Connect with us

Hi, what are you looking for?

Tips & Tricks

Battery Notebook อุปกรณ์ที่ไม่ควรมองข้าม

สวัสดีครับ วันนี้มาดูอะไรดีๆเกี่ยวกับ Battery Notebook กันดีกว่านะครับ ผมขอเกริ่นก่อนละกันนะครับ ผมก็เหมือนทุกๆท่านที่ใช้ Notebook

?

Advertisement

?

แต่แล้วก็อดสงสัยไม่ได้ว่าจะทำยังไงถึงจะทำให้ใช้แบตเตอรี่ของเราให้เกิด ประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีอายุการใช้งานที่สูงสุดเช่นกัน บทความนี้ก็จะกล่าวถึงชนิดต่างๆของแบตเตอรี่ วิธีการใช้งานแบตเตอรี่ วิธีการเก็บรักษา ข้อความระวังและอันตรายต่างๆ รวมไปถึงวิธีการตรวจสอบความจุของแบตเตอรี่ ผมหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้ที่ได้ผ่านเข้ามาอ่านบทความนี้นะ ครับ

image001

ผมว่าทุกๆท่านที่ได้อ่านบทความนี้ก็น่าจะมี Notebook หรือไม่ก็เคยใช้ผ่านมือมาบ้างรวมไปถึงอุปกรณ์ไอทีประเภทต่างๆด้วยนะครับ แต่ในที่นี้ผมจะขอกล่าวถึงแบตเตอรี่ของ Notebook เป็นหลักนะครับ ซึ่งโดยปกติแล้วแบตเตอรี่ Notebook จะแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลักๆ คือ
1. แบตเตอรี่ Ni-Cd
2. แบตเตอรี่ NiMH
3. แบตเตอรี่ Li-Ion
4. แบตเตอรี่ Li-Polymer
ซึ่งในปัจจุบัน Notebook ของเราส่วนใหญ่ก็จะใช้แบตเตอรี่ที่เป็นชนิดของ Lithium Ion (Li-Ion) ซึ่งข้อดีของตัว Li-Ion นั้นก็คือสามารถชาร์จไฟค้างไว้ได้ตลอดและสามารถชาร์จไฟเมื่อไหร่ก็ได้ไม่ว่า แบตเตอรี่จะเหลือมากหรือน้อยแค่ไหนนั่นเอง โดยจะไม่มีปัญหาเกี่ยวกับ Memory Effect* (ซึ่งมีผลกับแบตเตอรี่รุ่น Ni-Cd และรุ่น NiMH) แต่ Notebook บางรุ่นหรือบางยี่ห้อก็ได้นำแบตเตอรี่รุ่นใหม่มาใช้ก็คือแบตเตอรี่ชนิด Li-Polymer ซึ่งข้อดีของตัว Li-Polymer นั้นก็จะเป็นด้านการใช้งานทางด้านการพกพาเป็นหลัก และได้ปรับปรุงแก้ไขข้อเสียของแบตเตอรี่รุ่น Li-Ion อีกทั้งยังสามารถใช้งานได้ยาวนานกว่า มีน้ำหนักที่เบากว่ามากและมีประสิทธิภาพสูงกว่า Notebook ที่ได้นำมาทดลองใช้ก็มี Lenovo ThinkPad X300 เป็นต้น

มาชมรูปแบบของ Battery Notebook ทั้งสองชนิดกันดีกว่า

image002
Li-Polymer

image003
Li-Ion

Memory Effect

คือผลกระทบที่เกิดขึ้นกับแบตเตอรี่ทุกๆชนิด คือถ้าหากมีการใช้พลังงานไฟฟ้าของแบตเตอรี่ไม่หมด แล้วนำไปชาร์จไฟใหม่ ทำแบบนี้หลายๆครั้ง ก็จะเกิดภาวะที่เรียกว่า Memory Effect ขึ้นมา เนื่องจากประจุไฟฟ้าในไส้แบตเตอรี่ยังถูกใช้หมด แต่ถูกสะสมอยู่ในการชาร์จไฟเข้าไปใหม่ ในขณะที่ยังมีประจุไฟฟ้าเดิมค้างอยู่ย่อมทำให้ตัวแบตเตอรี่ไม่สามารถเก็บ ประจุไฟฟ้าในค่าเดิมได้ และหากเกิดขึ้นบ่อยๆ เข้า แบตเตอรี่ก็จะเสื่อมสภาพลงเรื่อยๆ ซึ่งมักเกิดขึ้นกับแบตเตอรี่ชนิด Ni-Cd ส่วนแบตเตอรี่ Li-Ion และ Li-Polymer ก็จะไม่ได้รับผลกระทบเพราะได้ถูกพัฒนาและใช้วงจรในการตรวจสอบแก้ไขจนหลีก เลี่ยงปัญหาดังกล่าวได้

