Connect with us

Hi, what are you looking for?

Special Story

เจาะ AMD Ryzen AI 9 365 ซีพียูรุ่นใหม่ พร้อมไฟต์ในโน้ตบุ๊กสายครีเอเตอร์

หากจะพูดถึงซีพียูรุ่นใหม่ล่าสุดปี 2024 สำหรับโน้ตบุ๊กของ AMD ก็จะต้องเป็น AMD Ryzen AI 300 series ที่เน้นเพิ่มประสิทธิภาพทั้งในด้านพลังประมวลผล พลังกราฟิก และที่เด่นชัดสุดคือความสามารถในการทำงานด้าน AI โดยที่ผ่านมาก็จะมีรุ่นที่ออกมาทำตลาดคือ AMD Ryzen AI 9 HX 370 ที่เป็นชิปรุ่นกลาง แต่ล่าสุดเราเริ่มเห็นโน้ตบุ๊กที่ใช้ AMD Ryzen AI 9 365 ออกมาบ้างแล้ว ในบทความนี้เราจะมาดูกันครับว่าซีพียูรุ่นที่เพิ่งออกมานี้จะมีโครงสร้างเป็นอย่างไร แตกต่างจากรุ่นกลางขนาดไหน และจะช่วยให้ครีเอเตอร์ทำงานได้ง่ายขึ้นอย่างไรบ้าง

amd ryzen ai 9 365 โน้ตบุ๊ก

หากจะพูดถึงซีพียูรุ่นใหม่ล่าสุดปี 2024 สำหรับโน้ตบุ๊กของ AMD ก็จะต้องเป็น AMD Ryzen AI 300 series ที่เน้นเพิ่มประสิทธิภาพทั้งในด้านพลังประมวลผล พลังกราฟิก และที่เด่นชัดสุดคือความสามารถในการทำงานด้าน AI โดยที่ผ่านมาก็จะมีรุ่นที่ออกมาทำตลาดคือ AMD Ryzen AI 9 HX 370 ที่เป็นชิปรุ่นกลาง แต่ล่าสุดเราเริ่มเห็นโน้ตบุ๊กที่ใช้ AMD Ryzen AI 9 365 ออกมาบ้างแล้ว ในบทความนี้เราจะมาดูกันครับว่าซีพียูรุ่นที่เพิ่งออกมานี้จะมีโครงสร้างเป็นอย่างไร แตกต่างจากรุ่นกลางขนาดไหน และจะช่วยให้ครีเอเตอร์ทำงานได้ง่ายขึ้นอย่างไรบ้าง

Advertisement

 

ทำความรู้จักกับ AMD Ryzen AI 9 365

อย่างที่เกริ่นไปข้างต้นว่าซีพียูรุ่นนี้จะอยู่ภายใต้ซีรีส์ Ryzen AI 300 เช่นเดียวกับ AMD Ryzen AI 9 HX 370 ดังนั้นภายในจึงมาพร้อมสถาปัตยกรรมหลักและโครงสร้างต่าง ๆ ที่คล้ายกัน แต่ลดหย่อนในบางจุดลงมาบ้างเพื่อสร้างความแตกต่างให้กับตัวผลิตภัณฑ์ โดยข้อมูลที่น่าสนใจมีดังนี้

ScreenShot 10 7 2024 52083

จากตารางด้านบนเมื่อเทียบระหว่าง Ryzen AI 9 365 กับ HX 370 จะสังเกตว่าสเปคนั้นใกล้เคียงกันในหลายจุด เริ่มจากสถาปัตยกรรมคอร์ที่ใช้แบบไฮบริดผสานกันระหว่างคอร์ Zen 5 ประสิทธิภาพสูงร่วมกับคอร์ Zen 5c ที่ก็คือ Zen 5 ที่ปรับลดขนาดลงมาเล็กน้อย ทำให้ยังมีประสิทธิภาพที่ดีอยู่ แต่มีสิ่งที่ได้เพิ่มมาคือกินพื้นที่ติดตั้งน้อยลง ทำให้สามารถใส่ปริมาณคอร์และโมดูลอื่น ๆ เข้าไปบนแพ็คเกจได้มากขึ้น พร้อมกับการกินไฟที่ลดต่ำลงมาด้วย ส่งผลให้ชิปประมวลผลในซีรีส์ AMD Ryzen AI 300 มีจำนวนคอร์สูงขึ้น โดยที่ค่า TDP ต่ำลงกว่ารุ่นก่อนหน้า ดังที่ในตารางจะมีการนำ AMD Ryzen 9 8945HS ที่เป็นรุ่นท็อปของซีรีส์ก่อนหน้ามาเทียบด้วย ซึ่งก็จะเป็นจุดเด่นของซีพียูในซีรีส์ใหม่ล่าสุดนี้ ที่ AMD จะเน้นไปในด้านการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเป็นหลัก ซึ่งก็ส่งผลโดยตรงกับความร้อนสะสมของซีพียูก็จะลดลงด้วย ตรงนี้จึงน่าจะถูกจุดสำหรับผู้ใช้งานโน้ตบุ๊ก ที่ต้องการโน้ตบุ๊กแบตอึด ใช้ได้นานและไม่ร้อน

2676550 amd ryzen ai 300 series product 2 e1728703101921

ในด้านของจำนวนคอร์และเธรดของ AMD Ryzen AI 9 365 ก็จะลดลงมาจากรุ่นหลักอยู่ 2 คอร์ 4 เธรด โดยประเภทของคอร์ที่ลดลงมาก็คือคอร์ Zen 5c ที่ออกแบบมาสำหรับการประมวลผลงานทั่วไป งานเบาที่ไม่ต้องใช้พลังในการคำนวณสูง ประกอบกับจำนวนแคช L2 ที่ลดลงมา 2MB ตามจำนวนคอร์ด้วย (1MB ต่อ 1 คอร์) ทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมของชิปก็จะลดหลั่นลงมาจาก HX 370 เล็กน้อย ซึ่งถ้าในการใช้งานทั่วไปก็จะไม่เห็นความแตกต่าง แต่อาจจะเริ่มเห็นจุดที่ต่างกันบ้างก็ตอนที่ต้องใช้พลังประมวลผลแบบ all core เน้น ๆ จริง ๆ เช่นการเรนเดอร์งาน คอมไพล์โค้ดขนาดใหญ่ ส่วนถ้าเป็นงานสายครีเอเตอร์ งานตัดต่อ อันนี้ก็อาจจะมีผลบ้างครับ เนื่องจากความแตกต่างด้านจำนวนคอร์และความเร็วบูสต์สูงสุด หรืออาจจะรวมถึงงานที่ใช้ iGPU ช่วยประมวลผลด้วย แต่ถ้าเป็นงานสเกลทั่วไป ไม่ได้ตัดคลิป 4K จำนวนมาก บอกเลยว่ายังรับไหว สบาย ๆ ส่วนถ้าต้องการโน้ตบุ๊กมาต่อหลายจอ แล้วเปิดหลายโปรแกรมทำงานพร้อมกัน มีเปิดหน้าเว็บเบราเซอร์ทิ้งไว้ตลอดเวลา แบบนี้คือลงตัวสุด ๆ

2766963 ryzen ai cpu

อีกจุดที่พลาดไม่ได้ของ Ryzen AI 9 365 ก็คือความสามารถในการประมวลผลด้าน AI ด้วย NPU สถาปัตยกรรม XDNA 2 เช่นเดียวกับ HX 370 แต่จะมีการลดทอนสมรรถนะลงมาเหลือรวมทั้งชิปสูงสุดที่ 73 TOPS โดยจะเกิดจากเหตุผลหลัก ๆ คือจำนวนคอร์ CPU ที่น้อยกว่านั่นเอง ประกอบกับพลังประมวลผลของ iGPU ก็จะต่ำกว่าเล็กน้อย ในขณะที่ฝั่งของ NPU นั้นก็ทำได้สูงสุด 50 TOPS เท่ากัน แต่อย่างไรก็ตาม ถือว่าผ่านเกณฑ์ในการเป็น AI PC ตามมาตรฐานของ Microsoft ที่กำหนดไว้ขั้นต่ำ 40 TOPS ได้สบาย ๆ จึงทำให้มั่นใจได้ว่าเมื่อซื้อโน้ตบุ๊กที่ใช้ชิป AMD Ryzen AI 9 365 จะสามารถใช้งานฟีเจอร์ ฟังก์ชันต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับ AI ของ Windows 11 ทั้งในปัจจุบันและในอนาคตได้อย่างแน่นอน

notebooks2

โน้ตบุ๊ก AMD Ryzen AI 9 365 ที่ออกมาล่าสุด

ณ ปัจจุบัน โน้ตบุ๊กที่ใช้ชิป Ryzen AI 9 365 ที่มีออกมาและมีผลการทดสอบบนเว็บไซต์ Notebookcheck แล้วจะมีอยู่ 2 รุ่นได้แก่ ASUS ZenBook S 16 OLED และ Lenovo Yoga Pro 7 14” G9 ซึ่งแต่ละเครื่องมีสเปคที่ใช้ทดสอบคร่าว ๆ ดังนี้

สเปค ASUS ZenBook S 16 OLED

  • AMD Ryzen AI 9 365 + AMD Radeon 880M (VRAM 512MB)
  • แรม 24GB LPDDR5X
  • SSD 1TB NVMe
  • หน้าจอ 16” OLED ความละเอียด 2880×1800 120Hz 99% DCI-P3 / 100% sRGB
  • น้ำหนัก 1.5 กิโลกรัม

สเปค Lenovo Yoga Pro 7 14” G9

  • AMD Ryzen AI 9 365 + AMD Radeon 880M
  • แรม 32GB LPDDR5X-7500
  • SSD 1TB
  • หน้าจอ 14.5” OLED ความละเอียด 3072×1920 120Hz 98% DCI-P3 / 100% sRGB
  • น้ำหนัก 1.54 กิโลกรัม

จากสเปคที่ระบุมาข้างต้น น่าจะพอมองเห็นได้ว่าจับกลุ่มโน้ตบุ๊กสายครีเอเตอร์ที่มีหน้าจอขนาดค่อนข้างใหญ่ แต่มีน้ำหนักเครื่องที่เบาเมื่อเทียบกับขนาดเครื่อง ช่วยให้สามารถพกพาได้ง่าย แต่ยังได้ประสิทธิภาพสูง รองรับการตัดต่องานนอกสถานที่ได้ หน้าจอ OLED ให้ภาพสวยงาม สู้แสง

ทีนี้เรามาดูในแง่ของประสิทธิภาพจากผลการทดสอบของ Notebookcheck กันบ้างครับ โดยกราฟส่วนใหญ่จะมาจาก Lenovo Yoga Pro 7 14” G9 เป็นหลัก เนื่องจากผลการทดสอบค่อนข้างครอบคลุม และมีผลจากเครื่องอื่น ๆ ให้เทียบมากกว่า ประกอบกับเป็นเครื่องที่มาพร้อมแรม 32GB ด้วย ซึ่งน่าจะเป็นความจุแรมที่นิยมใส่มามากกว่า 24GB ของ ASUS ZenBook นั่นเอง

ScreenShot 10 8 2024 37095

เริ่มด้วยผลการทดสอบ Cinebench R23 คะแนนแบบ multi core จะเห็นว่า Ryzen AI 9 365 ใน Lenovo Yoga Pro 7 สามารถทำได้ 18,748 คะแนน ซึ่งสูงกว่าโน้ตบุ๊กรุ่นอื่นทั้งที่ใช้ซีพียู AMD Ryzen 7 8845HS และที่ใช้ซีพียูของอีกค่ายคู่แข่ง ส่วนถ้าเทียบกับ Ryzen AI 9 HX 370 ก็เรียกว่าเป็นไปตามคาดครับ คือต่างกันอยู่ประมาณ 2,300 คะแนน เนื่องมาจากจำนวนคอร์และเธรดที่น้อยกว่าอยู่ 2 และ 4 ตามลำดับ

