แบรนด์ใหญ่อย่าง ASUS เองก็มีโน๊ตบุ๊คในหลากหลายกลุ่มให้เพื่อนๆ ซื้อหากันอย่างมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับในกลุ่มของโน๊ตบุ๊ค AMD เองที่ก็ได้รับความนิยมพอสมควร เช่นกันกับ ASUS X550DP ที่ทางทีมงานมาแนะนำให้เพื่อนๆ ได้ชมกันในวันนี้ครับ ซึ่งจุดเด่นหลักของเจ้า ASUS X550DP นั้นก็คือความเป็น Pure AMD ขนาดแท้ซึ่งก็มาพร้อมด้วยหน่วยประมวลผลกลาง AMD-A10 5750M และมีการ์ดจอ Dual GPU อย่าง AMD Radeon HD 8650G + HD 8670M ประสิทธิภาพพอตัว
ยิ่งไปกว่านั้นที่พิเศษกว่าใครเพื่อนก็คือฮาร์ดแวร์ต่างๆ ที่ติดตั้งมาก็ไม่แพ้ใครเช่นหน้าจอแสดงผลขนาด 15.6 นิ้ว แรม 4GB พร้อมที่เก็บข้อมูล HDD ขนาด 750GB บนสนนราคาที่พิเศษสุดๆ อยู่ 16,990 บาท เหมาะอย่างยิ่งกับเพื่อนๆ สมาชิกมือใหม่ที่ต้องการโน๊ตบุ๊คประสิทธิภาพดีๆ ในราคาคุ้มๆ เป็นอย่างยิ่งครับ
Specification
ในด้านของสเปคเองก็แน่นอนว่าเจ้า ASUS X550DP ตัวนี้ต้องเลือกใช้ซีพียู AMD ในรหัส AMD A10-5750M (2.50 GHz, 4 MB L2 Cache up to 3.50 Ghz) พ่วงด้วยการ์ดจอ APU ที่ทำ Dual GPU กับการ์ดจอแยกอย่าง AMD Radeon HD 8650G + HD 8670M (2GB DDR3) นอกเหนือจากนี้ก็ยังมีแรมขนาด 4GB DDR3L แบบฝังติดกับบอร์ดและสามารถอัพเกรดได้เพิ่มเติมอีก 1 แผงสูงสุด 4GB (4GB+4GB=8GB) พ่วงด้วยฮาร์ดไดร์ฟ HDD มาตรฐานความจุพอไปวัดไปวาได้ที่ 750GB
หน้าจอแสดงผล ASUS X550DP ใช้จอแสดงผลมาตรฐาน HD ขนาด 15.6 นิ้ว ความละเอียด 1366?768 พิกเซล พร้อมด้วยกล้องเว็บแคม 0.3 MPixel มีไมค์ในตัวให้ด้วย และมีระบบเสียงที่ค่อนข้างโอเคอย่างอย่าง SonicMaster และ AudioWizard ปรับแต่งเสียงได้ดั่งใจ
ในส่วนของการเชื่อมต่อเองก็มาพร้อมพอร์ต 2x USB 3.0 , 1x USB 2.0 , HDMI , 2-in-1 card reader (SD/ MMC) , RJ45 , Super-Multi DVD และ Audio Combo Jack พร้อมยังรองรับมาตรฐานการเชื่อมต่อไร้สายอย่าง WiFi 802.11b/g/n และ Bluetooth v4.0
ขนาดตัว ASUS X550DP ก็จัดอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของโน๊ตบุ๊ค 15.6 นิ้วทั่วไป มีขนาดอยู่ที่ 38.0 x 25.1 x 2.51 เซนติเมตร (WxDxH) และมีน้ำหนักตัวที่ราวๆ 2.2 กิโลกรัม พร้อมรับประกันการใช้งาน 2 ปี สนนราคาอยู่ที่ 16,990 บาทครับผม
สเปคฉบับเต็ม : ASUS X550DP
Using Experience
ต่อกันในเรื่องของ Review เจ้า ASUS X550DP กันครับ ซึ่งก็บอกเลยว่าเจ้านี่จะใช้บอดี้ในรูปแบบเดียวกับโน๊ตบุ๊คสุดฮิตตัวแรงอย่าง K550JK เลยละ มีการออกแบบก็สวยงามทีเดียว โดยเฉพาะกับฝาบนของตัวเครื่อง X550 ที่จะใช้พลาสติกสีเทาๆดำๆ พร้อมด้วยเท็กเจอร์แปลกๆ ที่ให้ฟีลลิ่งในการสัมผัสที่ค่อนข้างแตกต่างๆครับผม ส่วนด้านหลังหรือด้านล่างของตัวเครื่องยังคงใช้พลาสติกผิวดำด้านตามมาตรฐานของโน๊ตบุ๊ครุ่นประหยัดทั่วไปตามราคาซึ่งจะสังเกตุเห็นได้ว่าไม่มีช่องสำหรับการอัพเกรดเลย ซึ่งถ้าอยากอัพเกรดจริงๆ ต้องเลาะแผงคีย์บอร์ดออกมาซึ่งค่อนข้างยุ่งยากมากแต่ก็พอที่จะทำได้เพราะตัวเครื่องฝังไปกับบอดี้ (สามารถอัพเกรดในส่วนของ Ram ได้สูงสุด 4GB x 2 แผง อ้างอิง ASUS) ส่วนด้านในของตัวเครื่องเมื่อเปิดออกมาจะก็ใช้วัสดุพลาสติกสีออกฟ้าๆเทาๆสว่างๆซึ่งว่ากันตามตรงว่าสีด้านในออกแนวเชยๆ ไปหน่อยครับ
เปิดเครื่องใช้กันจริงๆจังๆ เจ้า ASUS X550DP ก็ใช้งานได้อย่างรวดเร็วครับ โดยสิ่งแรกที่ผู้เขียนได้สัมผัสและลองทดสอบก็คือเปิดหนัง Full-HD และซีรีย์ต่างๆ ซึ่งเจ้า ASUS ตัวนี้ก็ทำได้ดีเลยละครับ ให้ภาพที่แสดงออกได้ดีเลย และให้มุมมองซ้ายขวาและมุมตรงที่ค่อนข้างกว้างและคมชัดพอตัวเลย แต่มุมมองจอมุมก้มและมุมเงยที่ทำออกมาได้ไม่ดีเท่าไรเพราะมีอาการเพี้ยนของภาพครับ ในส่วนของฉากมืดต่างๆ ก็ทำออกมาได้ดีพอประมาณสามารถมองเห็นรายละเอียดๆ ต่างๆ ได้ครบถ้วน แต่อย่างไรก็ตามในส่วนของการใช้งานต่างๆ บนหน้าจอโน๊ตบุ๊คเองก็ถือว่ากลางๆ เพราะพื้นที่ใช้งานมีค่อนข้างจำกัดตามสไตล์จอ 15.6 นิ้วความละเอียด HD แต่อย่างไรก็ตามเพื่อนๆ ยังสามารถเพิ่มพื้นที่การใช้งานได้ด้วยการต่อจอแยกผ่านพอร์ต HDMI นะครับผม
ถึงกระนั้นแล้วถึงแม้จอ HD จะส่งผลในด้านของเนื้อที่การใช้งาน แต่ด้วยพิกซลที่น้อยกว่าแบบ Full-HD ทำให้ในการเล่นเกมต่างๆ จะทำได้ค่อนข้างสมูทขึ้น ซึ่งถึงแม้ ASUS X550DP จะใช้ระบบภายในของ AMD ทั้งการ์ดจอและซีพียู แต่ก็อย่าได้สบประมาทในเรื่องของเฟรมเรทที่ขับออกมานะครับ เพราะเจ้านี่สามารถใช้เล่นเกมได้ลื่นไหลพอตัวสมราคาเลยละครับ ยิ่งกับเกมที่รองรับกับการ์ดจอ AMD และ Dual Graphics โดยเฉพาะอย่าง Tomb Raider ก็เล่นได้ดีในระดับหนึ่งเลย แถมยังมีระบบเสียงแบบ SonicMaster มาให้ด้วย ยิ่งทำให้เล่นเกมได้สนุกสนานมากยิ่งขึ้นเลยละครับ โดยเฉพาะกับเสียงปืนที่ถึงแม้จะไม่แน่นเพราะเบสมาน้อย แต่เสียงแหลมของคมกระสุนปืน ASUS X550DP ไม่เป็นรองนะ
???
เล่นเกมกันจนเบื่อแล้วอยากปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้งานมาทำงานทั่วๆ ไปบ้าง ASUS X550DP ก็สามารถทำได้ตามมาตรฐานทั่วๆไป เช่นการพิมพ์งาน ส่งอีเมล ท่องเว็บ เล่นเฟส แชท ก็ทำได้ครับ แต่ไม่ค่อยโดดเด่นมากนักครับ เพราะการออกแบบของ ASUS X550DPK ที่ลดคุณภาพของวัสดุลงพอสมควร โดยเฉพาะตรงช่วงบริเวณของแป้นพิมพ์ ถึงแม้แป้นพิมพ์ออกแบบมาได้ดีแต่ฐานของแป้นพิมพ์เองค่อนข้างยวบและดูไม่มั่นคงเอาซะเลยครับ ถึงแม้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานโดยตรง แต่ด้วยความไม่มั่นคงนี้เองทำให้รู้สึกไม่ค่อยมั่นใจครับ ในส่วนของทัชแพดเองก็มีอาการหลอนอยู่บ้างเล็กน้อย และไม่ค่อยแม่นเท่าที่ควรครับ ซึ่งอย่างไรก็ตามตัวทัชแพดเองรองรับกับ Guester Control บน Windows 8 ด้วย
