การเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วของ ความจริงเสมือน และ เทคโนโลยีบันเทิง3D สามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงทางสุขภาพอย่างรุนแรงได้
Eric Muth นักจิตวิทยาประจำมหาวิทยาลัย Clemson กล่าวว่า อาการ Motion Sickness (เมาการเคลื่อนไหว) เป็นสิ่งที่ไม่คาดฝันว่าจะเกิดขึ้นกับเทคโนโลยียุคใหม่ อย่างเช่น Helmet-mounted Displays (เครื่องฉายภาพแบบสวมหัว) ที่ใช้ในเทคโนโลยีความจริงเสมือน เดียวนี้ได้มีบริษัทจำนวนมากอย่าง Nintendo ที่จำหน่าย Head-mounted Displays Muth กล่าวว่า อย่างอุปกรณ์ Kinect ของเครื่อง Xbox ของ Microsoft สามารถใช้เทคโนโลยี การตอบสนองที่เหมือนจริงยิ่งขึ้นได้ และเดียวนี้ก็เริ่มการผลิต อุปกรณ์สวมหัวสำหรับ Xbox มาใช้ร่วมกับ Kinect แล้ว
?เทคโนโลยีเหล่านี้เคยถูกจำกัดให้ใช้เฉพาะในทางทหารหรือไม่ก็ในการวิจัยระดับสูง ที่ๆผู้ใช้งานจะต้องผ่านการทดสอบและคัดเลือกมาเป็นอย่างดีแล้วเพื่อรับมือกับผลการตอบสนองที่ไม่คาดฝัน แต่เดียวเทคโนโลยีพวกนี้ถูกนำออกสู่สาธารณชน คุณไม่จำเป็นต้องทำการคัดเลือกผู้ใช้งานอย่างระมัดระวังแบบเดียวกับที่สมัยก่อน คัดเลือกนักบินหรือนักบินอวกาศอีกต่อไปแล้ว เดียวนี้ไม่ว่าใครถ้ามีเงินซัก2-3พันDollar ก็สามารถใช้เทคโนโลยีพวกนี้ได้แล้ว ปัญหาที่เกิดขึ้นคือเรื่องของความอ่อนไหวในประสาทการมองและการเคลื่อนไหว ที่จะทำให้เกิดความสับสนในระบบประสาทส่งให้เกิดอาการคลื่นไส้วิงเวียนและอาจจะถึงขั้นหมดสติได้ ทำให้เราควรจะมีการทำวิจัยเกี่ยวกับผลข้างเคียงจากการใช้ เทคโนโลยีพวกนี้?
Muth มีประสบการณ์เกี่ยวกับจอภาพแบบสมหัวเป็นอย่างดี ในเมื่อเข้าใช้เวลาถึง3ปีในกองทัพเรือเพื่อการทดสอบทางจิตวิทยาการบิน ระหว่างที่อยู่ในทัพเรือเค้าได้ทำการสร้าง จอภาพที่สวมใส่ได้ และระบบTracking เพื่อพัฒนาการฝึกฝนของกองทัพ ทหาร ทหารเรือ และหน่วยมารีนระหว่างการต่อสู้ แต่ตอนนี้เค้ากำลังศึกษาเรื่องอาการเมาการเคลื่อนไหวที่เกิดจากอุปกรณ์สำหรับเกมยุคใหม่ๆพวกนี้
Muthกล่าวว่า?โดยพื้นฐานแล้วเมื่ออาสาสมัครเข้าใช้ระบบเสมือนจากจอภาพแบบสวมหัวในห้องทดลอง มันทำการเชื่อมโยงการเคลื่อนไหวของหัวเข้ากับการเปลี่ยนของทิวทัศน์ในโลกเสมือน การตอบสนองมักจะออกมาสับสน มันไม่ใช่แค่เรื่องของความไม่เคยชินของประสาทสัมผัส?
ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ Muth ซึ่งในการทดลองแม้แต่การให้อาสาสมัครรับภาพแบบกลับหัวกลับหางถ้าให้เวลามากพอสมองสามารถเซ็ตระบบตัวเองใหม่ให้เคยชินกับภาพที่กลับหัวกลับหางได้ อย่างไรก็ตามการปรับข้อมูลพวกนี้สร้างภาระให้กับสมองค่อนข้างมาก ซึ่งในกรณีของเครื่องเกมนี้สมองต้องรับกับส่วนต่างของเวลาในการตอบสนองจากการที่คอมพิวเตอร์ต้องประมวลผลก่อนที่จะสร้างภาพใหม่หรือเปลี่ยนมุมมอง ให้สอดคล้องไปกับการเคลื่อนไหวของผู้ใช้งาน ซึ่งอาจจะสร้างภาระให้สมองมากกว่าภาพกลับหัวซะอีก
?หน้าจอสวมหัวพวกนี้กำลังจะถูกพบได้ทั่วๆไปแบบเดียวกับ Video Game ไปพร้อมๆกับที่สังคมกระตือรือร้นในเรื่องความจริงเสมือน อย่างที่เราได้เห็นการได้รับความนิยม ของหนัง3D TV3D และ เกม 3D ที่ได้แพร่กระจายเข้ามาถึงข้างในห้องนั่งเล่นของพวกเรา ดังนั้นจึงเป้นสิ่งจำเป็นที่เราต้องรู้ถึงผลข้างเคียงและวิธีรับมือกับมัน?
จากทั้งหมดนี้ Muth ได้กล่าวเสริมเกี่ยวกับ Kinect ว่า ?อย่างน้อยมันก็ไม่มีอุปกรณ์สวมหัว ดังนั้นมันจึงค่อนข้างปลอดภัยที่จะใช้ เนื่องจากที่ว่าผู้ใช้สามารถเห็น รอบข้างได้ไม่ต้องมองแต่ภายในโลกเสมือน แต่ในเมื่อได้มีการออกจอภาพสวมหัวออกมาเช่นนี้ให้ระวัง ซึ่งผมคงจะไม่อนุญาตให้ลูกๆของผมใช้งานเทคโนโลยีนี้ก่อนที่จะได้รับการตรวจสอบและทดลองผลกระทบและข้อเสียของมันให้ดีก่อน แต่ถึงแม้จะได้รับการตรวจสอบแล้ว ผมก็ยังคงที่จะควบคุมและบริหารการเข้าถึงโลกเสมือนของลูกๆผมอยู่ดี?
อ้างอิงจาก http://www.ibtimes.com/articles/93953/20101220/microsoft-kinect-kinect-motion-sickness-virtual-reality-kinect-xbox.htm