สำหรับเราๆ ท่านๆ ที่เป็นชาวไทยแล้วอาจจะไม่ค่อยได้ยินหรือรู้จักเกี่ยวกับงานที่ใช้ชื่อว่า EPIC’s Champions of Freedom ซึ่งจัดในสหรัฐอเมริกากันสักเท่าไรครับ แต่ถ้าคุณเป็นนักวิจัยที่อยู่ในวงการเรื่องของความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของประชาชนแล้วงานนี้น่าจะเคยผ่านตาของคุณมาบ้างครับ ล่าสุดในงาน EPIC ที่พึ่งจะทำการจัดไปที่ Washington นั้น CEO ของ Apple อย่าง Tim Cook ได้รับเกียรติให้ปราศัยเกี่ยวกับเรื่องของการเข้ารหัสและความเป็นส่วนตัวของประชาชนครับ
ในงานนั้นทาง Cook ไม่ได้ไปเข้าร่วมแต่อย่างใด ทว่าเขาได้ใช้วิธีการปราศรัยออนไลน์ไปยังในงานครับ Cook เกริ่นเริ่มต้นในตอนแรกว่าทาง Apple ปฎิเสธเส้นทางที่จะต้องให้ลูกค้าของพวกเขาเลือกระหว่างความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย โดยเขาได้บอกว่าพวกเขาสามารถและจะต้องให้ลูกค้าของพวกเขาได้รับทั้ง 2 สิ่งในส่วนที่เท่าๆ กัน และพวกเขาเชื่อว่าไม่ว่าจะเป็นประชาชนหรือรัฐธรรมนูญและศีลธรรมจรรยาต่างก็ต้องมีความเป็นส่วนตัวเป็นพื้นฐานหลักครับ(โดยเฉพาะประชาชนชาวสหรัฐฯ)
Cook ยังได้กล่าวต่ออีกว่าบริษัทของเขานั้นมีแนวทางที่แตกต่างออกไปจากบริษัทอื่นๆ ที่อยู่ใน Silicon Valley อย่าง Google และ Facebook ที่ทั้ง 2 บริษัทนั้นนำเสนอบริการที่ให้ลูกค้าสามารถที่จะใช้งานได้ฟรีๆ เพื่อแลกกับข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าในการดำเนินแนวทางธุรกิจที่เน้นเรื่องของการโฆษณากับลูกค้าเป็นหลัก โดย Apple นั้นเสนอบริการที่ไม่ต้องการข้อมูลของลูกค้า ถึงแม้ว่าบนอุปกรณ์ของ Apple เองนั้นจะมีการเก็บข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าไว้เช่นเดียวกัน(เช่นข้อมูลสุขภาพ, การเงินหรือแม้แต่กระทั่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานที่อยู่)
เขาบอกว่าทาง Apple เชื่อว่าลูกค้าควรที่จะสามารถทำการควบคุมข้อมูลของลูกค้าได้ ถึงแม้ว่าลูกค้าจะชื่นชอบบริการที่ให้ใช้ได้อย่างฟรีๆ มากกว่าก็ตาม แต่ต้นทุนของการสูญเสียต่อบริการที่ให้ลูกค้าสามารถใช้งานได้ฟรีๆ นั้นจะส่งผลกับลูกค้ามากกว่าในระยะยาวครับ
Cook ได้ยกตัวอย่างผลิตภัณฑ์ Google’s Photo ที่พึ่งเปิดตัวไปในงาน Google I/O 2015 ที่เป็นบริการฟรีซึ่งผู้ใช้สามารถที่จะทำการอัพโหลดรูปภาพไปเก็บไว้ได้บน Google’s cloud ได้อย่างไม่มีการจำกัดพื้นที่ ทว่ารูปต่างๆ นั้นก็จะถูกเอาไปใช้งานในการทำเหมือนข้อมูลเพื่อที่จะทำการวิเคราะห์ในการขายโฆษณาต่อไปครับ
การเข้ารหัสข้อมูล
หลังจากที่ได้กล่าวเกริ่นนำในเรื่องของความเป็นส่วนตัวไปแล้ว Cook ก็ได้เปลี่ยนไปกล่าวถึงเรื่องของการเข้ารหัสข้อมูลครับ โดยทาง Cook ได้กล่าวว่าเรื่องของการเข้ารหัสข้อมูลนั้นเป็นเรื่องทางด้านเสรีภาพของบุคคลที่ได้รับความร้อนแรงในการกล่าวถึงขึ้นทุกวัน ทว่าเรื่องนี้นั้นก็มีบางคนใน Washington(ซึ่งน่าจะหมายถึงคนในสภา) พยายามที่จะปิดกั้นเรื่องดังกล่าวไม่ให้เกิดขึ้นกับประชาชนในการเข้ารหัสข้อมูลของพวกเขา ซึ่ง Cook เป็นบุคคลที่มีแนวคิดตรงข้ามกับเรื่องนี้ครับ เพราะตัวเขาเองนั้นเชื่อว่าผู้คนควรจะมีสิทธิ
สำหรับเรื่องของการเข้ารหัสข้อมูลนั้นทาง Apple ได้ให้ความสำคัญมากครับ โดยทางบริษัทเองก็ได้ทำการนำเสนอการเข้ารหัสข้อมูลต่างๆ ในผลิตภัณฑ์ของบริษัทเองมาเป็นระยะได้หลายปีแล้ว ตัวอย่างเช่นบริการ iMessage หรือ Facetime ที่ทาง Cook ระบุว่าข้อมูลดังกล่าวนั้นเป็นเรื่องส่วนบุคคลของลูกค้าพวกเขาดังนั้นทางบริษัทเองก็ไม่ได้อยากต้องการที่จะไปยุ่งอะไรกับข้อมูลในส่วนดังกล่าวของลูกค้าครับ
กระทวรงความมั่นคงของสหรัฐอเมริกาได้ก่อสงความในเรื่องการเข้ารหัสให้เป็นที่แพร่หลายนี้มาอย่างยาวนานแล้วครับ โดยกระทรวงความมั่นคงได้พุ่งเป้าไปยังกลุ่มผู้ก่อการร้ายที่ถ้าหากคนกลุ่มนี้มทีความอิสระในการเข้ารหัสแล้วหล่ะก็พวกพวกผู้ก่อการร้ายก็จะได้รับประโยชน์ในเรื่องดังกล่าวในการปิดบังข้อมูลที่อาจจะทำให้เกิดความไม่มั่นคงต่อประเทศชาติได้ แต่กับ Cook แล้วเห็นว่าเรื่องนี้ก็เป็นสิทธิ์ส่วนบุคคลของแต่ละคนครับไม่ว่าเขาคนนั้นจะดีหรือร้ายก็ตาม
ถ้า Cook ทำตามที่ Washington ต้องการโดยการนำเอาเครื่องมือในการเข้ารหัสข้อมูลของพวกเขาออกไปจากแอปพลิเคชันต่างๆ บรรดานักเจาะข้อมูลก็จะสามารถทำงานได้ง่ายขึ้นในการเข้าถึงข้อมูลที่พวกเขาต้องการซึ่งนั่นอาจจะเป็นผลดีต่อทางการแต่กับประชาชนผู้ใช้ทั่วไปแล้ว เรื่องแบบนี้นั้นย่อมไม่เป็นเรื่องที่ดีมากเท่าไรนักแน่ครับ เพราะคงไม่มีใครต้องการที่จะให้ข้อมูลของตัวเองตกลงไปอยู่กับบุคคลที่ไม่พึ่งประสงค์
โดยทาง Cook บอกว่าเรื่องนี้เขาไม่ได้นิ่งนอนใจและได้มีการร่วมทำงานกับรัฐบาล แต่เขาก็ไม่เห็นด้วยกับการที่ระบบเข้ารหัสรักษาความปลอดภัยจะอ่อนแอหรือถอดมันทิ้งไปเลย เพราะหากเทียบกันตามจริงแล้วผลเสียต่อผู้ใช้ทั่วไปที่จะเกิดขึ้นมากกว่า เพราะนั่งหมายถึงข้อมูลสำคัญๆ ของพวกเขานั้นจะไม่ได้รับสิทธิ์ในการเข้ารหัสอย่างที่เป็นธรรมครับ
Cook ยังบอกอีกว่าแอปพลิเคชันของพวกเขา(หรือแม้กระทั่งผลิตภัณฑ์) ได้รับการออกแบบขึ้นมาให้เก็บข้อมูลของผู้ใช้งานให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เ แค่การเก็บข้อมูลน้อยนั้นก็ไม่ได้ทำให้ประสบการณ์การใช้งานของผลิตภัณฑ์ของ Apple สูญเสียไป และประสบการณ์การใช้งานนั้นจะต้องออกมาอย่างดีที่สุด
หากจะเทียบไปแล้วแอปพลิเคชันและบริการของ Apple นั้นก็ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้มากเหมือนกับของทางฝั่ง Google จริงๆ ครับ ตัวอย่างเช่นแอปพลิเคชัน Google Now นั้นแทบจะเก็บข้อมูลของผู้ใช้งานในเกือบจะทุกก้าวของการเคลื่อนไหว แล้วนำมาประมวลผลเพื่อแสดงข้อมูลต่างๆ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า Google Now จะมีระบบรักษาความปลอดภัยและการเข้ารหัสข้อมูลผู้ใช้งานที่ไม่ดีนะครับ แต่ทาง Cook เห็นว่า Google นั้นเปิดเผยข้อมูลหลายๆ ส่วนของผู้ใช้งานมากเกินไป
