เมื่อไม่นานมานี้นักฟิสิกส์ของ University of California ที่ Santa Barbara ได้ทำการพัฒนาแบบแผนเพื่อที่จะช่วยให้ควอนตัมคอมพิวเตอร์สามารถที่จะสำการตรวจสอบความถูกต้องของตัวเองในการคำนวณได้ขึ้นมาครับ โดยระบบที่ทางทีมนักฟิสิกส์คิดค้นขึ้นมานั้นเป็นการเพิ่มในส่วนของวงจรตรวจสอบตัวเองเข้าไปบนควอนตัมคอมพิวเตอร์ ที่โดยปกตินั้นข้อมูลในควอนตัมคอมพิวเตอร์หรือที่เรียกว่า qubit นั้นจะไม่สามารถที่ทำการตรวจสอบสถานะของตัวเองได้ แต่เมื่อมีวงจรนี้เข้าไปแล้วจะทำให้ควอนตัมคอมพิวเตอร์สามารถที่จะตรวจสอบความถูกต้องในการคำนวณได้ครับ
ก่อนอื่นต้องอธิบายว่าการคำนวณของควอนตัมคอมพิวเตอร์นั้นจะใช้ qubit ซึ่งเป็นการส่งผ่านข้อมูลในรูปแบบของอิเล็กตรอนเข้าไปในส่วนประมวลผลซึ่งจะมีความเร็วในการส่งข้อมูลมากกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ในระดับปกติทั่วไปเป็นอย่างมาก แต่ว่าข้อเสียของการส่งข้อมูลแบบ qubit ก็คือเมื่ออิเล็กตรอนผ่านการคำนวณไปเรียบร้อยแล้วก็จะผ่านไปเลยไม่สามารถที่จะนำเอา qubit นั้นๆ กลับมาทำการตรวจสอบได้ครับว่าข้อมูลที่ผ่านการคำนวณนั้นถูกหรือผิด (แถมในวงจรของควอนตัมคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนั้นข้อมูลของ qubit ก็จะอยู่ในรูปแบบของ yes – no หรือไม่ก็ true – false อีกต่างหากครับ)
ดังนั้นเพื่อที่จะสามารถทำการตรวจสอบได้ว่าข้อมูล qubit ที่ส่งผ่านไปในควอนตัมคอมพิวเตอร์สามารถที่จะคำนวณได้อย่างถูกต้องหรือไม่ทางทีมนักฟิสิกส์จึงได้ทำการเพิ่มแบบแผนของวงจรเข้าไปเพื่อที่จะเก็บข้อมูลของ qubit ที่ถูกคำนวณไปแล้วก่อนที่มันจะหายไปในระยะเวลาอันรวดเร็วครับ การเก็บข้อมูลนั้นก็จะใช้วิธีการเพิ่ม grid system ที่ประกอบไปด้วย 9 qubits เข้าไปในวงจรการคำนวณเสมือนกับเป็นวงจรเพื่อนบ้านครับ
เมื่อการคำนวณที่วงจรหลักผ่านไปแล้ว qubit ที่ได้รับจากการคำนวณ(รวมไปถึงค่าที่นำมาใช้ในการคำนวณ) จะถูกเก็บเอาไว้ที่ qubit เพื่อนบ้านทั้ง 9 qubits ดังกล่าว และสามารถที่จะนำมาใช้ในการประมวลผลอีกรอบเพื่อทำการตรวจสอบซึ่งกันและกันครับว่าข้อมูลที่อยู่ใน qubit ทั้ง 9 นั้นถูกต้องเหมือนกันหรือไม่ ถ้าข้อมูลใน qubit ทั้ง 9 นั้นเหมือนกันแสดงว่าการคำนวณนั้นก็ถูกต้องครับ
อย่างไรก็ตามทางทีมนักฟิสิกส์ได้บอกครับว่าวิธีการตรวจสอบความถูกต้องนี้นั้นขึ้นอยู่กับความเหมือนกันของข้อมูล ถ้ามีข้อมูลใน qubit ไหนที่แตกต่างกันออกไปนั่นหมายความว่าการคำนวณนั้นผิดพลาดครับ วิธรการนี้คิดค้นขึ้นมาเพราะทางนักฟิสิกส์บอกครับว่าเราไม่สามารถที่จะตรวจสอบสถานะของควอนตัมแล้วยังคงบอกว่ามันยังคงเป็นควอนตัมอยู่ได้ดังนั้นแล้วการเพิ่มวงจรเข้าไปเพื่อที่จะตรวจสอบจึงเป็นไอเดียที่ดีกว่าครับ
หมายเหตุ – ควอนตัมคอมพิวเตอร์นั้นถูกค้นพบมาตั้งแต่ในปี 1981 แล้วครับ โดยการคำนวณด้วย qubit นั้นก็เร็วกว่าการคำนวณในรูปแบบของคอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันในปัจจุบันมาก ทว่าควอนตัมคอมพิวเตอร์นั้นก็ยังไม่สามารถนำมาใช้ได้จริงในตอนนี้เพราะยังอยู่ในขั้นวิจัยและพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเรื่องความถูกต้องของข้อมูลที่เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งในการคำนวณครับ คงจะต้องใช้เวลาอีกสักพักใหญ่ๆ เราจึงจะได้เห็นควอนตัมคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้งานได้จริงครับ(ที่สำคัญไปกว่านั้นควอนตัมคอมพิวเตอร์เองก็มีราคาแพงมากด้วยครับ)
ที่มา : vr-zone