หลังจากที่ประสบปัญหาการรีวิวมาสักพักใหญ่ๆและกระแสที่ออกมามาจากปัญหาที่เกิดขึ้น สุดท้ายก็ถึงเวลาลงรีวิวให้ชมกันสักทีกับ Lenovo Ideapad Y460 ซึ่งเป็นรุ่นต่อยอดมาจาก Y450 ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในช่วงปีที่ผ่านมาด้วยสเปกที่สูงในราคาที่คุ้มค่า ซึ่งใน Y460 ก็ยังคงคอนเซปเดิมที่ทั้งแรงและคุ้มยิ่งกว่าเดิม โดยในเครื่องที่ได้มาทดสอบนี้จะเป็นรุ่นแรกที่มาพร้อมซีพียู Core i5-430M ซึ่งมาพร้อมความเร็วเดิมๆ 2.26GHz แถมยังมีทั้ง Hyper Threading (2 Core 4 Threads) และที่สานต่อความแรงมาจาก Core i7 ด้วยฟังชั่น Turbo Boost ทำให้สามารถมีความเร็วสูงสุดได้ถึง 2.53 GHz
ชิปเซ็ตตัวใหม่ HM55 ที่รองรับแรม DDR3 ได้สูงสุดถึง 8 GB โดยให้มาแล้ว 4GB พร้อมระบบการ์ดจอแบบ Hybrid ที่สามารถสลับได้ทั้งการ์ดจอ Intel (บน CPU) หากต้องการประหยัดพลังงาน คืออยากแรงด้วยการ์ดจอจากค่ายแดงในรุ่น HD 5650 เล่นเกมส์ได้สบายดูภาพยนตร์ได้ลื่นไหล เมื่อผสมกับลำโพงจาก JBL ที่เป็นออปชั่นใหม่ใน Y460 ยิ่งทำให้อรรธรสในการรับชมภาพยนตร์ยิ่งดีขึ้นไปอีก ฮาร์ดดิสค์ก็เรียกได้ว่าเต็มที่ถึง 500 GB และเหนือกว่าอีกหลายๆรุ่นด้วยการ์ด WiFi จาก Intel ที่ทรงประสิทธิภาพ และยังมาพร้อมหน้าตาที่ดูสวยขึ้นกว่า Y450 เรื่องของสเปกคงไม่สามารถเถียงได้เลยว่ามีสเปกที่แรงในราคาที่คุ้มค่าเหมาะสำครับหลายๆท่านที่ชื่นชอบการเล่นเกมส์ ในราคากำลังสวยที่ 32,900 บาท
Adapter นั้นก็เปลี่ยนรูปแบบไปจากเดิมที่ไม่ค่อยกว้างแต่เน้นยาวและมีน้ำหนักที่ไม่มากนัก
ส่วนแรกจะเป็นภาพภายนอกเวลาที่เราเห็นเครื่องจะเป็นส่วนที่สะดุดตาที่สุด
Body ของ Lenovo IdeaPad Y460 ยังมีโทนสีและหน้าตาคล้ายๆ Y450 แต่จะปรับเปลี่ยนไปบ้างเล็กน้อยให้ดูหรูหราและสวยงามยิ่งขึ้น โดยใน Y460 นี้จะเป็นรุ่นสีดำ (ออกเทาน้ำตาลๆๆมากกว่า) ต่างกับ Y450 ในช่วงแรกที่จะเป็นสีขาว พร้อมขอบจอภาพที่เป็นสีส้มดูตัดกันเป็นอย่างดี รอบคีย์บอร์ดและขอบของจอภาพจะมีการเคลือบมันเงาด้วย รูปทรงเป็นสีเหลี่ยมผืนผ้าโค้งมนสวยงามเป็นเอกลักษณ์
ด้านหลังจอภาพจะเป็นวัสดุคล้ายอลูมิเนียม พร้อมลายที่ออกแบบมาใหม่ (ดูๆไปก็คล้ายๆกับลายเก่านะนิ) เป็นลายกราฟิกแปลกตา โดนจะเงาสะท้อนแสงแค่บริเวณที่เป็นลายเครื่องเท่านั้น นอกนั้นจะเป็นผิวด้านๆไม่สะท้อนแสง
ที่พักมือเป็นพลาสติกมีการเคลือบมัน สีออกเทาๆน้ำตาลๆไม่ได้เป็นดำสนิท
บานพับยังคงเป็นรูปตัว L แต่ด้านนอกจะมีการติดวัสดุเข้าไปเพิ่มให้พานพับแข็งแรง พร้อมทั้งดูสวยงามไปด้วยในตัว
ขอบจอภาพโดยรอบค่อนข้างเรียบสนิท
จอภาพขนาดมาตรฐานโลก 14 นิ้ว ระดับ HD 720p ที่ความละเอียด 1366 x 768 แบบจอกระจก
กางจนสุดได้ประมาณ 135 องศา
ขนาดเมื่อเทียบกับหนังสือ A4
ส่วนความหนานั้น ก็หนากว่ากล่อง CD อยู่ไม่มากนัก
เป็นด้านใต้ท้องเครื่องรวมถึงช่องระบายความร้อนใต้ท้องเครื่อง
อีกสิ่งหนึ่งที่ Y460 ปรับปรุงมาจากเสียงบ่นของ Y450 ที่มีแต่ลายไม่ค่อยมีช่องระบายความร้อน Y460 จึงเจอะช่องระบายความร้อนมาให้เยอะ (แต่กลับร้อนเพิ่มขึ้น) เพื่อช่วยให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก พร้อมช่องที่สามารถเปิดได้เอง 3 ส่วน ตามอุปกรณ์ต่างๆ
ลายของช่องระบายความร้อนออกแนวจีนๆเล็กน้อย (ตามสัญชาติของ Lenovo) พร้อมตะแกรงกันฝุ่น
ช่องระบายความร้อนซีพียูมีขนาดใหญ่ ลมแรงพัดลมก็มีเสียงดังพอสมควร แต่กระนั้นในความเป็นจริงก็ยังไม่เพียงพอในการระบายความร้อน
เปิดช่องออกมาแล้วจะเห็นอุปกรณ์สำคัญกันครบครันเลยทีเดียว ซึ่งเป็นจุดเด่นหนึ่งของ Y460 นี้ที่สามารถเปิดได้และสามารถเปลี่ยนอุปกรณ์ต่างๆได้เอง
การ์ด WiFi จาก Intel แบบครึ่งใบ และ SIM Slot ที่ยังไม่สามารถใช้งานได้ โดยต้องหาการ์ดมาใส่เพิ่มเติมผ่าน PCI-Ex Slot ที่อยู่ใกล้ๆกันหรือจะใส่พวกการ์ด Turbo Memory ก็ได้ และข้างๆ PCI Ex ก็จะเป็นชิปเซ็ตที่มีฮีตซิงค์ขนาดพอเหมาะปิดอยู่
แรม DDR3 ติดตั้งมาให้แล้วเต็ม 2 Slot ขนาดรวม 4GB
ระบบระบายความร้อนที่เป็นท่อนำความร้อน 2 ท่อ วิ่งยาวตั้งแต่ซีพียู การ์ดจอมาถึงพัดลมระบายความร้อน ที่เป็นปัญหาอยู่ตอนนี้ เนื่องจากอุณหภูมิที่สูงจากสเปกที่สูง แต่ไม่สามารถระบายความร้อนได้ทันส่งผลให้เครื่องมีอุณหภูมิสะสมที่สูง ก่อนจบเดี๋ยวผมจะวิเคราะห์ปัญหาของระบบระบายความร้อนอีกทีนะครับ
คีย์บอร์ดของ IdeaPad Y460 ยังคงเป็นสไตล์มาตรฐานแบบเดียวกับใน Y450 ขนาดระดับ Full Size ตามมาตรฐานจอภาพ 14 นิ้ว โดยนอกจากจะมีปุ่มมาตรฐานครบครัน ส่วนปุ่มคีย์บอร์ดนั้นมีขนาดตามมาตรฐานไม่เล็กหรือใหญ่ไป ปุ่มสามารถสั่งงานได้ดี ไม่รู้สึกว่าหลวมจนเกินไป ปุ่มนิ่มกำลังดี แต่ก็ไม่ถึงกับคีย์บอร์ดยวบหรือยุบลงไปมากนัก
