หากมองไปที่ผู้ผลิตซีพียูรายใหญ่อย่าง AMD ที่เราคุ้นตากันกับภาพของโพรเซสเซอร์ที่มีความหลากหลายในตลาดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในด้านของ AMD FX-series ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในงานและเกมเมอร์ในระดับ Extreme หรือจะเป็น A-series ที่มาพร้อมกราฟฟิก APU อยู่ในตัว ที่ตอบโจทย์ความแรงอย่างคุ้มค่าและเกมเมอร์ที่มองหาโซลูขั่นในการเล่นเกมที่ราคาสบายกระเป๋า เน้นไปที่แกนหลักจำนวนมาก สำหรับการประมวลผลในแบบมัลติทาส์กกิ้งอย่างแท้จริง
ซึ่งในช่วงปี 2014 ที่ผ่านมา นับว่าเป็นการถือกำเนิดของ APU ในรหัสที่เรียกว่า Kaveri ด้วยการเปิดตัวซีพียู AMD A10-7850 พร้อมโครงสร้างสถาปัตยกรรมในแบบ 4 CPU + 8 GPU ด้วยความเร็วพื้นฐานที่ 3.7GHz พร้อมโหมดเพิ่มความเร็ว Turbo ได้สูงสุดที่ 4GHz โดยมีค่า TDP อยู่ที่ 95W ซึ่งเราขอไม่ย้อนไปไกลในสถาปัตยกรรมเดิมในที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นในซีรีส์ A10-5xxx หรือ A10-6xxx เพราะเชื่อว่าหลายท่านคงทราบกันดีในเรื่องของการพัฒนาในด้านสถาปัตยกรรมในแต่ละยุคสมัย โดยจะขอเปรียบเทียบในส่วนของซีพียูในเจเนอเรชั่นใกล้ๆ กัน ระหว่างซีพียู AMD A10-7800 และ A10-7850 เป็นหลัก
จะว่าไปหากมองผ่านทางสเปกที่ได้เห็นกันอยู่ตามตาราง มีความแตกต่างกันอยู่เล็กน้อย ระหว่างซีพียูใน 2 รุ่นนี้ ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์ม ความเร็ว แคชหรือค่า TDP รวมไปถึงกราฟฟิก APU ที่มีการปรับปรุง ส่วนหนึ่งมาจากการที่ใช้พื้นฐานโครงสร้าง “Kaveri” เดียวกัน จึงไม่ได้มีความต่างจากกันมากนัก แต่ที่น่าสนใจคือ การมีค่า TDP ที่ต่ำลง จากเดิม 95W ก็เหลือเพียง 65W หรือบางรุ่นจะขยับไปที่ 45W เรียกว่าใช้พลังงน้อยลง แต่ได้ประสิทธิภาพไม่ต่างไปจากเดิม ให้ความคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น
โดยที่ AMD มีการเปิดตัวซีพียูในซีรีส์ดังกล่าวจำนวน 3 รุ่น ประกอบด้วย A10-7800, 7600K และ 7400K โดยจะเห็นได้ว่า AMD ลดค่า TDP ให้สามารถ Optimize ได้ในระดับ 45W เท่านั้น ส่วนการทำงานร่วมกับชิปเซ็ตนั้น ยังคงอยู่ที่ A88X, A78 และ A58 ซึ่งจัดว่า AMD มองถึงการใช้งานกับชิปเซ็ตรุ่นเดิมๆ ได้ แม้จะมีการลดฟีเจอร์บางส่วน แต่ยังคงใช้งานร่วมกันได้อย่างลงตัว
ในส่วนของระบบกราฟฟิก APU จะเห็นว่า กราฟฟิกส่วนใหญ่จะยังไม่ได้ต่างออกไป โครงสร้างหลักยังอยู่ที่ Radeon R7 เป็นหลัก บนแกนหลัก 6 Cores, 10 Cores และ 12 Cores เช่นเดียวกับการสนับสนุน DDR3 ยังคงยืนพื้นอยู่ที่มาตรฐาน DDR3 2133MHz
Design and Platform
แผงด้านหน้าก็อย่างที่คุ้นเคยกัน สำหรับในรูปแบบดังกล่าว โดยมีการสกรีน A10-7800 พร้อมกับ Code แหล่งผลิตต่างๆ ครบ
ด้านใต้ยังคงเป็นพินซ็อกเก็ตในแบบ FM2+ เช่นเคย
ระบบที่ใช้ในการทดสอบ
- AMD A10-7800 3.5GHz, L2-cache 4MB
- GIGABYTE GA-F2A88X-UP4
- AVEXIR DDR3 2400 8GB (4GBx2)
- Plextor M6S 128GB SSD
แอ็คชั่นร่วมกับเมนบอร์ดก่อนจะติดตั้งลงไป
ระบบเมื่อติดตั้งเรียบร้อย พร้อมสำหรับการทดสอบในครั้งนี้
หน้าตาเมนบอร์ดที่แสนจะดุดัน ด้วยชิปเซ็ต A88X ที่เอามารีดพลังจาก A10 ได้ดีทีเดียว
ส่วนของแรม AVEXIR DDR3 8GB ที่นำมาใช้ในการทดสอบ
การทดสอบ
CPUz
ความเร็วของซีพียูเมื่ออยู่ในสถานะ Standby หรือ idle ความเร็วอยู่ที่ประมาณ 1.4GHz
ส่วนความเร็วที่ได้เมื่ออยู่ในการทำงานแบบ Full Load ที่ความเร็ว 3.9GHz ในโหมด Turbo
3DMark Vantage
สำหรับคะแนนในส่วนของ 3DMark Vantage อยู่ในระดับที่ถือว่าดีทีเดียวสำหรับการทดสอบในหลายๆ ส่วน รวมถึงในแง่ของ APU ที่ทำคะแนนในส่วนของ Graphic score ได้ดีทีเดียว
3DMark 11
AIDA64 Benchmark
CINEBench R15
Furmark V.1.9.0
SuperPI/ mod 1.5
SuperPI/ mod 1.5 32MB
X264 FHD Benchmark
PCMark 7
โดยผลที่ได้จาก PCMark7 ก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ ด้วยผลจาก Score ในส่วนต่างๆ ซึ่งในภาพรวมต้องถือว่าเราใช้อุปกรณ์ส่วนใหญ่ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น CPU, RAM หรือ SSD ก็ตาม จึงทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมเพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้ยังมีการทดสอบด้วยเกมสามมิติที่ให้ผลการทดสอบด้าน APU ออกมาได้ดังนี้
Resident Evil
- 1280 x 720, NoFSAA > Score 3015 Rank B
- 1280 x 720, FSAA3HQ > Score 2999 Rank C
- 1680 x 1050, No FSAA > Score 1992 Rank C
- 1680 x 1050, FSAA3HQ > Score 1982 Rank C
ในการทดสอบส่วนที่เหลือ จัดว่าเป็นการทดสอบในงานจริง ด้วยการบีบอัดไฟล์และแปลง ด้วยโปรแกรม WinRAR ที่ใช้ในการบีบอัดไฟล์และโปรแกรม Format Factory ที่ใช้สำหรับการแปลงไฟล์วีดีโอ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี
Compress files : (WinRAR) 4.64GB Text + Pic ใช้เวลาไป 6.50 นาที
Encode files : Defualt Convert file DVD 4.5GB to MPEG4 720 x 480 30fps ใช้เวลาไป 21.36 นาที
Conclusion
จัดว่าเป็นซีพียูอีกรุ่นหนึ่งจากค่าย AMD ที่เรียกว่าน่าจะสร้างความเชื่อมั่นในด้านความคุ้มค่าสำหรับคนที่กำลังมองหาซีพียูที่กลุ่มของการเล่นเกม แบบที่ราคาไม่สูงเกินไปนัก แต่ได้ซีพียูแบบหลายคอร์เอามาใช้งาน โดยเฉพาะกับแพลตฟอร์มและองค์ประกอบอื่นๆ มีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างถูก ไม่ว่าจะเป็นเมนบอร์ดหรือแรม ที่เวลานี้มีตัวเลือกอยู่มากมาย โดยเฉพาะการเลือกใช้แรมที่ระดับ 2133MHz ก็ยังถือว่าไม่แพงเกินไปนักกับราคาในตลาดเวลานี้ เมื่อมองไปที่ความเร็วในการทดสอบหลายๆ ส่วน เป็นตัวบอกได้ว่า สามารถตอบสนองการใช้งานทั้งเรื่องของซอฟต์แวร์สำนักงานหรือการเล่นเกมได้อย่างสบายๆ แม้ว่าในบางเกมอาจเรียกเฟรมเรตออกมาได้ไม่จัดจ้านนัก แต่หากปรับความละเอียดบางส่วนให้เหมาะสม ก็ทำให้เกมนั้นลื่นไหลได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงในโหมด Turbo ที่ดันความเร็วไปเกือบ 4GHz ก็น่าจะตอบโจทย์ในการทำงานหลายภาคส่วนได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญ A10-7800 นี้มีค่า TDP ต่ำลง ก็ช่วยให้ประหยัดพลังงานลงไปได้พอสมควร ที่สำคัญเรื่องของความร้อนก็น้อยตามลงไปด้วย จากการทดสอบเรียกว่าอัตราการโหลดจนทำให้พัดลมทำงานหนักขึ้นนั้น แทบไม่มีให้เห็น เชื่อว่าน่าจะเป็นแนวโน้มที่ดีสำหรับใครหลายคนกับการลงทุนในเรื่องของระบบระบายความร้อนที่ลดลง ไม่ต้องไปห่วงเรื่องความร้อนมากนัก โดยที่ AMD A10-7800 นี้ น่าจะขึ้นแท่นเป็นีพียูอีกหนึ่งรุ่นที่ให้ความคุ้มค่า ทั้งในแง่ของการทำงานและเกมได้อย่างชัดเจนในเวลานี้
สนับสนุนการทดสอบโดย
AMD Thailand