Lenovo Yoga เป็น Notebook อีกตระกูลที่สามารถปรับรูปแบบได้หลากหลายมากมายตามความเหมาะสม แต่ว่ามีอุปสรรคที่หลายคนบอกว่าไม่อาจจะเป็นเจ้าของมันคือ ราคาที่สูงเกินไป แต่สำหรับ Lenovo Yoga 300 เครื่องนี้ มีราคาย่อมเยาว์อยู่ไม่น้อย
สำหรับภาพรวมของ Lenovo Yoga 300 จะให้หน้าจอ IPS LCD รองรับทัชสกรีนที่มีขนาดเพียง 11.6 นิ้วความละเอียด 1366 x 768 พิกเซล พร้อมกับขุมพลังจาก Intel Pentium รุ่นใหม่ พร้อมกับแรม 4GB และฮาร์ดดิสก์มาตรฐานที่ 500GB สนนราคาอยู่ที่ 14,990 บาท เรียกได้ว่าคุ้มค่ามากถ้าเทียบกับความสามารถให้การใช้งานหลากหลายรูปแบบ แม้สเปกจะเป็นรองโน๊ตบุ๊คทั่วไปก็ตาม
Specification
สเปคของ Lenovo Yoga 300 ที่ทีมงาน NotebookSPEC นำมาทดสอบ จะมีขนาดหน้าจอ 11.6 นิ้วความละเอียด 1366×768 แม้ไม่ได้สูงแต่ความที่รองรับระบบทัชสกรีน เลยทำให้มันดูน่าสนใจขึ้นมา ด้านประสิทธิภาพใช้ Intel Pentium M รหัส N3700 ความเร็ว 1.6GHz สามารถเพิ่มพลังได้ถึง 2.6GHz พร้อมกับ RAM 4GB และความจำจาก Hard Disk ขนาด 500GB แม้สเปคจะไม่ได้หวือหวาอะไรมากนัก แต่ก็เพียงพอต่อการใช้งานแน่นอน
นอกจากนี้ Lenovo Yoga 300 ยังรองรับกล้อง Webcam ความละเอียด 720P พร้อมรองรับ WiFi 802.11 b/g/n/ac รองรับ USB 3.0 จำนวน 2 ช่อง USB 2.0 จำนวน 1 ช่อง พร้อมกับ HDMI และ Bluetooth V4.0 น้ำหนัก 1.39 กิโลกรัมเท่านั้น
รายละเอีดยสเปคเครื่องที่เหลือ กดดูได้ที่นี่
Hardware / Design
การออกแบบของ Lenovo Yoga 300 ยังคงใช้แนวทางเดียวกับ Yoga 500 ที่เปิดตัวไปก่อนหน้านี้ ทำให้มันดูเป็น Notebook ที่น้ำหนักเบา พกพาง่าย และสามารถใช้งานด้าน Multi-Mode ได้อย่างดี
ส่วนฝาหน้านอกจากสีขาวและโลโก้ของ Lenovo ที่บ่งบอกว่าคุณใช้ Notebook ของอะไรแล้ว มันก็ดูดีไม่น้อย ด้านล่างก็มีสีขาวเช่นกัน แต่มียาวรอรับทั้งการวางกับพื้น หรือจะเป็นการป้องกันไม่ให้การพับในรูปแบบของ Tablet ให้เครื่องเป็นรอยอีกด้วย
ด้านในตัวเครื่อง เน้นสีดำ พร้อมกับใช้ชิ้นส่วน อลูมิเนียมเกรด เพิ่มความหรูหราและความทนทาน บริเวณด้านล่างจะมีสติ๊กเกอร์ของ CPU พร้อมกับระบบเสียง Dolby อีกฝั่งมีคำอธิบายเกี่ยวกับรูปแบบของการปรับใช้งานต่าง ๆ เป็น 4 Mode ด้วยกัน ให้เข้าใจง่ายขึ้น
สำหรับฐานขารองรับจอนอกจากออกแบบให้แข็งแรงเท่ากับตระกูล ThinkPad แล้ว ยังถูกสร้างให้เป็นกลไกขนาดใหญ่รองรับการพับได้ 360 องศา อีกด้วย
Keyboard / Touchpad