ชาร์จแบตเตอรี่อย่างไรถึงจะดี?
สำหรับปัจจุบันนั้น Notebook ทั่วไปจะเลือกใช้งานแบตเตอรี่เป็นแบบ Li-Ion และ Li-Polymer แทบจะทั้งหมดครับ ซึ่งแบตเตอรี่ทั้ง 2 แบบนี้มีข้อดีคือ สามารถชาร์ทอย่างไรก้ได้ตามใจฉัน เพราะเงื่อนไขของการเสื่อมนั้น จะมาจากอย่างอื่นแทน ซึ่งปัจจัยที่เราเกี่ยวข้องด้วยจะมีเพียงแค่ในเรื่องของความร้อนเท่านั้น เพราะความร้อนจากตัวเครื่องของตัวเครื่อง Notebook นั้นจะสามารถส่งผลกระทบทำให้แบตเตอรี่เสื่อมได้เช่นกัน ส่วนปัจจัยอื่นๆนั้นอยู่นอกเหนือการควบคุมครับ เช่น เรื่องการเสื่อมสภาพลงนับตั้งแต่วันที่ถูกผลิตแล้ว หรือจะเป็นเรื่องของการชาร์ทด้วยกระแสมากน้อยต่างกัน เพราะ Adapter ที่เราได้รับมาจากทางผู้ผลิตนั้นเป็นแบบปรับค่าไม่ได้ จึงไม่ต้องไปกังวลในจุด… แต่

1
ภาพที่ 1 แสดงลักษณะการชาร์ทของแบตเตอรี่แบบ Li-on

ลักษณะการชาร์ทโดยทั่วไปของแบตเตอรี่แบบ Li-on นั้นจะมีการชาร์ที่แบ่งออกเป็น 3 Stage ดังภาพ คือ Stage ที่ 1,2 และ 3 โดย Stage ที่ 1 นั้นจะมีการอัดประจุเข้าไปโดยใช้กระแสที่ค่อนข้างสูงกว่า Stage ที่ 2 และ 3 ถัดจากนั้นก็จะลดหลั่นลงมาเรื่อยๆ จนถึง Stage ที่ 3 จะมีการใช้กระแสน้อยที่สุด ซึ่งใครที่ชาร์ทแบตเตอรี่บ่อยๆคงจะสังเกตเห็นกันว่าที่ระดับ 90% ขึ้นไปนั้นทำไมมันช่างชาร์ทนานซะเหลือเกิน – – แตกต่างจากกาชาร์ทที่ระดับต่ำๆมาถึงระดับ 70-80% ซึ่งเหตุผลนี้เป็นเพราะว่าใน Stage ที่ 1 นั้น ผู้ผลิตแบตเตอรี่ต้องการที่จะลดเวลาในการชาร์ทลงให้ได้มากที่สุด(ขืนใช้งาน 2 ชั่วโมง ชาร์ทกัน 10 ชั่วโมงมีหวังได้โดนผู้ใช้ด่ากันขรมแน่ๆ ^^) จึงออกแบบมาให้ Stage ที่ 1 นั้นชาร์ทโดยใช้กระแสสูงๆเพื่อประหยัดเวลา ส่วนStage ที่ 2 และ 3 นั้นก็จะค่อยหันกลับมาชาร์ทแบบถนอมอายุการใช้งาน ถนอมอย่างไรนั้นเราไปชมภาพกันเลยดีกว่าครับ

2
ภาพที่ 2 แสดงอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ที่ชาร์ทด้วยกระแสระดับต่างๆ

อธิบายกันก่อน การชาร์ทที่ระดับ 1C นั้นหมายถึง ถ้าสมมติว่าแบตเตอรี่มีขนาด 20Ah แล้วเราทำการชาร์ทด้วยกระแส 2A เท่ากับว่าเราต้องใช้เวลาในการชาร์ท 10 ชั่วโมง หรือนั่นก็คือ C/10 ได้เท่ากับ 0.1C นั่นเองครับ แต่หากว่า เป็น 1C นั่นก็หมายความว่าเราชาร์ทด้วยกระแส 20A เป็นเวลา 1 ชั่วโมงครับ ซึ่งก็จะเช่นเดียวกันกับ 2C และ 3C คือการเพิ่มระดับกระแสเข้าไปมากขึ้นให้ใช้เวลาในการชาร์ทที่น้อยลง

แต่จากภาพจะเห็นได้ว่าเมื่อชาร์ที่ระดับ 2C และ 3C นั้น จะมีอายุการใช้งานที่สั้นกว่าแบบ 1C ดังนั้นเมื่อเรานำภาพที่ 1 และ 2 มาพิจารณาร่วมกัน ก็จะเห็นได้ว่า หากเราใช้งาน Notebook โดยเริ่มชาร์ทกันที่ Stage 2 ขึ้นไป(จากภาพที่ 1)ก็น่าจะยืดอายุการใช้งานของ แบตเตอรี่ออกไปได้นานกว่าการชาร์ที่ระดับ 1 เสมอๆครับๆ เพราะมีการใช้กระแสในการชาร์ทที่ต่ำกว่า ซึ่งแบตเตอรี่แต่ละยี่ห้อก็จะมีการแบ่งระดับการชาร์ทที่แตกต่างออกไป แต่ผมแนะนำว่าควรจะชาร์ทเมื่อแบตเตอรี่มีระดับพลังงาน 60% ขึ้นไป น่าจะอยู่ใน Stage 2 หรือ Stage 3 ในบางยี่ห้อครับ

สำหรับทฤษฏีนี้อาจจะยังไม่มีการยืนยันโดยตรงแต่ก็ไม่เสียหายอะไรที่จะดูแลโดยขั้นตอนนี้ครับ เพราะตัวแบตเตอรี่แบบ Li-on นั้นไม่มี Memory Effect อยู่แล้ว ฉะนั้นจะชาร์ทกันซักกี่พันรอบก็ไม่มีปัญหาอะไร นอกจากนี้ยังมีคำเตือนในเรื่องของการอย่าใช้แบตเตอรี่จนหมดในแบตเตอรี่ชนิด Li-on ซึ่งผมว่ามันก็น่าจะสมเหตุสมผลกันอยู่ ใครว่างๆอยากจะลองทดสอบกันดูก็ได้นะครับ ^^ แต่ถ้าแบตเตอรี่เสื่อมแล้วจะหาว่าไม่เตือน หุหุ

This Sector Edited by: mnssp04

การนับรอบการชาร์จ (Cycle)
การนับรอบการชาร์จของแบตเตอรี่รุ่น Li-Ion และ Li-Polymer จะนับจากการชาร์จไฟรวมที่ประมาณ 85 ? 95 %(ขึ้นอยู่กับสถานะสูงสุดของแบตเตอรี่ที่สามารถรับไฟได้) ของแบตเตอรี่ โดยจะเริ่มนับเป็น 1 รอบ ยกตัวอย่างเช่น ที่แบตเตอรี่ประสิทธิภาพ 100% ท่านใช้เหลือ 80% ก็คือใช้ไปแล้ว 20% คุณก็สามารถที่จะทำแบบนี้ได้อีก 5 ครั้ง ถึงจะเป็น 100% ของการชาร์จรวมทั้งหมด นี่คือการนับเป็น 1 รอบของการชาร์จแบตเตอรี่นั่นเอง ซึ่งสองรุ่นนี้จะต่างจากรุ่น Ni-Cd และรุ่น NiMH ซึ่งนับรอบการชาร์จจากจำนวนครั้งในการชาร์จไฟ ซึ่งให้แบตเตอรี่มีอายุการใช้งานที่สั้นมาก
แล้วเราควรจะใส่หรือถอดแบตเตอรี่ดีเอ่ย?

โดยทั่วไปแล้ว เราส่วนใหญ่ก็คงรู้กันดีว่าถ้าหากไม่ได้มีการใช้ Notebook เป็นเวลานานก็ควรถอดแบตเตอรี่ออกจาก Notebook เนื่องจากเมื่ออุปกรณ์ไฟฟ้าครบวงจรยังไงก็ต้องมีกระแสไฟฟ้าไหลอย่างแน่นอนซึ่งอาจทำให้แบตเตอรี่สูญเสียพลังงานโดยใช่เหตุ และอาจเป็นการลดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ไปในตัว แต่ท่านเคยคิดหรือไม่ว่าถ้าถอดแบตเตอรี่ออกมาแล้วเราควรจะเอามันไปเก็บไว้ที่ไหนดี หรือเก็บยังไงดี? ถึงจะปลอดภัยและมีอายุการใช้งานสูงสุด

image005
ตารางแสดงการสูญเสียพลังงานอัตราการชาร์จของแบตเตอรี่ต่อระดับอุณหภูมิ

โดยจากตารางผมสรุปได้ว่าหากทำการเก็บแบตเตอรี่ที่อุณหภูมิปกติ (ประมาณ 25 องศา) แบตเตอรี่ที่มีความจุ 40% จะคลายประจุออกมา 4% ในระยะเวลาผ่านไป 1 ปี และยิ่งถ้าเก็บแบตเตอรี่ในที่ๆมีอุณหภูมิสูง อัตราการคลายประจุก็จะเพิ่มมากขึ้น
ในขณะที่แบตเตอรี่ที่มีความจุเต็ม 100% ก็จะคลายประจุออกมาถึง 20% หลังจากผ่านไป 1 ปี และหากอุณหภูมิ การเก็บสูงขึ้นอัตราการคลายประจุก็จะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน จึงสรุปได้ว่าหากต้องการถอดและเก็บแบตเตอรี่นั้นควรให้แบตเตอรี่มีพลังงานที่ 40% และควรเก็บในสถานที่ๆมีอากาศเย็น โดยปราศจากความชื้น (40% Charge นี้เป็นค่าที่เหมาะสมที่สุดจากผลการทดลองทางแบตเตอรี่)
แต่ในกรณีที่มีการใช้งาน Notebook แบบปกติแล้ว ก็ควรชาร์จแบตเตอรี่ให้เต็มความจุทุกครั้ง โดยประมาณ 4 ? 8 ชั่วโมง

แล้วถ้าเราเสียบปลั๊กใช้งานควรจะใส่หรือจะถอดแบตเตอรี่ดี ?
ภายในแบตเตอรี่ของ Notebook นั้นจะมีวงจรไว้สำหรับควบคุมการชาร์จ โดยลักษณะของวงจรการชาร์จแบตเตอรี่ที่พบใน Notebook สามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
แบบที่ 1 คือวงจรที่ทำการชาร์จพลังงานให้แก่แบตเตอรี่ตลอดเวลาแม้ระดับพลังงานของ แบตเตอรี่ที่มี จะสูงกว่า 90% วงจรแบบนี้จะพบได้ใน Notebook รุ่นเก่าๆ
แบบที่ 2 คือวงจรชาร์จแบตเตอรี่จะเริ่มต้นทำงาน เมื่อระดับพลังงานของแบตเตอรี่ต่ำกว่า 90 – 95% (แล้วแต่ยี่ห้อ) โดย Notebook ส่วนใหญ่ในปัจจุบันจะใช้วงจรแบบที่ 2 นี้ เกือบทั้งหมด

ดังนั้นเมื่อพิจารณาจากวงจรการชาร์จทั้ง 2 แบบ แล้วสรุปได้ว่า หาก Notebook ของคุณเป็นรุ่นที่ใช้แบตเตอรี่ที่มีวงจรการชาร์จแบบที่ 2 การเสียบปลั๊กเล่นก็ไม่จำเป็นที่จะต้องถอดแบตเตอรี่ออก เนื่องจากจะไม่มีผลกระทบใดๆต่อแบตเตอรี่เพราะวงจรการชาร์จของแบตเตอรี่ ยังไม่ได้ทำงาน (ในกรณีที่แบตเตอรี่มีความจุมากกว่า 90 – 95%) แต่หากแบตเตอรี่มีความจุไม่ถึงระดับ 90 – 95% ผมแนะนำให้ทำการใช้งานไปจนกว่าความจุของแบตเตอรี่จะลดลงถึงระดับ 2C หรือ 1C แล้วจึงค่อยเสียบปลั๊ก แต่ถ้ากรณีที่ Notebook ของท่านเป็นรุ่นที่ใช้แบตเตอรี่ที่มีวงจรการชาร์จแบบที่ 1 (ไม่ตัดการทำงาน) ลองพิจารณาถึงข้อดีและข้อเสียต่างๆ ดังต่อไปนี้

image006

จากตารางที่ท่านเห็นก็จะเป็นการแสดงข้อดีและข้อเสียที่สรุปออกมาจากเสียบ ปลั๊กเล่นกับการถอดปลั๊กเล่นสำหรับแบตเตอรี่ที่มีวงจรการชาร์จแบบที่ 1 แต่ก็ขึ้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละท่านเองนะครับ แต่อย่างไรก็ตามด้วยคุณลักษณะของแบตเตอรี่แบบ Li-on นั้นจะมีการคลายประจุออกมาอยู่แล้วในอัตรา 10 % ต่อ 1 เดือน (ที่อุณหภูมิการใช้งาน) และอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ของ Notebook ก็จะอยู่ที่ 2-3 ปี แต่หากมีการใช้งานอย่างถูกต้องเหมาะสมก็จะช่วยยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ ได้ยาวนานยิ่งขึ้นครับ

ข้อควรปฏิบัติในการใช้แบตเตอรี่ Li-Ion และ Li-Polymer

อันนี้ก็ขอกล่าวถึงข้อปฏิบัติต่างๆและสิ่งที่ควรระวังหรืออันตรายที่อาจจะ เกิดขึ้นกับแบตเตอรี่ของท่าน รวมถึงตัวผู้ใช้ด้วยนะครับ ผมจึงอยากให้ทุกท่านได้ทราบถึงสิ่งอันตรายเบื้องต้นที่คุณก็สามารถป้องกัน ได้ง่ายๆ แต่เกิดประโยชน์อย่างมาก และผมก็ขอบอกข้อควรระวังเพื่อให้ทุกท่านหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะทำให้แบตเตอรี่ ของท่านเสียหายหรืออายุการงานสั้นลงนะครับ

image00

สิ่งที่อันตรายและอาจส่งผลให้แบตเตอรี่ของคุณระเบิด ได้

1. การนำแบตเตอรี่ไปสัมผัสกับน้ำหรือของเหลวทั่วๆไป อาจทำให้วงจรป้องกันภายในการชาร์จเสีย ซึ่งจะส่งผลกระทบก็คือถ้าหากมีการชาร์จด้วยกระแสไฟฟ้าที่สูงเกินแล้ว แบตเตอรี่ก็จะร้อนหรืออาจระเบิดได้
2.การวางแบตเตอรี่ไว้ใกล้ไฟหรือที่ๆมีความร้อนสูงเกินรวมถึงการเผาทำลาย ซึ่งอาจจะทำให้แบตเตอรี่เสียหรือลัดวงจรแล้วระเบิดได้
3.การชาร์จควรชาร์จด้วยเครื่องชาร์จที่ออกแบบมาสำหรับแบตเตอรี่ Li-Ion และ Li-Polymer เท่านั้น ไม่เช่นนั้นอาจทำให้กระแสไฟฟ้าที่ชาร์จสูงเกินแล้วแบตเตอรี่ของคุณก็จะ ระเบิดได้
4.ในการชาร์จแบตเตอรี่ ควรระวังการชาร์จกลับขั้วซึ่งจะทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีที่ผิดปรกติภายใน ผลก็คือระเบิดอีกเช่นกัน
5.การแกะหรือกระแทกแบตเตอรี่แรงๆ อาจจะทำให้วงจรแบตเตอรี่ภายในช็อตภายในและระเบิดได้

ข้อควรระวัง
1.ไม่ควรใช้แบตเตอรี่ในที่ๆมีความร้อนสูงเพราะจะทำให้อายุการใช้งานของ แบตเตอรี่นั้นสั้นลง
2.ไม่ควรใช้ในที่ๆมีไฟฟ้าสถิตสูงเพราะอาจจะทำให้วงจรป้องกันแบตเตอรี่เสีย ได้
3.ควรใช้งานและชาร์จในช่วงอุณหภูมิที่กำหนด (ใช้งานที่ 20 – 60?C และชาร์จที่ 0 – 45?C สังเกตได้ว่าหากอากาศบ้านเราหน้าร้อนสูงเกิน 40?C ก็ควรจะหลีกเลี่ยงการชาร์จไว้ก่อน)
4.หากทิ้งแบตเตอรี่ไว้ไม่ได้ชาร์จเป็นเวลานานๆจะทำให้แบตเตอรี่นั้นไม่ สามารถที่จะชาร์จให้เต็มประสิทธิภาพ ดังนั้นหากไม่มีการใช้งานก็ควรที่จะนำมาชาร์จอย่างน้อยทุกๆหกเดือน

การวิธีตรวจสอบความจุของแบตเตอรี่
วันนี้ผมขอแนะนำวิธีตรวจสอบความจุของแบตเตอรี่ของเรา ซึ่งเราจะสามารถรู้ได้ว่าแบตเตอรี่ของเรานั้นมีความจุพลังงานเต็มหรือเหลือ กันกี่เปอร์เซ็นแล้ว หลังจากที่ถูกใช้กันมาเป็นอย่างยาวนาน วิธีการตรวจสอบก็จำเป็นต้องใช้โปรแกรม BatteryMon นั่นเอง โปรแกรมนี้เป็น Shareware นะครับ ก็ถ้าดาวโหลดมาก็จะสามารถใช้งานได้ 30 วัน แต่ก็จริงๆแล้วนานๆตรวจทีก็ได้นะ ไม่จำเป็นต้องไปซื้อหรอกตั้ง 24 เหรียญ ทุกท่านสามารถดาวโหลดมาทดลองใช้ได้ที่ http://www.passmark.com/download/index.htm เลือก Download ที่ BatterMon นะครับ
หลังจากที่ติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว เปิดขึ้นมาก็จะพบกับหน้าตาโปรแกรม แบบนี้เลยครับ

image008

ให้กดที่ Start ด้านล่างซ้ายของโปรแกรม โปรแกรมจะทำการประมวลผลของแบตเตอรี่รวมไปถึงข้อมูลต่างๆ รวมถึงระบบเบื้องต้นด้วย พอกดเสร็จก็จะมีแทปด้านขวาบนแสดงถึงความจุของแบตเตอรี่เราครับ

image009

ต่อไปมาถึงวิธีตรวจสอบว่าแบตเตอรี่เราสามารถชาร์จได้กี่เปอร์เซ็นกันแน่หรือ ออกมาจากโรงงานผลิตนั้น ประสิทธิภายดีแค่ไหน
โดยให้คลิกไปที่รูปแบตเตอรี่เล็กหรือ Battery Information (Info >> Battery Information) โปรแกรมก็จะแสดงข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับแบตเตอรี่ อีกทั้งถ้าท่านอยากตรวจสอบข้อมูลของระบบก็สามารถเลือกได้ที่ System Information (Info >> System Information)
ก็จะได้รูปตามนี้นะครับ
image010

?

แล้วก็จะมีสูตรคำนวณตามนี้เลยนะครับ
(Full Charge Capacity / Design Capacity) * 100 = เปอร์เซ็นที่แบตเตอรี่เราสามารถชาร์จได้สูงสุด
ยกตัวอย่างเช่นแบตเตอรี่ของผมเองละกันครับ
(Full Charge Capacity = 40673 / Design Capacity = 43200) * 100 = ประมาณ 94.15 %
ก็นับว่ายังอยู่ในเกณฑ์ที่ดีที่เดียวหลังจากผ่านการใช้นานอย่างหนักหน่วงมา เกือบสองปี ขอบคุณครับ

รูป Log จากโปรแกรม BatteryMon ของ แบตเตอรี่ MSI PR210X

log

สุดท้ายนี้ ผมขอแนะนำบทความดีๆที่เคยเขียนไว้ในเว็บนี้แล้ว เทคนิคง่ายๆ ยืดดด..อายุแบตเตอรี่ คุณก็ทำได้ภายใน 5 นาที
ลิ้งนี้เลยครับ >>> https://notebookspec.com/2008/08mar-power.html

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

Tips & Tricks

ชาร์จแบตไม่เข้าโน๊ตบุ๊ค เช็คง่ายใน 7 ขั้นตอนดูแล แก้ไขก่อนเปลี่ยนแบตใหม่ รู้จักวิธีถนอมแบตให้ใช้งานได้นาน ชาร์จแบตไม่เข้าโน๊ตบุ๊ค เป็นอีกหนึ่งปัญหากวนใจผู้ใช้หลายคนบางครั้งใช้มา 2-3 ปี ก็เจอปัญหานี้บ้างแล้ว สาเหตุเกิดจากแบตเตอรี่เสื่อม ทำให้ประสิทธิภาพการเก็บประจุได้น้อยลง ทำให้บางครั้งก็ชาร์จได้แต่ช้า จึงเสียเวลาในการทำงาน และใช้งานไม่สะดวกนัก โดยเฉพาะคนที่ต้องเดินทางหรือไปข้างนอก ที่บางครั้งอาจหาจุดชาร์จหรือปลั๊กไฟได้ยาก ต้องลุ้นว่าเมื่อไรแบตจะดับ อย่างไรก็ดียังพอมีวิธีจัดการแก้ไขปัญหานี้ได้ในเบื้องต้น ด้วยการตรวจเช็ค ทั้งปลั๊กจุดจ่ายไฟ และการเก็บประจุของแบตเตอรี่ การกระตุ้นแบตให้ใช้งานได้ชั่วคราว...

Tips & Tricks

ท่านเคยประสบปัญหาโน๊ตบุ๊คอายุมากกว่า 2 ปี เจอกับปัญหาแบตเตอรี่เสื่อม โน๊ตบุ๊ค แบตหมดเร็ว จากจากเดิมที่เคยใช้แบบยาวๆนาน 3 - 4 ชั่วโมงต่อเนื่อง กฟเพื่อนๆ เคยประสบปัญหาโน๊ตบุ๊คอายุมากกว่า 2 ปี เจอกับปัญหาโน๊ตบุ๊คแบตเสื่อม ทำให้แบตหมดเร็วมากๆ จากจากเดิมที่เคยใช้แบบยาวๆนาน 3 - 4 ชั่วโมงต่อเนื่อง หรือยาวนานกว่านั้น กลับกลายเป็นใช้ได้...

Notebook News

ในปัจจุบัน Notebook ของเราส่วนใหญ่ก็จะใช้แบตเตอรี่ที่เป็นชนิดของ Lithium Ion (Li-Ion) ซึ่งข้อดีของตัว Li-Ion นั้นก็คือสามารถชาร์จไฟค้างไว้ได้ตลอดและสามารถชาร์จไฟเมื่อไหร่ก็ได้ไม่ว่า แบตเตอรี่จะเหลือมากหรือน้อยแค่ไหนนั่นเอง

How to

แหล่งพลังงานสำคัญสำหรับโน๊ตบุ๊คทุกเครื่องนอกจากอะแดปเตอร์ที่จ่ายไฟบ้านเข้าเครื่องแล้วก็จะมีแบตเตอรี่อีกหนึ่งทางทีทำให้โน๊ตบุ๊คใช้งานได้แม้จะไม่ต้องเชื่อมต่อแบตเตอรี่เข้าเครื่อง แต่ถ้าใช้งานไปนานๆ แล้วหลายๆ คนก็อาจจะไม่แน่ใจว่าแบตเตอรี่ของเราจะยังสามารถใช้งานได้ดีเหมือนเดิมหรือเปล่าก็ไม่ต้องห่วง เพราะวันนี้ทางทีมงานมีวิธีตรวจสอบประสิทธิภาพของแบตเตอรี่มาฝากให้ทุกท่านได้ทราบกัน Advertisement เช็คอายุการทำงานด้วยโปรแกรม CPUID HWMonitor?หนึ่งในโปรแกรมสารพัดประโยชน์ที่เอาไว้เช็คตัวเครื่องซึ่งสามารถใช้เช็คได้ด้วยว่าแบตเตอรี่ของเรายังคงมีประสิทธิภาพในการทำงานเต็มที่หรือไม่ โดยพอเราติดตั้งโปรแกรมแล้วก็เลื่อนลงมาเช็คที่คำสั่ง ?Levels? ว่าตอนนี้ Wear Level ของแบตเตอรี่เราอยู่ที่ระดับเท่าไหร่ ซึ่งถ้า Wear Level ของเรายิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่าไหร่ก็หมายความว่าแบตเตอรี่เรายิ่งเสื่อมมากขึ้นเท่านั้น ดาวน์โหลดโปรแกรม CPUID HWMonitor ได้ที่นี่  ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก