Connect with us

Hi, what are you looking for?

Accessories review

เปรียบเทียบ SD Card 16GB รุ่นสุดคุ้ม ในตลาด

SD Card แบรนด์ต่างๆ ที่วางขายกันอยู่ในท้องตลาด สู่การทดสอบที่น่าสนใจของเราว่า SD Card ที่วางขายกันนั้นมีความเร็วในการทำงานที่แตกต่างกันหรือไม่

หลังจากที่ฟาดฟันกันมาหลายยุค เทคโนโลยีของ SD Card ก็ได้กลายมาเป็นมาตรฐานหลักที่อุปกรณ์ต่างๆ รองรับในการเก็บข้อมูล ซึ่งนอกจากความสะดวกในการใช้งานแล้ว ในแง่ของความเร็วในการทำงานก็ยังได้รับการพัฒนาให้รวดเร็วขึ้นเรื่อยๆ จนเราได้เห็นมาตรฐานย่อยต่างๆ มากมายจนบางครั้งก็เลือกซื้อไม่ถูก เพราะไม่ทราบถึงความแตกต่าง (แต่บางครั้งก็ทราบได้ทันทีด้วยราคา)

SD Card-battle (6)

Advertisement

จาก SD Card แบรนด์ต่างๆ ที่วางขายกันอยู่ในท้องตลาด สู่การทดสอบที่น่าสนใจของเราว่า SD Card ที่วางขายกันนั้นมีความเร็วในการทำงานที่แตกต่างกันหรือไม่ ซึ่งก่อนที่เราจะไปถึงเรื่องของการทดสอบ ผมอยากจะขอแนะนำให้เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องมาตรฐานเทคโนโลยีของ SD Card กันก่อนเล็กน้อย

SD Card-battle (4)

SD/SDHC/SDXC เป็นชื่อที่ใช้เรียกแทนเวอร์ชันของมาตรฐาน SD Card เพื่อให้เข้าใจง่ายๆ โดยจะมีการเปลี่ยนรายละเอียดข้างในให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเราจะเห็นในแง่ของความจุที่เพิ่มขึ้นชัดเจนมากที่สุด และอีกส่วนหนึ่งที่เป็นข้อกำหนดคือความเร็วบัสในการถ่ายโอนข้อมูล ซึ่ง SDXC จะใช้บัสแบบ UHS-I ที่มีความเร็วสูงสุดถึง 104MB/s เลยทีเดียว ปัจจุบันในท้องตลาดแทบจะเป็น SDXC ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นล่าสุดกันหมดแล้ว

Card

Class หลังจากที่ SD Card ได้เปลี่ยนมาใช้ Class เพื่อแบ่งเกรดของการ์ดตามความเร็วที่ถูกออกแบบมา โดยวัดจากความเร็วในการอ่าน/เขียนข้อมูลของตัวแฟลชภายในการ์ดเลย โดยในตลาดตอนนี้มักจะเห็น Class 4 สำหรับการใช้งานทั่วไป ราคาถูกและมักจะใช้เป็นของแถม กับ Class 10 ที่มีความเร็วสูงกว่าเหมาะกับการถ่ายวิดีโอ HD หรือ Full HD มากกว่า ซึ่งตัวเลขของ Class นั้นก็จะหมายถึงการ์ดตัวนี้มีความเร็วอย่างน้อย ? MB/s ตามตัวเลขนั้นเลย ซึ่งเลขนี้ขอเน้นว่าเป็นความเร็วขั้นต่ำนะครับ ส่วนความเร็วจริงๆ ต้องไปวัดกันทีเพราะไม่มีการกำหนด Class ที่สูงกว่านี้ออกมาแล้ว

Class

UHS-I/UHS-II นอกจาก Class แล้วเรายังเห็นการ์ดรุ่นใหม่มีระบุ U1 หรือ UHS-I เอาไว้ด้วย ซึ่งนี้เป็นมาตรฐานนี้แต่เดิมเป็นการระบุความเร็วของบัสที่ใช้ส่งข้อมูล แต่ก็ถูกนำมาเป็นตัวชี้วัดเกรดของการ์ดด้วยเช่นกัน โดย U1 ที่เห็นมากที่สุดในท้องตลาด (มักจะมาควบคู่กับ Class 10) จะมีความเร็วบัสสูงสุด 104MB/s และมีความเร็วในการอ่าน/เขียนข้อมูลจริงๆ สูงกกว่า 10 MB/s เท่านั้น

สิ่งที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้
แม้ว่าจะมีมาตรฐานมากำหนดแบ่งเกรดชัดเจน แต่ก็ไม่ได้มีประโยชน์กับผู้บริโภคเลย เพราะความเร็วบัสนั้นไม่ได้ส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพของการ์ด ส่วนความเร็วในการอ่านเขียนข้อมูลที่กำหนดโดยเลข Class นั้น ก็มีถึงระดับแค่ 10MB/s เท่านั้น เท่ากับว่าจะเป็นการ์ดที่มีความเร็ว 15MB/s หรือ 90MB/s ซึ่งต่างกันมาก แต่ก็ได้ Class 10 เหมือนกัน

SD Card-battle (9)

ส่วนมาตรฐาน U3 ที่กำหนดความเร็วขั้นต่ำของตัวการ์ดที่ 30MB/s นั้นยังไม่ค่อยเห็นวางจำหน่ายนัก แต่คาดว่าจะได้รับความนิยมในไม่ช้าเพราะออกแบบมาเพื่องานถ่ายวิดีโอ 4K เป็นหลัก

มองหา SD Card Class10 U1 ในท้องตลาด
อย่างที่บอกไว้ว่ามาตรฐานไม่ได้บอกอะไรกับผู้บริโภคนัก เราจะเห็นว่าในท้องตลาดตอนนี้ SD Card ที่อยู่บนมาตรฐาน Class10 U1 มีเยอะแยะมากมาย แต่ก็ใช่ว่าจะให้ประสิทธิภาพที่เหมือนกัน เพราะแม้แต่ในแบรนด์เดียวกัน ก็ยังมีการแบ่งรุ่น แบ่งเกรดแยกออกจากกันอีก ดังนั้นเราจะมาดูกันว่าการ์ดแต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อนั้นมีความแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด

SD Card-battle (3)

 

ก่อนอื่นต้องขอออกตัวก่อนว่าปัจจุบัน SD Card ธรรมดานั้นเริ่มหายากลงเรื่อยๆ เพราะถูกใช้งานบนอุปกรณ์ขนาดใหญ่อย่างกล้องดิจิตอลเป็นหลัก ส่วนอุปกรณ์อื่นๆ มักจะหันไปใช้รูปแบบ micro SD หรือ T-Flash กันหมดแล้ว แถมใส่ตัวแปลงแล้วใช้งานได้เหมือนกันอีกด้วย ดังนั้นตัวทดสอบที่เรากำหนดว่าจะต้องเป็น SD Card นั้นจึงพอหามาได้แค่ 3 รุ่นจาก 3 แบรนด์ ที่พยายามจะให้ใกล้เคียงกันมากที่สุด

Kingston-2

Kingston Class10 UHS-I 16GB ตัวแรกมากจากแบรนด์ที่เป็นที่คุ้นเคยกันดีในเรื่องของหน่วยความจำรูปแบบต่างๆ โดยการ์ดที่เรานำมาทดสอบเป็นแบบ Class10 U1 รุ่นมาตรฐาน ความจุ 16GB ซึ่งมีการระบุความเร็วในการอ่านข้อมูลในสเปกเอาไว้ที่ 30MB/s ด้วย (ความเร็วในการเขียนไม่ได้ระบุไว้) ถือว่าเป็นการ์ด Class10 U1 ระดับเริ่มต้นที่ราคาไม่สูงมากนัก และสามารถใช้งานหนักๆ อย่างการถ่ายวิดีโอ Full HD ทั่วไปได้

Lexar-2

Lexar Platinum II SDHC UHS-I 16GB ผู้เข้าแข่งขันที่สองเป็นการ์ดแบบ SDHC Class10 U1 เหมือนกันและจัดว่าเป็นรุ่นใช้งานทั่วไป หรือขั้นต่ำสุดที่อยู่บนมาตรฐาน U1 เหมือนกัน โดยมีความจุ 16GB เท่ากัน ส่วนความเร็วในการทำงานมีการระบุแยกไว้ให้เรียบร้อยคือความเร็วในการอ่านข้อมูล 30MB/s และเขียนข้อมูล 22MB/s

Sandisk-2

Sandisk Extreme SDHC UHS-I 16GB ตัวสุดท้ายคือ Sandisk ซึ่งต้องบอกไว้ก่อนว่าตัวนี้พิเศษเล็กน้อยๆ เพราะถือว่าเป็นรุ่นสำหรับมืออาชีพ แม้ว่าจะอยู่บนมาตรฐานเดียวกันคือ Class10 U1 เหมือนกัน แต่ก็จะมีราคาแพงกว่ารุ่นทั่วไป (Ultra) อยู่พอสมควร ด้วยความเร็วในสเปกที่ระบุว่าสามารถอ่านและเขียนข้อมูลได้ที่ความเร็ว 45MB/s ซึ่งสูงกว่าทั้งสองที่กล่าวมาแล้วแน่นอน แต่ก็อยากรู้เหมือนกันว่าจะเร็วกว่ากันได้แค่ไหน

การทดสอบ
ในการทดสอบ เราได้ทำการทดสอบผ่าน Card Reader ของโน๊ตบุ๊ค ซึ่งเชื่อมต่อบนมาตรฐาน USB 2.0 ซึ่งอาจจะไม่ได้ดึงเอาความสามารถสูงสุดของการ์ดออกมาใช้งาน แต่สำหรับความเร็วสูงสุด 45MB/s ของการ์ดที่เรานำมาทดสอบ แค่ USB 2.0 ก็คงเพียงพอแล้วล่ะ เอ้าไปดูผลการทดสอบกันเลยดีกว่า

Kingston-HD Tune - Info??SanDisk-HD Tune - Info??Lexar-HD Tune - Info

HD Tune Info Kingston, Sandisk and Lexar

SD Card Battle-HD Tune

HD Tune ? Benchmark (Transfer Rate)

SD Card Battle-HD Tune-Access

HD Tune ? Benchmark (Access Time)

Kingston-ATTO??SanDisk-ATTO??Lexar-ATTO

ATTO Benchmark – Kingston, SanDisk and Lexar

SD Card Battle-TeraCopy

Tera Copy (1GB File Transfer)

SD Card-battle (8)

ผลการทดสอบในส่วนต่างๆ ถือว่าเป็นเอกฉันท์ที่จะให้ Sandisk นั้นชนะไป ซึ่งไม่แปลกอะไร เพราะด้วยระดับของการ์ดที่เหนือกว่า รวมถึงราคาที่แพงกว่า ย่อมทำให้ผลการทดสอบดีกว่าชาวบ้านอยู่แล้ว ถ้าไม่ดีกว่านี่สิถึงจะผิดปกติ แต่สิ่งหนึ่งที่สังเกตุได้คือแม้จะดีกว่า แต่ก็ดีกว่าเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งก็ต้องขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่จะนำมาใช้งานร่วมด้วย เช่นเครื่องอ่านการ์ด หรืออุปกรณ์จำพวกกล้องที่คุณจะนำไปใช้งานด้วย

ส่วน Kingston กับ Lexar นั้น แม้ว่าสเปกจะใกล้เคียงกัน แต่ผลการทดสอบก็ออกมาต่างกันพอสมควร ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะ Kingston ไม่ใช่การ์ดใหม่แกะกล่อง แต่เป็นการ์ดที่ผ่านการใช้งานมาบ้างแล้ว (ดูจากรูป) จึงอาจจะส่งผลต่อประสิทธิภาพอยู่มากพอสมควรทีเดียว ซึ่งเชื่อว่าถ้าเป็นการ์ดใหม่แกะกล่องทั้งคู่ ก็น่าจะให้ประสิทธิภาพไม่ต่างกันมากนัก

Conclusion
เห็นได้ชัดเจนแล้วนะครับว่า SD Card Class10 U1 ที่เราเห็นอยู่ในท้องตลาด ไม่ได้มีประสิทธิภาพที่เหมือนกันอย่างที่หลายๆ คนคิด เพราะมาตรฐานที่ระบุไว้ไม่ได้ครอบคลุมไปถึงความเร็วที่มากกว่า 10MB/s เลย ดังนั้นจุดหนึ่งที่สามารถสังเกตุได้คือเรื่องของรุ่นย่อยๆ ที่มีการแยกไว้อย่างเห็นได้ชัด รวมถึงราคาที่เป็นตัวบ่งบอกชัดเจน คือหมายถึงแพงกว่าจนต้องเอ๊ะใจแล้วไปค้นหาข้อมูลต่อนะครับ ไม่ใช่แพงกว่าแล้วจะดีกว่าเสมอไป

การเลือก SD Card ไปใช้งาน ถึงจะมีงบไม่จำกัดและสามารถซื้อการ์ดเกรดดีสุด ราคาแพงสุด มีความเร็วสูงสุด แต่ก็คงต้องดูการใช้งาน และอุปกรณ์ที่จะใช้งานร่วมด้วยว่าจำเป็นต้องใช้การ์ดทีมีความเร็วสูงขนาดนั้นหรือไม่ และตัวอุปกรณ์สามารถรองรับความเร็วสูงสุดของการ์ดนั้นได้หรือเปล่า ไม่อย่างนั้นก็เท่ากันเสียเงินซื้อของดีมาแต่ไม่ได้ใช้งาน

สำหรับการใช้งานในปัจจุบันแล้วคงแนะนำไปที่ Class10 U1 รุ่นทั่วไปแบบ Kingston หรือ Lexar ที่เรามาทดสอบให้ดู เพราะราคาไม่แพงและมีประสิทธิภาพดีเพียงพอต่อการใช้งานได้เกือบทุกอย่าง แม้แต่ถ่ายวิดีโอแบบ Full HD ก็ยังได้ ส่วนการ์ดรุ่นที่ดีขึ้นไป (และแพงขึ้นไปด้วย) อย่าง Sandisk หรือรุ่นที่สูงกว่านี้ จะเหมาะกับงานหนักๆ เช่นถ่ายรูปความละเอียดสูงแบบรัวๆ หรือถ่ายวิดีโอ Full HD ที่มี Bit Rate สูงๆ รวมไปถึงพวกวิดีโอ 3D ด้วย ซึ่งนั่นก็คงเป็นการใช้งานระดับมืออาชีพตามที่รุ่นของการ์ดได้ระบุไว้นั่นเองครับ

 

By Toffeee Latte

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

Accessories review

ถ้าคุณเป็นครีเอเตอร์ Lexar Portable SSD SL400 คือไอเท็มสำคัญควรมีติดกระเป๋า! ในวงการหน่วยความจำแล้ว Lexar ก็เป็นผู้ผลิตหน่วยความจำระดับโลกซึ่งมีสินค้าหลากหลายแบบให้เลือกใช้ เช่น Lexar Portable SSD SL400 สำหรับครีเอเตอร์ยุคใหม่เจ้าของ iPhone 15 Pro และ 16 Pro Series ได้ถ่ายคลิปเก็บไอเดียสร้างสรรค์ไว้ทำงานต่อได้หรือพกคู่มือถือ Android...

REVIEW

Kingston NV3 2TB ความจุเยอะ อ่านเขียนไว ตอบโจทย์คนทำงาน คอเกมและครีเอเตอร์ Kingston NV3 เป็น SSD M.2 NVMe รุ่นใหม่ล่าสุด ออกแบบมาเพื่อผู้ใช้งานเริ่มต้นกับ SSD M.2 ไม่ว่าจะเป็นบนคอมพิวเตอร์พีซี โน๊ตบุ๊ค ในชีวิตประจำวัน กับความจุที่มากสุดถึง 2TB ทำให้รองรับได้ทั้งการติดตั้งระบบปฏิบัติการ ไปจนถึงการลงโปรแกรม...

CONTENT

แรม Kingston FURY Renegade DDR5 8000 RGB เร่งสปีดเกมมิ่งพีซีและ OC ให้ทะลุขีดจำกัด แรม Kingston FURY RENEGADE DDR5 8000 48GB RGB Edition จัดเป็นแรมในกลุ่มพรีเมียม เพื่อเพาเวอร์ยูสเซอร์ ที่ต้องการประสิทธิภาพขั้นสูง เพื่อรีดพลังจากระบบที่ใช้ไปให้ถึงขีดสุด มาในดีไซน์ที่ดูล้ำสมัย...

Buyer's Guide

ในยุคนี้ที่อุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบออฟไลน์หาซื้อได้ง่ายหลายช่องทางจะหาซื้อแฟลชไดร์ฟราคาดีก็ง่าย กำเงินไปร้อยสองร้อยบาทตรงเข้าร้านคอมใกล้บ้านก็ซื้อมาเซฟงานได้แล้ว ยิ่งยุคนี้เทคโนโลยีการบันทึกข้อมูลก็ล้ำสมัยขึ้นเรื่อยๆ จึงมีแฟลชไดร์ฟความจุตั้งแต่ 8GB ไปจนหลัก TB วางขายกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งปัจจุบันก็จะมีแบรนด์ชั้นนำอย่าง Lexar, Kingston, SanDisk ให้เลือกซื้อกัน แต่หลายคนคงสงสัยว่าจะซื้อของชิ้นนี้ไว้ทำไมในเมื่อมีวิธีเซฟข้อมูลให้เลือกตั้งมากมาย? ถ้าเอาเรื่องใกล้ตัวอย่างการฟอร์แมตคอมลง Windows ใหม่ ก็ต้องเขียนไฟล์ระบบปฏิบัติการลงแฟลชไดร์ฟเอาไว้ล้างเครื่องอย่างแน่นอน หรือถ้าเป็นสายท่องเที่ยวถ่ายภาพอัดคลิปไว้มากมายแล้วหน่วยความจำในมือถือเต็ม แทนที่จะอัปโหลดขึ้น Cloud ให้เปลืองแพ็คเกจโรมมิ่งหรือรอไปต่อ Wi-Fi ซึ่งไม่รู้ว่าจะได้ใช้เมื่อไหร่...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก