เทคโนโลยี AMD FreeSync™ พร้อมส่งมอบให้เกมเมอร์!
ภาพไม่กระตุก ไม่ขาด ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม แต่เล่มเกมได้อย่างลื่นไหล เป็นสิ่งที่เหล่าเกมเมอร์ปรารถนาใช่หรือไม่ ในวันนี้ความฝันของเกมเมอร์เป็นจริงแล้วด้วยไดร์เวอร์ Catalyst™ จาก AMD ซึ่งเป็นไดร์เวอร์ตัวแรกที่มาพร้อมกับเทคโนโลยี AMD FreeSync™ ทั้งนี้จอภาพที่รองรับ FreeSync พร้อมวางจำหน่ายแล้ว สำหรับใครที่ยังไม่ค่อยคุ้นหูกับเทคโนโลยี AMD FreeSync สามารถเข้าไปทำความรู้จักให้มากขึ้นได้ หรือสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.amd.com ของเรา
หากกล่าวถึงจอภาพแล้ว….
ด้านล่างเป็นรายชื่อจอภาพ FreeSync ของค่ายต่างๆ ที่ได้เปิดตัวไปแล้ว ผมได้มีโอกาสลองเล่นเกมโดยใช้จอภาพจากบางค่าย ผมบอกได้เลยว่ามันจะไม่ทำให้เกมเมอร์ผิดหวังแน่นอน บางคนอาจจะชอบโมเดลของ Acer หรือ BenQ ที่มีความละเอียดที่1440p และมี refresh rate range อยู่ที่ 40-144Hzแต่แฟนพันธุ์แท้ของจอ IPS หรือแบบ ultrawide อาจจะชอบจอภาพขนาด 29” หรือ 34” จาก LG และนอกจากนี้จอภาพกว่า 20 รุ่นได้เรียงคิวพร้อมเปิดตัวในปี 2015 นี้เช่นกัน
ทีนี้ผมอยากให้ผู้อ่านลองนึกถึงความรู้สึกตอนได้ดูวิดีโอแบบ HD เป็นครั้งแรก มันทำให้เราไม่อยากกลับไปดูวิดีโอแบบคุณภาพกลางๆ อีกต่อไปใช่หรือไม่ สำหรับผมแล้ว มันเป็นเช่นนั้น และมันก็เป็นสิ่งที่ผมรู้สึกตอนที่ได้เล่นเกมบนเทคโนโลยี AMD FreeSync เช่นกัน สำหรับผมแล้ว ผมไม่ชอบเลยเวลาเล่นเกมแล้วภาพมันขาดหรือไม่ก็กระตุก แต่ผมก็ทำอะไรไม่ได้กับเทคโนโลยีที่มีในขณะนั้น แต่พอมี FreeSync เรียกได้ว่ามันเปลี่ยนวงการเกมไปเลย เพราะเทคโนโลยีดังกล่าวได้แก้ทั้งภาพขาดและกระตุก แล้วก็ทำให้เราสามารถเล่นเกมได้อย่างลื่นไหล ผมไม่ต้องกังวลเลยว่าจอภาพจะสามารถแสดงผลได้ทันหรือไม่ แล้วคงเป็นเรื่องยากสำหรับผม ถ้าจะให้กลับไปเล่นเกมบนจอภาพธรรมดา
“ฟรี” อย่างไร
จริงๆ แล้วต้นทุนในการรวมเทคโนโลยี AMD FreeSync เข้ากับจอภาพแทบจะไม่มีเลย เพราะส่วนใหญ่แล้วผู้ผลิตต่างมีอุปกรณ์ใน supply chains ของตัวเองพร้อมอยู่แล้ว แต่จำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมเพื่อทำให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและ Adaptive-Sync ที่มากับ VESA DisplayPort จึงได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อจุด ประสงค์ดังกล่าว ทั้งนี้ DisplayPort Adaptive-Sync ไม่ได้คิดค่า license ไม่มี proprietary hardware แต่อย่างใด และเทคโนโลยี AMD FreeSync สร้างจากมาตรฐานดังกล่าวเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเล่นเกม
ทั้งหมดนี้สะท้อนอยู่ในราคาแล้ว สำหรับราคาจอภาพที่พันธมิตรของเราได้ประกาศไปจะถูกกว่าจอภาพของคู่แข่งในรุ่นเดียวกันประมาณ 100 ดอลล่าร์ ส่วนจอภาพจากเจ้าอื่นๆ เช่น จาก LG ก็ได้ปรับราคาลงปีนี้หลังจากที่หันมาใช้เทคโนโลยีของเรา และสิ่งนี้คือข้อดีของการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี open standard ซึ่งเป็นเพิ่มโอกาสให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้นและมีค่าใช้จ่ายไม่สูง
ประโยชน์ด้านประสิทธิภาพ
ต่อมาผมอยากจะแชร์ให้ผู้อ่านถึงข้อเท็จจริงหนึ่งของ AMD FreeSync จากการทดสอบของเราแสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยี AMD FreeSync ไม่ได้ก่อให้เกิด performance penalties ใดๆ ซึ่งผมมั่นใจว่าทางคู่แข่งไม่สามารถพูดได้อย่างเรา อันที่จริง เมื่อปีที่แล้วทางคู่แข่งได้ให้ข่าวกับสื่อฉบับหนึ่งไว้ว่าเทคโนโลยีของเขาจะเกิด latency ที่ 1ms ซึ่งจะทำให้ทำงานช้าไปประมาณ 3-5% แต่เทคโนโลยี AMD FreeSync สามารถทำงานได้ฉลาดกว่านั้นด้วย AMD FreeSync จะทำให้สามารถประมวลผลกราฟฟิกได้อย่างเต็มที่ ซึ่งนี่ก็เป็นผลดีของการพัฒนามาตรฐานใหม่ของอุตสาหกรรมกราฟฟิก
สำหรับเกมเมอร์ในวงการ TWITCH FPS
เราทราบปัญหาของท่านว่าแค่ Vsync อาจจะยังไม่ตอบโจทย์ได้อย่างเต็มที่นัก เพราะว่ามันลิมิตเฟรมเรทและไม่สามารถแสดงผลได้ทัน ซึ่งบางครั้งจะมีอาการ mouse lag หรือมีปัญหาเกี่ยวกับ input latency แต่ด้วยเทคโนโลยี AMD FreeSync™ จะทำให้คุณสามารถปิด Vsync ได้เมื่อเฟรมเรทอยู่ที่ dynamic refresh range เพราะฉะนั้นหากคุณมีจอภาพของ Acer หรือ BenQ 144Hz แต่ต้องการเล่น Counter-Strike: Global Offensive และต้องการให้รันที่ 240 FPS คุณสามารถทำได้! คุณจะยังคงสามารถเล่นเกมที่ 40-144Hz ด้วยจอภาพเหล่านั้นโดยที่ภาพยังลื่นไหลและไม่ขาด ทั้งนี้มันจะไม่เกิดปัญหา input latency หากเฟรมเรทมีค่าที่ 145+
จากกราฟด้านล่าง เส้นสีแดงแสดงให้เห็นถึงเฟรมเรทและ input latency ของ Vsynced ที่ 60Hz เส้นสีฟ้าคือเฟรมเรท และ mouse latency ของเกมที่ไม่ถูกจำกัดโดย Vsync และหากคุณต้องการที่จะเข้าไปแก้ไขเกมโปรดของคุณ สามารถทำได้โดย AMD FreeSync แต่คู่แข่งเราไม่สามารถทำได้
บทส่งท้าย
หากคุณใช้เทคโนโลยี AMD FreeSync คุณไม่จำเป็นต้องเพิ่มต้นทุนทางด้านฮาร์ดแวร์ นอกจากนี้ยังทำให้ไม่เกิด performance penalties และไม่จำกัดผู้ใช้งาน คุณจะได้เล่นเกมที่เฟรมเรทสมูธอย่างน่าเหลือเชื่อ และจะไม่มีวันกลับไปเล่นเกมโดยใช้จอภาพรุ่นเก่าๆ อีกต่อไป
สิ่งที่ผมกล่าววันนี้จะไม่ผิดไปจากนี้แน่ คุณตัดสินใจได้หรือยังว่าจะซื้อจอภาพแบบไหน
ผู้เขียนบทความคือ Robert Hallock เป็นผู้จัดการด้าน Technical Marketing ของ AMD ความเห็นทั้งหมดนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน