เรียกได้ว่าเทรนโพสวิดีโอทานอาหารยั่ว ตอนดึกๆ แบบนี้ก็ไม่ได้ใหม่ซะทีเดียว เพราะในประเทศไทยตามเว็บบอร์ดดังๆ หลายแห่ง หรือบน Facebook รวมทั้ง Instragram เอง ก็มีหลายๆ ท่านที่มักจะโพสรูปอาหารตอนดึกๆ ช่วงก่อนนอน ทำให้ใครหลายๆ ที่เห็นภาพเหล่านั้นทนไม่ไหว จนต้องลงไปห้องครัวต้มมาม่าทาน หรือในบางรายหนักๆ เข้าหน่อยก็ขับรถออกไปซื้อของนอกบ้านทานกันเลยทีเดียว
?
ในไทยเองก็มีแต่จะเป็นภาพนิ่ง
แต่ในรายของเกาหลีใต้นั้นเรียกได้ว่าไม่ได้โพสแค่ภาพอาหารเฉยๆ เหมือนในบ้านเรา แต่ถึงกับโพสวิดีโอทานอาหารกันเป็นล่ำเป็นสัน แถมโดยมากวิดีโอเหล่านี้ยังเป็นวิดีโอแบบสดๆ (วิดีโอสตรีมมิ่ง) ที่กินกันจะๆ อีกด้วย ซึ่งแน่นอนมันก็ทำให้ต่อมน้ำลายของหลายๆ คนในประเทศเกาหลีใต้ทำงานในทันที โดยกลุ่มคนพวกนี้ถูกเรียกว่า Mok-bang หรือที่แปลว่า กิน แล้ว เผยแพร่ นั่นเอง
Mok-bang ?ไม่ใช่แค่ยั่วน้ำลายเฉยๆ แต่พวกเขาได้รับเงินเด้วยรับเงินด้วย
โดยเหล่า Mok-bang เหล่านี้ ก็ไม่ใช่แค่โพสวิดีโอ หรือวิดีโอสตรีมมิ่งของกินเพื่อยั่วน้ำลายๆ ของแฟนๆ เฉยๆ แต่พวกเขากลับได้รับเงินจริงๆอีกด้วย ซึ่ง Mok-bang ในหลายๆ ราย ที่ได้รับความนิยมในการเข้าชมมากๆ ผ่านทางช่องทางของ Afreeca TV (ที่มีลักษณะคล้ายๆ Camfrog ผสม Youtube ของเกาหลีใต้) ก็ได้รับเงินสูงถึง 1,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อวิดีโอ เลยทีเดียว
?
Mok-bang?บางรายที่โพสเสียค่าอาหารต่อเดือนกว่า 6,000 ดอลลาร์
ซึ่งหนึ่งใน Mok-bang ที่มีหน้าตาน่ารัก(จริงๆ) และได้รับความนิยมมากทีเดียวในขณะนี้ ในตอนเช้าเธอจะทำงานในบริษัทให้คำปรึกษาแห่งหนึ่ง แต่กลับกันในตอนกลางคืนตั้งแต่ช่วงเวลา 2-3 ทุ่ม เธอก็จะทำหน้าที่กิน กิน กิน แล้วกิน แล้วก็วิดีโอสตรีมมิ่งการกินของเธอแบบสดๆ ผ่าน Afreeca TV โดยเธอยังให้สัมภาษณ์ถึงเหตุผลที่เธอจับพลัดจับผลูมาเป็น Mok-bang อีกด้วยว่า ก่อนหน้านี้เธอเบื่อมากๆ หลังจากทำงานเสร็จก็ไม่รู้จะทำอะไร เธอจึงหางานอดิเรกทำ ซึ่งมันก็คือการกิน และการแชทไปด้วยนั่นเอง โดยเธอบอกว่าที่ผ่านมาเธอหมดค่าอาหารไปกว่า 3,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน หรือในบางเดือนถ้าทานอาหารชั้นเลิศก็มากถึง 5,000-6,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน แต่ที่เธออยู่ได้เพราะเธอก็ทำเงินได้หลายพันดอลลาร์ต่อเดือนผ่านการกินเช่นกัน
?
ซึ่งก็นับได้ว่าเป็นเทรนวิดีโอสตรีมมิ่งที่ตัวผมเองก็ยังไม่เคยเห็นในเมืองไทยเลย แต่ไม่แน่นะครับปี 2014 เราก็อาจจะได้เห็นเทรน Mok-bang มาโผล่บน Camfrog บ้างก็ได้
ที่มา : kotaku