Lenovo Yoga 300 ยังให้ Keyboard แบบ AccuType Keyboard ออกบบให้ดูเหมือนคนยิ้ม และปุ่มมีขนาดใหญ่กำลังดี ทำให้ลดโอกาสที่จะกดปุ่มผิดได้ การตอบสนองถือว่าดีเยี่ยม และมีขนาดที่กำลังดีไม่ต้องเป็นห่วงว่าเครื่องดูเล็กแต่ก็สามารถใช้งาน เกี่ยวกับการพิมพ์งานได้แบบไร้ที่ติ และมีขนาดกำลังดีเหมาะกับคนที่ชอบงานพิมพ์อีกด้วย น่าเสียดายที่ไม่ได้ติดไฟแบบ LED Backlit มาให้ทำให้การใช้งานเวลากลางคืนไม่สะดวกนัก
ส่วน Touchpad ของ Lenovo Yoga 300 แม้เครื่องจะมีขนาดเล็กกว่า Yoga 500 แต่ให้ขนาดใหญ่ที่สามารถสั่งใช้งานได้ง่ายมากขึ้น พร้อมรองรับมัลติทัช สามารถใช้งานบน Windows 10 ได้ดี ด้วยความที่ Touchpad ออกแบที่ยังเน้นเรื่องความสูง ทำให้การเลื่อนตำแหน่งกับหน้าขนาด 11 ก็ทำได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
Screen / Speaker
หน้าจอของ Lenovo Yoga 300 ให้มาขนาด 11.6 นิ้วความละเอียด 1366×768 พิกเซล เรียกได้ว่าเล็กที่สุดของ Yoga Series และให้หน้าจอแบบทัชสกรีน ให้ความคล่องตัวระดับหนึ่ง
และสามารถปรับความสว่างได้มากจนสามารถนำไปใช้งานทั้งกลางวันและกลางคืนได้อย่างง่ายดาย สอดคล้องกับรูปแบบของเครื่องที่สามารถปรับใช้งานได้หลากหลายแบบ
ส่วนลำโพงเนื่องจากไว้ด้านใต้เครื่องทั้ง 2 ข้าง ตรงกับส่วนโค้งทำให้เสียงที่ออกมา ไม่มีอะไรปิดกั้นให้เสียงที่ดังดีพอสมควร จนไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องใช้งานในที่เสียงดัง น่าเสียดายที่ไม่สามารถปรับแต่งเสียงได้ หากเพิ่มในส่วนนี้ก็จะทำให้ Notebook เครื่องนี้สามารถตอบสนองเรื่องความบันเทิงรวมถึงการฟังเพลงสำหรับคนที่ชอบทำงานได้มากกว่านี้
Multi-Mode
จุดเด่นของ Lenovo Yoga 300 ที่เรียกว่าชูโรงของซีรีย์นี้คือเรื่องการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้งาน เพราะเนื่องจากฐานขาจอที่สามารถทำให้พับได้มากถึง 360 องศา เมื่อเทียบกับคู่แข่ง จุดนี้ถือว่าเป็นจุดขายสำคัญของ Lenovo Yoga ทุกรุ่นเลยก็ว่าได้ และปรับเปลี่ยนได้ถึง 4 รูปแบบด้วยกัน ได้แก่
Laptop Mode เป็นรูปแบบปกติที่สามารถใช้พิมพ์งานและเข้าเว็บไซต์มากที่สุด เนื่องจากใช้ความสามารถของ Keyboard แบบ AccuType สำหรับพิมพ์งานคู่กับ Touchpad ได้เต็มที่ และเมื่อใช้งานกับ Windows 10 ใน Desktop Mode จะตอบสนองดีที่สุด และสามารถใช้งานทัชสกรีนได้อย่างง่าย
Stand Mode เป็นอีกรูปแบบที่สามารถปรับใช้งานได้อย่างง่ายดาย แค่พลิกหน้าจอเกินกว่า 180 องศา ตั้งใช้งานกับจอทัชสกรีน แค่นี้ก็สามารถใช้ในเรื่องการดูหนัง หรือไม่ต้องการให้ส่วน Keyboard มายุ่งกวนใจระหว่างที่ใช้งาน เน้นการใช้งานทัชสกรีนมากกว่า ซึ่งรูปแบบนี้ถ้าต้องการใช้งานดูเว็บชนิดไม่ต้องพิมพ์ ถือว่าลงตัวที่สุด
Tent Mode คล้าย ๆ กับ Stand Mode แต่แค่มันต้องพลิกไปอีกด้านหนึ่ง รูปแบบจะเหมือนกับเต้นท์ ข้อดีคือประหยัดพื้นที่ เน้นการใช้งานด้านทัชสกรีนเป็นหลัก และสามารถวางแทนกรอบรูปได้อย่างดี