อย่างไรก็ตามคีย์บอร์ดยวบนั่นก็แก้ปัญหาง่ายๆ ด้วยการซื้อคีย์บอร์ด USB แยกนั่นเองละครับ ซึ่งแน่นอนว่า ASUS X550DP ก็พร้อมจะรองรับอย่างเต็มที่เพราะมาพร้อมด้วยพอร์ตเชื่อมต่อครบครันไม่ว่าจะเป็น USB 3.0 ถึง 2 พอร์ต , HDMI , SD Card Reader , DVD-RW และรองรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตไร้สาย และ Bluetooth 4.0 อย่างครบครัน
ในด้านการพกพาก็นับได้ว่าเป็นอีกจุดเด่นหนึ่งของ ASUS X550DP เลยละครับ เพราะถึงแม้จะเป็นโน๊ตบุ๊คขนาด 15 นิ้ว แต่ด้วยน้ำหนักที่ค่อนข้างเบาเพียง 2.2 กิโลกรัมเท่านั้น ก็สามารถช่วยให้เพื่อนพกพาไปไหนได้อย่างสบายๆ ไม่ลำบากไหล่เลยละ
Performance / Software
มาดูผลทดสอบประสิทธิภาพโดยรวมของระบบหรือผล Benchmark ของเจ้า ASUS X550DP ที่เลือกใช้หน่วยประมวลผลกลางและการ์ดจอในรูปแบบของ Pure AMD
โปรแกรมอย่าง CPU-Z ก็แสดงสเปคออกมาได้ตรงตามที่?ASUS X550DP?ระบุเอาไว้ทั้งหมด เช่นเดียวกับโปรแกรม GPU-Z ที่แสดงผลการ์ดจอได้ตรงตามความเป็นจริง
CINEBENCH หรือโปรแกรมที่ใช้ทดสอบงานทางด้านเรนเดอร์วิดีโอที่ใช้ประสิทธิภาพของหน่วยประมวลผลกลางและการ์ดจอเป็นหลักก็มีผลคะแนนอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามประสิทธิภาพของหน่วยประมวผลและการ์ดจอจาก AMD
ตัวเก็บข้อมูลของระบบที่เลือกใช้ฮาร์ดดิสก์แบบจานหมุนความเร็ว 5400 รอบ ความจุ 750GB ก็อยู่ในระดับพื้นๆทั่วๆไป
ต่อด้วยลองแปลงไฟล์ DVD ที่เป็นไฟล์ ISO ดูในสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตกันบ้างผ่านโปรแกรม Format Factory โดยแปลงไฟล์ ISO ไปเป็น MPEG4 720P?ซึ่งก็ใช้เวลาเพียง 31 นาที แทบไม่ต่างจาก Core i5 เลย
บีบอัดเกมสุดฮิตกับไฟล์เกม Dota 2 ที่มีขนาดราวๆ 8GB ไฟล์กันบ้างกับโปรแกรมพื้นฐานที่ทุกเครื่องต้องมีอย่าง Winrar ที่ทำการบีบอัดได้ในเวลาราวๆ 14 นาที
ตามมาด้วยการทดสอบกับโปรแกรม Lightroom 4 โปรแกรมที่ตากล้องหรือเพื่อนๆหลายๆท่านใช้โพรเซสภาพกัน ที่ได้ปรับรูปไฟล์ Raw จำนวน 50 รูปเป็น Aged Photo และทำการ Export โดยใช้ความละเอียด 900?600 พิกเซล ก็ทำเวลาไป 5 นาทีกว่าๆ เท่านั้นเอง
มาดูผลทดสอบเกมสำหรับเพื่อนๆที่ชอบเล่นเกมฆ่าเวลากันกับเกมแรกอย่าง Street Fighter 4 เป็นเกมต่อสู้ที่ไม่กินสเปคเครื่องมากนัก ปรับภาพความละเอียดเที่ 1366?768 พิกเซล ปรับกราฟฟิกภายในเกมที่ All-High ก็ให้ผลคะแนนเฉลี่ยในระดับ Rank A และมีเฟรมเรทเฉลี่ยที่ 41FPS ถือว่าเล่นได้ดีพอสมควร
เกมที่ค่อนข้างกินทรัพยากรณ์ของเครื่องอย่าง Resident Evil 6 ปรับภาพที่ 1366 ?? 768 พิกเซล ปรับกราฟฟิคภายในเกมที่ All-High ก็สามารถเล่นได้พอประมาณแต่แนะนำให้ปรับเป็น Low ครับ
??
Tomb Raider เองก็ปรับภาพที่ 1366 ? 768 พิกเซล ปรับกราฟฟิคภายในเกมที่ High ก็สามารถเล่นได้พอควรมีเฟรมเรทเฉลี่ยอยู่ที่ 17.7 FPS ครับ ซึ่งถ้าปรับเป็น Low จะได้เฟรมเฉลี่ยอยู่ที่ราวๆ 40-45 FPS ครับ
โปรแกรม Benchmark ประสิทธิภาพโดยรวมยอมฮิตอย่างชุดทดสอบของ FuterMark เวอร์ชั่นต่างๆ ก็ทำได้ดีตามมาตรฐาน ซึ่งในจุดนี้ก็มีข้อสังเกตในเรื่องของไดร์ฟเวอร์ของการ์ดจอ AMD ที่ค่อนข้างจะมีปัญหาซึ่งคะแนนในส่วนของ Futuremark นั่นพุ่งสูงมากทีเดียว แต่ลกับกันกับแปลกมาๆ ที่การทดสอบเกมนั้นคะแนนน้อยกว่าที่ควรจะเป็นอยู่พอสมควร(ราวๆ 20-30%)ทีเดียวครับ ทั้งนี้ทั้งนั้นผู้เขียนเองก็ได้ลองเปลี่ยนไดร์ฟเวอร์มาแล้วถึงสามตัวทั้งตัวของทาง ASUS , ตัว 14.4 และ ตัว 14.7 RC3 ครับ แต่เฟรมเรทในเกมก็ตกลงทั้งหมดดังที่กล่าวไป อย่างไรก็ตามเชื่อว่าเครื่องที่ส่งขายจริงน่าจะแก้ปัญหาตรวนี้มาได้แล้ว
ในขณะไม่ได้เสียบชาร์จ Adapter และใช้งานท่องอินเตอร์เน็ตไปด้วย ตัวโปรแกรม BatteryMon บนเจ้า ASUS X550DP?ที่ตั้งค่าในโหมด Balance แสดงผลการทดสอบแบตเตอรี่ออกมาอยู่ที่ราวๆ 3.5 ชั่วโมง ครับ แต่ถ้านำมาใช้จริงน่าจะดูหนัง Full-HD ก็ได้ราวๆ 2 ชั่วโมง ถ้าเล่นเกมก็จะลดหลั่นมาเหลือ 1-1.30 ชั่วโมงครับผม จัดได้ว่าบริโภคแบตเตอรี่พอสมควรทีเดียว
Conclusion / Award
ก็จบลงไปแล้วนะครับกับ Review เจ้า ASUS X550DP ถามว่ามันคุ้มมั้ยก็บอกได้เลยว่าคุ้มมากครับผม แถมยังโดดเด่นมากๆ ในเรื่องของฮาร์ดแวร์ต่างๆ ที่ค่อนข้างสมราคามากๆ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยประมวลผลกลาง AMD A-10 การ์ดจอแบบ Dual Graphic AMD Radeon HD 8650G + HD 8670M (2GB DDR3) รวมไปพอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ ที่ก็ทีมาให้ในตัวเครื่องอย่างครบครัน ไม่ว่าจะเป็น USB 3.0 , HDMI , DVD-RW และ SD-Card เป็นต้น?ที่สำคัญหน้าแสดงผลขนาด 15.6 นิ้ว HD ที่ติดตั้งมาให้บน ASUS X550DP ก็มีความละเอียดไม่สูงจนเกินไป ซึ่งเหมาะสมอย่างยิ่งในการเล่นเกมที่กินสเปคกลางๆ บนทรัพยากรของเครื่องขนาดนี้ เลยละครับก็นับได้ว่ามันคุ้มค่าคุ้มราคามากๆ กับโน๊ตบุ๊คตัวหนึ่งที่ราคาเพียง 16,990 บาทครับผม
แต่อย่างไรก็ตามข้อสังเกตของ ASUS X550DP เองก็มีอยู่บ้างพอสมควรเลยละครับ ซึ่งหลักๆ เลยก็จะเป็นในเรื่องของวัสดุที่ถูกลดเกรดลงไปพอสมควร ซึ่งจะเห็นได้อย่างชัดเจนบริเวณของฐานของแป้นพิมพ์หรือคีย์บอร์ด ที่ใช้งานต่อเนื่องแล้วรู้สึกไม่มั่นใจพอสมควรเพราะมันค่อนข้างยวบพอสมควร รวมไปถึงในเรื่องของการอัพเกรดที่ทำได้ค่อนข้างจำกัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของเม็ดแรมที่ฝังไปกับตัวเครื่องเลย ซึ่งอย่างไรก็ตามข้อสังเกตเหล่านี้ก็สามารถหาโซลูชั่นที่จะมาแก้ปัญหาได้ เช่นซื้อคีย์บอร์ดแยกมาใช้ และซื้อประกันเพิ่มนั้นเอง และอย่างไรก็ตามด้วยราคาที่ค่อนข้างคุ้ม ASUS X550DP ก็จัดได้ว่าเป็นอีกหนึ่งโน๊ตบุ๊คระดับเริ่มต้นทางเลือกชั้นดีสำหรับเพื่อนๆที่อยากได้โน๊ตบุ๊คราคาไม่แพงไปใช้งานสักเครื่องครับ
ข้อดี
- สเปคค่อนข้างคุ้มค่ากับราคา
- หน้าจอ 15.6 นิ้วใหญ่โตเต็มตา
- คีย์บอร์ดมาพร้อมด้วยแป้นตัวเลขใช้งานสะดวก
- พอร์ตเชื่อมต่อครบครันทีเดียวไม่ว่าจะเป็น USB 3.0 ถึง 2 พอร์ต และมี HDMI
- ระบบเสียง SonicMaster ให้เสียงได้ค่อนข้างดี
ข้อสังเกต
- วัสดุไม่ค่อยดีเท่าที่ควร มีการลดต้นทุนเยอะ
Award
โดยในครั้งนี้จะเป็นการเปรียบเทียบการให้รางวัลกับโน๊ตบุ๊คในกลุ่ม Notebook ขนาดหน้าจอ 15.6 นิ้ว ในระดับราคาใกล้เคียงกัน ซึ่ง ASUS X550DP?ก็ได้รับรางวัลต่างๆ ดังนี้
ค่อนข้างคุ้มค่ามากเลยละครับ ด้วยสเปคต่างๆ ที่สามารถใช้งานได้ในทุกๆรูปแบบ บนราคาค่าตัวที่ 16,990 บาทเท่านั้น ทาง NotebookSPEC จึงขอมองรางวัล Best Value ไปให้เลย
Specification
ในด้านของสเปคเองก็แน่นอนว่าเจ้า ASUS X550DP ตัวนี้ต้องเลือกใช้ซีพียู AMD ในรหัส AMD A10-5750M (2.50 GHz, 4 MB L2 Cache up to 3.50 Ghz) พ่วงด้วยการ์ดจอ APU ที่ทำ Dual GPU กับการ์ดจอแยกอย่าง AMD Radeon HD 8650G + HD 8670M (2GB DDR3) นอกเหนือจากนี้ก็ยังมีแรมขนาด 4GB DDR3L แบบฝังติดกับบอร์ดและสามารถอัพเกรดได้เพิ่มเติมอีก 1 แผงสูงสุด 4GB (4GB+4GB=8GB) พ่วงด้วยฮาร์ดไดร์ฟ HDD มาตรฐานความจุพอไปวัดไปวาได้ที่ 750GB
หน้าจอแสดงผล ASUS X550DP ใช้จอแสดงผลมาตรฐาน HD ขนาด 15.6 นิ้ว ความละเอียด 1366?768 พิกเซล พร้อมด้วยกล้องเว็บแคม 0.3 MPixel มีไมค์ในตัวให้ด้วย และมีระบบเสียงที่ค่อนข้างโอเคอย่างอย่าง SonicMaster และ AudioWizard ปรับแต่งเสียงได้ดั่งใจ
ในส่วนของการเชื่อมต่อเองก็มาพร้อมพอร์ต 2x USB 3.0 , 1x USB 2.0 , HDMI , 2-in-1 card reader (SD/ MMC) , RJ45 , Super-Multi DVD และ Audio Combo Jack พร้อมยังรองรับมาตรฐานการเชื่อมต่อไร้สายอย่าง WiFi 802.11b/g/n และ Bluetooth v4.0
ขนาดตัว ASUS X550DP ก็จัดอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของโน๊ตบุ๊ค 15.6 นิ้วทั่วไป มีขนาดอยู่ที่ 38.0 x 25.1 x 2.51 เซนติเมตร (WxDxH) และมีน้ำหนักตัวที่ราวๆ 2.2 กิโลกรัม พร้อมรับประกันการใช้งาน 2 ปี สนนราคาอยู่ที่ 16,990 บาทครับผม
สเปคฉบับเต็ม : ASUS X550DP
Using Experience
ต่อกันในเรื่องของ Review เจ้า ASUS X550DP กันครับ ซึ่งก็บอกเลยว่าเจ้านี่จะใช้บอดี้ในรูปแบบเดียวกับโน๊ตบุ๊คสุดฮิตตัวแรงอย่าง K550JK เลยละ มีการออกแบบก็สวยงามทีเดียว โดยเฉพาะกับฝาบนของตัวเครื่อง X550 ที่จะใช้พลาสติกสีเทาๆดำๆ พร้อมด้วยเท็กเจอร์แปลกๆ ที่ให้ฟีลลิ่งในการสัมผัสที่ค่อนข้างแตกต่างๆครับผม ส่วนด้านหลังหรือด้านล่างของตัวเครื่องยังคงใช้พลาสติกผิวดำด้านตามมาตรฐานของโน๊ตบุ๊ครุ่นประหยัดทั่วไปตามราคาซึ่งจะสังเกตุเห็นได้ว่าไม่มีช่องสำหรับการอัพเกรดเลย ซึ่งถ้าอยากอัพเกรดจริงๆ ต้องเลาะแผงคีย์บอร์ดออกมาซึ่งค่อนข้างยุ่งยากมากแต่ก็พอที่จะทำได้เพราะตัวเครื่องฝังไปกับบอดี้ (สามารถอัพเกรดในส่วนของ Ram ได้สูงสุด 4GB x 2 แผง อ้างอิง ASUS) ส่วนด้านในของตัวเครื่องเมื่อเปิดออกมาจะก็ใช้วัสดุพลาสติกสีออกฟ้าๆเทาๆสว่างๆซึ่งว่ากันตามตรงว่าสีด้านในออกแนวเชยๆ ไปหน่อยครับ
เปิดเครื่องใช้กันจริงๆจังๆ เจ้า ASUS X550DP ก็ใช้งานได้อย่างรวดเร็วครับ โดยสิ่งแรกที่ผู้เขียนได้สัมผัสและลองทดสอบก็คือเปิดหนัง Full-HD และซีรีย์ต่างๆ ซึ่งเจ้า ASUS ตัวนี้ก็ทำได้ดีเลยละครับ ให้ภาพที่แสดงออกได้ดีเลย และให้มุมมองซ้ายขวาและมุมตรงที่ค่อนข้างกว้างและคมชัดพอตัวเลย แต่มุมมองจอมุมก้มและมุมเงยที่ทำออกมาได้ไม่ดีเท่าไรเพราะมีอาการเพี้ยนของภาพครับ ในส่วนของฉากมืดต่างๆ ก็ทำออกมาได้ดีพอประมาณสามารถมองเห็นรายละเอียดๆ ต่างๆ ได้ครบถ้วน แต่อย่างไรก็ตามในส่วนของการใช้งานต่างๆ บนหน้าจอโน๊ตบุ๊คเองก็ถือว่ากลางๆ เพราะพื้นที่ใช้งานมีค่อนข้างจำกัดตามสไตล์จอ 15.6 นิ้วความละเอียด HD แต่อย่างไรก็ตามเพื่อนๆ ยังสามารถเพิ่มพื้นที่การใช้งานได้ด้วยการต่อจอแยกผ่านพอร์ต HDMI นะครับผม
ถึงกระนั้นแล้วถึงแม้จอ HD จะส่งผลในด้านของเนื้อที่การใช้งาน แต่ด้วยพิกซลที่น้อยกว่าแบบ Full-HD ทำให้ในการเล่นเกมต่างๆ จะทำได้ค่อนข้างสมูทขึ้น ซึ่งถึงแม้ ASUS X550DP จะใช้ระบบภายในของ AMD ทั้งการ์ดจอและซีพียู แต่ก็อย่าได้สบประมาทในเรื่องของเฟรมเรทที่ขับออกมานะครับ เพราะเจ้านี่สามารถใช้เล่นเกมได้ลื่นไหลพอตัวสมราคาเลยละครับ ยิ่งกับเกมที่รองรับกับการ์ดจอ AMD และ Dual Graphics โดยเฉพาะอย่าง Tomb Raider ก็เล่นได้ดีในระดับหนึ่งเลย แถมยังมีระบบเสียงแบบ SonicMaster มาให้ด้วย ยิ่งทำให้เล่นเกมได้สนุกสนานมากยิ่งขึ้นเลยละครับ โดยเฉพาะกับเสียงปืนที่ถึงแม้จะไม่แน่นเพราะเบสมาน้อย แต่เสียงแหลมของคมกระสุนปืน ASUS X550DP ไม่เป็นรองนะ
???
เล่นเกมกันจนเบื่อแล้วอยากปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้งานมาทำงานทั่วๆ ไปบ้าง ASUS X550DP ก็สามารถทำได้ตามมาตรฐานทั่วๆไป เช่นการพิมพ์งาน ส่งอีเมล ท่องเว็บ เล่นเฟส แชท ก็ทำได้ครับ แต่ไม่ค่อยโดดเด่นมากนักครับ เพราะการออกแบบของ ASUS X550DPK ที่ลดคุณภาพของวัสดุลงพอสมควร โดยเฉพาะตรงช่วงบริเวณของแป้นพิมพ์ ถึงแม้แป้นพิมพ์ออกแบบมาได้ดีแต่ฐานของแป้นพิมพ์เองค่อนข้างยวบและดูไม่มั่นคงเอาซะเลยครับ ถึงแม้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานโดยตรง แต่ด้วยความไม่มั่นคงนี้เองทำให้รู้สึกไม่ค่อยมั่นใจครับ ในส่วนของทัชแพดเองก็มีอาการหลอนอยู่บ้างเล็กน้อย และไม่ค่อยแม่นเท่าที่ควรครับ ซึ่งอย่างไรก็ตามตัวทัชแพดเองรองรับกับ Guester Control บน Windows 8 ด้วย
อย่างไรก็ตามคีย์บอร์ดยวบนั่นก็แก้ปัญหาง่ายๆ ด้วยการซื้อคีย์บอร์ด USB แยกนั่นเองละครับ ซึ่งแน่นอนว่า ASUS X550DP ก็พร้อมจะรองรับอย่างเต็มที่เพราะมาพร้อมด้วยพอร์ตเชื่อมต่อครบครันไม่ว่าจะเป็น USB 3.0 ถึง 2 พอร์ต , HDMI , SD Card Reader , DVD-RW และรองรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตไร้สาย และ Bluetooth 4.0 อย่างครบครัน
ในด้านการพกพาก็นับได้ว่าเป็นอีกจุดเด่นหนึ่งของ ASUS X550DP เลยละครับ เพราะถึงแม้จะเป็นโน๊ตบุ๊คขนาด 15 นิ้ว แต่ด้วยน้ำหนักที่ค่อนข้างเบาเพียง 2.2 กิโลกรัมเท่านั้น ก็สามารถช่วยให้เพื่อนพกพาไปไหนได้อย่างสบายๆ ไม่ลำบากไหล่เลยละ
Performance / Software
มาดูผลทดสอบประสิทธิภาพโดยรวมของระบบหรือผล Benchmark ของเจ้า ASUS X550DP ที่เลือกใช้หน่วยประมวลผลกลางและการ์ดจอในรูปแบบของ Pure AMD
โปรแกรมอย่าง CPU-Z ก็แสดงสเปคออกมาได้ตรงตามที่?ASUS X550DP?ระบุเอาไว้ทั้งหมด เช่นเดียวกับโปรแกรม GPU-Z ที่แสดงผลการ์ดจอได้ตรงตามความเป็นจริง
CINEBENCH หรือโปรแกรมที่ใช้ทดสอบงานทางด้านเรนเดอร์วิดีโอที่ใช้ประสิทธิภาพของหน่วยประมวลผลกลางและการ์ดจอเป็นหลักก็มีผลคะแนนอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามประสิทธิภาพของหน่วยประมวผลและการ์ดจอจาก AMD
ตัวเก็บข้อมูลของระบบที่เลือกใช้ฮาร์ดดิสก์แบบจานหมุนความเร็ว 5400 รอบ ความจุ 750GB ก็อยู่ในระดับพื้นๆทั่วๆไป
ต่อด้วยลองแปลงไฟล์ DVD ที่เป็นไฟล์ ISO ดูในสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตกันบ้างผ่านโปรแกรม Format Factory โดยแปลงไฟล์ ISO ไปเป็น MPEG4 720P?ซึ่งก็ใช้เวลาเพียง 31 นาที แทบไม่ต่างจาก Core i5 เลย
บีบอัดเกมสุดฮิตกับไฟล์เกม Dota 2 ที่มีขนาดราวๆ 8GB ไฟล์กันบ้างกับโปรแกรมพื้นฐานที่ทุกเครื่องต้องมีอย่าง Winrar ที่ทำการบีบอัดได้ในเวลาราวๆ 14 นาที
ตามมาด้วยการทดสอบกับโปรแกรม Lightroom 4 โปรแกรมที่ตากล้องหรือเพื่อนๆหลายๆท่านใช้โพรเซสภาพกัน ที่ได้ปรับรูปไฟล์ Raw จำนวน 50 รูปเป็น Aged Photo และทำการ Export โดยใช้ความละเอียด 900?600 พิกเซล ก็ทำเวลาไป 5 นาทีกว่าๆ เท่านั้นเอง
มาดูผลทดสอบเกมสำหรับเพื่อนๆที่ชอบเล่นเกมฆ่าเวลากันกับเกมแรกอย่าง Street Fighter 4 เป็นเกมต่อสู้ที่ไม่กินสเปคเครื่องมากนัก ปรับภาพความละเอียดเที่ 1366?768 พิกเซล ปรับกราฟฟิกภายในเกมที่ All-High ก็ให้ผลคะแนนเฉลี่ยในระดับ Rank A และมีเฟรมเรทเฉลี่ยที่ 41FPS ถือว่าเล่นได้ดีพอสมควร
เกมที่ค่อนข้างกินทรัพยากรณ์ของเครื่องอย่าง Resident Evil 6 ปรับภาพที่ 1366 ?? 768 พิกเซล ปรับกราฟฟิคภายในเกมที่ All-High ก็สามารถเล่นได้พอประมาณแต่แนะนำให้ปรับเป็น Low ครับ
??
Tomb Raider เองก็ปรับภาพที่ 1366 ? 768 พิกเซล ปรับกราฟฟิคภายในเกมที่ High ก็สามารถเล่นได้พอควรมีเฟรมเรทเฉลี่ยอยู่ที่ 17.7 FPS ครับ ซึ่งถ้าปรับเป็น Low จะได้เฟรมเฉลี่ยอยู่ที่ราวๆ 40-45 FPS ครับ
โปรแกรม Benchmark ประสิทธิภาพโดยรวมยอมฮิตอย่างชุดทดสอบของ FuterMark เวอร์ชั่นต่างๆ ก็ทำได้ดีตามมาตรฐาน ซึ่งในจุดนี้ก็มีข้อสังเกตในเรื่องของไดร์ฟเวอร์ของการ์ดจอ AMD ที่ค่อนข้างจะมีปัญหาซึ่งคะแนนในส่วนของ Futuremark นั่นพุ่งสูงมากทีเดียว แต่ลกับกันกับแปลกมาๆ ที่การทดสอบเกมนั้นคะแนนน้อยกว่าที่ควรจะเป็นอยู่พอสมควร(ราวๆ 20-30%)ทีเดียวครับ ทั้งนี้ทั้งนั้นผู้เขียนเองก็ได้ลองเปลี่ยนไดร์ฟเวอร์มาแล้วถึงสามตัวทั้งตัวของทาง ASUS , ตัว 14.4 และ ตัว 14.7 RC3 ครับ แต่เฟรมเรทในเกมก็ตกลงทั้งหมดดังที่กล่าวไป อย่างไรก็ตามเชื่อว่าเครื่องที่ส่งขายจริงน่าจะแก้ปัญหาตรวนี้มาได้แล้ว
ในขณะไม่ได้เสียบชาร์จ Adapter และใช้งานท่องอินเตอร์เน็ตไปด้วย ตัวโปรแกรม BatteryMon บนเจ้า ASUS X550DP?ที่ตั้งค่าในโหมด Balance แสดงผลการทดสอบแบตเตอรี่ออกมาอยู่ที่ราวๆ 3.5 ชั่วโมง ครับ แต่ถ้านำมาใช้จริงน่าจะดูหนัง Full-HD ก็ได้ราวๆ 2 ชั่วโมง ถ้าเล่นเกมก็จะลดหลั่นมาเหลือ 1-1.30 ชั่วโมงครับผม จัดได้ว่าบริโภคแบตเตอรี่พอสมควรทีเดียว
Conclusion / Award
ก็จบลงไปแล้วนะครับกับ Review เจ้า ASUS X550DP ถามว่ามันคุ้มมั้ยก็บอกได้เลยว่าคุ้มมากครับผม แถมยังโดดเด่นมากๆ ในเรื่องของฮาร์ดแวร์ต่างๆ ที่ค่อนข้างสมราคามากๆ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยประมวลผลกลาง AMD A-10 การ์ดจอแบบ Dual Graphic AMD Radeon HD 8650G + HD 8670M (2GB DDR3) รวมไปพอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ ที่ก็ทีมาให้ในตัวเครื่องอย่างครบครัน ไม่ว่าจะเป็น USB 3.0 , HDMI , DVD-RW และ SD-Card เป็นต้น?ที่สำคัญหน้าแสดงผลขนาด 15.6 นิ้ว HD ที่ติดตั้งมาให้บน ASUS X550DP ก็มีความละเอียดไม่สูงจนเกินไป ซึ่งเหมาะสมอย่างยิ่งในการเล่นเกมที่กินสเปคกลางๆ บนทรัพยากรของเครื่องขนาดนี้ เลยละครับก็นับได้ว่ามันคุ้มค่าคุ้มราคามากๆ กับโน๊ตบุ๊คตัวหนึ่งที่ราคาเพียง 16,990 บาทครับผม
แต่อย่างไรก็ตามข้อสังเกตของ ASUS X550DP เองก็มีอยู่บ้างพอสมควรเลยละครับ ซึ่งหลักๆ เลยก็จะเป็นในเรื่องของวัสดุที่ถูกลดเกรดลงไปพอสมควร ซึ่งจะเห็นได้อย่างชัดเจนบริเวณของฐานของแป้นพิมพ์หรือคีย์บอร์ด ที่ใช้งานต่อเนื่องแล้วรู้สึกไม่มั่นใจพอสมควรเพราะมันค่อนข้างยวบพอสมควร รวมไปถึงในเรื่องของการอัพเกรดที่ทำได้ค่อนข้างจำกัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของเม็ดแรมที่ฝังไปกับตัวเครื่องเลย ซึ่งอย่างไรก็ตามข้อสังเกตเหล่านี้ก็สามารถหาโซลูชั่นที่จะมาแก้ปัญหาได้ เช่นซื้อคีย์บอร์ดแยกมาใช้ และซื้อประกันเพิ่มนั้นเอง และอย่างไรก็ตามด้วยราคาที่ค่อนข้างคุ้ม ASUS X550DP ก็จัดได้ว่าเป็นอีกหนึ่งโน๊ตบุ๊คระดับเริ่มต้นทางเลือกชั้นดีสำหรับเพื่อนๆที่อยากได้โน๊ตบุ๊คราคาไม่แพงไปใช้งานสักเครื่องครับ
ข้อดี
- สเปคค่อนข้างคุ้มค่ากับราคา
- หน้าจอ 15.6 นิ้วใหญ่โตเต็มตา
- คีย์บอร์ดมาพร้อมด้วยแป้นตัวเลขใช้งานสะดวก
- พอร์ตเชื่อมต่อครบครันทีเดียวไม่ว่าจะเป็น USB 3.0 ถึง 2 พอร์ต และมี HDMI
- ระบบเสียง SonicMaster ให้เสียงได้ค่อนข้างดี
ข้อสังเกต
- วัสดุไม่ค่อยดีเท่าที่ควร มีการลดต้นทุนเยอะ
Award
โดยในครั้งนี้จะเป็นการเปรียบเทียบการให้รางวัลกับโน๊ตบุ๊คในกลุ่ม Notebook ขนาดหน้าจอ 15.6 นิ้ว ในระดับราคาใกล้เคียงกัน ซึ่ง ASUS X550DP?ก็ได้รับรางวัลต่างๆ ดังนี้
ค่อนข้างคุ้มค่ามากเลยละครับ ด้วยสเปคต่างๆ ที่สามารถใช้งานได้ในทุกๆรูปแบบ บนราคาค่าตัวที่ 16,990 บาทเท่านั้น ทาง NotebookSPEC จึงขอมองรางวัล Best Value ไปให้เลย