ครองตลาดชิปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่มานานครับสำหรับชิปเซิปสถาปัตยกรรม ARM ที่ประสิทธิภาพดี แต่ใช้พลังงานต่ำ ซึ่งทาง Intel ก็พยายามที่จะเข้าสู่ตลาดชิปเซ็ทสำหรับตลาดอุปกรณ์เคลื่อนที่มานาน โดยส่งชิปเซ็ท Atom เข้ามาต่อกรกับ ARM ที่ถึงแม้ว่า Atom ของ Intel จะมีประสิทธิภาพดีกว่า(จากที่ผ่านๆ มาชิป Atom แบบ Dual-core ของ Intel มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับชิป Quad-Core ของ ARM) แต่อัตราการใช้พลังงานก็ยังไม่ดีเท่า ARM แถมการรองรับของแอปพลิเคชันกับชิปเซ็ท Atom ของ Intel นั้นก็ไม่เทียบเท่า ARM
ดูเหมือนว่าทาง ARM จะรู้ถึงข้อเสียทางด้านแอปที่รองรับกับชิปเซ็ท Atom ดีครับจึงได้ออกมาให้ข่าวเกี่ยวกับแอปที่ใช้งานได้บนชิปเซ็ท Atom กับ ARM เทียบกันเสมอ ตัวอย่างเช่นในงาน?2014 Tech Day ของบริษํทที่ผ่านมา?Rod Watt วิศวกรอาวุโสเทคนิคการตลาดได้ออกมาพูดว่าถ้าหากแอปไม่ถูกแก้ใหม่ให้เข้ากับโค้ดของสถาปัตยกรรม x86 แล้วก็จะไม่สามารถที่จะใช้งานแอปนั้นบน Android ที่ใช้ชิปเซ็ท Atom ได้ ซึ่งคำพูดนี้ก็เป็นความจริงอยู่ครับเพราะจากการสำรวจเมื่อต้นปี 2014 ที่ผ่านมาพบว่ามีแอปกว่า 9 % ของแอปใน Google Play Store ไม่สามารถใช้งานได้กับอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่ใช้ชิปเซ็ท Atom (โดยส่วนมากจะเป็นเกมมากกว่า ส่วนแอปหลักทั่วไปนั้นสามารถใช้งานได้ไม่มีปัญหาอะไรครับ)
แน่นอนว่าทาง Intel คงไม่อยู่เฉยให้ ARM มาว่าอยู่ฝ่ายเดียวแน่ครับโดยทางฝั่ง Intel ก็ได้ออกมาทดสอบให้ดูว่าจากคำพูดของฝั่ง ARM ที่กล่าวหาว่า Top app 100 อันดับแรกมีเพียง 91% เท่านั้นที่สามารถใช้งานบนเครื่องที่ใช้ชิปเซ็ท Atom ได้นั้นทาง Intel ได้พิสูจน์ว่าจริงๆแล้วสามารถใช้งานได้ถึง 97 – 99 % เลยทีเดียวไม่ใช่ 91 % ตามที่ ARM กล่าวหา(การทดสอบใช้เครื่อง Samsung Galaxy Tab 3 10.1 ที่ใช้ชิปเซ็ท?Intel Atom Z2560)
โดยทาง Intel ได้ยืนยันด้วยว่าแอปที่สามารถลงได้ทั้งหมดนั้นสามารถใช้งานได้ตามปกติเช่นเดียวกันกับการใช้งานบนเครื่อง Android ที่ใช้ชิปของ ARM ครับ นอกไปจากนั้นทาง Intel ยังได้ทำการทดสอบเพิ่มเติมเทียบกับเครื่องอีก 3 เครื่องโดย 1 เครื่องเป็น Dell Venue 8 ใช้ชิปเซ็ท Intel Atom และอีก 2 เครื่องคือ Dell Venue 7 และ Nexus 7 ที่ใช้ชิปเซ็ท Qualcomm Snapdragon สถาปัตยกรรม ARM ผลพบว่ามีเพียง Nexus 7 เท่านั้นที่สามารถลงแอปและใช้งานได้ 100 %
เมื่อพูดไปถึงแอปที่เป็นเกมทาง Intel ได้ทำการทดสอบเกมจำนวน 21 เกมที่อยู่บน Google Play Store ซึ่งทั้ง 21 เกมได้ทำการแก้โค้ดให้เหมาะสมกับสถาปัตยกรรม x86 แล้วพบว่าทั้ง 21 เกมสามารถที่จะรันได้ทั้งบนอุปกรณ์ที่ใช้ชิปเซ็ทของ Intel และ ARM โดยที่แทบจะไม่มีความแตกต่างกันทางด้าน FPS เลย(พบว่าในบางเกมกลับมี FPS สูงกว่าเครื่องที่ใช้ ARM ด้วยซ้ำไป) Intel ยอมรับว่าในตอนนี้แอปที่อยู่ใน Google Play Store อาจจะยังไม่พร้อมใช้กับเครื่องที่ใช้ชิป Intel 100 % จริงโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับแอปที่อยู่บนพื้นฐานของ Adobe AIR นั้นอาจจะยังใช้งานไม่ได้ในตอนนี้แต่ทาง Intel ก็ได้ร่วมมือกับ Adobe ที่จะให้มีการสนับสนุน AIR บน x86 สำหรับ Android แล้วและเครื่องมือในการแก้ไขโค้ดสำหรับแอปบนพื้นฐาน AIR ก็ใกล้ที่จะออกมาให้นักพัฒนาได้ใช้งานในเร็ววันนี้
สำหรับปัญหาทางด้านอัตราการใช้พลังงานที่ทาง ARM บอกว่าการแปลงใช้ตัวโค้ด ARM ให้ลองรับกับสถาปัตยกรรม x86 นั้นทำให้แอปต่างๆ ใช้พลังงานมากกว่าแอปที่รองรับกับสถาปัตยกรรม ARM โดยตรง ทาง Intel ก็ได้ทำการทดสอบเช่นเดียวกันแล้วพบว่าการแปลงโค้ดให้รองรับกับสถาปัตยกรรม x86 นั้นส่งผลกระทบทางด้านอัตราการใช้พลังงานน้อยมาก โดยพบว่าหากใช้ตัวแปลงโค้ด ARM สำหรับใช้งานแอปบนชิปเซ็ทสถาปัตยกรรม x86 จะมีอัตราการใช้พลังงานมากกว่าแอปที่เขียนโดยโค้ดสำหรับ x86 โดยตรงเพียงแค่ 2.4 % เท่านั้น หากคิดเป็นนาทีแล้วในการใช้งานเครื่อง 10 ชั่วโมง การใช้ตัวแปลงโค้ด ARM ให้ทำงานบนเครื่อง x86 ได้จะมีอัตราการใช้พลังงานลดลงมากกว่าการใช้โค้ด x86 โดยตรงเพียง 3.6 นาทีเท่านั้น
ทั้งนี้ยังมีแอปอีกหลายแอปบน Google Play Store ที่ยังไม่ได้ทำการเปลี่ยนโค้ดให้ใช้งานสถาปัตยกรรม x86 โดยตรง ซึ่งทาง Intel ได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะให้แอปใน Google Play Store 80 % มีการเปลี่ยนโค้ดมาใช้งานสถาปัตยกรรม x86 โดยตรง ในปัจจุบันนี้เครื่องที่ใช้ชิปเซ็ทของ Intel นั้นก็มีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ครับ เราคงต้องรอดูกันต่อไป เพราะทาง Intel ไม่มีทางทิ้งตลาดชิปเซ็ทสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่แน่นอน
ที่มา :?theregister