ส่วนคะแนนของ Ryzen AI 9 365 อีกแท่งด้านล่างที่ได้ 15,105 คะแนนจะเป็นคะแนนเฉลี่ยจากของเครื่องอื่นมาด้วย ซึ่งอย่างฝั่งของ ASUS ZenBook ที่ใช้ซีพียูรุ่นเดียวกัน แต่สเปคอื่นจะลดลงมาเล็กน้อย เช่น แรมที่มีมาให้ 24GB จึงเป็นผลให้คะแนนเฉลี่ยตกลงมาอยู่ที่หมื่นกลาง ๆ หรืออาจสะท้อนให้เห็นถึงด้านการระบายความร้อน การออกแบบภายในของทางผู้ผลิตโน้ตบุ๊กที่ส่งผลถึงประสิทธิภาพในการทดสอบด้วย

ScreenShot 10 8 2024 37124

ทีนี้ถ้ามาดูคะแนนเมื่อทดสอบแบบ single core บ้าง จะเห็นว่าทั้ง Ryzen AI 9 365 ใน Yoga Pro 7 และ Ryzen AI 9 HX 370 ใน VivoBook S 14 ด้านบนสุดจะอยู่ในระดับใกล้เคียงจนแทบจะเท่ากัน ซึ่งก็แสดงให้เห็นว่าตัวคอร์ของทั้งสองนั้นมีประสิทธิภาพเท่ากัน เรียกได้ว่าถ้าใช้งานกับโปรแกรมที่เน้นการทำงานแบบคอร์เดี่ยว ๆ เป็นหลัก ประสิทธิภาพ ความเร็วของซีพียูทั้งสองในการทำงานนี้จะแทบไม่แตกต่างกันมากนัก ที่สำคัญคือได้คะแนนทิ้งจากรุ่นอื่น ๆ ทั้งสาย x86 และ ARM อย่างเห็นได้ชัดอีกด้วย จึงถือว่าเป็นซีพียูรุ่นที่น่าสนใจมากสำหรับผู้ที่ต้องการโน้ตบุ๊กใหม่ ๆ สเปคแรง และรองรับการทำงานได้อย่างหลากหลาย ไม่ต้องกังวลเรื่อง compatibility กับซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ

ScreenShot 10 8 2024 37243

ถัดมาก็เป็นการทดสอบ Geekbench 6.2 แบบ multi-core โดยจะเป็นกราฟจากผลทดสอบของ ASUS ZenBook S 16 พบว่าซีพียูรุ่นนี้สามารถทำคะแนนได้ใกล้เคียงกับ Ryzen AI 9 HX 370 ส่วนที่แตกต่างก็จะคล้ายกับผลของ Cinebench ครับ คือมาจากจำนวนคอร์และความเร็วที่ต่างกันเล็กน้อย

ScreenShot 10 8 2024 37254

โดยสังเกตจากผลทดสอบแบบ single-core ในชุดเดียวกัน ที่ทำได้ในระดับเดียวกันกับ HX 370 ใน ASUS ZenBook S16 UM5606 เลย

ScreenShot 10 8 2024 37562

เมื่อทดสอบในด้านการเรนเดอร์โดยใช้ CPU จากโปรแกรม Blender ซึ่งจะวัดออกมาเป็นเวลาที่ใช้ในการเรนเดอร์ ผลคือ Lenovo Yoga Pro 7 ใช้เวลาเพียง 300 วินาทีเท่านั้น ช้ากว่า ASUS VivoVook S 14 OLED ที่ใช้ชิป AMD Ryzen AI 9 HX 370 แค่ประมาณ 4 วินาทีเท่านั้น ส่วนถ้าเทียบกับชิปรุ่นก่อนหน้าอย่าง Ryzen 7 8845HS ก็คือเร็วกว่ากันราว 14 วินาทีเลยทีเดียว ส่วนฝั่งของเครื่องที่ใช้ชิป Snapdragon X Elite นั้นใช้เวลามากกว่ากันเป็นเท่าตัว

ScreenShot 10 8 2024 37400

ส่วนถ้าทดสอบด้วย PCMark 10 ที่อ้างอิงจากรูปแบบการใช้งานจริง ด้านการจำลองการทำงานในสายครีเอเตอร์ พบว่า Lenovo Yoga Pro 7 ที่ใช้ AMD Ryzen AI 9 365 นั้นทำได้ 10,559 คะแนน ซึ่งถือว่าสูงเมื่อเทียบกับกลุ่มโน้ตบุ๊กสำหรับครีเอเตอร์ที่ให้สเปคมาในระดับเดียวกัน

ScreenShot 10 8 2024 37424

คะแนนทดสอบในด้านการใช้โปรแกรมทำงาน โปรแกรมสายงานเอกสารก็ยังคงมีแนวโน้มเช่นเดิมครับ คือทำได้ค่อนข้างสูงกว่ารุ่นอื่นที่สเปคใกล้เคียงกัน และคะแนนก็จะต่างจาก HX 370 อยู่เล็กน้อยเท่านั้น

ScreenShot 10 8 2024 37331

ทีนี้ในการทดสอบแปลงเอกสารจำนวน 20 ไฟล์และบันทึกเป็นไฟล์ PDF ด้วยโปรแกรม LibreOffice พบว่าใช้เวลา 50.8 วินาที อันนี้จะผิดคาดเล็กน้อย เพราะฝั่งของ AMD Ryzen 7 7840HS และ 8845HS จะทำได้เร็วกว่าประมาณ 4-6 วินาที อันนี้ก็คาดว่าอาจจะมาจากสถาปัตยกรรมคอร์ CPU แบบไฮบริดที่มีการแบ่งเป็น Zen 5 และ Zen 5c ที่ถึงแม้คอร์ Zen 5c จะมีฟังก์ชันการทำงานที่เท่ากับคอร์ปกติ แต่ในแง่ของความเร็วในการประมวลผลก็จะลดหลั่นลงมาจากคอร์ปกติเล็กน้อย ซึ่งน่าจะส่งผลถึงความเร็วในการทดสอบนี้อยู่บ้าง เพราะฝั่งของเครื่องที่ใช้ AMD Ryzen AI 9 HX 370 เองก็ช้ากว่าเช่นกัน

ScreenShot 10 8 2024 37523

ด้านของพลังกราฟิกก็จะเริ่มด้วยผลทดสอบ 3DMark มาเทียบกันก่อน อย่างในชุดทดสอบ Fire Strike ที่ความละเอียดการเรนเดอร์ระดับ 1080p พบว่า AMD Radeon 880M ที่เป็น iGPU ของ Lenovo Yoga Pro 7 สามารถทำได้ 9,388 คะแนน แน่นอนว่าทำได้สูงกว่ารุ่นก่อนหน้าอย่าง AMD Radeon 780M ซึ่งเป็น iGPU ยอดนิยมสำหรับโน้ตบุ๊ก AMD รวมถึงเครื่องเกมพกพาหลายรุ่นในปัจจุบัน ส่วนถ้าเทียบกับคู่แข่งก็ถือว่าอยู่ในระดับเดียวกันเลย

ScreenShot 10 8 2024 37592

ส่วนถ้าจะให้เห็นภาพมากยิ่งขึ้นก็จะเป็นการทดสอบเฟรมเรตในเกม เริ่มด้วยเกม GTA V ที่แม้จะออกมาหลายปีแล้ว แต่ก็ยังได้รับความนิยม และสามารถใช้ทดสอบเพื่อเทียบประสิทธิภาพได้อยู่ โดยปรับภาพไว้ที่ระดับ 1920×1080 ค่ากราฟิกสูงสุด เพิ่มเปิดฟังก์ชันลบรอยหยักด้วย พบว่า AMD Radeon 880M ใน Ryzen AI 9 365 สามารถทำได้เฉลี่ย 32.7 fps ซึ่งจัดว่าอยู่ในระดับที่สามารถเล่นได้ แม้อาจจะตกเกณฑ์ 60 fps ในปัจจุบันไปพอสมควร แต่ถ้ามองว่าเป็นพลังของ iGPU ล้วน ๆ และมองว่ายังสามารถปรับลดกราฟิกในหลายจุดได้อยู่ ซึ่งถ้าปรับลงมาก็จะได้เฟรมเรตเพิ่มขึ้นด้วย จึงจัดว่ายังได้ประสิทธิภาพที่ดีอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเทียบกับรุ่นอื่น ๆ ในกราฟ

ScreenShot 10 8 2024 37641

อีกเกมที่ใหม่ขึ้นมาหน่อย แต่เป็นเกมที่จัดเต็มมากเรื่องเทคโนโลยีกราฟิกนั่นคือ Cyberpunk 2077 แพตช์ 2.1 Phantom Liberty ด้วยการตั้งค่าระดับ 1920×1080 เช่นเดียวกัน แต่ปรับกราฟิกระดับต่ำและปิด FSR พบว่าพลังเพียว ๆ ของ Radeon 88M สามารถทำเฟรมเรตได้ราว 52.4 fps ที่ถือว่าน่าสนใจทีเดียว เพราะเป็นไปได้ว่าถ้าเปิด FSR ช่วยอัปสเกลภาพ ก็อาจจะช่วยลดภาระงานในการเรนเดอร์ภาพลง ส่งผลให้ได้เฟรมเรตเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อยด้วย

2676550 amd ryzen ai 300 series product

ปิดท้าย – โน้ตบุ๊ก AMD Ryzen AI 9 365 จะเหมาะกับครีเอเตอร์ขนาดไหน

จากในด้านของเทคโนโลยีที่เป็นการยกสถาปัตยกรรมของ AMD Ryzen AI 300 series มาแบบเต็มตัว มีเพียงการลดจำนวนคอร์ เธรด แคช L2 ลง และปรับมาใช้ iGPU รุ่นรองลงมาเล็กน้อย ประกอบกับผลทดสอบประสิทธิภาพจากหลาย ๆ ชุดทดสอบ จะเห็นว่าพลังการประมวลผลของ AMD Ryzen AI 9 365 นั้นลดหลั่นลงมาจากชิปรุ่นกลางที่ออกมาทำตลาดก่อนหน้านี้อย่าง HX 370 เพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ราคาเครื่องที่ออกมานั้นย่อมเยากว่าโน้ตบุ๊กที่ใช้ชิป HX 370 พอสมควร เช่น

  • ASUS ZenBook S 16 ชิป Ryzen AI 9 HX 370 ราคาจาก Notebookcheck อยู่ที่ 2,100 ยูโร (ราคาขายในไทย 65,990 บาท)
  • ASUS ZenBook S 16 ชิป Ryzen AI 9 365 ราคาจาก Notebookcheck อยู่ที่ 1,700 ยูโร

ซึ่งถ้าเทียบราคากันแบบหัก % ของราคายูโรที่มักสูงกว่าโซนอื่นแล้ว เป็นไปได้ว่ารุ่นที่ใช้ชิป Ryzen AI 9 365 ถ้ามาขายในไทยน่าจะมีราคาอยู่ที่ประมาณ 50,000 ต้นถึง 50,000 กลาง ๆ ซึ่งทำให้สามารถเป็นเจ้าของได้ง่ายขึ้น และน่าจะกลายเป็นโน้ตบุ๊กที่ให้สเปคคุ้มมาก ๆ รุ่นหนึ่งสำหรับสายครีเอเตอร์ที่ต้องการขุมพลังประสิทธิภาพสูงในแบบที่พกพาสะดวก ส่วนฝั่งของ Lenovo Yoga 7 Pro ที่ใช้ซีพียูเดียวกันนั้นเปิดราคามาต่ำกว่าที่ 1,599 ยูโร ถ้าคิดในเรตเดียวกันก็อาจจะมีราคาในไทยที่ราว ๆ 50,000 บาทเลย (ล่าสุดมีให้สั่งซื้อบนหน้าเว็บไซต์ Lenovo แล้ว ที่ราคา 48,310 บาท)

อย่างไรก็ตามคงต้องรอดูกันอีกทีครับว่าจะมีแบรนด์ไหนนำเข้ามาทำตลาดบ้าง แต่ต้องบอกว่าเป็นกลุ่มที่น่าสนใจทีเดียว สำหรับคนที่อยากได้โน้ตบุ๊กซีพียูแรง ๆ เพื่อมาใช้ทำงานแบบไม่เน้นเล่นเกมมากนัก และต้องการความสามารถด้าน AI เอาไว้เผื่อใช้งานกับโปรแกรมต่าง ๆ ด้วย เช่นไว้ใช้งานกราฟิก งานตัดคลิป YouTube, Tiktok งานที่ต้องอาศัยพลังในการเรนเดอร์ในระดับหนึ่ง แบบนี้สบายทำได้ไหลลื่นแน่นอน แถมราคาเครื่องน่าจะจับต้องได้ง่ายขึ้นด้วย

ข้อมูลผลทดสอบอ้างอิงจากเว็บไซต์ Notebookcheck (1), (2)

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

รีวิว MSI

MSI Stealth A16 AI+ ครีเอเตอร์โน๊ตบุ๊คเล่นเกมได้ ดีไซน์เรียบหรูและแรงด้วยพลัง AMD Ryzen AI ทำได้ทุกงานเล็กใหญ่!! นอกจาก MSI Titan กับ MSI Raider สองพี่น้องตัวแรงขวัญใจเกมเมอร์แล้ว ฝั่งครีเอเตอร์หน้าตาเรียบหรูซ่อนความแรงก็มี MSI Stealth A16 AI+ ให้ครีเอเตอร์หาซื้อเอาไว้ทำงานกราฟิคตั้งแต่แต่งภาพและตัดต่อวิดีโอความละเอียดสูงก็ได้ ปั้นโมเดล...

Special Story

ถ้านับในช่วงหลัง ๆ มา ชิปกราฟิกแบบ iGPU ที่อยู่ใน CPU โน้ตบุ๊กของ AMD ได้รับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดจนทำให้มีประสิทธิภาพสูงถึงระดับที่สามารถใช้งานได้จริง โดยเฉพาะกับการใช้เล่นเกมที่ข้ามกำแพงจากในอดีตกราฟิกแบบ iGPU มักจะทำได้อย่างมากก็เป็นเกมออนไลน์ เกมเก่าที่มีอายุนานพอสมควรแล้ว กลายมาเป็นสามารถเล่นเกมระดับ AAA และเกมใหม่ล่าสุดได้ ซึ่งปัจจุบันก็เดินทางมาถึง AMD Radeon 800M series ที่มาพร้อมกับชิป AMD...

Special Story

ปีนี้นับเป็นปีที่ซีพียูโน้ตบุ๊กของ AMD มีการเปลี่ยนแปลงแบบเห็นได้ชัด และมีความน่าสนใจในด้านประสิทธิภาพที่สูงขึ้นโดยที่ยังคุมการใช้พลังงานและความร้อนได้ดี ทำให้เราได้เห็นการนำซีพียู AMD ไปใช้ทั้งในโน้ตบุ๊กทำงานทั่วไป เกมมิ่งโน้ตบุ๊กตั้งแต่สเปคระดับเริ่มต้นไปจนถึงระดับท็อป รวมถึงในกลุ่มเครื่องเกมพีซีพกพาด้วย แต่ที่จะเด่นชัดสุดคงหนีไม่พ้นชิปรุ่นใหม่ล่าสุดที่มีโค้ดเนมว่า AMD Strix Point หรือในชื่อที่ใช้จริงนั่นคือ AMD Ryzen AI 300 series นั่นเอง

Special Story

สำหรับการเล่นเกม แน่นอนว่าพลังประมวลผลกราฟิกจาก GPU คือหนึ่งในปัจจัยสำคัญ เพราะจะเป็นสิ่งที่ชี้วัดถึงระดับประสิทธิภาพว่าจะสามารถเรนเดอร์ภาพออกมาได้สวย เฟรมเรตสูง ความหน่วงต่ำขนาดไหน ทำงานร่วมกับ CPU และฮาร์ดแวร์อื่น ๆ ในเครื่อง ซึ่งถ้าทั้งระบบสามารถทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี ก็จะช่วยยกระดับประสบการณ์การเล่นเกมให้ดีขึ้นไปด้วย นอกจากนี้เหล่าผู้ผลิตเองก็มีเทคโนโลยีที่จะมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับพลังกราฟิก โดยที่ยังลดภาระของฮาร์ดแวร์ลงด้วย หนึ่งในนั้นก็คือ AFMF 2 เทคโนโลยีล่าสุดจาก AMD นั่นเอง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก