กลับมาอีกครั้งกับบทความเชิงเปรียบเทียบและจับชนนะครับ คราวนี้เราจะมาพูดกันในเรื่องของ CPU รุ่นล่างของทั้ง 2 ค่ายกัน เนื่องด้วยมันอยู่ในกลุ่มของเครื่องราคาไม่สูงมาก เน้นความสามารถในการทำงานทั่วไปแต่อยู่ในราคาที่เอื้อมถึงได้ง่าย ซึ่งในช่วงนี้ตัวที่น่าสนใจมากที่สุดของทั้ง 2 ค่ายก็จะเป็น
Intel : Intel Pentium B960 และ Intel Celeron B800 (ส่วน Intel Celeron B815 นั้นยังไม่มีผลทดสอบครับ เลยขอยก B800 ที่ประสิทธิภาพใกล้เคียงกันมาแทน)
AMD : AMD E-450 APU
มาพูดถึงแง่ความแพร่หลายกันก่อน ถ้ามองจากตลาดในตอนนี้ หรือดูจากในหน้า Search ของเราก็ได้ จะเห็นได้ว่ากลุ่มเครื่องที่ใช้ AMD E-450 เป็น CPU ของเครื่องนั้นมีจำนวนมากกว่าฝั่งของ Intel โดยเฉพาะในช่วงราคาต่ำกว่า 15,000 บาท ที่ AMD E-450 เอาไปกินซะเป็นส่วนมาก ที่เหลือก็มักจะเป็นบรรดา Intel Atom มากกว่า เรียกได้ว่าที่ยืนของเหล่า Pentium และ Celeron นั้นเริ่มเหลือน้อยลงแล้ว ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากยุทธศาสตร์ของทั้ง AMD และผู้ผลิตโน๊ตบุ๊ค AMD ที่เน้นลงมาทำตลาดกลุ่มงบไม่สูงมากจนไปถึงงบกลางๆ มากกว่ากลุ่มเครื่องแรง (ประสิทธิภาพก็เป็นส่วนหนึ่งด้วย) จึงทำให้ในกลุ่มนี้ เครื่องที่ใช้ AMD จะมีตัวเลือกให้เลือกหลากหลายแบรนด์กว่าเล็กน้อย
ต่อมา เรามาเริ่มเทียบสเปกกันเลยนะครับ
|
ความเร็ว |
2.2 GHz |
L3 Cache |
2 MB |
Cores / Threads |
2 / 2 |
Max TDP (กินไฟสูงสุด) |
35W |
Graphics |
Intel HD Graphics |
64-Bit |
รองรับ |
Hardware Virtualization |
ไม่รองรับ |
|
|
ความเร็ว |
1.5 GHz |
L3 Cache |
2 MB |
Cores / Threads |
2 / 2 |
Max TDP (กินไฟสูงสุด) |
35W |
Graphics |
Intel HD Graphics |
64-Bit |
รองรับ |
Hardware Virtualization |
รองรับ (VT-X) |
|
|
ความเร็ว |
1.65 GHz |
L3 Cache |
– |
Cores / Threads |
2 / 2 |
Max TDP (กินไฟสูงสุด) |
18W |
Graphics |
AMD Radeon HD 6320 |
64-Bit |
รองรับ |
Hardware Virtualization |
รองรับ (AMD-V) |
|
ถ้าให้เปรียบสเปกกันแล้วเทียบออกมาเป็นคำพูดง่ายๆก็ได้ราวๆนี้ครับ
- Intel Pentium B960 : ของแรง แต่ไม่ค่อยมีอะไร
- Intel Celeron B800 : แรงน้อยกว่าตัวแรกอยู่เยอะ แต่มีของมากกว่า
- AMD E-450 : แรงกลางๆ แต่ทำอย่างอื่นได้ดีกว่าสองตัวบน
ซึ่งแต่ละอัน เดี๋ยวจะมาขยายความในแต่ละหัวข้อกันครับ โดยเฉพาะเรื่องของประสิทธิภาพ
ผลเทสประสิทธิภาพการประมวลผล
ทีนี้มาพูดถึงพลังในการประมวลผลแบบเน้นๆ กันเลยแล้วกัน ซึ่งผลคะแนนต่างๆ มีทั้งในส่วนที่เราทำการทดสอบด้วยตนเอง และนำมาจากการทดสอบของเว็บไซต์ Notebookcheck นะครับ เนื่องจากลองทดสอบแล้ว พบว่ามีผลคะแนนใกล้เคียงกับที่ทางเว็บเราทดสอบ จึงสามารถนำมาใช้เปรียบเทียบได้ในระดับหนึ่ง (ตัวเลขสีเขียว : ดีที่สุด / ตัวเลขสีแดง : คะแนนต่ำที่สุด)
? |
Intel Pentium B960 |
Intel Celeron B800 |
AMD E-450 |
Super Pi 1M (วินาที) |
18 |
26.1 |
47.6 |
Super Pi 32M (วินาที) |
917 |
– |
2,367.3 |
3DMark 06 : CPU (คะแนน) |
2,248 |
1,534 |
1,030 |
wPrime 32m (วินาที) |
32.2 |
47 |
65.2 |
wPrime 1024m (วินาที) |
1,024.7 |
1,508 |
2,023 |
Cinebench R10 ? 32Bit Rendering Single CPU (คะแนน) |
2,869 |
1,910 |
1,001.8 |
Cinebench R10 ? 32Bit Rendering Multiple CPU (คะแนน) |
5,550 |
3,779 |
1,960.5 |
?
ถ้ามองกันในเรื่องของการประมวลผลของ CPU ล้วนๆ นั้น ฝั่ง Intel ยังคงทำได้ดีกว่าเช่นเคย ซึ่งผลคะแนนนั้นก็เป็นเอกฉันท์แบบสุดๆ กันเลยทีเดียว ซึ่งจุดนี้ก็ยังเป็นจุดที่ Intel มีไว้ขายได้เสมอๆ ซึ่งส่วนหนึ่งก็มาจากการที่ AMD ไม่ได้เน้นในเรื่องประสิทธิภาพการประมวลผลมากนัก แต่ไปเน้นในด้านอื่นแทน ไม่ว่าจะเป็นฟีเจอร์ภายในที่ครบเครื่องแบบคุ้มค่า, ส่วนประมวลผลกราฟิกที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าใน Intel รวมไปถึงอัตราการกินพลังงานที่ต่ำกว่า Intel อย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเราจะมาดูกันในผลการทดสอบต่อไปครับ
?
ผลเทสประสิทธิภาพของการประมวลผลกราฟิก
?
เนื่องด้วยทั้งสองฝั่ง สามรุ่นต่างก็มี GPU อยู่ในตัวอยู่แล้วทั้งนั้น จึงสามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ด้วย แต่จะขอเป็นการจับมาเทียบกันตรงๆ ระหว่าง Intel HD Graphics และ AMD Radeon HD 6320 เลยนะครับ
? |
Intel HD Graphics |
AMD Radeon HD 6320 |
3DMark 06 (คะแนน) |
2,756.2 |
2,446.4 |
3DMark Vantage : GPU (คะแนน) |
678.8 |
740.4 |
PCMark Vantage : Gaming score (คะแนน) |
2,502.7 |
2,037 |
Cinebench R10 : Shading 32Bit (คะแนน) |
2,943.2 |
2,055 |
Cinebench R11.5 : OpenGL 64Bit (คะแนน) |
5.4 |
8.3 |
Windows 7 Index : Graphics (คะแนน) |
4.7 |
4.5 |
Windows 7 Index : Gaming graphics (คะแนน) |
5.7 |
5.9 |
?
ผลเทสเกม (วัดจากจำนวนเฟรมต่อวินาที : fps)
?
การตั้งค่าของในแต่ละเกมอยู่ที่ระดับ low
? |
? |
Intel HD Graphics |
AMD Radeon HD 6320 |
|
Deus Ex Human Revolution |
24 |
20 |
|
F1 2011 |
21 |
16 |
|
Fifa 12 |
59 |
28 |
|
Anno 2070 |
20 |
27 |
|
Dirt 3 |
48.7 |
25 |
|
Battlefield: Bad Company 2 |
26 |
17.7 |
|
Resident Evil 5 (High) |
14 |
14.8 |
|
StarCraft 2 |
52 |
46 |
?
แต่พอมาดูผลจากการทดสอบในแต่ละเกม ก็เป็น Intel HD Graphics ที่เอาชนะ AMD Radeon HD 6320 ไปได้ในหลายๆ การทดสอบและเกม แต่ถ้าดูในส่วนของโปรแกรมทดสอบนั้น ดูเหมือนว่าโปรแกรมที่ฝั่ง AMD สามารถทำคะแนนได้ดีกว่านั้น จะเป็นกลุ่มของโปรแกรมใหม่ๆ ทั้งสิ้น แถมทำคะแนนได้ค่อนข้างห่างอีกด้วย จึงพอจะเป็นไปได้ว่า ถ้าได้ทดสอบด้วยบรรดาโปรแกรมเวอร์ชันใหม่ๆ ผลการทดสอบอาจจะกลับกันก็เป็นได้ แต่ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งที่ทำให้ผลการทดสอบในฝั่งของ Intel ดีกว่า ก็อาจจะเนื่องมาจากความเร็วในการทำงานของ GPU นั้นไม่เท่ากัน โดย AMD Radeon HD 6320 นั้นมีความเร็วในการประมวลผลสูงสุดแค่ 600 MHz แต่กับ Intel HD Graphics นั้นมีความเร็วสูงสุดถึงกว่า 1.1 GHz เลยทีเดียว แต่เอาเข้าจริงๆ มันก็อยู่ในระดับที่ไม่เหมาะกับการเล่นเกมทั้งคู่อยู่ดี
?
ระยะเวลาการใช้งานแบตเตอรี่
?
ข้อนี้อาจจะเทียบไม่ได้ตรงๆ นะครับ เพราะทาง NBS เราไม่มีผลการทดสอบระยะเวลาการใช้งานแบตเตอรี่ของเครื่องที่ใช้ Intel Pentium B960 และ Intel Celeron B800 เอาไว้เลย จึงอาจจะต้องใช้ข้อมูลจากรีวิวของต่างประเทศผสมกับการประมาณเอานะครับ
?
Intel Pentium B960 น่าจะได้ราวๆ 3-4 ชั่วโมง
Intel Celeron B800 น่าจะได้ราวๆ 3-4 ชั่วโมง
AMD E-450 น่าจะได้ราวๆ 4-5 ชั่วโมง
?
ซึ่งในข้อนี้ในหลายๆ เว็บก็ยืนยันและสรุปตรงกันเลยว่า AMD E-450 APU สามารถใช้งานแบตได้ยาวนานกว่าเหล่า CPU ของ Intel ในเครื่องที่มีราคาใกล้เคียงกันจริง แต่ถ้าให้เทียบระยะเวลาเป็นตัวเลข ก็คงต้องให้ทางเราได้ทดสอบด้วยเงื่อนไขเดียวกันก่อนนะครับ ถ้ามีการทดสอบเมื่อไร รับรองเรานำมาให้ทุกท่านชมกันแน่นอน
เปรียบเทียบอุณหภูมิ
?
เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ได้รับความสนใจกันมาก เพราะในอดีตมีกรณีที่ CPU ของ AMD มีความร้อนที่สูงกว่า Intel จนทำให้หลายๆ คนเชื่อฝังใจว่า AMD ร้อนกว่า Intel มาเสมอ แต่ในปัจจุบันในหลายๆ รุ่นก็ต้องยอมรับว่า AMD มีการพัฒนาในด้านการผลิตที่ดีขึ้นมาก ทำให้ความร้อนของ CPU ลดลง จนบางรุ่นเย็นกว่า Intel ที่เป็นรุ่นไลน์เดียวกันไปแล้วด้วยซ้ำ
ซึ่งเราก็จะมาดูกันว่าระหว่าง AMD E-450 และ Intel Celeron จะเป็นอย่างไร
?
- AMD ใช้ตัวอย่างเป็นผลการทดสอบจาก Sony VAIO EK
- Intel ใช้ตัวอย่างเป็นผลการทดสอบจาก Dell Inspiron N4050 (Intel Pentium B950)
?
อุณหภูมิปกติ
ในกรณีนี้จะใช้อุณหภูมิของทั้ง CPU และ GPU เป็นตัวเดียวกัน เพราะต่างฝ่ายต่างก็เป็น GPU ในตัว CPU กันทั้งนั้น
?
อุณหภูมิขณะใช้งานเต็มกำลังสุด
เมื่อลองเปรียบเทียบดูแล้ว ตัวของ AMD E-450 ดูจะมีความร้อนที่สูงกว่า Intel Pentium B950 อยู่เล็กน้อย โดยเฉพาะในสภาพการใช้งานปกติที่ต่างกันราวๆ 2 องศาเท่านั้น ก็พอจะอนุมานได้ว่าไม่ต่างกันมาก แต่เมื่อเป็นช่วง full load ก็พบว่าความต่างกันค่อยๆ มากขึ้น แต่ทั้งนี้ก็เนื่องด้วยความแตกต่างกันของการออกแบบบอดี้ภายในด้วย ที่เป็นปัจจัยทำให้ทั้งสองรุ่นมีอุณหภูมิแตกต่างกัน
?
ซึ่งถ้าจะว่ากันจริงๆ นั้น การจับโน๊ตบุ๊คมาเปรียบเทียบด้านอุณหภูมิเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก เพราะแต่ละรุ่นก็มีการออกแบบที่แตกต่างกัน แล้วยิ่งต่างแบรนด์ด้วยก็ยิ่งไม่ต้องพูดถึงกันเลย ถ้าต้องการเปรียบเทียบจริงก็ควรจะใช้เป็นชุด desktop ซะมากกว่า เพราะสามารถควบคุมเรื่องการออกแบบระบายความร้อนได้ค่อนข้างอิสระ แต่ถ้าจำเป็นต้องเปรียบเทียบกันในโน๊ตบุ๊คแล้ว คงต้องใช้การสัมผัสตัวเครื่องแล้วถามตัวเองว่า สามารถใช้งานได้หรือเปล่ามากกว่าครับ ซึ่งในเรื่องนี้ ทั้งคู่ต่างก็ทำได้ค่อนข้างดีอยู่แล้ว เพราะต่างฝ่ายก็ต่างเป็น CPU ที่ออกแบบมาให้กินไฟน้อย ความร้อนจึงน้อย และไม่มีปัญหาอะไรกับการใช้งานแน่นอน
?
สรุปการเปรียบเทียบ
?
มาถึงส่วนสรุปกันแล้วนะครับ ซึ่งเชื่อได้ว่าหลายๆ ท่านอาจจะพอได้ข้อสรุปกันในใจบ้างแล้วแน่ๆ ซึ่งทาง NBS เราขอสรุปเป็นข้อความสั้นๆ ดังนี้ครับ
?
?อยากแรงซื้อ Intel อยากแบตอึด/เน้นคุ้มซื้อ AMD?
?