Connect with us

Hi, what are you looking for?

AMD

[Special] AMD มีวิธีการปรับตัวอย่างไรกับตลาด PC พร้อมการที่ต้องไปกับต่อสู้กับคู่แข่งอย่าง Intel

ในช่วง 10 – 20 ปีที่ผ่านมานี้คงต้องยอมรับกันจริงๆ หล่ะครับว่าตลาดคอมพิวเตอร์ PC นั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างมากเลยทีเดียว หากเจาะลึกลงไปกว่านั้นตลาดที่เราจะพูดถึงก็คือตลาดของหน่วยประมวลผล

ในช่วง 10 – 20 ปีที่ผ่านมานี้คงต้องยอมรับกันจริงๆ หล่ะครับว่าตลาดคอมพิวเตอร์ PC นั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างมากเลยทีเดียว หากเจาะลึกลงไปกว่านั้นตลาดที่เราจะพูดถึงก็คือตลาดของหน่วยประมวลผลและตลาดของกราฟิกชิปที่ในอดีตหากคุณเคยก่อนปี 2000 มาก่อนน่าจะเคยรู้จักผู้ผลิตหน่วยประมวลผลที่ชื่อว่า Cyrix หรือ IBM เป็นต้นส่วนตลาดของกราฟิกชิปนั้นก็จะมี 3Dfx, S3, PowerVR, ATI, ST Microelectronic, Matrox เป็นต้น ซึ่งไปๆ มาๆ ตามกาลเวลาที่เปลี่ยนไปผู้อ่อนแอก็ไม่สามารถคงอยู่ได้ในตลาดหน่วยประมวลก็เหลือแค่ Intel และ AMD ที่ยังคงมีชื่อเสียงอยู่(มีบริษัทอื่นบ้างแต่ก็เป็นส่วนน้อย) ส่วนตลาดของกราฟิกชิปนั้นก็เหลือแค่ NVIDIA กับ AMD(ซึ่งซื้อเทคโนโลยีมาจากทาง ATI ที่เป็นคู่แข่งของ NVIDIA มาอีกที) ครับ

AMD logo 600

Advertisement

ถ้าสังเกตให้ดีๆ แล้วหล่ะก็ใน 2 ตลาดข้างต้นนั้นจะเห็นได้ครับว่ามี AMD อยู่ด้วยทั้ง 2 ตลาดเลยทีเดียวครับ หลายๆ ท่านอาจจะสงสัยกันว่าถ้าเป็นเช่นนี้แล้ว AMD ก็น่าจะเป็นบริษัทหนึ่งที่มีเสถียรภาพภายในบริษัทที่ค่อนข้างดีเพราะมีผลิตภัณฑ์ที่สามารถเรียกเงินได้มากจากผู้บริโภคในตลาดคอมพิวเตอร์ PC อยู่ถึง 2 ตัวด้วยกัน ทว่าในความเป็นจริงแล้วนั้นมันไม่ใช่แบบนั้นเลยครับ ในช่วงหลังปี 2000 เป็นต้นมานั้น AMD สูญเสียความเป็นตัวของตัวเองอย่างมากไม่ว่าจะเป็นตลาดหน่วยประมวลผลที่ครั้งหนึ่ง AMD เคยสามารถที่จะขึ้นเป็นผู้นำในเรื่องประสิทธิภาพและยอดจำหน่าย Intel ได้อยู่พักใหญ่ๆ ทาง AMD ก็ดันหลงทางและเสียแชมป์กลับไปให้ทาง Intel ซะงั้น

