Connect with us

Hi, what are you looking for?

Notebook Review

Dell XPS 13 (2015) Review [มาตรฐานใหม่ของ Ultrabook ปี 2015]

ถึงเวลานี้เชื่อว่าทุกท่านคงได้เห็น Ultrabook กันมาจากหลากหลายค่ายแล้ว มาในตอนนี้ทางทีมงาน NotebookSPEC ของเราก็มี Ultrabook อีกหนึ่งแบรนด์มารีวิวให้ทุกท่านได้ชมกัน ซึ่งก็คือ Dell XPS 13 (2015) นั่นเอง

ถึงเวลานี้เชื่อว่าทุกท่านคงได้เห็น Ultrabook กันมาจากหลากหลายค่ายแล้ว มาในตอนนี้ทางทีมงาน NotebookSPEC ของเราก็มี Ultrabook อีกหนึ่งแบรนด์มารีวิวให้ทุกท่านได้ชมกัน ซึ่งก็คือ Dell XPS 13 (2015) นั่นเอง ที่จัดได้ว่าเป็น Ultrabook รุ่นใหม่ล่าสุด ที่มาพร้อมมาตรฐานใหม่ในเรื่องของขนาดตัวเครื่อง น้ำหนักและดีไซน์การออกแบบที่เล็กกว่า Ultrabook ในหน้าจอขนาดเดียวกัน แน่นอนว่านั่นก็มาจากการที่ Dell มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ พร้อมทั้งต่อยอดความเร็จที่มีอยู่อย่างตลอดเวลา

Dell XPS 13 (2015) เลือกใช้ชิประมวลผลรุ่นล่าสุดจากทาง Intel ด้วย Core i Gen 5 ที่มีให้เลือกทั้ง Core i5 และ Core i7 ที่เป็นตระกูล U (ประหยัดพลังงานพิเศษ) รวมไปถึงยังมีกน้าจอความละเอียดสูงระดับ 1920 x 1080 พิกเซล Full HD และความละเอียดแบบสุดๆ ที่ 3200 x 1800 พิกเซล (UltraSharp QHD+) ส่งผลให้เราได้พบประสบการณ์ใช้งานที่เหนือชั้นกว่า Ultrabook ทั่วๆ ไปในตลาดทีเดียว สนนราคาเริ่มต้นที่ 49,990 บาท ไปจนถึง 62,990 บาท

Advertisement

VDO Introducing

Specification

ในเรื่องของสเปก Dell XPS 13 (2015) นั้น เครื่องที่เราได้มารีวิวเป็นเครื่องที่ใช้ CPU เป็น Intel Core i7-5500U (2.40 GHz, 4MB L3 Cache, up to 3.00 GHz) ที่มีความเร็วในการประมวลผลอยู่ที่ 2.40 GHz และเร่งความเร็วด้วย TurboBoost ได้เป็น 3.00 GHz ส่วนการ์ดจอก็แน่นอนว่าต้องเป็น Intel HD Graphics 5500 ที่ติดมาใน CPU จาก Intel ตระกูล Broadwell แรมก็ให้มา 8GB เป็นแบบฝังติดบอร์ดมาเช่นเดียวกับ Ultrabook ส่วนใหญ่ในท้องตลาด จะมีจุดที่ต่างก็คือการเลือกใช้ SSD แบบเต็มตัว ซึ่งในรุ่น i7 จะให้มาถึง 512GB (ต่างจากเครื่องขายจริงไทยที่จะสุดเพียง 256GB) นอกจากนี้ยังมีเรื่องจอที่ได้กล่าวไปแล้วว่าใช้จอขนาด 13.3 นิ้ว ความละเอียด 3200 x 1800 พิกเซล (UltraSharp QHD+) ที่เป็นพาเนล IGZO2 IPS แถมตัวคีย์บอร์ดยังมีไฟ LED Backlit มาให้ด้วย เรียกได้ว่าเป็น Ultrabook ระดับสูงได้อย่างเต็มภาคภูมิ

ส่วนเรื่องของพอร์ตเชื่อมต่อนั้นก็ยังมีพอร์ตมาตรฐานของกลุ่ม Ultrabook มาให้ค่อนข้างครบ เช่น USB 3.0 ที่มาพร้อมฟีเจอร์ Sleep Charge, Mini DisplayPort สำหรับเชื่อมต่อจอภายนอก และ Card Reader มาให้ด้วย อีกอย่างที่ขาดไม่ได้เลยก็คือระบบปฏิบัติการ Windows 8.1 ลิขสิทธิ์ พร้อมจุดเด่นเดิมที่ยังคงเป็นเอกลักษณ์ของ Dell นั่นคือมีประกันแบบ Onsite Service ให้เป็นระยะเวลา 3 ปีด้วยกัน โดยแต่ละรุ่น แต่ละสเปกสามารถตามไปชมราละเอียดเต็มๆ ได้ ที่นี่ ครับ

Hardware / Design

Dell XPS 13 2015 Review 001

ดีไซน์การออกแบบโดยรวมของ Dell XPS 13 (2015) นั้นจะดูเล็กกว่า Ultrabook หน้าจอ 13 นิ้วอื่นๆ อยู่พอสมควร เนื่องด้วยมีการใช้ตัวเครื่องขนาด 11 นิ้วเท่านั้น ทำให้ตัวเครื่องดูเล็ก กะทัดรัด เหมาะกับการพกพา แต่ทั้งนี้ถึงแม้ว่าตัวเครื่องจะเล็ก แต่ก็ยังใส่จอขนาด 13 นิ้วเทียบเท่ากับ Ultrabook จากแบรนด์อื่นๆ มาให้อยู่ดี ทำให้ไม่เกิดข้อจำกัดเรื่องจอเกิดขึ้น เพียงแต่อาจจะดูแปลกตาเล็กน้อยในตอนแรกๆ เท่านั้น ส่วนของบอดี้ จะใช้เป็นอะลูมิเนียมและคาร์บอนไฟเบอร์เป็นส่วนประกอบหลัก  ทำให้ได้ข้อดีมาก็คือทั้งความแข็งแรงและน้ำหนักที่เบา แต่กระนั้นเรื่องของ Dell XPS 13 (2015) ก็มีจุดที่น่าเสียดายเล็กน้อย นั่นคือฝาหลักดูธรรมดาไปหน่อย ส่วนตัวคิดว่าน่าจะทำให้ดูหรูหรามีราคามากกว่านี้หน่อย

Dell XPS 13 2015 Review 035

ตัวเครื่องมีการออกแบบโดยรวมให้ดูทันสมัยและเรียบง่าย ที่มุมตัวเครื่องจะทำให้เป็นแบบโค้งมน แต่ว่าไม่ได้มนมากจนเกินไป ตามมาด้วยการใส่รายละเอียดในการทำให้ตัวเครื่องมีลักษณะลาดเอียงเล็กน้อย ที่ขอบอลูมิเนียมรอบของตัวเครื่อง ส่วนคาร์บอนไฟเบอร์นั่น จะถูกนำเอามาใช้ด้านในของตัวเครื่องเป็นหลัก ส่งให้เวลาที่เราเอามือมาวางจะรู้สึกว่าเป็นอะไรที่เหนือชั้นกว่าวัสดุทั่วๆ ไป แต่ก็เป็นรอยนิ้วมือได้ค่อนข้างง่ายเช่นกัน ดังนั้นผู้ใช้อาจจะต้องขยันเช็ดดูแลทำความสะอาดเครื่องซักหน่อย เรียกได้ว่าเป็นการออกแบบที่บ่งบอกได้อย่างชัดเจน ว่านี่คือ Ultrabook ตัวเครื่องระดับบน ที่มีการออกแบบมาเป็นอย่างดีพร้อมใส่ในรายละเอียดอย่างที่สุด

Dell XPS 13 2015 Review 055

อีกหนึ่งจุดเด่นของ Dell XPS 13 (2015) ที่เป็น Ultrabook ระดับสูงก็คือ มีน้ำหนักตัวที่เบามากๆ แถมตัวเครื่องยังบางสุดๆ โดยสามารถถือได้ด้วยมือเดียวอย่างสบายๆ ด้วยน้ำหนักเพียง 1.37 กิโลกรัมเท่านั้น ส่วนความบางมีความส่วนที่บางสุดเพียง 8 มิลลิเมตร และส่วนที่หนาสุดก็เพียง 15 มิลลิเมตรเท่านั้น บอกได้เลยว่าบางกว่า MacBook ของทาง Apple อย่างแน่นอน ถ้าหากจะหาการออกแบบที่ขาดหายไปจาก Dell XPS 13 (2015) ตัวนี้สักอย่างนึง ก็เป็นจะเรื่องของความง่ายในการอัพเกรดตัวเครื่องเองของผู้ใช้ด้วยตนเอง แต่นั่นก็ดูจะเป็นเรื่องที่ Dell ไม่ได้ตั้งใจหรือมีความต้องการให้ผู้ใช้ทำอะไรมากมายกับตัวเครื่องมากนักนั่นเอง ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติของ Ultrabook อยู่แล้ว

ส่วนการออกแบบมาที่ค่อนข้างแปลกตา นั่นคือมีแถบฝาโลหะอยู่ตรงกลางเครื่อง ซึ่งภายในจะมีโลโก้ Windows ติดอยู่ นับว่าเป็นการซ่อนได้ดีทีเดียว นอกจากนี้การออกแบบยางรองใต้เครื่องก็เรียกได้ว่าไม่เหมือนใคร โดยใช้เป็นแถบยางยาวขนานไปกับแนวยาวของตัวเครื่อง พร้อมกับมีช่องระบายอากาศอยู่เป็นแนวยาวอีก ที่สำคัญยังมีการในส่วนของดีไซน์การออกแบบ Dell XPS 13 (2015) ยังมีปุ่มสำหรับเช็คพลังงานในแบตเตอรี่ พร้อมไฟบอกระดับพลังงานแบตเตอรี่บริเวณขอบตัวเครื่องด้านซ้าย ที่จัดได้ว่าเป็นอะไรที่โดดเด่นกว่า Ultrabook รุ่นอื่นๆ และเป็นตัวช่วยได้เป็นอย่างดีทีเดียว

Keyboard / Touchpad

Dell XPS 13 2015 Review 014

ส่วนของคีย์บอร์ดนั้นตัวปุ่มเป็นพลาสติกสีดำสกรีนตัวอักษรสีขาว มีการออกแบบมาให้ปุ่มมีความโค้งรับกับนิ้วมือได้พอดี ทำให้สามารถพิมพ์ได้ง่ายขึ้น แต่สำหรับคนที่นิ้วค่อนข้างใหญ่ อาจจะพิมพ์ได้ลำบากเล็กน้อย เนื่องด้วยปุ่มมีขนาดเล็กกว่าเครื่องอื่นๆ จากการที่เพื่อให้สามารถใส่จอขนาด 13 นิ้วลงมาในตัวเครื่อง 11 นิ้วได้นั่นเองในส่วนของไฟ LED Backlit ก็สามารถใช้งานได้ดีทีเดียว โดยมีระบบการปรับระดับความสว่างอัตโนมัติตามสภาพแสงรอบข้างด้วย ส่วนปุ่มเปิดเครื่องจะไปอยู่ที่มุมขวาบน สีกลืนไปกับเครื่อง ซึ่งข้อดีก็คือมั่นใจได้ว่าจะไม่ไปเผลอกดระหว่างการใช้งานแน่นอน พร้อมมีไฟส่องสว่างให้เห็นสถานะ

ทัชแพดมีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่เมื่อเทียบกับขนาดตัวเครื่อง ส่วนดีไซน์นั้นก็ใช้เป็นแบบไม่มีปุ่มแยกออกมาเช่นเดียวกับ Ultrabook หลายๆ รุ่น การใช้งานจัดได้ว่าอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ตัวซอฟต์แวร์ควบคุมก็ช่วยจัดการได้ดี โดยมีการจับความเคลื่อนไหวว่าผู้ใช้กำลังพิมพ์ข้อความอยู่หรือไม่ ซึ่งจะช่วยให้เคอร์เซอร์ไม่เลื่อนไปจากตำแหน่งเก่า ถ้าผู้ใช้เผลอนำมือไปโดนทัชแพดเข้า

Screen / Speaker

Dell XPS 13 2015 Review 048

หน้าจอของ Dell XPS 13 (2015) นอกเหนือจากเรื่องความบางเฉียบแล้ว จุดเด่นที่สุดที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลยก็คือ Dell เลือกใส่มาให้เป็นแบบ UltraSharp QHD+ ที่มีความละเอียดสูงมากถึง 3200 x 1800 พิกเซล (276 ppi) ที่สำคัญยังเป็นพาเนล IGZO2 IPS ที่มีคุณภาพระดับมืออาชีพ ส่งผลให้มีสีสันสวยสมจริง คมชัดในทุกมุมมอง แถมยังเรียบเนียนตาแบบที่ Ultrabook รุ่นทั่วไปไม่สามารถให้ได้ ซึ่งในการแสดงผลจริงๆ นั้นจะไม่ได้เป็น Native ที่ 3200 x 1800 พิกเซล จริงๆ เพราะอัตราส่วนของภาพจะมีขนาดที่เล็กมาก ไม่ว่าจะเป็นตัวอักษรหรือรูปภาพต่างๆ โดยตรงจุดนี้ตัว Windows 8.1 เองจะมีการสเกลภาพให้เทียบเท่ากับ 1920 x 1080 พิกเซลแทน ส่งผลให้เราใช้งานได้ตามปกติ (แต่จะปรับเป็น Native ก็ได้นะ)

ด้วยความสว่างที่ 400 นิต ซึ่งสว่างกว่าแผงหน้าจอทั่วไป (200 นิต) ถึง 100% จึงสามารถแสดงผลได้ยอดเยี่ยมแม้จะอยู่กลางแจ้ง อีกทั้งยังครอบคลุมเฉดสี 72% และมีอัตราส่วนคอนทราสต์สูงถึง 1000:1 จึงถ่ายทอดสีสันได้มากกว่า แสดงสีโทนสว่างได้สว่างสุดๆ และสีโทนมืดได้มืดสนิท

ส่วนการใช้งานทัชสกรีนที่ให้มานั้น ก็เป็นแบบ 10 จุด ตามที่หน้าจอระบบสัมผัสระดับบนทุกตัวควรจะเป็น เพื่อรองรับการใช้งานได้ครบทุกรูปแบบ ด้านแกนพับของหน้าจอ ก็ทำออกมาได้อย่างแข็งแรง ไม่ต้องกลัวว่าจะไปก่อนวัยอันควร

สำหรับกระจกยังเป็น Corning Gorilla Glass NBT ที่สามารถทนรอยขีดข่วนได้ดีกว่ากระจกแก้วโซดาไลม์ถึง 10 เท่า จึงช่วยป้องกันร่องรอยที่เกิดจากการหยิบจับ ทำความสะอาด หรือเช็ดหน้าจอได้ เรียกได้ว่าเทพเหนือชั้นจริงๆ กับ Dell XPS 13 (2015)

จุดที่น่าชื่นชมอีกอย่างหนึ่งก็คือ Dell XPS 13 (2015) เครื่องนี้ ก็คือมีการใส่ยางขอบจอมาตลอดแนวของจอเลย ต่างจากโน๊ตบุ๊คอื่นๆ ที่มักจะติดตั้งมาเป็นจุดๆ ในบางตำแหน่งเท่านั้น ซึ่งยางนี้จะมีประโยชน์ก็ในการซับแรงกระแทกที่เกิดในเวลาที่จอพับอยู่ได้ ส่วนที่แปลกตาก็คือกล้องเว็บแคมไปอยู่บริเวณมุมซ้ายล่างของหน้าจอ ซึ่งในการใช้งานจริงก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรครับ

ด้านของลำโพงสเตอรีโอนั้นอยู่บริเวณด้านซ้ายขวาขอบตัวเครื่อง ในเรื่องของความดังของเสียงเรียกว่าทำออกมาได้อย่างน่าประทับใจทีเดียว ส่วนในเรื่องคุณภาพเสียงนั้น อาจจะไม่ได้ยิ่งใหญ่อลังการงานสร้างสักเท่าไหร่ แต่ถ้าหากว่าคุณเป็นผู้ใช้งานทั่วไป คุณภาพเสียงที่ได้นั้น ก็ถือว่าดีเพียงพอแบบสบายๆ แล้ว ส่วนใครจะเอาไปต่อกับหูฟังหรือลำโพงเพิ่ม ก็สามารถทำได้หากว่าต้องการคุณภาพเสียงที่ดีมากยิ่งขึ้นไปอีก

Connector / Thin And Weight

Dell XPS 13 2015 Review 039

พอร์ตการเชื่อมต่อตัวเครื่อง Dell XPS 13 (2015) นี้จัดว่าเป็น Ultrabook ที่มีความครบครับระดับนึง แม้ว่าจะเป็นเครื่องที่มีการออกแบบมาให้เป็นเครื่องที่มีขนาดความบางและน้ำหนักเบาแต่เรื่องพอร์ตการเชื่อมต่อต่างๆ นั้น ก็มีมาให้มากพอทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น USB 3.0 จำนวน 2 พอร์จ และ mini-DisplayPort พร้อมช่องต่อหูฟังขนาดมาตรฐาน

นอกเหนือจากนี้ยังมีช่องต่อกับ Power Adapter สำหรับจ่ายไฟให้กับตัวเครื่องที่มีจุดเด่นที่หัวตัวเชื่อมต่อมีไฟบอกสถานะการชาร์จแบบชัดเจน รวมไปถึงตัวเครื่องก็มีไฟสถานะการใช้งานอีกเช่นกัน เรียกได้ว่า Dell XPS 13 (2015) ใส่ใจในการออกแบบผลิตภัณฑ์ Ultrabook ระดับสูงเครื่องนี้เป็นอย่างดี

ขนาดของตัวเครื่องและสายชาร์จ เมื่อเทียบกับขนาดของ Ultrabook 13 นิ้วทั่วไปถือได้ว่ามีมิติที่เล็กกว่าพอสมควร ส่วนน้ำหนักตัวเครื่องเปล่านั้น อยู่ที่ 1.37 กิโลกรัม และเมื่อรวมกับตัวก้อนอแด็ปเตอร์เข้าไปด้วย ก็จะมีหนักราวๆ 1.5 กิโลกรัมเท่านั้น ก็จัดว่ามีน้ำหนักที่มีความเบามากๆ เลย แน่นอนว่าตอบสนองในเรื่องของการพกพาไปนอกสถานที่ได้อย่างเต็มรูปแบบ สมกับเป็น Ultrabook ในยุคปัจจุบันทีเดียว

Performance / Software

win1

Dell XPS 13 (2015) เครื่องรีวิวนี้มาพร้อมกับชิปประมวลผลจาก Intel Core i7-5600U ซึ่งเป็นชิปประมวลผลใช้พลังงานไฟต่ำมาก มีความเร็วในการประมวลผลอยู่ที่ 2.6 GHz แต่สามารถเร่งประสิทธิภาพขึ้นไปได้สูงสุดถึง 3.2 GHz นะครับ เป็นซีพียูแบบ 2 Core 4 Threads ที่เพียงพอสำหรับการใช้งานทั่วไป หรือถ้างานที่ต้องประมวลผลหนักก็รองรับได้อย่างสบายๆ แม้ก็ต้องยอมรับว่าอาจจะสูงกว่าพวก Core i7 ตัวซีรีย์ M ไม่ได้ (แต่เทียบเท่าได้กับ Core i5 ซีรีย์ M) แต่เรื่องประหยัดพลังงานนั้นไม่เป็นรองใครอย่างแน่นอน มาพร้อมแรมภายในขนาด 8GB ที่สามารถขับเคลื่อนระบบปฏิบัติการ Windows 8.1 ลิขสิทธิ์ที่มีมาให้แบบสบายๆ

gpuz

กราฟิกการ์ดเป็นแบบออนบอร์ดอย่าง Intel HD Graphics 5500 ที่ให้พลังในการประมวลผลที่ดีในระดับหนึ่ง อย่างในเรื่องของกราฟิก 2 มิตินั้นก็รองรับได้อย่างสบายๆ หรือถ้าเป็น 3  มิติก็ต้องบอกว่ารองรับการทำงานได้ในระดับเบื้องต้นเท่านั้น แต่เอาเข้าจริงๆ ก็สนับสนุนการเล่นเกมได้ในระดับนึงเหมือนกัน ที่โดยรวมแล้วให้ประสิทธิภาพการทำงานที่ดีกว่า Intel HD Graphics รุ่นก่อนหน้าแน่นอน เพราะอย่างน้อยๆ ก็รองรับการทำงานกับหน้าจอความละเอียดสูงได้แบบไม่มีปัญหา

cine

สำหรับโปรแกรมทดสอบ CINEBENCH ที่เน้นในเรื่องของพลังชิปประมวลผล คะแนนก็อยู่ในระดับที่น่าพอใจ เปรียบเทียบกับชิปประมวลผลที่เป็นรหัส U รุ่นก่อนหน้าแล้ว ก็ทำได้ดีกว่าเล็กน้อย รวมไปถึงตัวกราฟิกการ์ดเองก็มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เรียกได้ว่าตอบโจทย์ในส่วนของงานประมวลผลหนักๆ ได้อย่างสบายๆ ไม่น่าเป็นห่วงนัก

ssd

ตัวเก็บข้อมูลของเครื่องที่เลือกใช้ SSD ก็ทำคะแนนออกมาได้อย่างรวดเร็วเป็นที่น่าพอใจบนขนาดความจุ 512GB (ต่างจากเครื่องขายจริงไทยที่จะสุดเพียง 256GB) ยิ่งเมื่อนำไปใช้เทียบกับฮาร์ดไดร์ฟแบบจานหมุนหรือแบบลูกผสมอย่าง SSHD แล้วละก็จะเห็นถึงประสิทธิภาพทั้งในด้านการทดสอบและในด้านการใช้งานจริงที่แตกต่างกันอย่างเห็นเห็นได้ชัด

SF4-Dell-XPS13

สำหรับ Street Fighter 4 ที่ตั้งค่าเป็น Default บนความละเอียด 1280 x 720 พิกเซล ผลคะแนนก็ได้มากกว่า Ultrabook รุ่นก่อนๆ อย่างเห็นได้ชัดเจน โดยได้คะแนนอยู่ที่ 11978 คะแนนด้วยกัน มีค่าเฟรมเรทเฉลี่ยอยู่ที่ 84.50 FPS ด้วยกัน ทำให้ได้ระดับ Rank A ทีเดียว ซึ่งสำหรับเกมที่ไม่ได้กินทรัพยากรมากมายอะไร ถือได้ว่าพอจะเล่นได้แบบสบายๆ Dell XPS 13 (2015) เครื่องนี้ก็พร้อมตอบสนองความสุขของทุกคนได้เป็นอย่างดี

Dell XPS 13 2015 Review 053

อีกเกมหนึ่งที่โดยส่วนตัวเล่นเป็นประจำอย่าง DOTA 2 ก็จัดการทดสอบให้ด้วยเช่นกัน โดยทั้งนี้การตั้งค่าความละเอียดของภาพก็อยู่ที่ 1280 x 720 พิกเซล ซึ่งเป็นความละเอียดที่จะสามารถเล่นให้ลื่นได้ แน่นอนว่าที่ความละเอียด Native 3200 x 1800 พิกเซล ไม่สามารถเล่นอย่างลื่นๆ ได้ สำหรับรายละเอียดภาพอื่นๆ ก็เรียกได้ว่าเปิดทุกอัน  ผลที่ได้ออกมาก็คือสามารถเรนเดอร์ได้อย่างไหลลื่น ระดับเฟรมเรทอยู่ที่ประมาณ 50-60 แม้กระทั่งฉากตะลุมบอนกันก็สบายๆ ค่าเฟรมเรทอยู่ที่ราวๆ 30 ขึ้นไปตลอด สรุปโดยรวมแล้วคือเล่นได้สบายๆ  ซึ่งในการทดลองเล่นเกม DOTA 2 ทำได้อย่างน่าประทับใจ ทั้งจากความลื่นไหลและหน้าจอที่สวยงามสมจริง

win2

การใช้งาน Dell XPS 13 (2015)  บนระบบปฏิบัติการ Windows 8.1 ที่ความละเอียดหน้าจอแบบ Native 3200 x 1800 พิกเซลนั้น ก็พบปัญหาด้านการแสดงผลไม่มีอีกต่อไปแล้ว เพราะความที่ Windows 8.1 นั้นได้มีการรองรับความละเอียดหน้าจอที่สูงเป็นอย่างดี ด้วยคุณสมบัติในการปรับสเกลความละเอียดที่ดี โดยค่ามาตรฐานได้ถูกปรับไประดับ 250% เลยทีเดียว ส่งผลให้เราใช้งานได้อย่างสมบูรณ์แบบ จากการที่ตัวอักษรหรือการแสดงภาพต่างๆ บนหน้าจอมีความเหมาะสม เรียกได้ว่าแตกต่างจากโน๊ตบุ๊คหน้าจอความละเอียดสุดรุ่นก่อนๆ ที่ต้องนั่งเพ่งจนปวดตากันไป

Battery / Heat / Noise

Dell XPS 13 2015 Review 038

แบตเตอรี่ของ Dell XPS 13 (2015) เป็นแบบฝังไว้ในเครื่องเหมือนกับ Ultrabook หลายๆ เครื่อง ตัวแบตเตอรี่มีขนาด 47 WHr ทำงานต่อเนื่องยาวนานได้ราว 5 ชั่วโมงต่อเนื่องในการใช้งานแบบปกติ (ดูภาพยนตร์และเล่นอินเตอร์เน็ต) และคาดว่าจะทำได้นานยิ่งกว่านั้นปรับเปลี่ยนตามการใช้งานของแต่ละคน ดูแล้วอาจให้ระยะเวลาการทำงานที่ค่อนข้างสั้นกว่าเครื่องอื่นเล็กน้อย ส่วนช่องระบายความร้อนของ Dell XPS 13 (2015) จะอยู่ด้านบนของแท่นเครื่องบริเวณขาพับจอ โดยออกแบบให้ซ่อนตัวเอาไว้ด้านหลังติดกับกรอบอะลูมิเนียมของจอ ถึงพับจอก็ไม่เห็นช่องระบายความร้อนเลย

bat

ส่วนของระบบนำอากาศเข้าจะอยู่ด้านใต้ตัวเครื่อง โดยจะอยู่ในส่วนบนของตัวเครื่องพอดี มีขนาดค่อนข้างใหญ่เห็นชัดเจนและยาวพอควร อาจดูไม่เรียบร้อยนักเมื่อใช้เป็นแบบแท็บเล็ตและยกขึ้นเหนือพื้นโต๊ะ เวลาใช้งานแบบปกตินั้น ไม่มีเสียงรบกวนดังรบกวนแต่ถ้าดึงประสิทธิภาพเครื่องออกมาจนสุด ก็จะมีเสียงดังขึ้นมาพอควร เพื่อบอกกับผู้ใช้กลายๆ ว่าตอนนี้เครื่องทำงานเต็มที่แล้วนะ แต่ก็ไม่ถึงขั้นรบกวนมากมายอะไร

tem

อุณหภูมิปกติของเครื่องจะอยู่ที่ 35 องศาเซลเซียส แต่พอรีดประสิทธิภาพเต็มที่จะเห็นว่าเครื่องจะร้อนที่สุดเพียง 83 องศาเซลเซียสเท่านั้น นับว่าระบบระบายความร้อนของ Dell XPS 13 (2015) เครื่องนี้ทำออกมาได้ดีกว่า Ultrabook เครื่องอื่นๆ ที่เคยทำการรีวิวมาพอควร เพราะความร้อนทั่วไปจะอยู่ที่เพียง 43 องศาเซลเซียสตอนทำงานเต็มที่แล้ว นับว่า Dell XPS 13 (2015) เครื่องนี้จัดการระบบระบายความร้อนออกมาได้ดีมากทีเดียว ซึ่งนั่นน่าจะเป็นเพราะชุดระบายความร้อนจาก Dell ที่ดี และชิปประมวลผล Intel รุ่นล่าสุดที่มีมีเทคโนโลยีการผลิตที่เล็กลง

Conclusion / Award

Dell XPS 13 2015 Review 020

เรียกได้ว่ามีความน่าสนใจจริงๆ สำหรับ Ultrabook รุ่นล่าสุดสุดพรีเมียมจากทาง Dell อย่าง Dell XPS 13 (2015) ที่ต่อยอดความสำเร็จตระกูล XPS ได้เป็นอย่างดี เพราะมาพร้อมความสมบูรณ์แบบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของดีไซน์การออกแบบ ภาพลักษณ์ วัสดุ งานประกอบ รวมไปถึงประสิทธิภาพและประสบการณ์ใช้งาน ที่แม้ว่าอาจจะข้อสังเกตุในเรื่องของราคาค่าตัวที่สูงซักหน่อย (ก็ไม่หน่อยเท่าไหร่) โดยสนนเริ่มต้นที่ 49,990 บาท สำหรับรุ่น Core i5 ความละเอียดหน้าจอ Full HD ส่วนรุ่น Core i5 หน้าจอความละเอียด 3200 x 1800 พิกเซล (UltraSharp QHD+) ก็สนนราคาเริ่มต้นที่ 59,990 บาท แต่สำหรับรุ่นที่ทีมงานเอามารีวิวนั้นเป็นรุ่นท็อปสุด ซึ่งเป็น Core i7 จอ 3200 x 1800 พิกเซล ราคาก็จะอยู่ที่ 62,990 บาทีเดียว

อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะมีราคา Dell XPS 13 (2015) จะมีราคาที่สูงกว่า Ultrabook รุ่นอื่นๆ แต่ก็เหนือกว่ารุ่นอื่นๆ ด้วยการที่ตัวเครื่องมีขนาดเล็กเทียบเท่าโน๊ตบุ๊คหน้าจอ 11.6 นิ้ว ทั้งๆ ที่ความเป็นจริงแล้วเป็นโน๊ตบุ๊คหน้าจอ 13.3 นิ้ว (แน่นอนว่าขนาดเล็กกว่าโน๊ตบุ๊ค 13.3 นิ้วทั่วไป)

โดยทางทีมงานลองนำมาเทียบกับ MacBook Pro Retina 13 ของทาง Apple ก็เห็นได้ชัดว่า Dell XPS 13 (2015) มีทั้งน้ำหนักที่เบากว่า ตัวเครื่องที่เล็กกว่า ขอบจอที่บางกว่า ความละเอียดหน้าจอที่สูงกว่า  ซึ่งราคาเมื่อเทียบในสเปกที่ใกล้เคียงกันแล้ว ทาง Dell XPS 13 (2015) จะมีราคาที่สูงกว่าเล็กน้อยเท่านั้น (ประมาณ 3,000 บาท) ยังไงก็จัดได้ว่ามีความน่าซื้ออยู่ไม่น้อยเช่นกัน สำหรับการเป็น Ultrabook ระดับสูง แถมยังมีการรับประกันถึง 3  ปีอีกด้วย ที่สำคัญคือ On Site Service คือมารับมาส่งถึงบ้านเลย

เอาเป็นว่าใครกำลังมองหา Ultrabook ที่เน้นประสบการณ์ใช้งานที่เหนือระดับโดยไม่กังวลในเรื่องของราคาค่าตัวล่ะก็ Dell XPS 13 (2015) น่าจะตอบโจทย์การใช้งานได้เป็นอย่างดีทีเดียวครับ

จุดเด่น

  • เป็น Ultrabook หน้าจอ 13.3 นิ้ว แต่มีขนาดตัวเครื่องเล็กเทียบเท่ารุ่นหน้าจอ 11.6 นิ้ว
  • หน้าจอมีความละเอียดสูงระดับ 3200 x 1880 พิกเซล UltraSharp QHD+
  • พาเนลหน้าจอ IPS มีคุณภาพสูง แถมเป็นแบบจอด้าน แทบจะไร้แสงสะท้อน
  • ขอบจอบางพิเศษกว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไป เพิ่มความโดดเด่น
  • น้ำหนักเบา ตัวเครื่องบางพิเศษ วัสดุเป็นคาร์บอนไฟเบอร์
  • ประสิทธิภาพดีด้วยชิปประมวลผล Intel รุ่นล่าสุด และ SSD ความเร็วสูง
  • พอร์ตการเชื่อมต่อครบครัน ในระดับ Ultrabook ที่ควรจะเป็น
  • ประกันถึง 3 ปี มาพร้อม On Site Service มาตรฐาน Dell

ข้อสังเกตุ

  • ราคาสูงกว่า Ultrabook ทั่วไป
  • ฝาหลังน่าจะหรูหราดูดีมีราคากว่านี้หน่อย
  • แบตเตอรี่ใช้งานได้ไม่ยาวนานอย่างที่ควรเป็น

Award

โดยในครั้งนี้จะเป็นการเปรียบเทียบการให้รางวัลกับเครื่องในกลุ่มของโน๊ตบุ๊คขนาดหน้าจอ 13.3 นิ้วด้วยกัน ซึ่ง Dell XPS 13 (2015) ก็ได้รางวัลต่างๆ ดังนี้

Best Design

เรื่องของรูปร่างหน้าตาก็เป็นหนึ่งในจุดเด่นที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ของ XPS มาตั้งแต่ไหนแต่ไร ซึ่งจุดเด่นในข้อนี้ก็เห็นได้ชัดเจนในDell XPS 13 (2015) ที่มีดีไซน์ของตัวเครื่องสวยงามโฉบเฉี่ยวเป็นเอกลักษณ์ ดูแล้วเรียบหรูตามสไตล์ครุ่นใหม่ ซึ่งในจุดของรูปร่างหน้าตาก็เป็นสิ่งที่หลายๆ คนยอมรับกันอยู่ในระดับหนึ่งอยู่แล้ว

award_use_2_create_12

Best Mobility

ส่วนของความสามารถในการพกพาก็ยังคงอยู่ในระดับที่ดีตามสไตล์ของ Ultrabook ตระกูล XPS อยู่เช่นเดิม ทั้งในความบางเพียง 15 มิลลิเมตร และน้ำหนักเบา 1.37 กิโลกรัม ที่ทำให้สามารถหิ้วไปไหนมาไหนได้อย่างสะดวก แถมไม่ต้องกลัวว่าเครื่องจะมีปัญหาอีกด้วย เพราะระบบไม่ได้ใช้ฮาร์ดดิสก์แบบจานหมุน ทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องการจับถือมากนัก สามารถพับฝาจอลงแล้วเก็บเครื่องได้ทันที อแดปเตอร์ก็ทำออกมาให้มีขนาดที่ไม่ใหญ่มากนัก พกพาสะดวก รวมน้ำหนักแล้วยังไม่ถึง 2 กิโลกรัม เหมาะมากๆ กัยคนที่ทำงานนอกสถานที่บ่อยๆ

award_use_2_create_23

Best Technology

สเปกตัวเครื่อง Dell XPS 13 (2015) จะมีความใหม่สดจากการที่เลือกใช้ชิปประมวลผล Intel Core i Gen 5 แถมยังเลือกใช้ฮาร์ดดิสก์แบบ SSD PCIe ซึ่งทำให้การทำงานโดยรวมมีความล้ำหน้ากว่า Ultrabook ทั่วๆ ไป อีกทั้งในเรื่องของหน้าจอและความละเอียดจอก็มาในระดับที่สูงยังมาเป็นแบบ 3K ที่เป็นพาเนลจอคุณภาพสูงระดับมืออาชีพอย่าง IPS กับความละเอียด 3200 x 1880 พิกเซล จึงทำให้คว้ารางวัล Best Technology ไป

award use 2 create 16

Best Ultrabook

และด้วยข้อดีข้อเด่นทั้งหมดทั้งมวลนี้ Dell XPS 13 (2015) ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งสุดยอด Ultrabook ของปี 2015 นี้ ทั้งในเรื่องของดีไซน์การออกแบบ ประสิทธิภาพ หน้าจอคุณภาพสูง ที่หา Ultrabook เครื่องอื่นๆ มาเทียบไม่ได้ (แม้กระทั่ง MacBook Pro Retina 13 ยังเป็นรอง) ประกอบกับคุณสมบัติในการตอบสนองการทำงานที่ครบถ้วน เพราะฉะนั้นคงไม่แปลกอะไรนักที่ Dell XPS 13 (2015) จะได้รับ Award ประเภท Best Ultrabook ไปครับ

award_use_2_create_03

VDO Introducing

Specification

ในเรื่องของสเปก Dell XPS 13 (2015) นั้น เครื่องที่เราได้มารีวิวเป็นเครื่องที่ใช้ CPU เป็น Intel Core i7-5500U (2.40 GHz, 4MB L3 Cache, up to 3.00 GHz) ที่มีความเร็วในการประมวลผลอยู่ที่ 2.40 GHz และเร่งความเร็วด้วย TurboBoost ได้เป็น 3.00 GHz ส่วนการ์ดจอก็แน่นอนว่าต้องเป็น Intel HD Graphics 5500 ที่ติดมาใน CPU จาก Intel ตระกูล Broadwell แรมก็ให้มา 8GB เป็นแบบฝังติดบอร์ดมาเช่นเดียวกับ Ultrabook ส่วนใหญ่ในท้องตลาด จะมีจุดที่ต่างก็คือการเลือกใช้ SSD แบบเต็มตัว ซึ่งในรุ่น i7 จะให้มาถึง 512GB (ต่างจากเครื่องขายจริงไทยที่จะสุดเพียง 256GB) นอกจากนี้ยังมีเรื่องจอที่ได้กล่าวไปแล้วว่าใช้จอขนาด 13.3 นิ้ว ความละเอียด 3200 x 1800 พิกเซล (UltraSharp QHD+) ที่เป็นพาเนล IGZO2 IPS แถมตัวคีย์บอร์ดยังมีไฟ LED Backlit มาให้ด้วย เรียกได้ว่าเป็น Ultrabook ระดับสูงได้อย่างเต็มภาคภูมิ

ส่วนเรื่องของพอร์ตเชื่อมต่อนั้นก็ยังมีพอร์ตมาตรฐานของกลุ่ม Ultrabook มาให้ค่อนข้างครบ เช่น USB 3.0 ที่มาพร้อมฟีเจอร์ Sleep Charge, Mini DisplayPort สำหรับเชื่อมต่อจอภายนอก และ Card Reader มาให้ด้วย อีกอย่างที่ขาดไม่ได้เลยก็คือระบบปฏิบัติการ Windows 8.1 ลิขสิทธิ์ พร้อมจุดเด่นเดิมที่ยังคงเป็นเอกลักษณ์ของ Dell นั่นคือมีประกันแบบ Onsite Service ให้เป็นระยะเวลา 3 ปีด้วยกัน โดยแต่ละรุ่น แต่ละสเปกสามารถตามไปชมราละเอียดเต็มๆ ได้ ที่นี่ ครับ

Hardware / Design

Dell XPS 13 2015 Review 001

ดีไซน์การออกแบบโดยรวมของ Dell XPS 13 (2015) นั้นจะดูเล็กกว่า Ultrabook หน้าจอ 13 นิ้วอื่นๆ อยู่พอสมควร เนื่องด้วยมีการใช้ตัวเครื่องขนาด 11 นิ้วเท่านั้น ทำให้ตัวเครื่องดูเล็ก กะทัดรัด เหมาะกับการพกพา แต่ทั้งนี้ถึงแม้ว่าตัวเครื่องจะเล็ก แต่ก็ยังใส่จอขนาด 13 นิ้วเทียบเท่ากับ Ultrabook จากแบรนด์อื่นๆ มาให้อยู่ดี ทำให้ไม่เกิดข้อจำกัดเรื่องจอเกิดขึ้น เพียงแต่อาจจะดูแปลกตาเล็กน้อยในตอนแรกๆ เท่านั้น ส่วนของบอดี้ จะใช้เป็นอะลูมิเนียมและคาร์บอนไฟเบอร์เป็นส่วนประกอบหลัก  ทำให้ได้ข้อดีมาก็คือทั้งความแข็งแรงและน้ำหนักที่เบา แต่กระนั้นเรื่องของ Dell XPS 13 (2015) ก็มีจุดที่น่าเสียดายเล็กน้อย นั่นคือฝาหลักดูธรรมดาไปหน่อย ส่วนตัวคิดว่าน่าจะทำให้ดูหรูหรามีราคามากกว่านี้หน่อย

Dell XPS 13 2015 Review 035

ตัวเครื่องมีการออกแบบโดยรวมให้ดูทันสมัยและเรียบง่าย ที่มุมตัวเครื่องจะทำให้เป็นแบบโค้งมน แต่ว่าไม่ได้มนมากจนเกินไป ตามมาด้วยการใส่รายละเอียดในการทำให้ตัวเครื่องมีลักษณะลาดเอียงเล็กน้อย ที่ขอบอลูมิเนียมรอบของตัวเครื่อง ส่วนคาร์บอนไฟเบอร์นั่น จะถูกนำเอามาใช้ด้านในของตัวเครื่องเป็นหลัก ส่งให้เวลาที่เราเอามือมาวางจะรู้สึกว่าเป็นอะไรที่เหนือชั้นกว่าวัสดุทั่วๆ ไป แต่ก็เป็นรอยนิ้วมือได้ค่อนข้างง่ายเช่นกัน ดังนั้นผู้ใช้อาจจะต้องขยันเช็ดดูแลทำความสะอาดเครื่องซักหน่อย เรียกได้ว่าเป็นการออกแบบที่บ่งบอกได้อย่างชัดเจน ว่านี่คือ Ultrabook ตัวเครื่องระดับบน ที่มีการออกแบบมาเป็นอย่างดีพร้อมใส่ในรายละเอียดอย่างที่สุด

Dell XPS 13 2015 Review 055

อีกหนึ่งจุดเด่นของ Dell XPS 13 (2015) ที่เป็น Ultrabook ระดับสูงก็คือ มีน้ำหนักตัวที่เบามากๆ แถมตัวเครื่องยังบางสุดๆ โดยสามารถถือได้ด้วยมือเดียวอย่างสบายๆ ด้วยน้ำหนักเพียง 1.37 กิโลกรัมเท่านั้น ส่วนความบางมีความส่วนที่บางสุดเพียง 8 มิลลิเมตร และส่วนที่หนาสุดก็เพียง 15 มิลลิเมตรเท่านั้น บอกได้เลยว่าบางกว่า MacBook ของทาง Apple อย่างแน่นอน ถ้าหากจะหาการออกแบบที่ขาดหายไปจาก Dell XPS 13 (2015) ตัวนี้สักอย่างนึง ก็เป็นจะเรื่องของความง่ายในการอัพเกรดตัวเครื่องเองของผู้ใช้ด้วยตนเอง แต่นั่นก็ดูจะเป็นเรื่องที่ Dell ไม่ได้ตั้งใจหรือมีความต้องการให้ผู้ใช้ทำอะไรมากมายกับตัวเครื่องมากนักนั่นเอง ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติของ Ultrabook อยู่แล้ว

ส่วนการออกแบบมาที่ค่อนข้างแปลกตา นั่นคือมีแถบฝาโลหะอยู่ตรงกลางเครื่อง ซึ่งภายในจะมีโลโก้ Windows ติดอยู่ นับว่าเป็นการซ่อนได้ดีทีเดียว นอกจากนี้การออกแบบยางรองใต้เครื่องก็เรียกได้ว่าไม่เหมือนใคร โดยใช้เป็นแถบยางยาวขนานไปกับแนวยาวของตัวเครื่อง พร้อมกับมีช่องระบายอากาศอยู่เป็นแนวยาวอีก ที่สำคัญยังมีการในส่วนของดีไซน์การออกแบบ Dell XPS 13 (2015) ยังมีปุ่มสำหรับเช็คพลังงานในแบตเตอรี่ พร้อมไฟบอกระดับพลังงานแบตเตอรี่บริเวณขอบตัวเครื่องด้านซ้าย ที่จัดได้ว่าเป็นอะไรที่โดดเด่นกว่า Ultrabook รุ่นอื่นๆ และเป็นตัวช่วยได้เป็นอย่างดีทีเดียว

Keyboard / Touchpad

Dell XPS 13 2015 Review 014

ส่วนของคีย์บอร์ดนั้นตัวปุ่มเป็นพลาสติกสีดำสกรีนตัวอักษรสีขาว มีการออกแบบมาให้ปุ่มมีความโค้งรับกับนิ้วมือได้พอดี ทำให้สามารถพิมพ์ได้ง่ายขึ้น แต่สำหรับคนที่นิ้วค่อนข้างใหญ่ อาจจะพิมพ์ได้ลำบากเล็กน้อย เนื่องด้วยปุ่มมีขนาดเล็กกว่าเครื่องอื่นๆ จากการที่เพื่อให้สามารถใส่จอขนาด 13 นิ้วลงมาในตัวเครื่อง 11 นิ้วได้นั่นเองในส่วนของไฟ LED Backlit ก็สามารถใช้งานได้ดีทีเดียว โดยมีระบบการปรับระดับความสว่างอัตโนมัติตามสภาพแสงรอบข้างด้วย ส่วนปุ่มเปิดเครื่องจะไปอยู่ที่มุมขวาบน สีกลืนไปกับเครื่อง ซึ่งข้อดีก็คือมั่นใจได้ว่าจะไม่ไปเผลอกดระหว่างการใช้งานแน่นอน พร้อมมีไฟส่องสว่างให้เห็นสถานะ

ทัชแพดมีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่เมื่อเทียบกับขนาดตัวเครื่อง ส่วนดีไซน์นั้นก็ใช้เป็นแบบไม่มีปุ่มแยกออกมาเช่นเดียวกับ Ultrabook หลายๆ รุ่น การใช้งานจัดได้ว่าอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ตัวซอฟต์แวร์ควบคุมก็ช่วยจัดการได้ดี โดยมีการจับความเคลื่อนไหวว่าผู้ใช้กำลังพิมพ์ข้อความอยู่หรือไม่ ซึ่งจะช่วยให้เคอร์เซอร์ไม่เลื่อนไปจากตำแหน่งเก่า ถ้าผู้ใช้เผลอนำมือไปโดนทัชแพดเข้า

Screen / Speaker

Dell XPS 13 2015 Review 048

หน้าจอของ Dell XPS 13 (2015) นอกเหนือจากเรื่องความบางเฉียบแล้ว จุดเด่นที่สุดที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลยก็คือ Dell เลือกใส่มาให้เป็นแบบ UltraSharp QHD+ ที่มีความละเอียดสูงมากถึง 3200 x 1800 พิกเซล (276 ppi) ที่สำคัญยังเป็นพาเนล IGZO2 IPS ที่มีคุณภาพระดับมืออาชีพ ส่งผลให้มีสีสันสวยสมจริง คมชัดในทุกมุมมอง แถมยังเรียบเนียนตาแบบที่ Ultrabook รุ่นทั่วไปไม่สามารถให้ได้ ซึ่งในการแสดงผลจริงๆ นั้นจะไม่ได้เป็น Native ที่ 3200 x 1800 พิกเซล จริงๆ เพราะอัตราส่วนของภาพจะมีขนาดที่เล็กมาก ไม่ว่าจะเป็นตัวอักษรหรือรูปภาพต่างๆ โดยตรงจุดนี้ตัว Windows 8.1 เองจะมีการสเกลภาพให้เทียบเท่ากับ 1920 x 1080 พิกเซลแทน ส่งผลให้เราใช้งานได้ตามปกติ (แต่จะปรับเป็น Native ก็ได้นะ)

ด้วยความสว่างที่ 400 นิต ซึ่งสว่างกว่าแผงหน้าจอทั่วไป (200 นิต) ถึง 100% จึงสามารถแสดงผลได้ยอดเยี่ยมแม้จะอยู่กลางแจ้ง อีกทั้งยังครอบคลุมเฉดสี 72% และมีอัตราส่วนคอนทราสต์สูงถึง 1000:1 จึงถ่ายทอดสีสันได้มากกว่า แสดงสีโทนสว่างได้สว่างสุดๆ และสีโทนมืดได้มืดสนิท

ส่วนการใช้งานทัชสกรีนที่ให้มานั้น ก็เป็นแบบ 10 จุด ตามที่หน้าจอระบบสัมผัสระดับบนทุกตัวควรจะเป็น เพื่อรองรับการใช้งานได้ครบทุกรูปแบบ ด้านแกนพับของหน้าจอ ก็ทำออกมาได้อย่างแข็งแรง ไม่ต้องกลัวว่าจะไปก่อนวัยอันควร

สำหรับกระจกยังเป็น Corning Gorilla Glass NBT ที่สามารถทนรอยขีดข่วนได้ดีกว่ากระจกแก้วโซดาไลม์ถึง 10 เท่า จึงช่วยป้องกันร่องรอยที่เกิดจากการหยิบจับ ทำความสะอาด หรือเช็ดหน้าจอได้ เรียกได้ว่าเทพเหนือชั้นจริงๆ กับ Dell XPS 13 (2015)

จุดที่น่าชื่นชมอีกอย่างหนึ่งก็คือ Dell XPS 13 (2015) เครื่องนี้ ก็คือมีการใส่ยางขอบจอมาตลอดแนวของจอเลย ต่างจากโน๊ตบุ๊คอื่นๆ ที่มักจะติดตั้งมาเป็นจุดๆ ในบางตำแหน่งเท่านั้น ซึ่งยางนี้จะมีประโยชน์ก็ในการซับแรงกระแทกที่เกิดในเวลาที่จอพับอยู่ได้ ส่วนที่แปลกตาก็คือกล้องเว็บแคมไปอยู่บริเวณมุมซ้ายล่างของหน้าจอ ซึ่งในการใช้งานจริงก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรครับ

ด้านของลำโพงสเตอรีโอนั้นอยู่บริเวณด้านซ้ายขวาขอบตัวเครื่อง ในเรื่องของความดังของเสียงเรียกว่าทำออกมาได้อย่างน่าประทับใจทีเดียว ส่วนในเรื่องคุณภาพเสียงนั้น อาจจะไม่ได้ยิ่งใหญ่อลังการงานสร้างสักเท่าไหร่ แต่ถ้าหากว่าคุณเป็นผู้ใช้งานทั่วไป คุณภาพเสียงที่ได้นั้น ก็ถือว่าดีเพียงพอแบบสบายๆ แล้ว ส่วนใครจะเอาไปต่อกับหูฟังหรือลำโพงเพิ่ม ก็สามารถทำได้หากว่าต้องการคุณภาพเสียงที่ดีมากยิ่งขึ้นไปอีก

Connector / Thin And Weight

Dell XPS 13 2015 Review 039

พอร์ตการเชื่อมต่อตัวเครื่อง Dell XPS 13 (2015) นี้จัดว่าเป็น Ultrabook ที่มีความครบครับระดับนึง แม้ว่าจะเป็นเครื่องที่มีการออกแบบมาให้เป็นเครื่องที่มีขนาดความบางและน้ำหนักเบาแต่เรื่องพอร์ตการเชื่อมต่อต่างๆ นั้น ก็มีมาให้มากพอทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น USB 3.0 จำนวน 2 พอร์จ และ mini-DisplayPort พร้อมช่องต่อหูฟังขนาดมาตรฐาน

นอกเหนือจากนี้ยังมีช่องต่อกับ Power Adapter สำหรับจ่ายไฟให้กับตัวเครื่องที่มีจุดเด่นที่หัวตัวเชื่อมต่อมีไฟบอกสถานะการชาร์จแบบชัดเจน รวมไปถึงตัวเครื่องก็มีไฟสถานะการใช้งานอีกเช่นกัน เรียกได้ว่า Dell XPS 13 (2015) ใส่ใจในการออกแบบผลิตภัณฑ์ Ultrabook ระดับสูงเครื่องนี้เป็นอย่างดี

ขนาดของตัวเครื่องและสายชาร์จ เมื่อเทียบกับขนาดของ Ultrabook 13 นิ้วทั่วไปถือได้ว่ามีมิติที่เล็กกว่าพอสมควร ส่วนน้ำหนักตัวเครื่องเปล่านั้น อยู่ที่ 1.37 กิโลกรัม และเมื่อรวมกับตัวก้อนอแด็ปเตอร์เข้าไปด้วย ก็จะมีหนักราวๆ 1.5 กิโลกรัมเท่านั้น ก็จัดว่ามีน้ำหนักที่มีความเบามากๆ เลย แน่นอนว่าตอบสนองในเรื่องของการพกพาไปนอกสถานที่ได้อย่างเต็มรูปแบบ สมกับเป็น Ultrabook ในยุคปัจจุบันทีเดียว

Performance / Software

win1

Dell XPS 13 (2015) เครื่องรีวิวนี้มาพร้อมกับชิปประมวลผลจาก Intel Core i7-5600U ซึ่งเป็นชิปประมวลผลใช้พลังงานไฟต่ำมาก มีความเร็วในการประมวลผลอยู่ที่ 2.6 GHz แต่สามารถเร่งประสิทธิภาพขึ้นไปได้สูงสุดถึง 3.2 GHz นะครับ เป็นซีพียูแบบ 2 Core 4 Threads ที่เพียงพอสำหรับการใช้งานทั่วไป หรือถ้างานที่ต้องประมวลผลหนักก็รองรับได้อย่างสบายๆ แม้ก็ต้องยอมรับว่าอาจจะสูงกว่าพวก Core i7 ตัวซีรีย์ M ไม่ได้ (แต่เทียบเท่าได้กับ Core i5 ซีรีย์ M) แต่เรื่องประหยัดพลังงานนั้นไม่เป็นรองใครอย่างแน่นอน มาพร้อมแรมภายในขนาด 8GB ที่สามารถขับเคลื่อนระบบปฏิบัติการ Windows 8.1 ลิขสิทธิ์ที่มีมาให้แบบสบายๆ

gpuz

กราฟิกการ์ดเป็นแบบออนบอร์ดอย่าง Intel HD Graphics 5500 ที่ให้พลังในการประมวลผลที่ดีในระดับหนึ่ง อย่างในเรื่องของกราฟิก 2 มิตินั้นก็รองรับได้อย่างสบายๆ หรือถ้าเป็น 3  มิติก็ต้องบอกว่ารองรับการทำงานได้ในระดับเบื้องต้นเท่านั้น แต่เอาเข้าจริงๆ ก็สนับสนุนการเล่นเกมได้ในระดับนึงเหมือนกัน ที่โดยรวมแล้วให้ประสิทธิภาพการทำงานที่ดีกว่า Intel HD Graphics รุ่นก่อนหน้าแน่นอน เพราะอย่างน้อยๆ ก็รองรับการทำงานกับหน้าจอความละเอียดสูงได้แบบไม่มีปัญหา

cine

สำหรับโปรแกรมทดสอบ CINEBENCH ที่เน้นในเรื่องของพลังชิปประมวลผล คะแนนก็อยู่ในระดับที่น่าพอใจ เปรียบเทียบกับชิปประมวลผลที่เป็นรหัส U รุ่นก่อนหน้าแล้ว ก็ทำได้ดีกว่าเล็กน้อย รวมไปถึงตัวกราฟิกการ์ดเองก็มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เรียกได้ว่าตอบโจทย์ในส่วนของงานประมวลผลหนักๆ ได้อย่างสบายๆ ไม่น่าเป็นห่วงนัก

ssd

ตัวเก็บข้อมูลของเครื่องที่เลือกใช้ SSD ก็ทำคะแนนออกมาได้อย่างรวดเร็วเป็นที่น่าพอใจบนขนาดความจุ 512GB (ต่างจากเครื่องขายจริงไทยที่จะสุดเพียง 256GB) ยิ่งเมื่อนำไปใช้เทียบกับฮาร์ดไดร์ฟแบบจานหมุนหรือแบบลูกผสมอย่าง SSHD แล้วละก็จะเห็นถึงประสิทธิภาพทั้งในด้านการทดสอบและในด้านการใช้งานจริงที่แตกต่างกันอย่างเห็นเห็นได้ชัด

SF4-Dell-XPS13

สำหรับ Street Fighter 4 ที่ตั้งค่าเป็น Default บนความละเอียด 1280 x 720 พิกเซล ผลคะแนนก็ได้มากกว่า Ultrabook รุ่นก่อนๆ อย่างเห็นได้ชัดเจน โดยได้คะแนนอยู่ที่ 11978 คะแนนด้วยกัน มีค่าเฟรมเรทเฉลี่ยอยู่ที่ 84.50 FPS ด้วยกัน ทำให้ได้ระดับ Rank A ทีเดียว ซึ่งสำหรับเกมที่ไม่ได้กินทรัพยากรมากมายอะไร ถือได้ว่าพอจะเล่นได้แบบสบายๆ Dell XPS 13 (2015) เครื่องนี้ก็พร้อมตอบสนองความสุขของทุกคนได้เป็นอย่างดี

Dell XPS 13 2015 Review 053

อีกเกมหนึ่งที่โดยส่วนตัวเล่นเป็นประจำอย่าง DOTA 2 ก็จัดการทดสอบให้ด้วยเช่นกัน โดยทั้งนี้การตั้งค่าความละเอียดของภาพก็อยู่ที่ 1280 x 720 พิกเซล ซึ่งเป็นความละเอียดที่จะสามารถเล่นให้ลื่นได้ แน่นอนว่าที่ความละเอียด Native 3200 x 1800 พิกเซล ไม่สามารถเล่นอย่างลื่นๆ ได้ สำหรับรายละเอียดภาพอื่นๆ ก็เรียกได้ว่าเปิดทุกอัน  ผลที่ได้ออกมาก็คือสามารถเรนเดอร์ได้อย่างไหลลื่น ระดับเฟรมเรทอยู่ที่ประมาณ 50-60 แม้กระทั่งฉากตะลุมบอนกันก็สบายๆ ค่าเฟรมเรทอยู่ที่ราวๆ 30 ขึ้นไปตลอด สรุปโดยรวมแล้วคือเล่นได้สบายๆ  ซึ่งในการทดลองเล่นเกม DOTA 2 ทำได้อย่างน่าประทับใจ ทั้งจากความลื่นไหลและหน้าจอที่สวยงามสมจริง

win2

การใช้งาน Dell XPS 13 (2015)  บนระบบปฏิบัติการ Windows 8.1 ที่ความละเอียดหน้าจอแบบ Native 3200 x 1800 พิกเซลนั้น ก็พบปัญหาด้านการแสดงผลไม่มีอีกต่อไปแล้ว เพราะความที่ Windows 8.1 นั้นได้มีการรองรับความละเอียดหน้าจอที่สูงเป็นอย่างดี ด้วยคุณสมบัติในการปรับสเกลความละเอียดที่ดี โดยค่ามาตรฐานได้ถูกปรับไประดับ 250% เลยทีเดียว ส่งผลให้เราใช้งานได้อย่างสมบูรณ์แบบ จากการที่ตัวอักษรหรือการแสดงภาพต่างๆ บนหน้าจอมีความเหมาะสม เรียกได้ว่าแตกต่างจากโน๊ตบุ๊คหน้าจอความละเอียดสุดรุ่นก่อนๆ ที่ต้องนั่งเพ่งจนปวดตากันไป

Battery / Heat / Noise

Dell XPS 13 2015 Review 038

แบตเตอรี่ของ Dell XPS 13 (2015) เป็นแบบฝังไว้ในเครื่องเหมือนกับ Ultrabook หลายๆ เครื่อง ตัวแบตเตอรี่มีขนาด 47 WHr ทำงานต่อเนื่องยาวนานได้ราว 5 ชั่วโมงต่อเนื่องในการใช้งานแบบปกติ (ดูภาพยนตร์และเล่นอินเตอร์เน็ต) และคาดว่าจะทำได้นานยิ่งกว่านั้นปรับเปลี่ยนตามการใช้งานของแต่ละคน ดูแล้วอาจให้ระยะเวลาการทำงานที่ค่อนข้างสั้นกว่าเครื่องอื่นเล็กน้อย ส่วนช่องระบายความร้อนของ Dell XPS 13 (2015) จะอยู่ด้านบนของแท่นเครื่องบริเวณขาพับจอ โดยออกแบบให้ซ่อนตัวเอาไว้ด้านหลังติดกับกรอบอะลูมิเนียมของจอ ถึงพับจอก็ไม่เห็นช่องระบายความร้อนเลย

bat

ส่วนของระบบนำอากาศเข้าจะอยู่ด้านใต้ตัวเครื่อง โดยจะอยู่ในส่วนบนของตัวเครื่องพอดี มีขนาดค่อนข้างใหญ่เห็นชัดเจนและยาวพอควร อาจดูไม่เรียบร้อยนักเมื่อใช้เป็นแบบแท็บเล็ตและยกขึ้นเหนือพื้นโต๊ะ เวลาใช้งานแบบปกตินั้น ไม่มีเสียงรบกวนดังรบกวนแต่ถ้าดึงประสิทธิภาพเครื่องออกมาจนสุด ก็จะมีเสียงดังขึ้นมาพอควร เพื่อบอกกับผู้ใช้กลายๆ ว่าตอนนี้เครื่องทำงานเต็มที่แล้วนะ แต่ก็ไม่ถึงขั้นรบกวนมากมายอะไร

tem

อุณหภูมิปกติของเครื่องจะอยู่ที่ 35 องศาเซลเซียส แต่พอรีดประสิทธิภาพเต็มที่จะเห็นว่าเครื่องจะร้อนที่สุดเพียง 83 องศาเซลเซียสเท่านั้น นับว่าระบบระบายความร้อนของ Dell XPS 13 (2015) เครื่องนี้ทำออกมาได้ดีกว่า Ultrabook เครื่องอื่นๆ ที่เคยทำการรีวิวมาพอควร เพราะความร้อนทั่วไปจะอยู่ที่เพียง 43 องศาเซลเซียสตอนทำงานเต็มที่แล้ว นับว่า Dell XPS 13 (2015) เครื่องนี้จัดการระบบระบายความร้อนออกมาได้ดีมากทีเดียว ซึ่งนั่นน่าจะเป็นเพราะชุดระบายความร้อนจาก Dell ที่ดี และชิปประมวลผล Intel รุ่นล่าสุดที่มีมีเทคโนโลยีการผลิตที่เล็กลง

Conclusion / Award

Dell XPS 13 2015 Review 020

เรียกได้ว่ามีความน่าสนใจจริงๆ สำหรับ Ultrabook รุ่นล่าสุดสุดพรีเมียมจากทาง Dell อย่าง Dell XPS 13 (2015) ที่ต่อยอดความสำเร็จตระกูล XPS ได้เป็นอย่างดี เพราะมาพร้อมความสมบูรณ์แบบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของดีไซน์การออกแบบ ภาพลักษณ์ วัสดุ งานประกอบ รวมไปถึงประสิทธิภาพและประสบการณ์ใช้งาน ที่แม้ว่าอาจจะข้อสังเกตุในเรื่องของราคาค่าตัวที่สูงซักหน่อย (ก็ไม่หน่อยเท่าไหร่) โดยสนนเริ่มต้นที่ 49,990 บาท สำหรับรุ่น Core i5 ความละเอียดหน้าจอ Full HD ส่วนรุ่น Core i5 หน้าจอความละเอียด 3200 x 1800 พิกเซล (UltraSharp QHD+) ก็สนนราคาเริ่มต้นที่ 59,990 บาท แต่สำหรับรุ่นที่ทีมงานเอามารีวิวนั้นเป็นรุ่นท็อปสุด ซึ่งเป็น Core i7 จอ 3200 x 1800 พิกเซล ราคาก็จะอยู่ที่ 62,990 บาทีเดียว

อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะมีราคา Dell XPS 13 (2015) จะมีราคาที่สูงกว่า Ultrabook รุ่นอื่นๆ แต่ก็เหนือกว่ารุ่นอื่นๆ ด้วยการที่ตัวเครื่องมีขนาดเล็กเทียบเท่าโน๊ตบุ๊คหน้าจอ 11.6 นิ้ว ทั้งๆ ที่ความเป็นจริงแล้วเป็นโน๊ตบุ๊คหน้าจอ 13.3 นิ้ว (แน่นอนว่าขนาดเล็กกว่าโน๊ตบุ๊ค 13.3 นิ้วทั่วไป)

โดยทางทีมงานลองนำมาเทียบกับ MacBook Pro Retina 13 ของทาง Apple ก็เห็นได้ชัดว่า Dell XPS 13 (2015) มีทั้งน้ำหนักที่เบากว่า ตัวเครื่องที่เล็กกว่า ขอบจอที่บางกว่า ความละเอียดหน้าจอที่สูงกว่า  ซึ่งราคาเมื่อเทียบในสเปกที่ใกล้เคียงกันแล้ว ทาง Dell XPS 13 (2015) จะมีราคาที่สูงกว่าเล็กน้อยเท่านั้น (ประมาณ 3,000 บาท) ยังไงก็จัดได้ว่ามีความน่าซื้ออยู่ไม่น้อยเช่นกัน สำหรับการเป็น Ultrabook ระดับสูง แถมยังมีการรับประกันถึง 3  ปีอีกด้วย ที่สำคัญคือ On Site Service คือมารับมาส่งถึงบ้านเลย

เอาเป็นว่าใครกำลังมองหา Ultrabook ที่เน้นประสบการณ์ใช้งานที่เหนือระดับโดยไม่กังวลในเรื่องของราคาค่าตัวล่ะก็ Dell XPS 13 (2015) น่าจะตอบโจทย์การใช้งานได้เป็นอย่างดีทีเดียวครับ

จุดเด่น

  • เป็น Ultrabook หน้าจอ 13.3 นิ้ว แต่มีขนาดตัวเครื่องเล็กเทียบเท่ารุ่นหน้าจอ 11.6 นิ้ว
  • หน้าจอมีความละเอียดสูงระดับ 3200 x 1880 พิกเซล UltraSharp QHD+
  • พาเนลหน้าจอ IPS มีคุณภาพสูง แถมเป็นแบบจอด้าน แทบจะไร้แสงสะท้อน
  • ขอบจอบางพิเศษกว่าโน๊ตบุ๊คทั่วไป เพิ่มความโดดเด่น
  • น้ำหนักเบา ตัวเครื่องบางพิเศษ วัสดุเป็นคาร์บอนไฟเบอร์
  • ประสิทธิภาพดีด้วยชิปประมวลผล Intel รุ่นล่าสุด และ SSD ความเร็วสูง
  • พอร์ตการเชื่อมต่อครบครัน ในระดับ Ultrabook ที่ควรจะเป็น
  • ประกันถึง 3 ปี มาพร้อม On Site Service มาตรฐาน Dell

ข้อสังเกตุ

  • ราคาสูงกว่า Ultrabook ทั่วไป
  • ฝาหลังน่าจะหรูหราดูดีมีราคากว่านี้หน่อย
  • แบตเตอรี่ใช้งานได้ไม่ยาวนานอย่างที่ควรเป็น

Award

โดยในครั้งนี้จะเป็นการเปรียบเทียบการให้รางวัลกับเครื่องในกลุ่มของโน๊ตบุ๊คขนาดหน้าจอ 13.3 นิ้วด้วยกัน ซึ่ง Dell XPS 13 (2015) ก็ได้รางวัลต่างๆ ดังนี้

Best Design

เรื่องของรูปร่างหน้าตาก็เป็นหนึ่งในจุดเด่นที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ของ XPS มาตั้งแต่ไหนแต่ไร ซึ่งจุดเด่นในข้อนี้ก็เห็นได้ชัดเจนในDell XPS 13 (2015) ที่มีดีไซน์ของตัวเครื่องสวยงามโฉบเฉี่ยวเป็นเอกลักษณ์ ดูแล้วเรียบหรูตามสไตล์ครุ่นใหม่ ซึ่งในจุดของรูปร่างหน้าตาก็เป็นสิ่งที่หลายๆ คนยอมรับกันอยู่ในระดับหนึ่งอยู่แล้ว

award_use_2_create_12

Best Mobility

ส่วนของความสามารถในการพกพาก็ยังคงอยู่ในระดับที่ดีตามสไตล์ของ Ultrabook ตระกูล XPS อยู่เช่นเดิม ทั้งในความบางเพียง 15 มิลลิเมตร และน้ำหนักเบา 1.37 กิโลกรัม ที่ทำให้สามารถหิ้วไปไหนมาไหนได้อย่างสะดวก แถมไม่ต้องกลัวว่าเครื่องจะมีปัญหาอีกด้วย เพราะระบบไม่ได้ใช้ฮาร์ดดิสก์แบบจานหมุน ทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องการจับถือมากนัก สามารถพับฝาจอลงแล้วเก็บเครื่องได้ทันที อแดปเตอร์ก็ทำออกมาให้มีขนาดที่ไม่ใหญ่มากนัก พกพาสะดวก รวมน้ำหนักแล้วยังไม่ถึง 2 กิโลกรัม เหมาะมากๆ กัยคนที่ทำงานนอกสถานที่บ่อยๆ

award_use_2_create_23

Best Technology

สเปกตัวเครื่อง Dell XPS 13 (2015) จะมีความใหม่สดจากการที่เลือกใช้ชิปประมวลผล Intel Core i Gen 5 แถมยังเลือกใช้ฮาร์ดดิสก์แบบ SSD PCIe ซึ่งทำให้การทำงานโดยรวมมีความล้ำหน้ากว่า Ultrabook ทั่วๆ ไป อีกทั้งในเรื่องของหน้าจอและความละเอียดจอก็มาในระดับที่สูงยังมาเป็นแบบ 3K ที่เป็นพาเนลจอคุณภาพสูงระดับมืออาชีพอย่าง IPS กับความละเอียด 3200 x 1880 พิกเซล จึงทำให้คว้ารางวัล Best Technology ไป

award use 2 create 16

Best Ultrabook

และด้วยข้อดีข้อเด่นทั้งหมดทั้งมวลนี้ Dell XPS 13 (2015) ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งสุดยอด Ultrabook ของปี 2015 นี้ ทั้งในเรื่องของดีไซน์การออกแบบ ประสิทธิภาพ หน้าจอคุณภาพสูง ที่หา Ultrabook เครื่องอื่นๆ มาเทียบไม่ได้ (แม้กระทั่ง MacBook Pro Retina 13 ยังเป็นรอง) ประกอบกับคุณสมบัติในการตอบสนองการทำงานที่ครบถ้วน เพราะฉะนั้นคงไม่แปลกอะไรนักที่ Dell XPS 13 (2015) จะได้รับ Award ประเภท Best Ultrabook ไปครับ

award_use_2_create_03

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

CONTENT

ในบทความก่อนหน้านี้จะเป็นการแนะนำโน้ตบุ๊ก AMD น้ำหนักเบาที่มีประสิทธิภาพสูง พร้อมตอบโจทย์การทำงานที่ต้องเน้นการพกพาเครื่องบ่อย ๆ โดยที่ยังได้พลังในการทำงานที่ดีอยู่ ส่วนในบทความนี้เราจะมาดูโน้ตบุ๊ก AMD การ์ดจอแรง แต่มาพร้อมกับน้ำหนักที่เบากันบ้าง เผื่อในกรณีของท่านที่ต้องการซื้อโน้ตบุ๊กใหม่ซักเครื่อง แล้วอยากได้แพลตฟอร์มของค่ายแดงมาไว้ใช้ทำงาน เล่นเกม แต่ก็ยังอยากพกง่าย ๆ อยู่ด้วยในเครื่องเดียว

Buyer's Guide

ในอดีตโน๊ตบุ๊คราคา 20000 บาท อาจจะได้สเปคแค่พอใช้งานได้ แต่พอซีพียู AMD, Intel มีประสิทธิภาพสูงขึ้นเรื่อยๆ โน๊ตบุ๊ค 2024 ราคาไม่เกิน 20000 บาท ก็ใช้ทำงานทั่วไปได้สบายๆ ไม่ว่าจะงานเอกสารหรือแต่งภาพทำคลิปสั้นก็ได้ไม่พอ หลายเจ้ายังติดตั้ง Microsoft Office Home & Student 2021 มาให้ครบ พร้อมทำงานทันทีไม่ต้องซื้อบริการ...

Buyer's Guide

โน๊ตบุ๊คเล่นเกมราคาไม่เกิน 20000 บาทในปี 2024 ซึ่งเทคโนโลยีก้าวหน้ามาไกลจนฮาร์ดแวร์มีกำลังประมวลผลดีขึ้นแต่ราคาถูกลงจึงหาซื้อมาใช้ได้สะดวกกว่าเดิม แม้จะเห็นว่าตัวเครื่องเป็นโน๊ตบุ๊คบางเบาเพื่อชาวออฟฟิศก็จริง แต่จีพียูออนบอร์ดก็ดีพอเล่นเกม เช่น The Sims, เกมอินดี้ไปจนเกมออนไลน์บนจอความละเอียด 1080p ปรับกราฟิคระดับกลางพอให้คนทำงานเปิดเกมเล่นฆ่าเวลาได้บ้าง ไม่ต้องเผื่อเงินไปซื้อเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คราคาเกินกว่านี้มาใช้ให้เปลืองก็ได้ จะซื้อโน๊ตบุ๊คเล่นเกมราคาไม่เกิน 20000 บาทมาแล้วเล่นเกมอะไรได้บ้าง? โน๊ตบุ๊คเล่นเกมราคาไม่เกิน 20000 บาท มักเป็นจีพียูในตัวชิปเซ็ต อาจมีรุ่นจีพียูแยกให้เลือกได้บ้าง จีพียู AMD...

Buyer's Guide

สินค้าราคาประหยัดเป็นมิตรต่อกระเป๋าเงิน โดยเฉพาะโน๊ตบุ๊คราคาถูกเป็นคำตอบของผู้ใช้ส่วนใหญ่มาโดยตลอด ขอแค่เปิดมาใช้งานทั่วไปเข้าเว็บไซต์, ทำงานเอกสารและรายงานได้ก็เพียงพอแล้ว ณ ตอนนี้มีเงินเพียง 15,000 บาท ก็ซื้อมาใช้ได้แล้ว แถมสเปคก็ดีทีเดียว ได้ซีพียู AMD, Intel รุ่นใหม่ แถมแบรนด์ผู้ผลิตก็เติมลูกเล่นต่างๆ เข้ามา ไม่ว่าจะกางหน้าจอได้แบนราบไปกับพื้นโต๊ะให้เพื่อนร่วมงานดูได้สะดวก, ติดตั้งโปรแกรม Microsoft Office Home & Student 2021...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก