แรมในตระกูล HyperX จาก Kingston ซึ่งเป็นแรมความเร็วสูงที่เน้นสำหรับการใช้งานที่ต้องการประสิทธิภาพ หรือการโอเวอร์คล็อกโดยเฉพาะ นอกจากจะมีรุ่นปกติสำหรับเครื่องเดสก์ท็อปที่เราเห็นกันแล้ว ยังมีรุ่นสำหรับโน๊ตบุ๊คด้วยเช่นกัน และนี่คืออีกหัวใจสำคัญที่จะช่วยให้โน๊ตบุ๊คของคุณแรงเต็มประสิทธิภาพ
Kingston HyperX Impact เป็นแรมคุณภาพสูงที่ออกแบบสำหรับการใช้งานร่วมกับโน๊ตบุ๊ค ด้วยขนาด SO-DIMM ที่เป็นมาตรฐาน สามารถใช้งานร่วมกับโน๊ตบุ๊คทั่วไป รวมถึงเครื่องเดสก์ท็อปในตระกูล All-in-One อีกหลายๆ รุ่นที่ใช้แรมขนาดนี้ โดย HyperX Impact นั้นจะมีจุดเด่นอยู่ตรงที่การปรับแต่งให้โอเวอร์คล็อกจากโรงงานเป็นทีเรียบร้อยแล้ว นั่นหมายถึงนำมาใส่ที่เครื่องก็จะได้ความเร็วสูงขึ้นทันที
สำหรับตัวที่เราจะมาทดสอบนั้นจะเป็นแรม HyperX Impact ชนิด DDR3 รหัส HX318LS10IBK2/16 มีความเร็วในการทำงาน 1866MHz และมีขนาดรวมทั้งชุด 16GB โดยแบ่งเป็นแถวละ 8GB จำนวน 2 แถว ทำงานในแบบ Dual Channel นั่นเอง
เนื่องจากเป็นรุ่น HyperX ที่เน้นประสิทธิภาพ ตามปกติควรจะมีฮีทสเปรดสำหรับช่วยระบายความร้อนให้กับแรม แต่เนื่องจากเป็นแรมสำหรับโน๊ตบุ๊คที่ไม่สามารถใส่ฮีทสเปรดเข้าไปเพิ่มเติมได้ เพราะจะส่งผลต่อความหนาของตัวแรม ทาง Kingston จึงใช้ ?ฉลากระบายความร้อน? ซึ่งก็คือป้ายที่แปะอยู่บนแรม มีความบางไม่ต่างจากสติ๊กเกอร์ทั่วไป แอบหนากว่าเล็กน้อย และมีส่วนผสมของอลูมิเนียมที่ช่วยดึงความร้อนจากเม็ดแรมมาระบายด้วยผิวสัมผัสที่ใหญ่ขึ้น โดยยังคงสามารถใส่กับโน๊ตบุ๊คได้อย่างไม่มีปัญหา
ด้วยความเร็วขนาด 1866MHz นั้น จึงทำให้มีปัญหาเกิดขึ้นเหมือนเดิมคือโน๊ตบุ๊คที่ใช้ซีพียู Core i จากอินเทลทั้งหลายจะรองรับความเร็วของแรมได้สูงสุดที่ 1600MHz เท่านั้น ยกเว้นเมนบอร์ดจะได้รับการปรับแต่งให้รองรับแรมที่สูงกว่าได้ ซึ่งโชคดีเป็นอย่างยิ่งที่โน๊ตบุ๊คที่เราใช้ในการทดสอบนั้นสามารถปรับให้แรมทำงานที่ความเร็ว 1866MHz ได้ทันที โดยไม่ต้องปรับแต่งค่าอะไรเลย ทุกอย่างเป็นอัตโนมัติหมด (และไม่สามารถปรับความเร็วให้ต่ำกว่านี้ด้วย
PnP JEDEC TIMING PARAMETERS:
? DDR3-1866 CL10-10-10 @1.35V or 1.5V
? DDR3-1600 CL9-9-9 @1.35V or 1.5V
? DDR3-1333 CL8-8-8 @1.35V or 1.5V
การทดสอบ?Kingston HyperX Impact DDR3-1866
เราได้ใช้โน๊ตบุ๊ค Dell Inspiron 15R SE (7520) โดยมีซีพียู Intel Core i7-3612QM ชิปเซ็ต Intel HM77 มีสล็อต SO-DIMM จำนวน 2 ช่อง โดยเมื่อใส่ Kingston HyperX Impact เข้าไป ก็สามารถมองเห็นและทำงานที่ความเร็ว 1866MHz ได้ทันที ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับเมนบอร์ดและไบออสด้วยนะครับ
ผลการทดสอบด้วย CPU-Z
จะเห็นว่าตัวแรมทำงานที่ความเร็ว 1866MHz โดยมีค่า CL อยู่ที่ 10-10-10 ซึ่งความต่างคงไม่ทิ้งห่างการตั้งค่าที่ความเร็ว 1600MHz CL 9-9-9 เท่าใดนัก แต่เนื่องจากไบออสของโน๊ตบุ๊คไม่ยอมให้มีการปรับใดๆ ทั้งสิ้น เราจึงไม่สามารถทดสอบเทียบกันระหว่าง 2 ความเร็วได้
AIDA
CINEBENCH R15
SiSoft Sandra 2014a2
SuperPI (32M)
wPrime
บทสรุป
ถ้าพูดถึงประสิทธิภาพ ด้วยความคาดหวังว่ามันคือ HyperX คงต้องบอกว่าด้วยความเร็วที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ค่า CL ที่เพิ่มสูงขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน คงไม่ได้ส่งผลให้ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนมากนัก เช่นเดียวกับ HyperX Fury ที่เราเคยทดสอบไป ซึ่งมาในสเปกที่ใกล้เคียงกันเลย เพียงแค่ผลการทดสอบนั้นอยู่บนแพลตฟอร์มคนละอันกันจึงไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้โดยตรง
แม้ว่าประสิทธิภาพที่ได้จะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยๆ แต่ HyperX Impact ก็ยังถือว่าเป็นหน่วยความจำระดับ High-End สำหรับกลุ่มโน๊ตบุ๊ค ซึ่งเราจะเห็นว่ามีหน่อยความจำแถวสั้น หรือ SO-DIMM ที่เน้นประสิทธิภาพจนถึงขั้นโอเวอร์คล็อกนั้นแทบจะไม่มีเลย ส่วนหนึ่งก็มาจากเครื่องที่ใช้หน่วยความจำประเภทนี้จะเน้นประหยัดพลังงาน ไม่เน้นประสิทธิภาพมาก และที่สำคัญคือไบออสก็ไม่รองรับการปรับแต่งขั้นสูง จึงแทบจะไม่มีจำเป็นต้องใช้หน่อยความจำที่เน้นการโอเวอร์คล็อกเลย แต่นั่นก็ทำให้มันกลายเป็นแรมที่โดดเด่นขึ้นมาในตลาด Gaming Notebook ด้วยเช่นเดียวกัน
สำหรับคนที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับโน๊ตบุ๊คให้แรงมากยิ่งขึ้นไปอีก คงมีตัวเลือกไม่มาก และ HyperX Impact ก็น่าจะกลายเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ ของคุณได้อย่างไม่ยาก แต่คงต้องตรวจสอบให้แน่ในเสียก่อนว่าโน๊ตบุ๊คของคุณนั้นรองรับกับแรมความเร็วสูงกว่าที่โรงงานได้กำหนดมาหรือเปล่าด้วยนะครับ เพื่อประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้น ? อีกนิดนึง
By Toffee Latte