ปุ่ม FN พื้นฐานก็ยังครบครัน
ปุ่มออปชั่นเสริมของ Lenovo IdeaPad Y460 หรือที่เรียกว่า Lenovo Desktop Navigator จะเป็นปุ่มแบบสัมผัสทั้งหมด (สไตลืเดียวกับ Y450) โดยมีปุ่มเพิ่ม/ลดเสียง เปิดโปรแกรมจัดการ/เลือกโหมดการใช้พลังงาน และแถบ Bar ตรงกลางที่สามารถใช้นิ้วรูดจากซ้ายไปขวาเพื่อล๊อกเครื่องได้
ปุ่มเปิดเครื่องจะอยู่ติดกับลำโพงด้านซ้ายเลยแต่ต้อง สังเกตนิดนึงจึงจะเห็น เพราะปุ่มเป็นสีดำเช่นเดียวกันพื้นผิวข้างๆแต่พอเปิดแล้วจะมีไฟสว่างขึ้นมา ทำให้สังเกตได้ชัดเจน ส่วนปุ่มข้างๆเล็กๆหน่อยนั้นจะเป็นปุ่มสำหรับใช้โปรแกรม Backup ใช้งานได้ค่อนข้างสะดวก
Touchpad จะเป็นสีคล้ายๆกับที่วางมือ ซึ่งนอกจากจะมีขอบบอกระยะชัดเจนแล้วตัวผิวของ Touchpad เองจะเป็นเหมือนปุ่มๆโดยทั่วถึงให้รู้สึกถึงการสัมผัสได้เป็นอย่างดี นอกจากรองรับ Scroll bar และยังสามารถใช้งานฟังก์ชั่น Multi Touch ได้ด้วย พวกรูดนิ้วเพื่อขยายภาพก็ทำได้สบายๆ ปุ่มเมาส์เองก็มีขนาดใหญ่ แต่ปุ่มออกจะนิ่มไปสักหน่อย แต่ก็ใช้งานได้ปรกติ
สติกเกอร์เทคโนโลยีต่างๆมีบอกมาอย่างครบครัน
ข้อบ่งใช้ต่างๆใต้เครื่อง
Panel ด้านหน้ามี Card Reader ปุ่ม Switch สลับการ์ดจอ และ Switch เปิด/ปิด การ์ด Wifi
ด้านซ้ายเริ่มจากด้านในสุด D-SUB, HDMI ,ช่องระบายความร้อน ,LAN , USB 2 พอร์ต, พอร์ต HDMI, ช่องต่อหูฟังและ ไมค์
ทางด้านขวาเริ่มด้วย USB 1 พอร์ต ,e-Sata , PC Card Slot (Express Card), ไดร์ฟ DVD-RW, Adapter และที่ติดตั้งสายล๊อกเครื่อง
ด้านหลังมีเพียงแบตเตอรี่
คุณภาพของ Web cam และระบบเสียง
กล้อง Web Cam ของ Lenovo IdeaPad Y460 พร้อมไมค์อยู่ข้างๆ
ลำโพงของ Y460 ถือเป็นอีกหนึ่งจุดเด่น ด้วยลำโพงจากค่าย JBL ที่ได้ชื่อเรื่องของเสียงอยู่แล้ว จะเห็นดอกลำโพงชัดเจน และแน่นอนว่าคุณภาพของเสียงนั้นจัดได้ว่ามีทั้งความคมชัด และเสียงที่ใสกังวาน แถมยังดังดีมาก แม้อาจจะไม่ได้ดังเหมือนของเครื่อง PC แต่ก็ถือว่าเยี่ยมเลยในเครื่องระดับนี้
แบตเตอรี่อยู่ด้านหลัง แต่ด้วยบานพับที่เป็นรูปตัว L อาจจะทำให้ใส่แบตเตอรี่ที่ยาวและใหญ่มากกว่านี้ไม่ได้แล้ว
สเปกแบตเตอรี่ขอ Y460 >> 11.1V — 5.2 AH 57Wh
โปรแกรมจัดการการใช้พลังงานที่นอกจากทำได้เหมือนของ Windows แล้ว ยังสามารรถปรับแต่และเลือกโหมดได้หลากหลาย ยืดหยุดพอสมควร (แต่ถ้าไม่ลงก็ไม่สามารถใช้ปุ่ม Bar ได้ซะงั้น)
โปรแกรม Backup ง่ายๆแค่ปุ่มเดียว
Lenovo IdeaPad Y460 ใช้ Windows 7 Ultimate ในการทดสอบ
Intel GMA HD
HD 5650
คะแนนที่ออกมาทั้ง 2 โหมดการ์ดจอจัดได้ว่าสูงพอตัวเลยทีเดียว
Lenovo IdeaPad Y460 มาพร้อมซีพียูสถาปัตยกรรมใหม่อย่าง Core i5 โดดเด่นด้วยเทคโนโลยีการผลิตใหม่แบบ 32 nm พร้อมการ์ดจอในซีพียูซึ่งจะช่วยในการถอดรหัสวีดีโอ ทำให้ซีพียูไม่ต้องทำงานหนัก โดยมาในรุ่นล่าง Core i5 430M ความเร็ว 2.26 GHz ระบบแคชแบบ L3 ที่ 3 MB พร้อมฟังค์ชั่นที่ถอดมาจาก Core i7 อย่าง Turbo Boost ที่สามารถทำงานได้ความเร็วสูงสุดที่ 2.533 GHz มีจำนวน Core เดิมๆที่ 2 Core พร้อม Hyper Threading ทำให้สามารถพร้อมทำงานกันได้ 4 Threads พร้อมๆกัน และยังมีรุ่นสูงกว่าออกมาด้วยที่ใช้ซีพียูแรงขึ้นตามคำเรียกร้อง i5-540M ความเร็วสูงขึ้นเป็น พร้อมค่าตัวที่เพิ่มขึ้นอีก 3000 บาท
สถาปัตยกรรมใหม่นี้รองรับแต่แรม DDR3 2 Slot ให้มากำลังดีรองรับงานหนักๆได้สบายๆที่ 4 GB (2 GB + 2 GB) แบบ DDR3 ความเร็วถึง 1066 MHz
อีกหนึ่งจุดเด่นด้วยระบบการ์ดจอที่สามารถสลับได้ระหว่างประหยัดพลังงานอย่าง Intel GMA HD หรือจะแรงอย่าง ATI HD 5650
โดยมาพร้อมโปรแกรมที่รองรับการสลับการ์ดจอจาก ATI
ไดร์ฟรองรับตามมาตรฐาน DVD
การทดสอบในส่วนของ Resolution ว่ารองรับความละเอียดสูงสุดเท่าไร และในส่วนของ Page view ว่าสามารถแสดงผลหน้า web ได้ขนาดไหน
Resolution ของ Lenovo IdeaPad Y460 มากับจอภาพมาตรฐาน 14 นิ้ว ความละเอียดตามมาตรฐานจอภาพในปัจจุบัน 1366 x 768
โปรแกรม Super PI คือการคำนวณค่า PI จาก เส้นรอบวง (กลม)/เส้นผ่านศูนย์กลาง จะได้เป็นค่า 3.14? โดยที่ทศนิยมนั้น เป็นเลขที่ไม่ลงตัวที่มีค่าอนันต์ (เลขหลังทศนิยมไม่มี Loop ซ้ำ)ดังนั้นเมื่อ Loop มันเป็นอนันต์ เครื่องคอมพิวเตอร์จึงไม่สามารถหยุดการคำนวณได้ถ้าไม่สั่งให้มันหยุด ในโปรแกรม Super PI จะทำการกำหนดเอาไว้ว่า ให้คำนวณที่จุดสิ้นสุดตรงไหน(เช่น 1M คือ คำนวณที่ทศนิยม 1ล้านตำแหน่ง) โดยแบ่งเป็นช่วง Loop อย่าง PI 1M ใช้ 19 Loop เท่ากับคำนวณ Loop ละ 52632 ตำแหน่ง ต่อ 1 Loop ยิ่งซีพียูมีประสิทธิภาพเท่าไร ยิ่งใช้เวลาคำนวณได้น้อยลง
ซีพียู Intel Core i5 รุ่นใหม่อย่าง i5-430M ของ Lenovo IdeaPad Y460 สามารถทำเวลาไปได้ 17.722 วินาทีในการคำนวณค่า PI 1M
อ้างอิงจาก : www.notebookspec.com
ด้วยสเปกซีพียุที่ค่อนข้างสูง อีกทั้งรองรับ Turbo Boost ย่อมทำให้ใช้เวลาในการคำนวณค่า pi ที่น้อยมาก แต่ด้วยเป็นรุ่นล่างของ Core i5 ประสิทธิภาพเลยอาจจะด้อยกว่ารุ่นพี่
Hyper PI
มีหลักการทำงานคล้ายๆกับ Super Pi แต่จะรองรับการทำงานของซีพียูหลายหัวหรือหลาย Thread พร้อมกัน ซึ่งแน่นอนว่าย่อมส่งผลกับตัว Turbo boost เพราะซีพียูทำงานพร้อมกันหลายหัวทำให้ความเร็วของซีพียูไม่สูงมาก เพราะจำเป็นต้องแชร์ทรัพยากรเพื่อทำงานในเวลาเดียวกัน
ไม่ช้าเท่าไรเมื่อเทียบกับสเปกโอเคเลยครับรุ่นนี้
คะแนนที่ออกมานั้นนับได้ว่าสูงมาก ด้วยเป็นชิปตัวใหม่แถมด้วยการ์ดจอในซีพียูช่วยในการคำนวณรูป 3D แบบนี้ได้อย่างดี
Unigine Heaven Demo 1.0
โปรแกรมใหม่ที่จะเข้ามาเสริมการ์ดทดสอบการ์ดจอซึ่งรองรับ DX11 ซึ่งจะเริ่มทดสอบกันในซีรีย์ 5XXX นี้เป็นซีรีย์แรก
รูปแบบการทดสอบ
DX10
DX11
เฟรมเรทออกมาดีเลยทีเดียว ลืนไหลเหมาะกับการเล่นเกมส์ดีทีเดียว
ทดสอบความเร็วในการอ่านข้อมูลของ HDD
วิธีทดสอบ : ทดสอบความเร็วในการอ่านข้อมูล สเปกของ HDD เป็นฮาร์ดดิสค์ขนาด 500 GB
จากการทดสอบความเร็วสูงสุดในการอ่านข้อมูลจะอยู่ที่ 79.2 Mb ต่อ วินาที ใช้เวลาในการเข้าถึงข้อมูลอยู่ที่ 19.0 ms (ยิ่งน้อยยิ่งดี)
เมื่อเทียบกับขนาดฮาร์ดดิสค์แล้วถือว่าไม่ช้าจนเกินไป
Wireless Mon
แน่นอนว่าการ์ด WiFi จาก Intel ย่อมไม่ทำให้ผิดหวัง นิ่งและแรงดีไม่แพ้ค่ายอื่น
ทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องทั้งหมดด้วยโปรแกรม PCMark05
Intel GMA HD
HD 5650
วิธีทดสอบ : รันโปรแกรม โดยให้ทดสอบทั้ง System, CPU, Memory, Graphics, HDD
สามารถทำคะแนนออกมาได้สูงเลยทีเดียวโดยเฉพาะการ์ดจอและแรม เสียดายว่าไม่สามารถทดสอบออกมาเป็นคะแนนรวมได้
Intel GMA HD
HD 5650
คะแนนสูงตามสเปก แม้การ์ดจอจะต่างกันแต่คะแนนกลับไม่ต่างกันมากนัก ด้วยเป็นโปรแกรมที่เน้นทดสอบเครื่องมากกว่าการ์ดจอ
ทดสอบระบบกราฟิกด้วยโปรแกรม 3DMark06
Intel GMA HD
HD 5650
วิธีทดสอบ : รันโปรแกรม โดยให้ทดสอบทั้ง SM 2.0 Graphics Tests, CPU Test
อ้างอิงจาก : www.notebookspec.com
เป็นไปตามประสิทธิภาพของการ์ดจอในรุ่นค่อนข้างแรง แหล่มเลยทีเดียว
โปรแกรมทดสอบอีกตัวที่อยากแนะนำ โดยเป็นโปรแกรมที่ทดสอบภาพรวมของเครื่องแล้วสรุปมาเป็นคะแนนรวม ทำให้สามารถเปรียบเทียบกับรุ่นอื่นๆได้ง่าย อีกทั้งยังแจกแจงคะแนนทดสอบในแต่ละส่วนให้เห็นอีกด้วย
Intel HD GMA
HD 5650
คะแนนออกมาสูงตามสเปกที่แรงทั้ง 2 โหมด
เป็นโปรแกรมที่สามารถทดสอบเครื่องได้หลายๆส่วนเช่น ซีพียู ฮาร์ดดิสต์ และอื่นๆอีกหลายอย่าง อีกทั้งสามารถเลือกซีพียูรุ่นอื่นๆมาเปรียบเทียบได้ด้วย
โดยจะแบ่งเป็น 4 แบบคือ
1. Processor Arithmetic ทดสอบซีพียู
2. Memory Bandwidth ทดสอบ Bandwidth ของ Memory ในส่วนของชิบเซตและแรม
3. Physical Disks ทดสอบความเร็วในการทำงานของ ฮาร์ดดิสต์
Hardware Monitor
อุณหภูมิแวดล้อมขณะทดสอบประมาณ 35 ~ 36 องศาC
อุณหภูมิก่อน Burn-in
Intel GMA HD
HD 5650
วิธีทดสอบ : ขั้นแรกจะเป็นการทดสอบโดยการเปิดใช้งานเครื่องทั่วไป เล่นเน็ตพิมพ์งาน
อุณหภูมิออกมาถือว่าอยู่ในระดับไม่สูงมากในระดับดี แต่….
Burn-in CPU
วิธีทดสอบ : ทดสอบโดยการ Burn-in โดยใช้โปรแกรม CPU Burn in 4 หน้าต่างโปรแกรม เพื่อรัน ซีพียู ให้ทำงานที่ 100% เป็นเวลา 3 ชั่วโมง ในช่วงเวลากลางวัน
อุณหภูมิหลัง Burn-in
Intel GMA HD
HD 5650
หลังจาก Burn แล้วอุณหภูมิสูงขึ้นมามากซึ่งเป็นจุดด้อยที่สุดของ Y460 เพราะหลังจากแก้ปัญหาเครื่องดับแล้วเครื่องกลับมีอุณหภูมิสูงมากในเวลาใช้งานการ์ดจอแยกด้วยท่อนำความร้อนที่เป็นชุดเดียวทำให้อุณหภูมิมากองรวมกันที่ชุดระบายความร้อน เล่นร้อนระดับ 100 แบบนี้ ถ้าไม่ปรับปรุงสงสัยจะแย่ละครับ แต่แม้จะสูงแต่ก็ไม่ได้สูงไปกว่านี้แล้วแม้จะ Burn ไปกว่า 12 ชม และก็ไม่ได้ร้อนจนดับเหมือนในตอนแรกใช้งานได้ แต่ในระยะยาวก็อาจจะส่วนผลให้เครื่องมีปัญหาได้ จึงแนะนำให้ใช้วิธีอื่นๆในการระบายความร้อนร่วมด้วยดีกว่าครับ
ทดสอบเวลาในการใช้งาน แบตเตอรี่
แบบที่ 1 ใช้งานทั่วไป
Intel GMA HD
HD 5650
ด้วยซีพียูรุ่นใหม่ เทคโนโลยีใหม่ เมื่อใช้งานการ์ดจอ Intel ที่ประหยัดพลังงานทำให้สามารถใช้งานได้ 3 ชม กว่าเลยทีเดียว แม้จะใช้งานการ์ดจอแยกแล้วกินพลังงานมากพอสมควรแต่ก็ยังใช้งานได้ 2 ชม
แบบที่ 2 ใช้งานหนักๆ
Intel GMA HD
HD 5650
ด้วยการ์ดจอแยกและซีพียูที่ทำงานเต็ม Speed ทำให้สามารรถใช้งานได้เกินชั่วโมง ด้วยสเปกที่สูงระดับนี้ถือว่าน่าพอใจ
เวลาในการชาร์ตแบตเตอรี่
วิธีทดสอบ : ทดสอบโดยการชาร์ตแบตเตอรี่พร้อมกับเปิดใช้งานเครื่องตั้งแต่ 14% จนถึง 100%
ใช้เวลาในการชาร์ต 2 ชั่วโมง ครึ่ง ก็ไม่นานนัก
กราฟสรุปการใช้พลังงานแบตเตอรี่ของ Lenovo IdeaPad Y460
สรุปภาพรวมของ Lenovo IdeaPad Y460 ยัดได้ว่าเป็นโน๊ตบุ๊ครุ่นหนึ่งที่แรงในแบบคุ้มค่า ไม่ว่าจะเล่นเกมส์หรือใช้งานทั่วไปก็ครบครันด้วยระบบสลับการ์ดจอที่มีทั้ง Intel GMA HD หากต้องการใช้งานทั่วไปเน้นใช้งานแบตเตอรี่นานๆ หรืออยากจะเล่นเกมส์แรงๆก็ บ่อ มีปัญหาด้วยการ์ดจอแยก HD 5650 แถมด้วยเทคโนโลยีใหม่ด้วยซีพียู Core i5-430M ที่แม้จะเป็นรุ่นล่างของ Core i5 แต่ก็มีประสิทธิภาพดีพอตัว ลำโพง JBL ที่ขึ้นชื่อเรื่องคุณภาพของเสียงที่ดีไม่แพ้ลำโพงค่ายอื่นๆ แถมด้วยหน้าตาที่ปรับปรุงจากรุ่นสุดฮิตอย่าง Y450 ให้โฉบเฉียวและสวยงามหรูหรายิ่งขึ้นกว่าเดิม สำหรับคอเกมส์ในความสมบูรณ์แบบของสเปกและหน้าตาคงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า Lenovo IdeaPad Y460 นี่ละใช้เลย
?Lenovo IdeaPad Y460 ราคาแค่นี้ก็แรงได้ไม่อายใคร?
NBS Link : https://notebookspec.com/notebook/2715-Lenovo-IdeaPad-Y460:i5-430M+HD-5650.html
Lenovo IdeaPad Y460 คือโน๊ตบุ๊ครุ่นหนึ่งที่ต้องยอมรับว่ามีปัญหามากพอสมควร
เริ่มด้วยอาการเครื่องดับเวลาอุณหภูมิสูงขึ้นไประดับหนึ่ง ซึ่ง Lenovo ก็ออกมารับปัญหาและแก้อย่างรวดเร็วด้วยการออก Bios ตัวใหม่ที่แม้จะแก้ปัญหาได้สมบูรณ์ แต่ก็เกิดปัญหาตามมาด้วยอุณหภูมิที่สูงมาก โดนจากโปรแกรมทดสอบจะเห็นว่าซีพียูนั้นมีอุณหภูมิที่สูงมากระดับ 100 องศาเลยทีเดียว ซึ่งปัญหาเกิดจากหลายๆสาเหตุ ด้วยสเปกที่สูงทั้งการ์ดจอและซีพียู รวมถึงการออกแบบระบายความร้อน
ดูเผินๆเหมือนว่าท่อนำความร้อน 2 ท่อ จะช่วยนำความร้อนได้ดี แต่ในความเป็นจริงก็แทบไม่ได้ต่างไปจากท่อเดียวเลยเพราะทั้ง 2 ท่อนั้นมีบางส่วนที่เชื่อต่อกันทำให้อุณหภูมิถ่ายเทถึงกันอยู่ดี
เมื่อมาถึงการ์ดจอแน่นอนว่าอุณหภูมิจากซีพียูก็ต้องมาเพิ่มมายิ่งขึ้นที่การ์ดจอ แทนทีจะผ่านไปต่อที่พัดลม แต่ด้วยความร้อนเพิ่มขึ้นที่การ์ดจอทำให้มีอุณหภูมิบางส่วนตีกลับไปสะสมที่ซีพียูมากขึ้นไปอีก ถ้าหากแยกท่อนำความร้อนเป็นคนละท่อน่าจะช่วยระบายความร้อนได้ดีกว่าเพราะอุณหภูมิไม่เกิดการสะสม
ต่อมาถึงพัดลมระบายความร้อน ได้มีการเคลือบสีดำที่ฟินระบายความร้อนและท่อนำความร้อนที่จะติดกับผิว Body เพื่อป้องกันความร้อนกระจากไปทำให้ Body กรอบเร็ว แต่ก็มีข้อเสียทำให้อมความร้อนและแผ่ความร้อนออกไปได้ช้า แถมด้วยพัดลมที่ออกแบบให้มีใบพัดถี่มากเกินไปทำให้ตักอากาศได้น้อย ส่งผลให้ระบายความร้อนได้ช้าไปด้วย
**ทั่งหมดเป็นสิ่งที่ผมวิเคราะห์เองอาจจะไม่ถูกต้อง 100% ทั้งหมด
แนะนำการช่วยระบายความร้อน
ดูใต้ท้องเครื่องจะเห็นว่ามีช่องระบายความร้อนตามอุปกรณ์ต่างๆพอสมควร ว่าแล้วลองไปดูกันว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง
- ในกรณีงบน้อยก็หาอะไรมาหนุนใต้ท้องเครื่องให้สูงและโปร่งช่วยให้อากาศถ่ายเทสะดวก หรือถ้ามีพัดลมตั้งโต๊ะเป่าใต้ท้องเครื่องด้วยจะช่วยระบายความร้อนได้อีกพอสมควร
- ถ้าอยากเย็นมากขึ้นไปอีกตามข้อ 1 ก็อาจจะเปิดฝาปิดบริเวณพัดลมระบายความร้อนด้วยจะช่วยระบายได้ดีขึ้นไปอีก แต่ก็ต้องระวังเรื่องฝุ่นหรือโลหะด้วย เพราะถ้าหากมีเศษโลหะกระเด็นเข้าไปอาจจะทำให้เครื่องช๊อตได้
- ลงทุนด้วยพัดลมระบายความร้อน หรือ Cooling Pad แนะนำให้หารุ่นที่มีพัดลมของ Cooling Pad ตรงกับช่องพัดลมระบายความร้อน CPU หรือถ้าหาไม่ได้ก็อาจจะให้พัดลมมีตำแหน่งใกล้ๆกันที่สุด เพื่อป้อนลมให้หมุนเวียนในเครื่องเร็วที่สุด
NBS เราได้มีการมอบรางวัลให้โน๊ตบุ๊คที่ผ่านการประเมินคะแนนในด้านต่างๆเพื่อมอบ เป็นรางวัลให้แก่โน๊ตบุ๊ครุ่นนั้นๆที่เราได้ทดสอบไป
โดยจะตัดสินจาก 6 หัวข้อหลักได้แก่
- Design
- ความคุ้มค่า (Value)
- Performance
- ความสะดวกในการพกพา (Mobility)
- ความคงทนแข็งแรง (Durability)
- Gaming
ซึ่งแต่ละหมวดมีคะแนนเต็ม 5 คะแนน ตามประสิทธิภาพของแต่ละหมวด
โดยระดับคะแนนที่ได้รางวัลต่างๆได้แก่
25 คะแนนขึ้นไป
20 คะแนนขึ้นไป
15 คะแนนขึ้นไป
โดย Lenovo IdeaPad Y460 สามารถผ่านการทดสอบมาได้อย่าง ตามระดับคะแนนเลยครับ
- 4/5 ?Design
- 4/5 ?ความคุ้มค่า (Value)
- 3/5 ?Performance
- 3/5 ?ความสะดวกในการพกพา (Mobility)
- 3/5 ?ความคงทนแข็งแรง (Durability)
- 4/5 ?Gaming
รวม 21 คะแนน
notebookspec.com จึงขอมอบรางวัล Gold แก่ Lenovo IdeaPad Y460
**รางวัลที่ให้นี้นับจากประสิทธิภาพของเครื่องล้วนๆนะครับ