ในปี 2016 นั้นเราได้เห็นเทคโนโลยีการ์ชาร์จเร็วอย่างมากมายเลยทีเดียวครับ ไม่ว่าจะเป็น Quick Charge 3.0 ของทาง Qualcomm ซึ่งเป็นที่นิยมพอสมควรหรือว่า Pump Express ของทาง MediaTek ที่พบได้ค่อนข้างมากกับสมาร์ทโฟนที่ใช้ชิประดับบน MediaTek ในปี 2016 แถมยังมี VOOC ของทาง Oppo ที่นอกจากทาง Oppo แล้วยังมี OnePlus 3 ใช้ด้วยเช่นกัน และล่าสุดเมื่อไม่นานมานี้กับ SuperCharge ของทาง Huawei โดยไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีใดๆ ก็ตามก็จะใช้การส่งกำลังไฟฟ้าผ่านทางพอร์ต USB ทั้งนั้นครับ
ทั้งนี้จะเห็นได้ครับว่าแต่ละบริษัทนั้นต่างก็มีเทคโนโลยีที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตัวเองในเรื่องของการชาร์จเร็วกันทั้งนั้น ซึ่งนั่นทำให้คุณไม่สามารถที่จะทำการเปลี่ยนที่ชาร์จของเทคโนโลยีหนึ่งไปชาร์จสมาร์ทโฟนที่รองรับอีกเทคโนโลยีหนึ่งได้ หากคุณฝืนที่จะทำเช่นนั้นแล้วหล่ะก็เวลาที่คุณชาร์จก็จะช้าปกติเพราะที่ชาร์จจะส่งแรงดันไฟฟ้าที่มาตรฐานคือ 5V และกระแสไฟฟา 2A ทำให้สามารถส่งกำลังไฟฟ้าได้มากสุด 10 W เท่านั้นไม่ทำให้การชาร์จของคุณเร็วขึ้นตามไปด้วยอย่างไรครับ
หมายเหตุ – มาตรฐานการชาร์จแบบ 5V 2A นั้นเป็นมาตรฐานของการชาร์จผ่านสาย USB ที่มีมานานครับ
อย่างไรก็ดีครับในปัจจุบันนั้นเราเข้าสู่ยุคที่สมาร์ทโฟนเริ่มมาพร้อมกับพอร์ต USB Type-C กันมากขึ้นแล้ว และเจ้า USB Type-C นั้นก็สามารถรองรับกำลังไฟฟ้าได้สูงถึง 100 W เลยทีเดียว ทำให้ในช่วงหลังจากนี้เราน่าจะได้เห็นเทคโนโลยีการชาร์จเร็วมีการส่งกำลังไฟฟ้าที่มากขึ้นอย่างสมาร์ทโฟนที่มาพร้อมกับชิป Snapdragon 830 ที่จะมาพร้อมกับเทคโนโลยีชาร์จเร็วตัวใหม่ในนาม Quick Charge 4.0 ก็จะสามารถส่งกำลังไฟฟ้าได้ถึง 28 W ครับ
ทว่าไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีชาร์จเร็วสำหรับสมาร์ทโฟนเทคโนโลยีใดก็ตามจะไม่ส่งกำลังไฟฟ้าถึงระดับนั้นครับ ตัวอย่างเช่น
- Quick Charge 3.0 ส่งกำลังไฟฟ้าได้ที่ 18 Watts
- VOOC ส่งกำลังไฟฟ้าได้ที่ 20 Watts
- SuperCharge ส่งกำลังไฟฟ้าได้ที่ 22.5 Watts
- Quick Charge 4.0 ส่งกำลังไฟฟ้าได้ที่ 28 Watts
จะเห็นได้ว่าการส่งกำลังไฟฟ้าของแต่ละเทคโนโลยีนั้นไม่เท่านั้นครับ แถมในปต่ละปีดูเหมือนว่าผู้พัฒนาเทคโนโลยีชาร์จเร็วก็จะเน้นเรื่องของกำลังไฟฟ้าที่ส่งจากที่ชาร์จไปยังสมาร์ทโฟนให้สูงมากขึ้นเรื่อยๆ แน่นอนว่าถ้ามันอยู่กับโน๊ตบุ๊คนั้นก็คงจะไม่มีปัญหาอะไร แต่กับสมาร์ทโฟนแล้วนั้นกำลังไฟฟ้ายิ่งสูงนั่นหมายความว่าสมาร์ทโฟนของท่านจะมีความร้อนสะสมเร็วมากขึ้น ซึ่งเรื่องดังกล่าวนี้นั้นทาง Google ไม่ปลื้มเท่าไรครับ
ดังนั้นเพื่อให้เกิดมาตรฐานขึ้นทาง Google จึงได้ร้องขอ(แบบดีๆ) ให้ผู้ผลิตที่ชิปเซ็ทที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีการชาร์จเร็วต่างๆ เหล่านี้(ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะใช้งานระบบปฎิบัติการ Android กันทั้งนั้น) ทำให้การ์ชาร์จเร็วนั้นเป็นไปมาตรฐาน USB-C Power Delivery (PD) คือส่งแรงดันไฟฟ้าที่มาตรฐานคือ 5V และกระแสไฟฟา 3A เพื่อไม่ให้สมาร์ทโฟนร้อนจนเกินไป หากการขอร้อง(ดีๆ) นี้ยังคงไม่ได้ผลในอนาคตนั้นทาง Google อาจจะกำหนดแบบบังคับไปในตัวเลยหล่ะครับว่าถ้าผู้ผลิตที่จะใช้ Android ต้องทำตาม PD ที่ Google แนะนำ
ที่มา : notebookcheck