Connect with us

Hi, what are you looking for?

Gaming Notebook

วัดกันไปเลย [แรมบ้าน 4GB] VS [Kingston HyperX 4GB และ 8GB] พร้อมแจก RAM HyperX ท้ายบทความ

ช่วงนี้ของแรงๆมาเข้าทาง N4G ไม่น้อยทีเดียว ทั้ง ASUS G53S ที่เราได้รีวิวไปแล้ว และยังจะมีแรมจาก Kingston อย่าง HyperX PnP มาอีก ดังนั้นเราจึงจับมันมาทดสอบกันไปเลยครับ

New_TestBenchmark

Advertisement

(การทดสอบนี้เราจะเน้นเทียบความแรงในการทำงานต่างๆ ซึ่งวัดจากโปรแกรม benchmark และเกมเป็นหลักครับ คงจะไม่เน้นนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับตัวแรมซักเท่าไร)

ก่อนจะไปดูผลการทดสอบ เรามาทำความรู้จักเครื่องที่ใช้ทำการทดสอบกันก่อนครับ

spec

มากันในสีหวานแหววเลยทีเดียวกับ VAIO เครื่องนี้ แต่ก็เป็นอันน่าเสียดายที่เราไม่สามารถใช้ ASUS G53S ตัวแรงมาใช้ทดสอบได้ เนื่องด้วยมีแรมแผงหนึ่งซ่อนอยู่ ทำให้ไม่สามารถถอดออกเพื่อเปลี่ยนไปใส่แรมอื่นได้ เราจึงต้องใช้เครื่องนี้ในการทดสอบครับ

โดยการทดสอบก็จะเป็นการทดสอบเพื่อเปรียบเทียบในสามกรณี ดังนี้

  • ใช้แรมเดิมที่ติดมากับเครื่อง (DDR3-1333 : 4GB)
  • Kingston HyperX PnP (DDR3-1866 : 4GB)
  • Kingston HyperX PnP (DDR3-1866 : 8GB)

ซึ่งจุดประสงค์ในการทดสอบนี้คือ

  1. เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างแรมธรรมดากับ HyperX เมื่อความจุเท่ากัน
  2. เพื่อเปรียบเทียบว่าแรมเดียวกันแต่ต่างความจุจะมีผลต่อประสิทธิภาพขนาดไหน

เอาเป็นว่าเราเข้าใจตรงกันแล้วนะครับ ถ้าใช่ ก็ไปต่อกันเลย !!!!

CPU-Z

cpuz-1cpuz-3

มาดูสเปกโดยเฉพาะ CPU และ chipset กันก่อนครับ ตัว CPU นั้นเป็น Intel Core i5-2410M ซึ่งแน่นอนว่ามันเป็นตระกูล Sandy Bridge ที่จะทำให้เจ้า Kingston HyperX PnP ทำงานได้เต็มที่แน่นอน

Stock RAM (4GB)

cpuz-4cpuz-5

Kingston HyperX PnP (4GB)

cpuz-4cpuz-5

Kingston HyperX PnP (8GB)

cpuz-memcpuz-spd

ram-speed

เมื่อเปลี่ยนแรมมาใช้ HyperX แทน ก็พบว่าความเร็วของแรมเพิ่มขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด จากราวๆ 1330.4 MHz ขึ้นมาเป็น 1862.8 MHz แต่ก็แลกมาด้วยบรรดาค่า CL ที่สูงขึ้นจาก 9 มาเป็น 11

——————————————————————————————-

Super PI (1M)

super-pi

จากการทดสอบ Super PI นี้ทำให้เห็นผลชัดเจน (แม้เวลามันจะต่างกันนิดเดียว) เลยว่า

  • ยิ่งแรมแรงก็ยิ่งทำให้ประมวลผลเสร็จได้เร็วขึ้น
  • และถ้าแรงแล้ว ปริมาณยังเยอะอีก งานก็ยิ่งเสร็จเร็วขึ้นอีกนิดนึงครับ

——————————————————————————————-

PCMark 05

Stock RAM (4GB)

pcm

Kingston HyperX PnP (4GB)

pcmark-05

Kingston HyperX PnP (8GB)

pcmark-05

pcm-05

คะแนนที่ลงในกราฟนั้นเป็นคะแนนส่วนของหน่วยความจำนะครับ ผลก็ออกมาค่อนข้างชัดเจนเลยว่าคะแนนยิ่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ระหว่าง HyperX ด้วยกัน คะแนนไม่ได้เพิ่มขึ้นมาเป็นอัตราที่สูงเหมือนกับคู่ของแรม 4GB ด้วยกันแต่ต่างกันที่ความเร็ว ที่คะแนนพึ่งขึ้นมาเป็นหลักพันเลย

——————————————————————————————-

PCMark Vantage

pcm-vantage

แต่พอมาเจอการทดสอบจาก PCMark Vantage เข้าไป กลับพบว่าคะแนน PCMark ของ HyperX (8GB) พุ่งขึ้นไปจากเดิมสูงมากๆ และยังมีอีกจุดที่น่าแปลกใจ คือคะแนนของชุด HyperX (4GB) กลับต่ำกว่าชุดของแรมเดิมซะอีก เรียกได้ว่ากลับตาลปัตรกันไปเลยครับงานนี้

——————————————————————————————-

3DMark 06

Stock RAM (4GB)

3dm

Kingston HyperX PnP (4GB)

3dmark-06

Kingston HyperX PnP (8GB)

3dmark-06

3dm-06

คะแนนก็เป็นไปตามคาดครับ แต่ถ้าดูกรณีที่ความจุต่างกัน กลับไม่ค่อยเห็นผลเท่าไร คงเนื่องด้วยแรม 4GB นั้นก็เพียงพอและเกินพอกับ 3DMark 06 แล้วนั่นเอง

——————————————————————————————-

3DMark 11

Kingston HyperX PnP (4GB)

3dmark-11

Kingston HyperX PnP (8GB)

3dmark-11

ต้องขออภัยด้วยนะครับที่ไม่มีผลการทดสอบกับแรมธรรมดา เลยได้ดูกรณีเปรียบเทียบระหว่าง HyperX ด้วยกันเองซะ ซึ่งผลที่ออกมาก็พลิกโผอีกแล้ว เมื่อ 8GB ทำคะแนนได้น้อยกว่า 4GB ถึงแม้ว่าจะแค่นิดเดียวเท่านั้นครับ ตอนเล่นเกมคงจะไม่ค่อยเห็นผลต่างกันมากนัก ซึ่งจะเป็นอย่างไร รอติดตามในส่วนของการทดสอบกับเกมครับ

——————————————————————————————-

Cinebench R11.5

cinebench

คะแนนที่ได้ของทั้ง 3 การทดสอบแทบจะไม่แตกต่างกันเลย เรียกว่าเท่ากันเลยก็ว่าได้ครับ คงเพราะเนื่องด้วยไม่ค่อยได้มีการเรียกใช้แรมเป็นหลักมากนัก ทำให้ปัจจัยด้านแรมไม่มีผลในการทดสอบนี้เท่าใด

——————————————————————————————-

Pages: 1 2 3 4

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

IT NEWS

ล่าสุดมีผลทดสอบของ Snapdragon X Elite หลุดออกมาบน Geekbench 6 เผยให้เห็นประสิทธิภาพที่เทียบเท่ากับชิป AMD Ryzen 8040 “Hawk Point” และ Intel Core Ultra “Meteor Lake” ชิป Snapdragon X Elite เป็นชิปประมวลผล...

CONTENT

เมื่อหลายปีก่อน การเพิ่มแรมในโน้ตบุ๊กแทบจะเป็นการอัปเกรดเครื่องยอดฮิต เนื่องจากยังใช้แรมแบบเป็นแท่งที่มีชื่อเรียกมาตรฐานว่าเป็นแบบ SODIMM ที่สามารถถอดเปลี่ยนได้ง่าย แต่ต่อมาผู้ผลิตหลายรายก็หันไปใช้แรมแบบเป็นชิปติดกับเมนบอร์ดมาเลย ด้วยข้อดีเรื่องของความง่ายในการออกแบบบอร์ด ทั้งยังทำให้เครื่องบางเบาลง ความเร็วก็สูงกว่า แต่แลกมาด้วยการที่ผู้ใช้แทบจะอัปแรมเพิ่มไม่ได้เลย ถ้าไม่ใช่พวกเกมมิ่งโน้ตบุ๊ก หรือเครื่องที่มีความหนาขึ้นมาหน่อย แต่ล่าสุดเราก็อาจจะได้ใช้แรมแบบใหม่ นั่นคือ LPCAMM2 ที่ผสานข้อดีของทั้งแรมแบบ SODIMM และแรมแบบฝังบอร์ดไว้ด้วยกันนั่นเอง Advertisement แรม LPCAMM2 คืออะไร ต่างจากเดิมอย่างไร เริ่มจาก...

IT NEWS

Apple M2 ชิปเซ็ท ARM รุ่นใหม่ล่าสุดที่ทาง Apple ออกแบบเองนั้นดูเหมือนจะมาแรงแบบฉุดไม่อยู่จริงๆ ล่าสุดพบผลการทดสอบเล่นเกม Shadow of the Tomb Raider ได้ FPS ดีกว่า Ryzen 7 6800U Apple M2 นั้นเปิดตัวออกมาได้สักพักแล้ว ซึ่งตามที่ทาง Apple...

CONTENT

โปรแกรมเทส การ์ดจอ 7 แบบเพื่อคอเกม 2022 ทดสอบความแรง เช็คสเปค ดูอุณหภูมิ พร้อม Burn-In ครบ โปรแกรมเทส การ์ดจอ ในปี 2022 นี้ ก็ยังคงมีหลายโปรแกรมที่นิยมใช้กันมากมาย มีทั้งใช้ทดสอบเฟรมเรต ที่คอเกมมักจะนิยมกัน หรือจะใช้ทดสอบเสถียรภาพ เมื่อมีการโอเวอร์คล็อกหรือปรับแต่งความเร็ว รวมถึงการทดสอบเพื่อดูเรื่องความร้อน ซึ่งจะใช้โปรแกรมในการมอนิเตอร์ เพื่อเช็คความเร็วสัญญาณนาฬิกา...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก