผลที่มี D-Sub และ HDMI ซึ่งจะใกล้เคียงกับบริเวณที่ระบายความร้อน อีกด้วยหนึ่งที่เป็นไดรฟ์ DVD จะมีพอร์ต USB 2.0 ที่อาจจะดูช้าในการถ่ายโอนข้อมูล แต่ก็รองรับกับเมาส์และคีย์บอร์ดแยกได้ดีและมี Media Card Reader ไว้ให้ด้วย จัดวางให้มีพื้นที่ไม่ต้องเบียดกัน เวลาที่ใช้งาน
การเชื่อมต่อไร้สาย
Lenovo เลือกใช้ชิป Wireless ในแบบ Dual-band ในรุ่น Wireless-AC 3160 ที่รองรับการใช้งานของ WiFi และ Bluetooth เอาไว้ด้วย ซึ่งมีคุณสมบัติในการรับ-ส่งสัญญาณที่แข็งแกร่ง โดยมีระยะและ Data rate ที่มีคุณภาพ แม้จะเลื่อนระยะออกมาจากเราเตอร์มากขึ้นแล้วก็ตาม
ทัชแพด
ทัชแพดมีขนาดกลางและเป็นพื้นผิวหยาบ ไม่สะท้อนแสง ไม่สะดุดกับขอบด้านนอก มีอัตราการตอบสนองที่ดี รองรับการวางนิ้วแลการเลื่อน รวมถึงการ Drag & Drop ได้อย่างสมบูรณ์ สามารถใช้งานแบบ 3 นิ้วพร้อมกัน เมื่อติดตั้งไดรเวอร์ Elan เข้าไป ทำให้การการเลือกและ Crop ก็ทำได้ลื่น สะดวกมากยิ่งขึ้นทีเดียว
แป้นพิมพ์คีย์บอร์ด
แป้นพิมพ์จัดวางได้ดี ช่องว่างระหว่างตัวปุ่มกำลังเหมาะ ช่วยให้การพิมพ์สบายมากยิ่งขึ้น มีเพียงตัวปุ่มที่อาจจะไม่แน่นมากนัก แต่ก็ไม่ส่งผลกระทบต่อการพิมพ์จนรู้สึกได้ แต่สิ่งสำคัญคือ การจังหวะการกดที่ไม่เสียไป ซึ่งอาจไม่นุ่มนวลนัก ให้การสะท้อนกลับมาที่นิ้วรวดเร็ว นอกจากนี้ส่วนของ Numpad มีขนาดที่เล็กลงบ้าง หากเทียบกับแป้นพิมพ์ในรูปแบบเดิม แต่ก็ยังใช้งานได้ดี ดูจะเป็นคีย์บอร์ดที่ใช้ในชีวิตประจำวันอย่างสบายๆ ได้อีกด้วย
จอแสดงผล
Lenovo Z5170 มาพร้อมจอแสดงผลความละเอียด Full-HD (141 ppi) ในแบบจอด้าน บนพื้นฐานจองจอ TN Technology ให้ความคมชัดได้ดีพอสมควร ผลของค่า Brigtness ที่ความแตกต่างของพื้นสีดำอยู่ที่ 509:1 อยู่ในระดับปานกลาง ข้อจำกัดอยู่ที่มุมมองบนความสว่างระดับ 85% ทำให้ไม่ได้ความคมชัดในมุมมองเหมือนกับพาแนล IPS แต่ก็ให้ภาพในโทนของสีเย็นที่แจ่มชัด ไม่ทำให้เสียบรรยากาศในการใช้งานมากเกินไป นอกจากนี้การปรับและตั้งค่าโพรไฟล์บ้าง ก็ทำให้การใช้งานในรูปแบบต่างๆ ได้ย่างเหมาะสม
และจากภาพที่แสดงในข้างต้นจะเห็นได้ว่า แม้จอจะมีการเคลือบเป็นแบบด้านมา ก็ไม่ได้มีผลมากกับการหันหน้าจอไปยังแหล่งกำเนิดแสงมากๆ แต่ในกรณีที่ต้องใช้งานในลักษณะดังกล่าว Lenovo ก็ยังออกแบบมาให้มีความสว่างสดใสมากยิ่งขึ้น แต่ก็คงไม่อาจสู้ความสว่างที่ได้จากจอแบบ Glare-type panel หน้าจอในบบ IPS น่าจะเป็นสิ่งที่หลายคนลุ้นให้ติดมากับ Z51-70 นี้ด้วย เพื่อให้ได้การมองภาพที่ดีกว่านี้ แต่ด้วยข้อจำกัดบางประการ การนำจอภาพ TN screen ที่ยังคงให้แสงและความคมชัดได้ดีระดับนึ่ง แม้มุมมองจะไม่สูงมาก และเรื่องการแสดงสีที่ไม่เพี้ยนเกินไป อีกทั้งให้ความคมชัดได้ดี ก็เป็นสิ่งที่ค่อนข้างลงตัวกับการใช้งานในราคาที่ไม่สูงเกินไป
ประสิทธิภาพในการทำงาน
ด้านการประมวลผล
ประสิทธิภาพในการประมวลผลที่ได้จาก Broadwell ก็มีส่วนทำให้ประสิทธิภาพที่ได้ดีขึ้น หากเทียบกับ Haswell ที่เป็นชิปในอดีต ที่เป็นกระบวนการผลิต 22nm ด้วยสายการผลิตที่ 14nm นี้ ดูจะเป็นที่นิยมในการใช้งาน โดยเฉพาะซีพียู IntelCore i5-5200U (2.2-2.7GHz) ที่มาพร้อม Hypet-Threading และ TDP 15 Watts ที่ให้สัญญาณนาฬิการเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 5-15% จากเดิมที่เป็น Core i5-4200U (1.6-2.6GHz) ในค่า TDP 15 Watts เท่ากัน ซึ่งดูจะเป็นซีพียูสำหรับอัลตร้าบุ๊กที่บางและมีขนาดกระทัดรัด
ด้วยสัญญาณนาฬิกาที่สูงสุดและกราฟฟิกคุณภาพ Intel HD Graphic 5500 ที่ถูกรวมเข้ามาในตัว รองรับการทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์ทั่วไป รวมถึงรับมือกับงานกราฟฟิกและมัลติทาส์กกิ้งได้อย่างไม่ยาก โดยเฉพาะโปรแกรมที่รองรับการประมวลผลแบบ 4 คอร์ แต่อาจจะสะดุดกับเกมบางตัวที่ต้องการพลังในการประมวลผลที่หนักหน่วง ผลการทำงานในบางอย่างอาจทำให้มีการโหลดล่าช้าลงบ้าง แต่ให้เสถียรภาพได้ดีกับ CineBench R15 ซึ่งก็ดูไม่ได้ทำให้การทำงานลดน้อยลงไป แม้จะเป็นซีพียูในซีรีส์ “U” ก็ตาม ที่สำคัญยังรองรับโหลดการทำงานในบางช่วงที่ความเร็วเต็มพิกัด 2.5GHz ในบางช่วงเวลาเท่านั้น
ประสิทธิภาพโดยรวมของระบบ
ไม่เพียงแต่ CPU ที่มีส่วนสำคัญในการทำงานของระบบ ส่วนของกราฟฟิกเองก็มีผลสำคัญต่อการทำงาน รวมถึงอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล โดยในกราฟที่ปรากฏนั้น แสดงให้เห็นถึงขีดความสามารถในภาพรวมที่ค่อนข้างดี และส่วนหนึ่งก็มาจากการใช้ SSD กราฟฟิกที่มีประสิทธิภาพดีในรดับหนึ่ง ก็ช่วยยกระดับความสามารถขึ้นได้ไม่น้อย การเริ่มต้นโปรแกรม จากการเปิดไฟล์และโปรแกรมที่รวดเร็ว เข่น Adobe Lightroom ที่เปิดไฟล์งานได้อย่างราบลื่นและเปิดแท็ปบน Chrome ได้หลายๆ แท็ปพร้อมกัน ด้วยความลื่นไหลเหล่านี้ก็ทำให้ใช้งานบน Z51-70 ได้อย่างสนุกมากยิ่งขึ้น
อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล
ด้วยคะแนนรวมของ SSD รุ่นใหม่ๆ 256GB จากซัมซุงในรุ่น MZYLN256HCHP แม้ว่าจะไม่ได้ถูกวางอยู่ในโมเดลต้นๆ ของ SSD ก็ตาม ในการทดสอบ AS SSD และ Database แต่ผลที่ได้ก็สร้างความประทับใจได้ดี โดยเป็นเพียงไม่กี่รุ่น ที่ให้ความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลได้ถึง 507MB/s ในการอ่านข้อมูล 4K ส่วนการอ่านข้อมูล 4K-64 Read ในแบบมัลติเธรด อาจจะดูไม่สูงมากนัก ด้วยความเร็วประมาณ 379MB/s ก็ถือเป็นเรื่องธรรมดา ส่วนในการทดสอบ CrystalDiskMark 3.0 ที่ไม่ได้พัฒนามากับ SSDs โดยตรง แต่ผลที่ได้ในการทดสอบ ก็ยังให้ผลในการทำงานที่เร็วอย่างน่าทึ่ง
ประสิทธิภาพในด้านกราฟฟิก
เป็นที่น่าเสียดานสำหรับข้อมูลที่มีไม่มากนักของ AMD R9 M357 รุ่นใหม่ ที่เพิ่งเปิดตลาดไปเมื่อกลางปีนี้ ด้วยกราฟฟิกที่มีความจุเมมโมรี 2GB DDR3 (1800MHz) และสัญญาณนาฬิกาที่ 1050MHz แม้ว่าโดยปกติจะรองรับ GDDR5 ซึ่งให้อัตราการส่งข้อมูลที่สูงขึ้นบนอัตราแบนด์วิทธ์ของหน่วยความจำที่ 128 บิตก็ตาม อย่างไรก็ตามโมเดลดังกล่าวยังไม่มีให้เห็นในเวลานี้ ซึ่งการ์ดในรุ่นระดับกลางยังไม่มีฟีเจอร์เหล่านี้ด้วยเช่นกัน ส่วนสิ่งที่จะใช้ได้ดีก็คือ Eyefinity ที่จะช่วยให้ต่อจอภาพได้มากถึง 6 จอ ขึ้นอยู่กับอินเทอร์เฟสที่มี รวมถึงฟีเจอร์พิเศษอย่าง CNG และรองรับการใช้งานบน DirectX 12
Enduro คือเทคโนโลยีที่ใช้สลับการทำงานระหว่าง HD 5500 และ R9 M375 ให้อัตโนมัติ ซึ่งมันสามารถใช้งานในรูปแบบของ nVIDIA Optimus ในการกำหนดการทำงานด้วยตัวเอง ซึ่งในการทดสอบหลายเกม R9 M375 (DDR3) สามารถทำผลงานได้สูสีกับ GeForce 940m ด้วยการเปรียบเทียบความเร็วในการทดสอบ 3DMark 2011 ด้วยคะแนนที่สูงถึง 3314 คะแนนเลยทีเดียว
ประสิทธิภาพในด้านการเล่นเกม
R9 375M ยังคงเป็นกราฟฟิกที่มากความสามารถในการเรนเดอร์ได้ดีและตอบสนองความต้องการของเกมวันนี้ได้พอสมควร เช่นการเล่น Battlefield Hardline ของปี 2014 ที่ทำได้นุ่มนวลบนการตั้งค่า Medium ความละเอียด 1366 x 768 pixels แต่เกมเมอร์หลายคนก็ดูจะเฉยๆ กับเฟรมเรตที่ 44 fps. การตั้งค่าแบบ Medium ส่วนใหญ่มักจะปิดฟีเจอร์บางอย่าง เพื่อไม่ให้อัตราเฟรมเรตต่ำเกินไปจนรบกวนการเล่นได้หรือทำเฟรมเรตน้อยลงกว่าที่ต้องการ อย่างไรก็ดีมีเกมหลายเกมในปี 2013 ที่สามารถตั้งค่าแบบ High บนความละเอียด 1366 x 769 pixels ได้เช่นกัน
อุณหภูมิในการทำงาน
ตัวอย่างจากการทดสอบแสดงให้เห็นถึงอุณหภูมิที่ร้อนสุดอยู่ที่บริเวณตัวระบายด้านล่างที่ 46 องศาเซลเซียส ซึ่งก็หมายความว่าจะไม่ได้รู้สึกอึดอัดเมื่อวางบนตักแน่นอน ส่วนบริเวณที่วางมือที่มีการสัมผัสบ่อยที่สุด ก็ยังไม่เกิน 35 องศา โดยยืนยันได้จากหน่วยประมวลผล 2.1GHz เมื่อมีการรันโปรแกรมประมาณ 20 นาทีผ่านไป ด้วย Prime95 และ FurMark ทำให้ซีพียูขยับไปที่ 2.2GHz ก็สามารถเช็คอุณหภูมิได้เพียง 83 องศาเซลเซียสเท่านั้น อาจกล่าวได้ว่า Lenovo มีการจัดการระบายความร้อนได้เป็นอย่างดีและควบคุมอุณหภูมิได้อยู่หมัด จากการทดสอบ Cinebench แบบต่อเนื่อง
การใช้พลังงาน
Lenovo แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าประหยัดพลังงานอย่างมาก จากผลการทดสอบที่ได้ ด้วยโหลดการทำงานที่ค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับโน๊ตบุ๊คที่มีจอขนาด 15.6″ และใช้ซีพียู Intel Core i5-5200U ด้วยกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้พลังงานค่อนข้างสูง ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะองค์ประกอบบางอย่างที่ทำงานร่วมกัน จนทำให้ผลลัพธ์ในภาพรวมออกมาดี
ระยะการทำงานของแบตเตอรี่
ระยะเวลาในการทำงาน อาจไม่ได้ออกมาสวยหรูอย่างที่คาดหวัง จากแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนความจุ 32Wh ซึ่งเมื่อมองไปที่แถบแบตเตอรี่ด้านล่าง สะท้อนให้เห็นถึง Load Runtime ด้วยการทำงานที่ 289 นาที ในโลกการทดสอบด้วยการต่อ WiFi และลดความสว่างลงไปในโหมดประหยัดพลังงาน และใช้การท่องเว็บด้วยการรัน Script
Conclusion
ยังไม่ชัดเจนว่า Lenovo จะนำจอ IPS มาลงใน Z series นี้ ไม่ว่าจะกรณีใดๆ ก็คงยังต้องใช้จอภาพเคลือบด้านในแบบ TN Panel กันต่อไป ที่มุมมองก็ยังคงจำกัด เรื่องของสีก็คงอาจจะต้องปรับปรุงอยู่บ้าง เช่นเดียวกับแป้นพิมพ์ที่อาจจะไม่ได้แน่นเท่าที่ควร แต่สิ่งเหล่านี้อาจเป็นเรื่องธรรมดา หากเทียบกับการใส่ความเป็นมัลติมีเดียเข้าไปได้น่าใช้มากยิ่งขึ้น รวมถึงการประมวลผลและการใช้กราฟฟิกใหม่ในระดับกลางที่ตอบรับกับเกมหลายเกมได้ดี แม้อาจจะอยู่ในการตั้งค่าแบบ Medium ก็ตาม ซึ่งความโดดเด่นที่สุดก็น่าจะเป็นเรื่องของการประหยัดพลังงานและการใช้งานต่อเนื่องมากขึ้น
จุดเด่น
- ออกแบบรูปลักษณ์ได้โดดเด่นขึ้นและดูบางลง
- ใช้กราฟฟิกรุ่นใหม่ R9 375M ที่มีประสิทธิภาพ
- มีการใช้พลังงานที่ลดลง
- จอภาพความละเอียด Full HD
ข้อสังเกต
- จอภาพที่ยังคงเป็น TN Panel
- น้ำหนัก 2.3 กิโลกรัม ที่ยังไม่ต่างจากรุ่นเดิมมากนัก
ที่มา :notebookcheck