นอกจากนี้ยังยังเพิ่มความเสถียรในการวางได้พอสมควร และปรับองศาของหน้าจอได้ เหมาะกับการใช้ดูหนังเป็นที่สุด
Tablet Mode พับราบกับ Keyboard อีกฝั่ง สามารถใช้ Mode Touch Screen ได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องกังวลว่าหลังจอจะเป็นรอย เพราะว่ามันมียางป้องกันไม่ให้ฝาหน้าเครื่องกระแทกกับข้างล่างของเครื่องที่แข็งกว่าแน่นอน
ข้อดีของ Mode นี้คือคุณสามารถวาดภาพในหน้าจอได้และใช้งานสะดวกกว่า 2 รูปแบบไม่ว่าจะเป็น Tent Mode หรือ Stand Mode เป็นต้น
อีกสิ่งที่มีประโยชน์อย่างมากคือ ทั้ง 3 รูปแบบไม่ว่าจะเป็น Stand Mode, TentMode และ Tablet Mode ระบบปฏิบัติการ Windows 10 จะเปลี่ยนเข้าสู่ Tablet Mode โดยอัตโนมัติ และสั่งไม่ให้ Touchpad หรือ Keyboard สามารถกดใช้งานได้ ถือเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดระหว่างเปลี่ยนรูปแบบ ให้สามารถใช้งานได้ต่อเนื่องราบรื่น
ภาพรวมของการปรับรูปแบบจองเครื่องใน Lenovo Yoga 300 สามารถทำได้ทันทีและง่ายเพราะกลไกของบานพับ 2 ชั้น ที่เป็นเอกลักษณ์ เลยทำให้การพับเครื่องเป็นเรื่องง่ายนั่นเอง แม้อาจจะหนักไปสำหรับคุณผู้หญิงบ้างก็ตาม
Connector / Thin And Weight
แน่นอนว่าช่องเสียบต่าง ๆ ของ Lenovo Yoga 300 ย่อมมีความสำคัญ ซึ่งให้มาครบตั้งแต่ USB 2.0 จำนวน 1 พอร์ต 2, USB 3.0 จำนวน 2 พอร์ต, 2-in-1 card-reader (SD / MMC), ช่องต่อลำโพง Combo jack,ช่อง LAN และ ช่อง HDMI, พร้อมปุ่มเปิดเครื่องและไฟสถานะอยู่ทางขวา ฝั่งซ้ายมีปุ่ม OneKey Recovery ที่สามารถกดเพื่อ Restore ข้อมูล เป็นเอกสิทธิ์เฉพาะ Lenovo เท่านั้น
ความบางของเครื่องอาจจะไม่ได้มากมายอะไรนัก แต่จะโดดเด่นที่น้ำหนักของมันเพียง 1.4 กิโลกรัม เมื่อรวมกับ อะแดปเตอร์ น้ำหนักยังไม่ถึง 2 กิโลกรัม ถือว่าเป็น Notebook ราคาไม่แพงแต่ให้ความแตกต่างได้มากพอสมควร
แต่เมื่อต้องเทียบกับในตระกูล Yoga ที่เหลือแล้ว ความโดดเด่นของรุ่นนี้มันก็จะไม่ได้หนีจาก Yoga รุ่นใหม่ ๆ แต่ ทำให้คนที่ซื้อไปก็บอกว่าเหมือนได้ใช้ของดีราคาไม่แพง
Performance / Software
Lenovo Yoga 300 ใช้ขุมพลัง Intel Pentium M Processor รหัส N3700 ความเร็ว 1.6GHz สามารถเพิ่มพลังได้ถึง 2.6GHz ถือว่าแรงพอสมควร แต่อาจจะยังไม่ทัดเทียมกับ Intel Core i3 ได้ แต่มองการใช้งานแล้ว ถ้าใช้ในการท่องอินเทอร์เน็ต, ความบันเทิงไม่ว่าจะเป็นดูหนังฟังเพลง, และทำงานระดับที่ไม่หนักมา การตอบสนองนี้ถือว่าเพียงพอแล้ว
เนื่องจากเป็นเครื่องที่รันบนระบบปฏิบัติการ Windows 10 ทำให้การจัดการ RAM ของมันเลยดีกว่า Windows 8.1 ที่ออกมาก่อนหน้านี้ทำให้ RAM 4GB ที่มีเหลือพอใช้ได้สบาย
เนื่องจาก Lenovo Yoga 300 ใช้ Harddisk ขนาด 500GB การทดสอบประสิทธิภาพออกมาเลยจะดูแล้วด้อยกว่า SSD แต่ผลดีของการใช้ Hard Disk คือความจุสูง ความทนทานก็มี ในราคาที่ทำให้เครื่องดูไม่แพงจนเกินไป
Battery / Heat / Noise
สำหรับแบตเตอรี่ของ Lenovo Yoga 300 นั้นให้มาที่ 4500 mAh แม้ว่าความจุจะดูไม่เยอะ แต่จากการทดลองการใช้งานช่วงปีใหม่ โดยการใช้เล่นอินเทอร์เน็ตต่อเนื่อง 2 ชั่วโมง พิมพ์งานและดู YouTube ประมาณ 3 ชั่วโมง พบว่าสามารถใช้งานได้อยู่กำลังดี
ในเรื่องระบบระบายอากาศนั้น มีการออกแบบด้านล่างโปร่ง ทำให้ระบายอากาศได้ดี เนื่องจากเครื่องสเปคไม่ได้สูงมาก การที่ใช้โปรแกรม 3 มิติ ประมวลผลจะเกิดความร้อนมากกว่าปกติเล็กน้อย
อย่างไรก็ดี ด้วยขุมพลัง Intel ยุคใหม่ ทำให้ความร้อนระหว่างใช้งานเกิดขึ้นน้อยลง ส่งผลให้การออกแบบเครื่องดูสวยงามมากขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง
Conclusion / Award
Lenovo Yoga 300 เป็นอีก Hybrid Notebook ที่นอกจากราคาย่อมเยาวและสามารถใช้งานได้หลากหลายรูปแบบแล้ว แม้ขุมพลังอาจจะไม่ใช่จุดเด่น แต่ได้น้ำหนักที่เบาจนทำให้เป็นอีกสิ่งที่น่าจะทำให้คนที่เน้นการพกพาชอบ ไม่ใช่น้อย
แม้ว่าขุมพลังเครื่องรุ่นนี้อาจจะด้อยกว่า Yoga 500 ที่เคยสัมผัสไปก่อนหน้านี้ แต่ด้วยราคาที่อยู่เพียง 14,990 บาท ก็ทำให้หลายคนเข้าถึงได้ง่ายกว่า และแน่นอนว่าเครื่องก็ดูดีกว่า มันเลยเป็นสิ่งที่ลงตัวสำหรับคนที่ต้องการ Notebook ปรับเปลี่ยนรูปร่างได้แต่งบไม่สูงอีกรุ่นหนึ่งเลยล่ะ
ข้อดี
- ราคาเครื่องไม่แพง
- น้ำหนักเบาพกพาง่าย
- ปรับเปลี่ยนรูปร่างได้มากมาย
- ช่องต่อครบ
ข้อสังเกต
- ประสิทธิภาพอาจจะยังไม่เรียกว่าที่สุด
- แบตเตอรี่ยังอึดไม่พอ
- จอขนาดเล็กไปหน่อย
Awards
โดยในครั้งนี้จะเป็นการเปรียบเทียบการให้รางวัลกับโน๊ตบุ๊คในกลุ่มไฮบริดโน๊ตบุ๊คขนาดหน้าจอ 11 นิ้ว ซึ่ง Lenovo Yoga 300 ก็ได้รับรางวัลต่างๆ ดังนี้
Best Design
เชื่อได้ว่าหลายๆ คนต้องถูกใจกับหน้าตาของ Lenovo Yoga 300 แน่นอน เพราะด้วยการออกแบบดีไซน์ที่ใส่ใจในรายละเอียด ที่ถือได้สืบทอดมาจาก Ultrabook และ Yoga ของทาง Lenovo ที่ทุกๆ คนที่เป็นแฟนๆ คงคุ้นเคยกันอย่างดีอยู่แล้ว ซึ่งในทั้งความบางและเบา แต่ก็ยังให้ในเรื่องความแข็งแรงตามสไตล์ของ Lenovo ฉะนั้นรางวัล Best Design ไม่พลาดที่จะได้รับแน่นอน
Best Mobility
ส่วนของความสามารถในการพกพาก็ยังคงอยู่ในระดับที่ดีตามสไตล์ของ Lenovo Yoga ทั้งในความบางและน้ำหนักเบา 1.39 กิโลกรัม ที่ทำให้สามารถหิ้วไปไหนมาไหนได้อย่างสะดวก อีกทั้งด้วยระบบปฏิบัติการ Windows 10 ส่งผลให้เราสามารถพับฝาจอลงแล้วเก็บเครื่องได้ทันที เปิดหน้าจออีกทีก็ใช้งานได้เลย อแดปเตอร์ก็ทำออกมาให้มีขนาดที่ไม่ใหญ่มากนัก พกพาสะดวก จึงทำให้ Lenovo Yoga 300 ได้รับรางวัล Best Mobility ไปอย่างง่ายดาย
Specification
สเปคของ Lenovo Yoga 300 ที่ทีมงาน NotebookSPEC นำมาทดสอบ จะมีขนาดหน้าจอ 11.6 นิ้วความละเอียด 1366×768 แม้ไม่ได้สูงแต่ความที่รองรับระบบทัชสกรีน เลยทำให้มันดูน่าสนใจขึ้นมา ด้านประสิทธิภาพใช้ Intel Pentium M รหัส N3700 ความเร็ว 1.6GHz สามารถเพิ่มพลังได้ถึง 2.6GHz พร้อมกับ RAM 4GB และความจำจาก Hard Disk ขนาด 500GB แม้สเปคจะไม่ได้หวือหวาอะไรมากนัก แต่ก็เพียงพอต่อการใช้งานแน่นอน
นอกจากนี้ Lenovo Yoga 300 ยังรองรับกล้อง Webcam ความละเอียด 720P พร้อมรองรับ WiFi 802.11 b/g/n/ac รองรับ USB 3.0 จำนวน 2 ช่อง USB 2.0 จำนวน 1 ช่อง พร้อมกับ HDMI และ Bluetooth V4.0 น้ำหนัก 1.39 กิโลกรัมเท่านั้น
รายละเอีดยสเปคเครื่องที่เหลือ กดดูได้ที่นี่
Hardware / Design
การออกแบบของ Lenovo Yoga 300 ยังคงใช้แนวทางเดียวกับ Yoga 500 ที่เปิดตัวไปก่อนหน้านี้ ทำให้มันดูเป็น Notebook ที่น้ำหนักเบา พกพาง่าย และสามารถใช้งานด้าน Multi-Mode ได้อย่างดี
ส่วนฝาหน้านอกจากสีขาวและโลโก้ของ Lenovo ที่บ่งบอกว่าคุณใช้ Notebook ของอะไรแล้ว มันก็ดูดีไม่น้อย ด้านล่างก็มีสีขาวเช่นกัน แต่มียาวรอรับทั้งการวางกับพื้น หรือจะเป็นการป้องกันไม่ให้การพับในรูปแบบของ Tablet ให้เครื่องเป็นรอยอีกด้วย
ด้านในตัวเครื่อง เน้นสีดำ พร้อมกับใช้ชิ้นส่วน อลูมิเนียมเกรด เพิ่มความหรูหราและความทนทาน บริเวณด้านล่างจะมีสติ๊กเกอร์ของ CPU พร้อมกับระบบเสียง Dolby อีกฝั่งมีคำอธิบายเกี่ยวกับรูปแบบของการปรับใช้งานต่าง ๆ เป็น 4 Mode ด้วยกัน ให้เข้าใจง่ายขึ้น
สำหรับฐานขารองรับจอนอกจากออกแบบให้แข็งแรงเท่ากับตระกูล ThinkPad แล้ว ยังถูกสร้างให้เป็นกลไกขนาดใหญ่รองรับการพับได้ 360 องศา อีกด้วย
Keyboard / Touchpad
Lenovo Yoga 300 ยังให้ Keyboard แบบ AccuType Keyboard ออกบบให้ดูเหมือนคนยิ้ม และปุ่มมีขนาดใหญ่กำลังดี ทำให้ลดโอกาสที่จะกดปุ่มผิดได้ การตอบสนองถือว่าดีเยี่ยม และมีขนาดที่กำลังดีไม่ต้องเป็นห่วงว่าเครื่องดูเล็กแต่ก็สามารถใช้งาน เกี่ยวกับการพิมพ์งานได้แบบไร้ที่ติ และมีขนาดกำลังดีเหมาะกับคนที่ชอบงานพิมพ์อีกด้วย น่าเสียดายที่ไม่ได้ติดไฟแบบ LED Backlit มาให้ทำให้การใช้งานเวลากลางคืนไม่สะดวกนัก
ส่วน Touchpad ของ Lenovo Yoga 300 แม้เครื่องจะมีขนาดเล็กกว่า Yoga 500 แต่ให้ขนาดใหญ่ที่สามารถสั่งใช้งานได้ง่ายมากขึ้น พร้อมรองรับมัลติทัช สามารถใช้งานบน Windows 10 ได้ดี ด้วยความที่ Touchpad ออกแบที่ยังเน้นเรื่องความสูง ทำให้การเลื่อนตำแหน่งกับหน้าขนาด 11 ก็ทำได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
Screen / Speaker
หน้าจอของ Lenovo Yoga 300 ให้มาขนาด 11.6 นิ้วความละเอียด 1366×768 พิกเซล เรียกได้ว่าเล็กที่สุดของ Yoga Series และให้หน้าจอแบบทัชสกรีน ให้ความคล่องตัวระดับหนึ่ง
และสามารถปรับความสว่างได้มากจนสามารถนำไปใช้งานทั้งกลางวันและกลางคืนได้อย่างง่ายดาย สอดคล้องกับรูปแบบของเครื่องที่สามารถปรับใช้งานได้หลากหลายแบบ
ส่วนลำโพงเนื่องจากไว้ด้านใต้เครื่องทั้ง 2 ข้าง ตรงกับส่วนโค้งทำให้เสียงที่ออกมา ไม่มีอะไรปิดกั้นให้เสียงที่ดังดีพอสมควร จนไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องใช้งานในที่เสียงดัง น่าเสียดายที่ไม่สามารถปรับแต่งเสียงได้ หากเพิ่มในส่วนนี้ก็จะทำให้ Notebook เครื่องนี้สามารถตอบสนองเรื่องความบันเทิงรวมถึงการฟังเพลงสำหรับคนที่ชอบทำงานได้มากกว่านี้
Multi-Mode
จุดเด่นของ Lenovo Yoga 300 ที่เรียกว่าชูโรงของซีรีย์นี้คือเรื่องการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้งาน เพราะเนื่องจากฐานขาจอที่สามารถทำให้พับได้มากถึง 360 องศา เมื่อเทียบกับคู่แข่ง จุดนี้ถือว่าเป็นจุดขายสำคัญของ Lenovo Yoga ทุกรุ่นเลยก็ว่าได้ และปรับเปลี่ยนได้ถึง 4 รูปแบบด้วยกัน ได้แก่
Laptop Mode เป็นรูปแบบปกติที่สามารถใช้พิมพ์งานและเข้าเว็บไซต์มากที่สุด เนื่องจากใช้ความสามารถของ Keyboard แบบ AccuType สำหรับพิมพ์งานคู่กับ Touchpad ได้เต็มที่ และเมื่อใช้งานกับ Windows 10 ใน Desktop Mode จะตอบสนองดีที่สุด และสามารถใช้งานทัชสกรีนได้อย่างง่าย
Stand Mode เป็นอีกรูปแบบที่สามารถปรับใช้งานได้อย่างง่ายดาย แค่พลิกหน้าจอเกินกว่า 180 องศา ตั้งใช้งานกับจอทัชสกรีน แค่นี้ก็สามารถใช้ในเรื่องการดูหนัง หรือไม่ต้องการให้ส่วน Keyboard มายุ่งกวนใจระหว่างที่ใช้งาน เน้นการใช้งานทัชสกรีนมากกว่า ซึ่งรูปแบบนี้ถ้าต้องการใช้งานดูเว็บชนิดไม่ต้องพิมพ์ ถือว่าลงตัวที่สุด
Tent Mode คล้าย ๆ กับ Stand Mode แต่แค่มันต้องพลิกไปอีกด้านหนึ่ง รูปแบบจะเหมือนกับเต้นท์ ข้อดีคือประหยัดพื้นที่ เน้นการใช้งานด้านทัชสกรีนเป็นหลัก และสามารถวางแทนกรอบรูปได้อย่างดี
นอกจากนี้ยังยังเพิ่มความเสถียรในการวางได้พอสมควร และปรับองศาของหน้าจอได้ เหมาะกับการใช้ดูหนังเป็นที่สุด
Tablet Mode พับราบกับ Keyboard อีกฝั่ง สามารถใช้ Mode Touch Screen ได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องกังวลว่าหลังจอจะเป็นรอย เพราะว่ามันมียางป้องกันไม่ให้ฝาหน้าเครื่องกระแทกกับข้างล่างของเครื่องที่แข็งกว่าแน่นอน
ข้อดีของ Mode นี้คือคุณสามารถวาดภาพในหน้าจอได้และใช้งานสะดวกกว่า 2 รูปแบบไม่ว่าจะเป็น Tent Mode หรือ Stand Mode เป็นต้น
อีกสิ่งที่มีประโยชน์อย่างมากคือ ทั้ง 3 รูปแบบไม่ว่าจะเป็น Stand Mode, TentMode และ Tablet Mode ระบบปฏิบัติการ Windows 10 จะเปลี่ยนเข้าสู่ Tablet Mode โดยอัตโนมัติ และสั่งไม่ให้ Touchpad หรือ Keyboard สามารถกดใช้งานได้ ถือเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดระหว่างเปลี่ยนรูปแบบ ให้สามารถใช้งานได้ต่อเนื่องราบรื่น
ภาพรวมของการปรับรูปแบบจองเครื่องใน Lenovo Yoga 300 สามารถทำได้ทันทีและง่ายเพราะกลไกของบานพับ 2 ชั้น ที่เป็นเอกลักษณ์ เลยทำให้การพับเครื่องเป็นเรื่องง่ายนั่นเอง แม้อาจจะหนักไปสำหรับคุณผู้หญิงบ้างก็ตาม
Connector / Thin And Weight
แน่นอนว่าช่องเสียบต่าง ๆ ของ Lenovo Yoga 300 ย่อมมีความสำคัญ ซึ่งให้มาครบตั้งแต่ USB 2.0 จำนวน 1 พอร์ต 2, USB 3.0 จำนวน 2 พอร์ต, 2-in-1 card-reader (SD / MMC), ช่องต่อลำโพง Combo jack,ช่อง LAN และ ช่อง HDMI, พร้อมปุ่มเปิดเครื่องและไฟสถานะอยู่ทางขวา ฝั่งซ้ายมีปุ่ม OneKey Recovery ที่สามารถกดเพื่อ Restore ข้อมูล เป็นเอกสิทธิ์เฉพาะ Lenovo เท่านั้น
ความบางของเครื่องอาจจะไม่ได้มากมายอะไรนัก แต่จะโดดเด่นที่น้ำหนักของมันเพียง 1.4 กิโลกรัม เมื่อรวมกับ อะแดปเตอร์ น้ำหนักยังไม่ถึง 2 กิโลกรัม ถือว่าเป็น Notebook ราคาไม่แพงแต่ให้ความแตกต่างได้มากพอสมควร
แต่เมื่อต้องเทียบกับในตระกูล Yoga ที่เหลือแล้ว ความโดดเด่นของรุ่นนี้มันก็จะไม่ได้หนีจาก Yoga รุ่นใหม่ ๆ แต่ ทำให้คนที่ซื้อไปก็บอกว่าเหมือนได้ใช้ของดีราคาไม่แพง
Performance / Software
Lenovo Yoga 300 ใช้ขุมพลัง Intel Pentium M Processor รหัส N3700 ความเร็ว 1.6GHz สามารถเพิ่มพลังได้ถึง 2.6GHz ถือว่าแรงพอสมควร แต่อาจจะยังไม่ทัดเทียมกับ Intel Core i3 ได้ แต่มองการใช้งานแล้ว ถ้าใช้ในการท่องอินเทอร์เน็ต, ความบันเทิงไม่ว่าจะเป็นดูหนังฟังเพลง, และทำงานระดับที่ไม่หนักมา การตอบสนองนี้ถือว่าเพียงพอแล้ว
เนื่องจากเป็นเครื่องที่รันบนระบบปฏิบัติการ Windows 10 ทำให้การจัดการ RAM ของมันเลยดีกว่า Windows 8.1 ที่ออกมาก่อนหน้านี้ทำให้ RAM 4GB ที่มีเหลือพอใช้ได้สบาย
เนื่องจาก Lenovo Yoga 300 ใช้ Harddisk ขนาด 500GB การทดสอบประสิทธิภาพออกมาเลยจะดูแล้วด้อยกว่า SSD แต่ผลดีของการใช้ Hard Disk คือความจุสูง ความทนทานก็มี ในราคาที่ทำให้เครื่องดูไม่แพงจนเกินไป
Battery / Heat / Noise
สำหรับแบตเตอรี่ของ Lenovo Yoga 300 นั้นให้มาที่ 4500 mAh แม้ว่าความจุจะดูไม่เยอะ แต่จากการทดลองการใช้งานช่วงปีใหม่ โดยการใช้เล่นอินเทอร์เน็ตต่อเนื่อง 2 ชั่วโมง พิมพ์งานและดู YouTube ประมาณ 3 ชั่วโมง พบว่าสามารถใช้งานได้อยู่กำลังดี
ในเรื่องระบบระบายอากาศนั้น มีการออกแบบด้านล่างโปร่ง ทำให้ระบายอากาศได้ดี เนื่องจากเครื่องสเปคไม่ได้สูงมาก การที่ใช้โปรแกรม 3 มิติ ประมวลผลจะเกิดความร้อนมากกว่าปกติเล็กน้อย
อย่างไรก็ดี ด้วยขุมพลัง Intel ยุคใหม่ ทำให้ความร้อนระหว่างใช้งานเกิดขึ้นน้อยลง ส่งผลให้การออกแบบเครื่องดูสวยงามมากขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง
Conclusion / Award
Lenovo Yoga 300 เป็นอีก Hybrid Notebook ที่นอกจากราคาย่อมเยาวและสามารถใช้งานได้หลากหลายรูปแบบแล้ว แม้ขุมพลังอาจจะไม่ใช่จุดเด่น แต่ได้น้ำหนักที่เบาจนทำให้เป็นอีกสิ่งที่น่าจะทำให้คนที่เน้นการพกพาชอบ ไม่ใช่น้อย
แม้ว่าขุมพลังเครื่องรุ่นนี้อาจจะด้อยกว่า Yoga 500 ที่เคยสัมผัสไปก่อนหน้านี้ แต่ด้วยราคาที่อยู่เพียง 14,990 บาท ก็ทำให้หลายคนเข้าถึงได้ง่ายกว่า และแน่นอนว่าเครื่องก็ดูดีกว่า มันเลยเป็นสิ่งที่ลงตัวสำหรับคนที่ต้องการ Notebook ปรับเปลี่ยนรูปร่างได้แต่งบไม่สูงอีกรุ่นหนึ่งเลยล่ะ
ข้อดี
- ราคาเครื่องไม่แพง
- น้ำหนักเบาพกพาง่าย
- ปรับเปลี่ยนรูปร่างได้มากมาย
- ช่องต่อครบ
ข้อสังเกต
- ประสิทธิภาพอาจจะยังไม่เรียกว่าที่สุด
- แบตเตอรี่ยังอึดไม่พอ
- จอขนาดเล็กไปหน่อย
Awards
โดยในครั้งนี้จะเป็นการเปรียบเทียบการให้รางวัลกับโน๊ตบุ๊คในกลุ่มไฮบริดโน๊ตบุ๊คขนาดหน้าจอ 11 นิ้ว ซึ่ง Lenovo Yoga 300 ก็ได้รับรางวัลต่างๆ ดังนี้
Best Design
เชื่อได้ว่าหลายๆ คนต้องถูกใจกับหน้าตาของ Lenovo Yoga 300 แน่นอน เพราะด้วยการออกแบบดีไซน์ที่ใส่ใจในรายละเอียด ที่ถือได้สืบทอดมาจาก Ultrabook และ Yoga ของทาง Lenovo ที่ทุกๆ คนที่เป็นแฟนๆ คงคุ้นเคยกันอย่างดีอยู่แล้ว ซึ่งในทั้งความบางและเบา แต่ก็ยังให้ในเรื่องความแข็งแรงตามสไตล์ของ Lenovo ฉะนั้นรางวัล Best Design ไม่พลาดที่จะได้รับแน่นอน
Best Mobility
ส่วนของความสามารถในการพกพาก็ยังคงอยู่ในระดับที่ดีตามสไตล์ของ Lenovo Yoga ทั้งในความบางและน้ำหนักเบา 1.39 กิโลกรัม ที่ทำให้สามารถหิ้วไปไหนมาไหนได้อย่างสะดวก อีกทั้งด้วยระบบปฏิบัติการ Windows 10 ส่งผลให้เราสามารถพับฝาจอลงแล้วเก็บเครื่องได้ทันที เปิดหน้าจออีกทีก็ใช้งานได้เลย อแดปเตอร์ก็ทำออกมาให้มีขนาดที่ไม่ใหญ่มากนัก พกพาสะดวก จึงทำให้ Lenovo Yoga 300 ได้รับรางวัล Best Mobility ไปอย่างง่ายดาย