สำหรับชื่อของระบบปฏิบัติการตัวนี้ หลายๆท่านอาจจะสับสนกันเล็กน้อย เพราะมีหลายท่านที่อาจจะรู้จักในนามของ Chromium OS แต่จริงๆแล้ว Chromium เป็นชื่อของ Project ซึ่งชื่อจริงๆ ก็คือ Chrome, the OS หรือ Chrome OS สั้นๆ ต่อมา มาดูส่วนถัดไปกันดีกว่า สำหรับการตั้งค่าของวันที่และเวลา และ Time Zone แต่มีสิ่งที่น่าจะสำคัญกว่า คือการปรับ Speed และ Sensitivity ของ TouchPad สำหรับในส่วนนี้คุณจะสามารถตั้งค่าว่าจะให้กดเพื่อคลิกหรือว่าเป็นการเลือก Scroll ในแนวดิ่งด้วยการติ๊กในช่องเอา แต่ก็จะมีตัวเลือกสำคัญๆที่เกี่ยวกับบราวเซอร์รวมไปถึงการเลือกเพจเริ่มต้นในใช้งาน และตัว Search Provider แต่ที่น่าแปลกก็คือ เราสามารถเปลี่ยนค่า Default ของ Search Provider เป็น Bing หรือ Yahoo ได้ตามสบาย โดยทาง Google ไม่ว่าอะไรเลย นักบุญตัวจริง ฮ่าๆ
สำหรับ Google Gear ก็สามารถเลือกใช้งานได้ แต่แยกออกมา เรียกได้ว่าเป็นฟีเจอร์ตัวเดียวของ Chrome OS ที่ทางทีมผู้ผลิตบอกว่าจะรองรับในส่วนของงาน Offline แต่จากการใช้งาน Google Gear เทคโนโลยี พอทำการทดลองเล่นแบบ Offline แล้วลิ้งเข้าไปใน Google Doc ก็จะพบว่าจะมีส่วนของการเรียกให้ดาวโหลด Gear แกยตังหาก จริงๆแล้ว Google ควรจะใส่มาพร้อมกับ OS เลย จะได้ไม่ต้องดาวโหลดให้เสียเวลา
แถมผมยังได้ลองดาวโหลดเอกสารพวกไฟล์ Word ที่แนบมาจากเมล์หรือตามเว็บไซต์ โดย Chrome จะวางไฟล์ไว้ใต้บราวเซอร์เหมือนกับมี Chrome ใต้หน้าต่างย่อยไปอีกที แต่เมื่อกดไปที่เอกสาร กับไม่มีไรเกิดขึ้น – -! ซึ่งปกติแล้วตามที่ Google ชอบทำก็คือจะให้เปิดเอกสารบน Google Doc หรือไม่ก็ให้เปิดไฟล์เป็นพวก HTML แต่อย่างไรก็ตามก็ยังคงมี Warning ในส่วนของ File Format ที่แปลกๆหรือเปิดไม่ได้ แต่สิ่งที่ใครๆก็คงจะสงสัยก็คือ ถ้าใช้ Chrome การดาวโหลดไฟล์จำพวก Zip Format ระบบจะจัดการกับมันอย่างไร เพราะเป็น File Format ที่เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายอย่างมากบนเว็บบราวเซอร์
สำหรับการคลิกขวาบนแท็ปบาร์ ก็จะมีสามตัวเลือกให้เลือกด้วยกัน คือ New Tab, Reopen & Closed Tab และก็ Task Manager อันสุดท้ายนี่เหมือนกับฟีเจอร์ทั่วๆไปที่ระบบปฏิบัติการส่วนใหญ่มี โดยจะถูกแสดงบน Chrome บราวเซอร์เลย ซึ่งเป็นการรวบรวมการแสดงผลของการใช้งานหน่วยความจำและเปอร์เซ็นของการใช้งานทรัพยากร CPU โดยแบ่งเป็นแท็ปการใช้งาน ว่าใช้ทรัพยากรเท่าไหร่บ้าง ส่วนด้านล่างของหน้าจอนั้น คุณสามารถเข้าไปดูพวก Stat Memory ได้หรือพวกการแสดงผลขั้นสูง แต่ถ้าคลิกขวาในส่วนของแท็ปโปรแกรม ด้านล่างสุด คุณจะเห็นอะไรแปลกใหม่ กับ ?Goats teleported? ซึ่งใช้สำหรับแสดงผลพวก Rapid Rate นั่นเอง
ในส่วนนี้คงจะสรุปได้ว่า Chrome OS ในตอนนี้ เหมือนกับเป็นระบบปฏิบัติการที่นำเอาไม้กระดานสองแผ่นมาประกบกัน แบบไม่สนิท จากการผสมผสานประสิทธิภาพจากการนำเอาบราวเซอร์ Chrome มาแสดงผลในรูปแบบของเลเยอร์บน Linux ซึ่งยังมีบางจุดที่ยังไม่เข้าที่เข้าทางเยอะพอสมควรสำหรับสองตัวนี้ ไม่ว่าจะทั้งในส่วนของฟังก์ชั่นการใช้งานหรือส่วนอื่นๆ แต่หลังจากที่ได้ทำการทดสอบ นับได้ว่าค้างบ่อยพอสมควร เกือบจะทุกๆ 5 ครั้งของการโปรเซสต่างๆ คล้ายๆกับเวลา Windows Crash นั่นเอง โดย OS จะแก้ปัญหาด้วยการ Restart บราวเซอร์และแท็ปเอา
เรียกได้ว่า Chrome OS Beta นั้นนับว่าแตกต่างจาก Microsoft ตัวที่ปล่อย Beta อย่างสิ้นเชิง เหมือนกับว่าเป็นตัว Opensource ที่จะถูกแจกจ่ายให้กับพวกทีมพัฒนายังไงไม่รู้ – – แต่อย่างไรก็ตาม ยังไงๆซะ Google ก็จะปล่อย Source Code ออกสู่สาธารณะอยู่แล้ว โดยแม้ว่าระบบนี้จะเป็ฯระบบปฏิบัติการที่แปลกใหม่และเปลี่ยนรูปแบบไปจากระบบปฏิบัติการทั่วๆไปโดยสิ้นเชิง แต่พวกเราก็นับได้ว่าโชคดีนะ ที่ได้เห็นมุมมองและแนวทางใหม่ๆของ Google ตั้งแต่เพิ่งเริ่มตั้งไข่หรือยุคบุกเบิกกันเลยทีเดียว
Credit Information : PCmag