Cook ได้ยอกคำพูดหนึ่งของ Abraham Lincoln ที่ว่า “America will never be destroyed from the outside. If we falter and lose our freedoms, it will be because we destroyed ourselves.” ซึ่งมีความหมายความว่าเสเรภาพของชาวอเมริกันไม่มีใครที่จะสามารถมาทำรายได้นอกจากพวกเราชาวอเมริกันจะทำมันกันเองครับ
การขายและความซื่อสัตย์
จากการพูดของ Cook ในงานนี้ก็คงไม่สามารถที่จะทำการพิสูจน์ได้อย่างชัดเจนได้ครับว่าสรุปแล้วแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องระบบ cloud ของทาง Apple นั้นถูกต้องหรือดีกว่าผู้ให้บริการรายอื่นหรือไม่ แต่สิ่งที่ทำให้เรารู้ในขณะนี้ก็คือ Apple เองนั้นก็มีบริการที่เหมือนๆ กันกับคู่แข่งและยังมีคำยืนยันออกมาอีกด้วยว่าพวกเขานั้นจะไม่ยุ่งกับข้อมูลของผู้ใช้ที่จัดเก็บอยู่บน cloud ของเขา
ในทำนองเดียวกัน cook เองก็ได้ให้ความมั่นใจว่าจะไม่มีใครสามารถที่จะเข้าไปยุ่งกับข้อมูลของผู้ใช้บนระบบ cloud ของทาง Apple ด้วยเช่นเดียวกัน(แต่จากข่าวก่อนหน้านี้ที่มีเซเลปหลายคนบอกว่าโดนแฮก iCloud นั้นก็ทำให้น่าคิดเป็นอย่างยิ่งครับ แถมในเมืองไทยก็พึ่งจะมีคุณเก๋ ชลดา ที่ออกมาเป็นข่าวไปได้ไม่นานนัก)
อย่างน้อยผู้ที่ใช้บริการของทาง Apple เองก็คงจะพอใจได้ครับ เพราะทาง Apple ได้ให้ความเป็นส่วนตัวที่ยังมาพร้อมกับความปลอดภัยในระดับสูงอย่างที่เราไม่ค่อยได้เจอในบริการจากเจ้าอื่นทั่วไป แต่ทว่าเรื่องแบบนี้ก็เป็นเรื่องที่ชาวแฮกเกอร์เขาชอบกันมากหล่ะครับ เพราะยิ่งระบบใดมีความหนาแน่สูงเจาะยาก แฮกเกอร์มือฉมังต่างก็อยากจะเจาะระบบเหล่านี้กันทั้งนั้น
พูดถึงเรื่องความเป็นส่วนตัวกับความปลอดภัยของข้อมูลใมเมืองไทย
ถ้าจะพูดถึงในเมืองไทยของเราเองนั้น เรื่องของความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยเริ่มเข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการที่บ้านเรามี พรบ. คอมพิวเตอร์ ที่โทษเมื่อทำผิดนั้นค่อนข้างที่จะรุนแรงมากพอสมควร แถมสมัยนี้นั้นอะไรก็ตามที่ออนไลน์ได้ก็มักจะไม่ใช่ข้อมูลส่วนตัวของเราๆ ท่านๆ อีกต่อไป
เคยมีคำพูดหนึ่งที่พูดกันอย่างแพร่หลายครับว่าไม่มีพื้นที่ส่วนตัวบน Social Media ซึ่งผมเชื่อว่าเราทุกๆ ที่เคยตามข่าวสารก็น่าจะได้เห็นเรื่องนี้กันมาแล้วอย่างกว้างขวางครับ ตัวอย่างที่ผ่านไปไม่นานมานี้ก็คือหนุ่มที่ไปถ่ายรูปตำรวจมาปลดล๊อคล้อรถทั้งๆ ที่ไปรเวทมาทำ(ซึ่งพอความจริงปรากฎกลับกลายเป็นหนังคนละม้วน) ผลของการกระทำโดยไม่ยั้งคิดนี้บน Social Media นั้นกระจายไปได้รวดเร็วครับ
วิธีป้องกันนั้นก็คงไม่กับถึงขั้นจะต้องกลับไปสู่โลกในยุคก่อนที่จะมีการออนไลน์หรอกครับ เพียงแต่ก่อนจะคิดก่อนจะทำอะไรก็ควรจะใช้สติกันสักนิด เพราะถึงแม้ว่าตัวระบบให้บริการไม่ว่าของใครก็ตามจะมีความปลอดภัยสูงมากแค่ไหน แต่ถ้าคุณเผลอทำอะไรที่เป็นเรื่องผิดพลาดไปในระบบออนไลน์แล้วหล่ะก็ต่อให้ลบยังไงก็ลบไม่หมดครับ
ที่มา : techcrunc