ในส่วนของตลาดกราฟิกชิปที่ AMD ซื้อ ATI มาเพราะเห็นช่องทางรุ่งเนื่องจากว่าตอนนั้น ATI ก็สามารถที่จะแข่งตีตื้นกับผู้นำตลาดอย่าง NVIDIA ได้อย่างดี(ATI ถูกซื้อโดย AMD ในปี 2006) และในช่วงนั้นทาง Intel ก็ได้มีการเปิดตัวหน่วยประมวลผลที่มาพร้อมกับกราฟิกแบบฝังภายในชิป(หรือที่เรียกว่า IGP) ซึ่งแน่นอนครับว่าหน่วยประมวลผลดังกล่าวของ Intel ทำให้ตลาดกราฟิกชิประดับล่างสะเทือนเป็นอย่างมาก ดังนั้นแล้วทาง AMD เองจึงต้องการที่จะมีเทคโนโลยีในรูปแบบเดียวกันแต่ต้องเร็วมากพอที่จะสู้กับ Intel ได้ซึ่งผลสรุปก็คือการเข้าซื้อ ATI ที่เป็นอันดับ 2 ในตลาดกราฟิกชิปตอนนั้นนั่นเองครับ(โดยตอนนั้นทาง AMD ได้ประกาศโครงการ Fusion ซึ่งเป็นโครงการที่จะรวมให้หน่วยประมวลผลของตัวเองมีกราฟิกชิปแบบฝังในตัวเหมือนของทาง Intel)

ATI(David Orton) and AMD(Hector Ruiz) officially announce the historic merger 600

การประกาศรวมตัวอย่างเป็นทางการระหว่าง AMD และ ATI : คนซ้ายคือ David Orton จาก ATI ส่วนคนขวาคือ Hector Ruiz จาก AMD

อย่างที่บอกครับว่าหลังปี 2000 เป็นต้นมานั้น AMD เป็นผู้ตามแต่ก็พยายามที่พัฒนาตัวเองมาอยู่ตลอด แต่ดูเหมือนสถานการณ์ก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปสักเท่าไรนัก ทว่าดูเหมือนกับว่าหลังจากที่ AMD หลงทางอยู่นาน ในช่วง 2 ปีหลังมานี้ที่ทาง AMD มีความพยายามในการปรับโครงสร้างบริษัทและปรับรูปแบบบริษัทให้ดีขึ้นกว่าเดิมเริ่มจะเห็นผลแล้วครับ

อ้างอิงข้อมูลจากทาง Mercury Research พบว่าถึงแม้ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2015 ที่ผ่านมานั้นยอดส่วนแบ่งในตลาดชิปหน่วยประมวลผลชุดคำสั่งสถาปัตยกรรม x86 ของทาง Intel จะมากกว่า AMD อยู่หลายเท่าตัว(Intel มีส่วนแบ่ง 87.7% ส่วน AMD มีส่วนแบ่ง 12.1% ต่างกันอยู่ประมาณ 7.25 เท่า) แต่ทาง AMD ดูกลับจะไม่เครียดเท่าไรนอกเหนือไปจากนั้นทาง AMD ยังก้าวนำ Intel ในตลาดชิปหน่วยประมวลผลแบบสั่งปรับแต่งพิเศษซึ่งจะเห็นได้ว่าชิปหน่วยประมวลผลประเภทนี้สามารถไปอยู่บนเครื่อง PlayStation 4 และ Xbox One ได้ทั้งหมด(แถม PlayStation 4K รุ่นใหม่ก็จะยังใช้ชิปของ AMD อีกด้วย)

Xbox-One-vs-PlayStation-4

ด้วยการมองตลาดที่ไกลกว่าเดิมและการปรับกลยุทธ์ในช่วง 2 ปีก่อนที่ผ่านมาของ AMD นั้น(ในปี 2013) เริ่มเห็นผลแล้วครับว่าสถานการณ์ของ AMD นั้นดีขึ้นเรื่อยๆ ตรงนี้แตกต่างจากทาง Intel ที่ดูเหมือนจะรู้ตัวช้าไปครับดังจะเห็นได้จากข่าวที่พึ่งจะออกมาไม่นานนี้ว่าในท้ายที่สุดแล้วทาง Intel ก็ต้องเริ่มปลดพนักงานออกกว่า 12,000 ราย แต่ว่า AMD จะสามารถยืนเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของ Intel และสามารถที่จะกลับมาผงาดได้อีกครั้งหนึ่งไหมนั้นทุกอย่างขึ้นอยู่กับเวลาที่จะเป็นสิ่งที่บอกเราได้ครับว่ากลยุทธ์ทางธุรกิจและเทคโนโลยีที่ทาง AMD เริ่มปรับมาทำนั้นจะสามารถทำให้ AMD สามารถกลับมาเป็นคู่แข่งที่ Intel ต้องกลัวแล้วสามารถเอาชนะ Intel อีกครั้งได้หรือไม่ ว่าแล้วก็มาดูกันดีกว่าครับว่าสิ่งที่ทาง AMD นั้นต้องทำมีอะไรบ้าง

การขายใบอนุญาตในการใช้งานชุดคำสั่งของหน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรม x86

amd zen announced 600

อย่างแรกเลยก็คือการปรับกลยุทธ์จากผู้ที่ออกแบบสถาปัตยกรรมชิปหน่วยประมวลผลเองและผลิตเองเพื่อจำหน่ายมาเป็นขายสิทธิ์ให้ผู้อื่นสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีของชุดคำสั่งของหน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรม x86 ของทางบริษัท เพื่อที่บริษัทอื่นจะได้สามารถซื้อสิทธิ์นี้ไปแล้วนำไปปรับปรุงเพื่อนำไปผลิตชิปหน่วยประมวลผลในการจำหน่ายต่อไปได้ครับ(คล้ายๆ กับ ARM) ตรงนี้นั้นเราได้เห็นว่าทาง AMD ได้ก้าวนำ Intel ไปแล้วในเรื่องนี้เนื่องจากว่ามีความเป็นไปได้สูงมากเลยทีเดียวครับว่าชิปหน่วยประมวลผลของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ตามชุดคำสั่งสถาปัตยกรรม x86 ของทาง AMD นั้นอาจจะถูกผลิตและวางจำหน่ายเพื่อใช้งานในประเทศจีนผ่านทางบริษัท THATIC (Tianjin Haiguang Advanced Technology Investment Co. Ltd.) ครับ

หมายเหตุ – ติดตามได้จากข่าวเก่า [AMD] รับทรัพย์จากรัฐบาลจีนกว่า 10,000 ล้านบาทเพื่อการพัฒนาชิปสำหรับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ x86

โอกาสสำหรับการรุกตลาดประเทศจีน

China.0

ต่อเนื่องจากข้อแรกเลยครับ(และจากข่าวเก่าที่อ้างอิงมา) ตอนนี้หาประกาศที่มีออกมาดังกล่าวนั้นเป็นความจริง(ซึ่งน่าจะจริง 100% แล้ว) ทาง AMD ก็มีโอกาสแล้วครับที่จะเข้าไปเจาะตลาดผู้ใช้ในประเทศจีนโดยเบื้องต้นนั้นทาง AMD จะต้องให้ความร่วมมือกับทางบริษัท THATIC ในการผลิตชิปหน่วยประมวลผลของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ตามชุดคำสั่งสถาปัตยกรรม x86 ให้มีความสามารถที่มากพอที่จะเรียกร้องความสนใจกับตลาดผู้ใช้งานในประเทศจีนได้ แน่นอนว่าถ้าหาก AMD ช่วยให้บริษัท THATIC ประสบความสำเร็จในการจำหน่ายชิปหน่วยประมวลผลดังกล่าวได้ ในอนาคตบริษัทอื่นๆ ในประเทศจีนและผู้ใช้งานทั่วไปก็จะเรียกร้องหาชิปหน่วยประมวลผลจากทาง AMD มากขึ้น เผลอๆ ถ้า AMD ทำดีๆ เข้าไว้แล้วสามารถครองตลาดในจีนได้หล่ะก็ AMD อาจจะมีแหล่งผลิตชิปหน่วยประมวลผลในประเทศจีนเพิ่มแบบสบายๆ โดยไม่ต้องเสียเงินแต่ได้เงินเพิ่มอีกด้วยครับ

หน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรม Zen

AMD-Zen-performance compare 600

AMD พลาดกับการออกแบบสถาปัตยกรรมภายในของหน่วยประมวลผลชุดคำสั่งแบบ x86 มาค่อนข้างที่จะนานพอควรครับ(จริงๆ แล้วก็ตั้งแต่สมัยที่โดน Intel เปลี่ยนแนวการออกแบบมาเป็นสถาปัตยกรรม Core ที่ทำให้ Intel ได้ชื่อเสียงไปมากส่วน AMD นั้นกลับหาทางไปไม่เจอ) ดังนั้นแล้วคงต้องรอดูและหล่ะครับว่าหน่วยประมวลผลชุดคำสั่งแบบ x86 รุ่นใหม่ที่ใช้ชื่อสถาปัตยกรรม Zen ที่ทาง AMD ตั้งความหวังไว้สูงมากและมีกำหนดการจะเปิดตัวในปีนี้จะสามารถทำประสิทธิภาพได้ตามที่ทาง AMD โฆษณาเอาไว้หรือไม่ เพราะจะว่าไปแล้วหากสถาปัตยกรรม Zen ไม่สามารถกูสถานการณ์ในส่วนของชิปหน่วยประมวลผลให้ AMD ได้แล้วหล่ะก็เผลอๆ แล้วสถานการณ์ของ AMD เองอาจจะย่ำแย่ไปกว่าเดิมครับ

สิ่งที่หน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรม Zen จะต้องทำให้สำเร็จให้ได้ก็คืออย่างน้อยมันจะต้องมาพร้อมกับประสิทธิภาพที่พอๆ กันกับหน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรมใหม่ล่าสุดของทาง Intel หรือถ้าจะดีกว่านั้นเพื่อเป็นการเรียกเสียงคืนจากเหล่าแฟนๆ หน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรม Zen จะต้องมีประสิทธิภาพสูงกว่าหน่วยประมวลผลของทาง Intel ซึ่งตามที่ AMD ได้โฆษณาเอาไว้นั้นคือหน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรม Zen จะมีประสิทธิภาพสูงกว่าหน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรม Bulldozer ถึง 40%(ที่ความเร็วสัญญาณนาฬิกาเท่ากัน) ยังไม่รวมถึงฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่เพิ่มเข้ามาบนสถาปัตยกรรม Zen ด้วย งานนี้เอาเป็นว่าคงต้องรอดูตอนที่หน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรม Zen ออกวางจำหน่ายในปีนี้อย่างเป็นทางการหล่ะครับ(ซึ่งตามข่าวลือนั้นก็อีกไม่นานครับ)

หน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรม Zen สำหรับเครื่องเซิร์ฟเวอร์

amd_fad_2015_3_year_game_plan_slide 600

ในอดีตที่ผ่านมานั้นตลาดชิปหน่วยประมวลผลสำหรับเครื่องเซิร์ฟเวอร์เคยตกเป็นของ AMD มาก่อนด้วยการส่งหน่วยประมวลผลซีรีส์ Opteron ออกมาจนได้ส่วนแบ่งในตลาดเป็นตัวเลข 2 ตำแหน่ง ซึ่งตอนนั้นก็ทำให้ Intel ซึ่งมีซีรีส์ Xeon ครองตลาดอยู่นั้นระส่ำระสายได้เหมือนกันครับ ทว่า AMD ก็ดันไปก้าวพลาดกับชิปหน่วยประมวลผลสำหรับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ตามสถาปัตยกรรม Bulldozer ที่มาพร้อมกับความผิดพลาดสูงและโครงสร้างที่ไม่ดีทำให้ AMD เสียชื่อไปพอสมควรเลยทีเดียวในตลาดชิปหน่วยประมวลผลสำหรับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ครับ

ทั้งนี้ก็คงต้องรอดูหล่ะครับว่าชิปหน่วยประมวลผลสำหรับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้สถาปัตยกรรม Zen รุ่นใหม่ของทาง AMD นั้นจะสามารถพังความล้มเหลวในอดีตแล้วสร้างจุดยืนให้ AMD ในตลาดชิปหน่วยประมวลผลสำหรับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ให้มีส่วนแบ่งเป็นตัวเลข 2 ตำแหน่งและมากขึ้นเรื่อยๆ ได้หรือไม่ ทว่าในตลาดชิปหน่วยประมวลผลสำหรับเครื่องเซิร์ฟเวอร์นั้นก็เป็นตลาดที่น่ากลัวอยู่เลยทีเดียวครับเนื่องจากในปัจจุบันนั้นได้มี ARM ที่ขายสิทธิ์ในการใช้สถาปัตยกรรมชิปหน่วยประมวลผลสำหรับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ต้องการเน้นเรื่องการประหยัดพลังงานเป็นจุดเด่นเข้ามาแย่งตลาดด้วยครับ

หน่วยประมวลผลรูปแบบการใช้งานอเนกประสงค์

amd x86_arm 02 600

ในขณะที่ทาง Intel ยังคงยึดติดการชุดคำสั่งสถาปัตยกรรม x86 ในการออกแบบหน่วยประมวลผลอยู่นั้น ทาง AMD ได้เปิดตัวความคิดสุดแหวกแนวในการรวมหน่วยประมวลผลที่มาพร้อมชุดคำสั่งสถาปัตยกรรม x86 และ ARM เข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งได้มีการเปิดตัวออกมาตั้งแต่ปี 2014 – 2015 ที่ผ่านมาแล้วครับ อย่างไรก็ตามแต่เรื่องดังกล่าวนี้นั้นดูเหมือนจะเงียบหายไปและไม่ค่อยได้รับความสนใจมากสักเท่าไรทั้งๆ ที่จริงแล้วหาก AMD สามารถที่จะชิงตัดหน้าคู่แข่งในการรวมหน่วยประมวลผลที่มีทั้งชุดคำสั่งสถาปัตยกรรม x86 และ ARM อยู่บนชิปเดียวกันออกมาได้ก่อนคู่แข่งนั่นหมายความว่าชิปหน่วยความจำแบบนี้จาก AMD จะกลายเป็นที่ต้องการของตลาดไปในทันทีเพราะในปัจจุบันนั้นตลาดต้องการชิปในลักษณะดังกล่าวมากครับ

ที่ตลาดต้องการชิปหน่วยประมวลผลที่มีทั้งชุดคำสั่งสถาปัตยกรรม x86 และ ARM อยู่บนชิปเดียวกันมากนั้นก็เนื่องมาจากว่าชุดคำสั่งของ x86 และ ARM มีคุณภาพและประสิทธิภาพที่แตกต่างกันไป โดยชุดคำสั่งสถาปัตยกรรม x86 จะมีประสิทธิภาพสูงกว่าชุดคำสั่งสถาปัตยกรรม ARM แต่ว่าชุดคำสั่งสถาปัตยกรรม ARM จะมีประสิทธิภาพดานการใช้พลังงานสูงกว่าชุดคำสั่งสถาปัตยกรรม x86 หากมีชิปหน่วยประมวลผลที่มาพร้อมกับ 2 ชุดคำสั่งสถาปัตยกรรมที่สามารถสลับการทำงานได้ก็จะทำให้ผู้ใช้โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกลุ่มตลาดเครื่องเซิร์ฟเวอร์ให้ความสนใจเป็นอย่างมากครับ

ขึ้นเป็นผู้นำในเรื่องของกราฟิกชิปให้ได้

AMD Polaris – GCN 4.0 600 05

กล่าวกันถึงเรื่องของกราฟิกชิปที่ทาง AMD รับสืบทอดความสำเร็จของยี่ห้อ ATI มาโดยตรงและในปัจจุบันนั้นเป็นผู้จำหน่ายกราฟิกชิปอันดับที่ 2 ของตลาดกราฟิกชิปแล้วหล่ะก็ สิ่งเดียวที่ทาง AMD ควรที่จะทำให้สำเร็จและจำเป็นที่จะต้องทำให้ได้ก็คือการปราบผู้นำในอันดับหนึ่งอย่าง NVIDIA ให้ได้ครับ จะว่าไปแล้วการมีกราฟิกชิปซีรีส์ Radeon(สำหรับผู้ใช้ทั่วไป) และ FirePro(สำหรับผู้ใช้ระดับมืออาชีพ) อยู่ในครอบครองถือว่าเป็นการถือของดีไว้ในมือที่ยังไงๆ ก็สามารถที่จะขายได้อย่างแน่นอนโดยเฉพาะกับตลาดคอมพิวเตอร์สำหรับการเล่นเกมที่นิยมเปลี่ยนกราฟิกการ์ดทุกปี โดยในปีนี้คงต้องรอดูกราฟิกชิปสถาปัตยกรรม “Polaris” หรือเจ้าน้ำเปล่าที่จะวางจำหน่ายในชื่อ Radeon 4XX ซีรีส์แล้วหล่ะครับว่าจะทำให้ AMD สามารถแซง NVIDIA ได้หรือไม่

อย่างไรก็ตามในส่วนของกราฟิกชิปนี้นั้นทาง Intel ตกเป็นรอง AMD อย่างมากครับ โดยถึงแม้ว่าทาง Intel จะพยายามเน้นหน่วยประมวลผลที่มีความสามารถในการใช้งานเป็นอย่างดีในการเล่นเกมมากเท่าไรก็ตามแต่ทว่าหากผู้ใช้ใช้กราฟิกแบบฝังของทาง Intel แล้วนั้นคงไม่ต้องบอกกันครับว่าประสิทธิภาพในการเล่นเกมจะเป็นเช่นไร(เชื่อเลยครับว่าผู้อ่านหลายท่านน่าจะรู้ดี) น่าแปลกอยู่อย่างครับว่าทั้งๆ ที่ทาง Intel เป็นหน่วยประมวลผลที่มาพร้อมกับชิปกราฟิกแบบฝังภายในก่อนหน้า AMD หลายปี แต่ในเรื่องนี้นั้น AMD กลับตีตลาดของ Intel แตกละเอียดด้วย APU ซึ่งชิปกราฟิกแบบฝังบนหน่วยประมวลผลนั้นดีกว่าของทาง Intel หลายคุมครับ

ชิปหน่วยประมวลผลแบบสั่งปรับแต่งตามความต้องการของผู้ใช้งาน

amd-gseries-lead 600

ท้ายสุดเลยนั้นถือว่าเป็นตลาดใหม่ของทาง AMD ที่สามารถทำได้เป็นอย่างดีเพราะแค่เฉพาะช่วงเริ่มต้นนั้นทาง AMD ก็ครองส่วนแบ่งในตลาดไปได้ทั้งหมดอย่างชิปหน่วยประมวลผลแบบสั่งปรับแต่งตามความต้องการของผู้ใช้งานครับ(จะว่าไปแล้ว AMD ตลาดนี้ก่อนหน้าสักพักแล้วด้วยการปรากฎตัวเป็นชิปบนเครื่องเกมคอนโซลของ Nintendo อย่าง GameCube และ Wii แต่พอมาในยุค PS4 และ XBOne นั้น AMD ครองตลาดไปเต็มๆ ครับ) ตลาดดังกล่าวนี้จะสวนทางกับตลาดคอมพิวเตอร์ PC ที่กำลังมีความต้องการลดลงโดยมันจะมากขึ้นตามลำดับครับ

ถ้าถามว่าชิปหน่วยประมวลผลแบบสั่งปรับแต่งตามความต้องการของผู้ใช้งานมีใช้บนผลิตภัณฑ์อะไรบ้างบอกได้เลยครับว่าหลายอย่าง ตัวอย่างเช่นเครื่องเกมคอนโซล(ที่ตอนนี้ AMD ครองตลาดทั้งหมด), เครื่องเล่นพนัน, ATMs และรถยนต์อัตโนมัติ(ซึ่งมี NVIDIA เข้ามาแข่งด้วย) เป็นต้นครับ ทั้งนี้ในช่วงแรกๆ รายได้ของตลาดชิปหน่วยประมวลผลแบบสั่งปรับแต่งตามความต้องการของผู้ใช้งานนั้นอาจจะไม่สามารถทำกำไรสูงให้กับบริษัทได้มากสักเท่าไรนักเพราะยอดขายของชิปขึ้นอยู่กับยอดขายของผลิตภัณฑ์อีกทอดหนึ่งแต่ทว่าตลาดนี้แหละครับที่ทาง AMD เริ่มให้ความสำคัญเป็นพิเศษเพราะเริ่มเห็นรายรับจากตัวตลาดที่มากขึ้นเรื่อยๆ นั่นเองครับ

ที่มา : computerwolrdtechspot

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

รีวิว MSI

MSI Stealth A16 AI+ ครีเอเตอร์โน๊ตบุ๊คเล่นเกมได้ ดีไซน์เรียบหรูและแรงด้วยพลัง AMD Ryzen AI ทำได้ทุกงานเล็กใหญ่!! นอกจาก MSI Titan กับ MSI Raider สองพี่น้องตัวแรงขวัญใจเกมเมอร์แล้ว ฝั่งครีเอเตอร์หน้าตาเรียบหรูซ่อนความแรงก็มี MSI Stealth A16 AI+ ให้ครีเอเตอร์หาซื้อเอาไว้ทำงานกราฟิคตั้งแต่แต่งภาพและตัดต่อวิดีโอความละเอียดสูงก็ได้ ปั้นโมเดล...

Special Story

ถ้านับในช่วงหลัง ๆ มา ชิปกราฟิกแบบ iGPU ที่อยู่ใน CPU โน้ตบุ๊กของ AMD ได้รับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดจนทำให้มีประสิทธิภาพสูงถึงระดับที่สามารถใช้งานได้จริง โดยเฉพาะกับการใช้เล่นเกมที่ข้ามกำแพงจากในอดีตกราฟิกแบบ iGPU มักจะทำได้อย่างมากก็เป็นเกมออนไลน์ เกมเก่าที่มีอายุนานพอสมควรแล้ว กลายมาเป็นสามารถเล่นเกมระดับ AAA และเกมใหม่ล่าสุดได้ ซึ่งปัจจุบันก็เดินทางมาถึง AMD Radeon 800M series ที่มาพร้อมกับชิป AMD...

Buyer's Guide

เล่นเกมด้วย Intel Core Ultra 5 245K กับ 7 เกมยอดนิยมบนการ์ดจอบนซีพียู Intel ไหวมั้ย ลื่นรึเปล่า? Intel Core Ultra 5 245K เป็นซีพียูรุ่นใหม่ล่าสุด ที่เพิ่งปล่อยลงสู่ตลาดในช่วงเดือนตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา นอกจากเรื่องความแรงและประสิทธิภาพในการทำงาน ทั้งด้านการประมวลผล หรือปัจจุบันก็มีเรื่องของ...

Special Story

ปีนี้นับเป็นปีที่ซีพียูโน้ตบุ๊กของ AMD มีการเปลี่ยนแปลงแบบเห็นได้ชัด และมีความน่าสนใจในด้านประสิทธิภาพที่สูงขึ้นโดยที่ยังคุมการใช้พลังงานและความร้อนได้ดี ทำให้เราได้เห็นการนำซีพียู AMD ไปใช้ทั้งในโน้ตบุ๊กทำงานทั่วไป เกมมิ่งโน้ตบุ๊กตั้งแต่สเปคระดับเริ่มต้นไปจนถึงระดับท็อป รวมถึงในกลุ่มเครื่องเกมพีซีพกพาด้วย แต่ที่จะเด่นชัดสุดคงหนีไม่พ้นชิปรุ่นใหม่ล่าสุดที่มีโค้ดเนมว่า AMD Strix Point หรือในชื่อที่ใช้จริงนั่นคือ AMD Ryzen AI 300 series นั่นเอง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก