บอกได้เลยว่าช่วงนี้กระแสของโน๊ตบุ๊ค AMD มาแรงอย่างต่อเนื่องเสียเหลือเกิน หลังจากที่ก่อนหน้านี้ปล่อยให้ Intel เป็นเต้ยในเจ้าตลาดอยู่นานๆ ซึ่งล่าสุดก็ได้ปล่อยซีพียูในฝั่ง Mobility ประสิทธิภาพสูงสำหรับโน๊ตบุ๊คออกมาสู้เช่นกันทั้งในกลุ่มของ AMD A-Series และ AMD FX Series ซึ่งในกลุ่มซีพียู Mobility ทั้งสองตัวของ AMD จะเป็น APU ทั้งหมดครับ กล่าวคือมีชิปกราฟิกฟังมาให้ในตัวซีพียูเองด้วย ซึ่งเจ้า AMD A-Series และ AMD FX Series ในแบบ Mobility ในหลายๆรุ่นก็สามารถทำ Dual GPU เพื่อเรียกได้ประสิทธิภาพสูงสุดให้กับตัวกราฟฟิกการ์ดแยกได้ด้วยเช่นกัน
เช่นเดียวกับ ASUS X550ZE ที่ทางทีมงาน NotebookSPEC จะมาแนะนำให้เพื่อนๆสมาชิกได้ลองสัมผัสกันในบทความนี้ ที่ก็จะเป็นหนึ่งในโน๊ตบุ๊คที่ใช้ซีพียู AMD FX Series ในแบบ Mobility ตัวท็อปสุดอย่าง AMD FX 7600P พร้อมความสามารถในการทำ Dual GPU ควบคู่กับกราฟิกการ์ดแยกอย่าง AMD Radeon R5 M230 ที่จะกลายเป็น?AMD Radeon R7 M270 DX Dual Graphics with 2GB DDR3 VRAM?ซึ่งทาง AMD เคลมว่าถ้าทำ Dual Graphics แล้วความแรงจะเหนือกว่า AMD R7 M265 และสูสีกับ GeForce GT840M เสียอีกในราคาคุ้มๆ ที่ 20,000 บาทมีถอนครับ ซึ่งเจ้า ASUS X550ZE โน๊ตบุ๊คทรงพลัง Pure AMD ตัวนี้จะแรงแค่ไหนอย่างไรเชิญชมในรีวิวนี้กันได้เลย
Video Introduce
Specification
ก่อนจะมาดูในเรื่องของประสิทธิภาพแวะมาดูในด้านของสเปคกันของ ASUS X550ZE กันก่อนครับ สำหรับเจ้านี่เลือกใช้ซีพียู AMD ตัวท็อปที่สุดในตระกูล AMD Mobility ฝั่งผู้ใช้งานปกติเลยก็ว่ากับ AMD FX-7600P (2.70 GHz, 4 MB L2 Cache up to 3.60 Ghz) พ่วงด้วยการ์ดจอ APU ที่ทำ Dual GPU กับการ์ดจอแยกอย่าง AMD Radeon R7 M270 DX Dual Graphics with 2GB DDR3 VRAM นอกเหนือจากนี้ก็ยังมีแรมขนาด 4GB DDR3L และสามารถอัพเกรดได้งสูงสุด 16GB (8GB+8GB) พ่วงด้วยฮาร์ดไดร์ฟ HDD ความจุพอไปวัดไปวาได้ที่ 1,000GB หรือ 1TB ครับผม
หน้าจอแสดงผล ASUS X550ZE ใช้จอแสดงผลมาตรฐาน HD ขนาด 15.6 นิ้ว ความละเอียด 1366?768 พิกเซล พร้อมด้วยกล้องเว็บแคม 0.3 MPixel มีไมค์ในตัวให้ด้วย และมีระบบเสียงที่ค่อนข้างโอเคอย่างอย่าง SonicMaster และ AudioWizard ปรับแต่งเสียงได้ดั่งใจ
ในส่วนของการเชื่อมต่อเองก็มาพร้อมพอร์ต 2x USB 3.0 , 1x USB 2.0 , HDMI , 2-in-1 card reader (SD/ MMC) , RJ45 , Super-Multi DVD และ Audio Combo Jack พร้อมยังรองรับมาตรฐานการเชื่อมต่อไร้สายอย่าง WiFi 802.11b/g/n และ Bluetooth v4.0 ขนาดตัว ASUS X550ZE ก็จัดอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของโน๊ตบุ๊ค 15.6 นิ้วทั่วไป มีขนาดอยู่ที่ 38.0 x 25.1 x 2.51 เซนติเมตร (WxDxH) และมีน้ำหนักตัวที่ราวๆ 2.2 กิโลกรัมไม่หนักไม่เบาจนเกินไป พร้อมรับประกันการใช้งาน 2 ปีจาก ASUS Thailand สนนราคาอยู่ที่ 19,990 บาทครับผม
สเปคฉบับเต็ม : ASUS X550ZE
Using Experience
สัมผัสแรกบน ASUS X550ZE ได้เห็นการดีไซน์ที่ค่อนข้างเรียบๆ มีสไตล์แบบคลาสสิค โดยฝาบนของตัวเครื่อง X550 ที่จะใช้พลาสติกสีเทาดำที่จะมีด้วยเท็กเจอร์ให้ฟีลลิ่งในการสัมผัสที่ค่อนข้างแตกต่างจากโน๊ตบุ๊คมาตรฐานตัวอื่นๆ ส่วนด้านหลังหรือด้านใต้ของตัวเครื่องใช้พลาสติกผิวดำด้านตามแบบฉบับของโน๊ตบุ๊ครุ่นคุ้มค่า ส่วนในเรื่องของการอัพเกรดนั้นสามารถทำได้เช่นกันแต่ทำได้ยาก เพราะต้องเลาะแผงคีย์บอร์ดออกมาซึ่งค่อนข้างยุ่งยากมากพอสมควร แต่ก็พอที่จะทำได้เพราะตัวเครื่องจากที่จะติดอยู่กับฝาล่างแต่ตัวนี้กลับไปอยู่ที่บริเวณแผงคีย์บอร์ดแทนด้านในของตัวเครื่องบริเวณที่พักมือเมื่อเมื่อเปิดออกมาจะสังเกตเห็นวัสดุพลาสติกสีออกฟ้าๆเทาๆสว่างๆซึ่งว่ากันตามตรงว่าสีด้านในออกแนวคลาสสิกจนเชยไปเลยสำหรับบางคน
เปิดเครื่องใช้จริงบน ASUS X550ZE ก็ตอบสนองการ Boot UP เข้า Windows ได้อย่างรวดเร็วพอประมาณตามสไตล์ฮาร์ดไดร์ฟจานหมุน ซึ่งหลังจากเปิดเครื่องทางทีมงานได้ทดสอบโดยการเปิดภาพยนต์ และคลิปต่างๆ เพื่อทดสอบความคมชัดและเที่ยงตรงของหน้าจอแสดงผล ในส่วนของฉากมืดต่างๆ ก็ทำออกมาได้ดีพอประมาณสามารถมองเห็นรายละเอียดๆ ต่างๆ ได้ครบถ้วน ซึ่งในส่วนนี้ภาพที่ได้ก็ค่อนข้างมีคุณภาพที่ดีในมุมมองตรงๆ ครั้นจะเฉียงเอียงเครื่องมองจากด้านข้างก็มีมุมมองที่กว้างพอใช้ได้ราวๆข้างละ 45 องศา ซึ่งถ้ามากกว่านั้นสีภาพจะเริ่มเพี้ยน ส่วนมุมก้มและมุมเงยทำออกมาได้ไม่ดีเท่าที่ควรเพราะมีอาการเพี้ยนของภาพมากทีเดียว แต่อย่างไรก็ตามในส่วนของการใช้งานต่างๆ บนหน้าจอโน๊ตบุ๊คเองก็ถือว่ากลางๆ เพราะพื้นที่ใช้งานมีค่อนข้างจำกัดตามสไตล์จอ 15.6 นิ้วแต่ความละเอียด HD 1366×768 พิกเซล แต่อย่างไรก็ตามเพื่อนๆ สามารถเพิ่มพื้นที่การแสดงผลด้วยจอแสดงผลแยกผ่านพอร์ต HDMI ที่สามารถซื้อแยกได้
แต่ด้วยความละเอียด HD 1366×768 พิกเซล ที่ถึงแม้จะมีเนื้อที่น้อย แต่กลับทำให้เล่นเกมแบบ Native ได้ค่อนข้างลื่นไหล ด้วย AMD FX 7600P และ AMD Radeon R7 M270 DX Dual Graphics with 2GB DDR3 VRAM?ที่บอกเลยว่าแรงสมราคาโดยเฉพาะกับเกมที่รองรับกับกราฟิคการ์ด AMD และรองรับ Dual Graphics โดยเฉพาะอย่าง Tomb Raider และ Battlefield ก็เล่นได้ดีในระดับหนึ่งเลย แถมด้วยระบบเสียง SonicMaster และซอฟแวร์เสียง Audio Wizard มาให้ด้วย ยิ่งทำให้เล่นเกมได้เต็มอรรถรสและสนุกสนานมากยิ่งขึ้น ยิ่งถ้าปรับเปลี่ยนไปฟังเพลงเพลินผ่านลำโพงละก็บอกเลยฟังได้เพลินเลยละครับ แต่กระนั้นแล้วลำโพงชุดนี้มีเสียงกลาง กลับแหมที่ค่อนข้างเยอะ แต่เสียงต่ำก็มีหายไปเยอะเช่นกันครับ ฟังเพลง Easy Listening ได้ชิวๆเลย แต่เพลง EDM บอกผ่านเลยดีกว่า
และถ้าเล่นเกมฟังเพลงกันจนเบื่ออยากปรับมาทำงานทั่วไป ASUS X550ZE ก็ทำได้ไม่เลวทั้งการพิมพ์งานเวิร์ด เอ็กเซล ส่งอีเมล ท่องเว็บ เล่นเฟส แชท ก็ทำได้ตามมาตรฐานด้วย คีย์บอร์ด Chiclet พร้อมปุ่มตัวเลขที่ถึงแม้แป้นพิมพ์ออกแบบมาได้ดี แต่ตัวแป้นพิมพ์เองค่อนข้างยวบและดูไม่มั่นคงเอามากๆ ถึงแม้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานโดยตรง แต่ด้วยความไม่มั่นคงนี้เองทำให้รู้สึกไม่ค่อยมั่นใจในการใช้งานครับ ในส่วนของทัชแพดเองก็จะเป็นทัชแพดแบบ multi-point มาพร้อมกับเทคโนโลยี Smart Gestur ที่รองรับการใช้งานได้หลากหลายรูปแบบบน Windows 8.1 เช่น ซูมเข้า ซูมออก เลื่อนขึ้น-ลง หรือการแตะ เป็นต้น
นอกเหนือจากนี้ถ้าเพื่อนๆไม่ถนัดใช้งานคีย์บอร์ดและทัชแพดที่ติดตั้งมาให้ในเครื่อง รวมถึงอยากจัดเก็บข้อมูลความเร็วสูงผ่าน USB 3.0 แล้วละก็ ASUS X550ZE ก็พร้อมที่จะให้เพื่อนๆนำ Device ดังกล่าวมาต่อแยกได้ด้วยผ่านพอร์ตต่างๆ ที่ติดตั้งมาให้อย่างครบครันไม่ว่าจะเป็น USB 3.0 ถึง 2 พอร์ต , USB2.0 , HDMI , SD Card Reader , DVD-RW และรองรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตไร้สาย และ Bluetooth 4.0 อย่างครบครัน เช่นกันกับในด้านการพกพาก็ทำได้ดีเพราะ ASUS X550ZE เพราะมีน้ำหนักที่ค่อนข้างเบาเพียง 2.2 กิโลกรัมเท่านั้น ไม่ว่าจะหญิงหรือชายก็พกพาไปทำงาน บันเทิงได้ตลอดเวลา
Performance / Software
มาดูผลทดสอบประสิทธิภาพโดยรวมของเจ้า ASUS X550ZE ที่เลือกใช้หน่วยประมวลผลกลาง AMD FX และการ์ดจอในรูปแบบ Dual Graphics กันครับ
โปรแกรมอย่าง CPU-Z ก็แสดงสเปคออกมาได้ตรงตามที่?ASUS X550ZE ระบุเอาไว้ทั้งหมด เช่นเดียวกับโปรแกรม GPU-Z ที่แสดงผลการ์ดจอได้ตรงตามความเป็นจริง ซึ่งจะเห็นได้ว่าการ์ดจอทำ Dual Graphics กันอยู่อย่างชัดเจน แต่อย่างไรก็ตามรุ่นของกราฟิกการ์ดอย่าง?AMD Radeon R7 M270 DX Dual Graphics with 2GB DDR3 VRAM ยังไม่แสดงค่าออกมาได้ตรงครับ
CINEBENCH หรือโปรแกรมที่ใช้ทดสอบงานทางด้านเรนเดอร์วิดีโอที่ใช้ประสิทธิภาพของหน่วยประมวลผลกลางและการ์ดจอเป็นหลักก็มีผลคะแนนอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามประสิทธิภาพของหน่วยประมวผลและการ์ดจอจาก AMD
ตัวเก็บข้อมูลของระบบที่เลือกใช้ฮาร์ดดิสก์แบบจานหมุนความเร็ว 5400 RPM ความจุ 1TB ก็อยู่ในระดับพื้นๆทั่วๆไปตามมาตฐาน
ต่อด้วยลองแปลงไฟล์ DVD ที่เป็นไฟล์ ISO ดูในสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตกันบ้างผ่านโปรแกรม Format Factory โดยแปลงไฟล์ ISO ไปเป็น MPEG4 720P?ซึ่งก็ใช้เวลาเพียง 36 นาที ช้ากว่า Core i5 รหัส U อยู่เล็กน้อย
บีบอัดเกมสุดฮิตกับไฟล์เกม Dota 2 ที่มีขนาดราวๆ 8GB ไฟล์กันบ้างกับโปรแกรมพื้นฐานที่ทุกเครื่องต้องมีอย่าง Winrar ที่ทำการบีบอัดได้ในเวลาราวๆ 21 นาทีรวดเร็วยิ่งกว่า Intel Core i5 รหัส U เสียอีกนะเนี่ย
ตามมาด้วยการทดสอบกับโปรแกรม Lightroom 4 โปรแกรมที่ตากล้องหรือเพื่อนๆหลายๆท่านใช้โพรเซสภาพกัน ที่ได้ปรับรูปไฟล์ Raw จำนวน 50 รูปเป็น Aged Photo และทำการ Export โดยใช้ความละเอียด 900?600 พิกเซล ก็ทำเวลาไป 7 นาทีกว่าๆ เท่านั้นเองถือว่าไม่มากไม่มาย
ทิ้งท้ายด้วย 3D Mark 11 กันครับก็ได้คะแนนอยู่ในระดับมาตรฐานเดียวกับหรือสูงกว่า Intel Core i5 รหัส U ที่พ่วงด้วยการ์ดจอ GT 840M กันเลยละ แถมยังมีประสิทธิภาพของกราฟิคที่เหนือ AMD R7 M265 อีกราวๆ 10% อีกด้วย
***หมายเหตุ ถ้าปรับ High ตัว FPS จะดร๊อปเกินไป
***หมายเหตุ?ด้วยไดร์ฟเวอร์ที่ยังไม่สมบูรณืทำให้ปรับภาพได้สูงสุดแค่ 1280 x 720
ต่อกันด้วยผลทดสอบในการเล่นเกมกับเจ้า ASUS X550ZE?กันเลยครับ โดยในการตั้งค่านั้นสามารถดูได้จากตัวกราฟเลยครับ ซึ่งก็ลื่นไหลพอสมควรในบางเกมแต่บางเกมก็ยังพอมีหน่วงๆอยู่บ้าง เอาเป็นว่าถ้าอยากเล่นให้พริ้วจริงๆแนะนำปรับกราฟิกเป็น Low จะได้ลื่นที่สุดแบบหัวแตกกันเลยละครับ ซึ่งในบางการทดสอบทำได้ค่อนข้างสูสีหรือเหนือกว่า R7 M265 และ GT 840M เช่นกัน
ความร้อนหน้าสัมผัส
วัดความร้อนการ์ดจอ
HWmonitor
ส่วนในเรื่องของความร้อนจากการวัดบนตัวเครื่องที่สัมผัสโดนก็ไม่ร้อนมากครับจัดว่าเย็นเลยละ รวมไปถึงทาง NotebookSPEC เองก็วัดค่าจาก Sensor ต่างๆบนตัวเครื่องผ่านโปรแกรมครับผม โดยพบว่าความร้อนสูงสุดของการ์ดจอจะไปหยุดอยู่ที่ 78 องศา เมื่อเล่นเกมต่อเนื่องเป็นเวลาราวๆ 30 นาที ในห้องแอร์อุณหูมิ 27-28 องศา ส่วนตัวซีพียูเองนั้นเนื่องจากตัวซอฟแวร์ยังวัดออกมาไม่ได้เนื่องจากเป็นซีพียูที่ใหม่เกินไป
ในขณะไม่ได้เสียบชาร์จ Adapter และใช้งานท่องอินเตอร์เน็ตไปด้วย ตัวโปรแกรม BatteryMon บนเจ้า ASUS X550ZE ที่ตั้งค่าในโหมด Balance แสดงผลการทดสอบแบตเตอรี่ออกมาอยู่ที่ราวๆ 5 ชั่วโมง ครับ แต่ถ้านำมาใช้จริงน่าจะดูหนัง HD ก็ได้ราวๆ 2-3 ชั่วโมง ถ้าเล่นเกมก็จะลดหลั่นมาเหลือ 1.30-2 ชั่วโมงครับผม จัดได้ว่าจัดสนนพลังงานได้ดีทีเดียว
Conclusion / Award
มาถึงบทสรุปแล้วนะครับกับบทความรีวิว ASUS X550ZE ที่มีราคาค่าตัว 20,000 บาทมีถอน 10 บาท ซึ่งถามว่าคุ้มมั้ยบอกได้เลยว่าพอตัว ด้วยฮาร์ดแวร์ระดับท็อปประสิทธิภาพสูงอย่าง AMD FX-7600P พ่วงด้วยกราฟิกการ์ด Dual Graphics อย่าง?AMD Radeon R7 M270 DX Dual Graphics with 2GB DDR3 VRAM?ที่มีประสิทธิภาพแรงสมราคา (แรงสูสี Core i5 U + กับการ์ดจอ GeForce GT840M หรือแรงกว่าในบางการทดสอบ แถมแรงกว่า AMD R7 M265 ราวๆ 10% อีกด้วย) ที่สามารถขับเคลื่อนการใช้งานทั้งบันเทิง เล่นเกม หรือแม้แต่พิมพ์งานก็ทำได้ดีเลยละครับ ยิ่งผนวกรวมกับพอร์ตเชื่อมต่อที่ค่อนข้างเยอะ เรียกได้ว่าเยอะกว่าคู่แข่งที่เป็นโน๊ตบุ๊คมาตรฐานแบรนด์อื่นๆ เลยทีเดียวโดยเฉพาะกับพอร์ต USB 3.0 ที่มีมามากกกว่าด้วยจำนวนถึง 2 พอร์ต และพอร์ตเชื่อมต่ออื่นๆ อีกมามาย ยิ่งไปกว่านั้นยังรองรับมาตรฐานการเชื่อมต่อมีสายและไรสายอย่างครบถ้วนสมบูรณ์พร้อมรองรับการใช้ได้ในทุกรูปแบบ นับว่าเป็นโน๊ตบุ๊คราคาคุ้มค่าที่มีประสิทธิภาพสูงที่น่าสนใจตัวหนึ่งเลย
ข้อสังเกตยิบย่อยของ ASUS X550ZE เองก็มีอยู่บ้างเล็กน้อย แต่ที่เห็นหลักๆก็เป็นจำพวกวัสดุ โดยเฉพาะของแป้นพิมพ์หรือคีย์บอร์ดที่ใช้งานต่อเนื่องแล้วรู้สึกไม่มั่นใจพอสมควรเพราะมันค่อนข้างยวบพอสมควร รวมไปถึงในเรื่องของการอัพเกรดที่ทำได้ค่อนข้างจำกัดโดยฝาหลังหลังของตัวเครื่องจะอัพเกรดฮาร์ดแวร์เช่นแรม หรือฮาร์ดดิสก์ที่ค่อนข้างยาก แต่ถึงกระนั้นก็ยังอัพเกรดได้อยู่แต่ต้องอาศัยความชำนาญในการรื้อเครื่อง ซึ่งอย่างไรก็ตามข้อสังเกตเหล่านี้ก็สามารถแก้ไขได้ครับ เช่นซื้อคีย์บอร์ดแยกเป็นต้น ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นด้วยฮาร์ดแวร์ที่ทรงประสิทธิภาพและราคาที่ค่อนข้างคุ้ม เจ้า ASUS X550ZE ก็จัดได้ว่าเป็นอีกหนึ่งโน๊ตบุ๊คทางเลือกในระดับเริ่มต้นที่น่าใช้งานเอามากๆ และเหมาะสมอย่างยิ่งกับนักเรียนนักศึกษา ผู้ใช้งานมือใหม่ หรือผู้ที่อยากได้โน๊ตบุ๊คราคาไม่เกิน 20,000 บาท แต่มีประสิทธิภาพที่ไว้ใจได้ครับ แถมได้เปรียบคู่แข่งโน๊ตบุ๊ค Core i5 U และ GT840M ที่ถึงแม้จะมีประสิทธิภาพของ Core i จะใกล้เคียงกันแต่ราคานี้ได้เพียงหน้าจอแสดงผล 14 นิ้ว ซึ่งแตกต่างกับ ASUS X550ZE ที่ได้ประสิทธิภาพที่สูสีกันแต่ได้หน้าจอใหญ่โตถึง 15.6 นิ้ว แถมได้ปุ่ม Numpad หรือปุ่มตัวเลขมากอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ASUS X550ZE ก็ยังมีทางเลือกที่ประกว่าในราคา 17,990 บาทที่จะปรับมาใช้เป็น AMD A10-7400P แทนก็ไม่เลว
ข้อดี
- สเปคค่อนข้างคุ้มค่ากับราคา แรงเทียบเท่า Intel Core i5 U พ่วงการ์ดจอ GT840M เลยแถมได้หน้าจอ 15.6 นิ้วที่ใหญ่กว่าเจ้าไหนๆ
- คีย์บอร์ดมาพร้อมด้วยแป้นตัวเลขใช้งานสะดวก
- พอร์ตเชื่อมต่อครบครันทีเดียวไม่ว่าจะเป็น USB 3.0 ถึง 2 พอร์ต และมี HDMI
- ระบบเสียง SonicMaster ให้เสียงได้ค่อนข้างดี พร้อมปรับแต่งได้ดั่งใจด้วย Audio Wizard
ข้อสังเกต
- คีย์บอร์ดค่อนข้างยวบไปสักเล็กน้อย
Award
โดยในครั้งนี้จะเป็นการเปรียบเทียบการให้รางวัลกับโน๊ตบุ๊คในกลุ่ม Notebook ขนาดหน้าจอ 15.6 นิ้ว ในระดับราคาใกล้เคียงกัน ซึ่ง ASUS X550ZE?ก็ได้รับรางวัลต่างๆ ดังนี้
ค่อนข้างคุ้มค่ามากเลยละครับ ด้วยสเปคต่างๆ ของ ASUS X550ZE ทั้งหน่วยประมวลผล AMD FX และกราฟิกการ์ด AMD Radeon R7 M270 DX Dual Graphics with 2GB DDR3 VRAM?ที่สามารถใช้งานได้ในทุกๆรูปแบบ มีประสิทธิภาพไม่หนี Core i5 U และ GT840M รวมถึง R7 M265 เลยแถมยังได้จอ 15.6 นิ้วอีก บนราคาค่าตัวที่ 19,990 บาทเท่านั้น ทาง NotebookSPEC จึงขอมองรางวัล Best Value ไปให้เลย
Video Introduce
Specification
ก่อนจะมาดูในเรื่องของประสิทธิภาพแวะมาดูในด้านของสเปคกันของ ASUS X550ZE กันก่อนครับ สำหรับเจ้านี่เลือกใช้ซีพียู AMD ตัวท็อปที่สุดในตระกูล AMD Mobility ฝั่งผู้ใช้งานปกติเลยก็ว่ากับ AMD FX-7600P (2.70 GHz, 4 MB L2 Cache up to 3.60 Ghz) พ่วงด้วยการ์ดจอ APU ที่ทำ Dual GPU กับการ์ดจอแยกอย่าง AMD Radeon R7 M270 DX Dual Graphics with 2GB DDR3 VRAM นอกเหนือจากนี้ก็ยังมีแรมขนาด 4GB DDR3L และสามารถอัพเกรดได้งสูงสุด 16GB (8GB+8GB) พ่วงด้วยฮาร์ดไดร์ฟ HDD ความจุพอไปวัดไปวาได้ที่ 1,000GB หรือ 1TB ครับผม
หน้าจอแสดงผล ASUS X550ZE ใช้จอแสดงผลมาตรฐาน HD ขนาด 15.6 นิ้ว ความละเอียด 1366?768 พิกเซล พร้อมด้วยกล้องเว็บแคม 0.3 MPixel มีไมค์ในตัวให้ด้วย และมีระบบเสียงที่ค่อนข้างโอเคอย่างอย่าง SonicMaster และ AudioWizard ปรับแต่งเสียงได้ดั่งใจ
ในส่วนของการเชื่อมต่อเองก็มาพร้อมพอร์ต 2x USB 3.0 , 1x USB 2.0 , HDMI , 2-in-1 card reader (SD/ MMC) , RJ45 , Super-Multi DVD และ Audio Combo Jack พร้อมยังรองรับมาตรฐานการเชื่อมต่อไร้สายอย่าง WiFi 802.11b/g/n และ Bluetooth v4.0 ขนาดตัว ASUS X550ZE ก็จัดอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของโน๊ตบุ๊ค 15.6 นิ้วทั่วไป มีขนาดอยู่ที่ 38.0 x 25.1 x 2.51 เซนติเมตร (WxDxH) และมีน้ำหนักตัวที่ราวๆ 2.2 กิโลกรัมไม่หนักไม่เบาจนเกินไป พร้อมรับประกันการใช้งาน 2 ปีจาก ASUS Thailand สนนราคาอยู่ที่ 19,990 บาทครับผม
สเปคฉบับเต็ม : ASUS X550ZE
Using Experience
สัมผัสแรกบน ASUS X550ZE ได้เห็นการดีไซน์ที่ค่อนข้างเรียบๆ มีสไตล์แบบคลาสสิค โดยฝาบนของตัวเครื่อง X550 ที่จะใช้พลาสติกสีเทาดำที่จะมีด้วยเท็กเจอร์ให้ฟีลลิ่งในการสัมผัสที่ค่อนข้างแตกต่างจากโน๊ตบุ๊คมาตรฐานตัวอื่นๆ ส่วนด้านหลังหรือด้านใต้ของตัวเครื่องใช้พลาสติกผิวดำด้านตามแบบฉบับของโน๊ตบุ๊ครุ่นคุ้มค่า ส่วนในเรื่องของการอัพเกรดนั้นสามารถทำได้เช่นกันแต่ทำได้ยาก เพราะต้องเลาะแผงคีย์บอร์ดออกมาซึ่งค่อนข้างยุ่งยากมากพอสมควร แต่ก็พอที่จะทำได้เพราะตัวเครื่องจากที่จะติดอยู่กับฝาล่างแต่ตัวนี้กลับไปอยู่ที่บริเวณแผงคีย์บอร์ดแทนด้านในของตัวเครื่องบริเวณที่พักมือเมื่อเมื่อเปิดออกมาจะสังเกตเห็นวัสดุพลาสติกสีออกฟ้าๆเทาๆสว่างๆซึ่งว่ากันตามตรงว่าสีด้านในออกแนวคลาสสิกจนเชยไปเลยสำหรับบางคน
เปิดเครื่องใช้จริงบน ASUS X550ZE ก็ตอบสนองการ Boot UP เข้า Windows ได้อย่างรวดเร็วพอประมาณตามสไตล์ฮาร์ดไดร์ฟจานหมุน ซึ่งหลังจากเปิดเครื่องทางทีมงานได้ทดสอบโดยการเปิดภาพยนต์ และคลิปต่างๆ เพื่อทดสอบความคมชัดและเที่ยงตรงของหน้าจอแสดงผล ในส่วนของฉากมืดต่างๆ ก็ทำออกมาได้ดีพอประมาณสามารถมองเห็นรายละเอียดๆ ต่างๆ ได้ครบถ้วน ซึ่งในส่วนนี้ภาพที่ได้ก็ค่อนข้างมีคุณภาพที่ดีในมุมมองตรงๆ ครั้นจะเฉียงเอียงเครื่องมองจากด้านข้างก็มีมุมมองที่กว้างพอใช้ได้ราวๆข้างละ 45 องศา ซึ่งถ้ามากกว่านั้นสีภาพจะเริ่มเพี้ยน ส่วนมุมก้มและมุมเงยทำออกมาได้ไม่ดีเท่าที่ควรเพราะมีอาการเพี้ยนของภาพมากทีเดียว แต่อย่างไรก็ตามในส่วนของการใช้งานต่างๆ บนหน้าจอโน๊ตบุ๊คเองก็ถือว่ากลางๆ เพราะพื้นที่ใช้งานมีค่อนข้างจำกัดตามสไตล์จอ 15.6 นิ้วแต่ความละเอียด HD 1366×768 พิกเซล แต่อย่างไรก็ตามเพื่อนๆ สามารถเพิ่มพื้นที่การแสดงผลด้วยจอแสดงผลแยกผ่านพอร์ต HDMI ที่สามารถซื้อแยกได้
แต่ด้วยความละเอียด HD 1366×768 พิกเซล ที่ถึงแม้จะมีเนื้อที่น้อย แต่กลับทำให้เล่นเกมแบบ Native ได้ค่อนข้างลื่นไหล ด้วย AMD FX 7600P และ AMD Radeon R7 M270 DX Dual Graphics with 2GB DDR3 VRAM?ที่บอกเลยว่าแรงสมราคาโดยเฉพาะกับเกมที่รองรับกับกราฟิคการ์ด AMD และรองรับ Dual Graphics โดยเฉพาะอย่าง Tomb Raider และ Battlefield ก็เล่นได้ดีในระดับหนึ่งเลย แถมด้วยระบบเสียง SonicMaster และซอฟแวร์เสียง Audio Wizard มาให้ด้วย ยิ่งทำให้เล่นเกมได้เต็มอรรถรสและสนุกสนานมากยิ่งขึ้น ยิ่งถ้าปรับเปลี่ยนไปฟังเพลงเพลินผ่านลำโพงละก็บอกเลยฟังได้เพลินเลยละครับ แต่กระนั้นแล้วลำโพงชุดนี้มีเสียงกลาง กลับแหมที่ค่อนข้างเยอะ แต่เสียงต่ำก็มีหายไปเยอะเช่นกันครับ ฟังเพลง Easy Listening ได้ชิวๆเลย แต่เพลง EDM บอกผ่านเลยดีกว่า
และถ้าเล่นเกมฟังเพลงกันจนเบื่ออยากปรับมาทำงานทั่วไป ASUS X550ZE ก็ทำได้ไม่เลวทั้งการพิมพ์งานเวิร์ด เอ็กเซล ส่งอีเมล ท่องเว็บ เล่นเฟส แชท ก็ทำได้ตามมาตรฐานด้วย คีย์บอร์ด Chiclet พร้อมปุ่มตัวเลขที่ถึงแม้แป้นพิมพ์ออกแบบมาได้ดี แต่ตัวแป้นพิมพ์เองค่อนข้างยวบและดูไม่มั่นคงเอามากๆ ถึงแม้จะไม่ส่งผลต่อการใช้งานโดยตรง แต่ด้วยความไม่มั่นคงนี้เองทำให้รู้สึกไม่ค่อยมั่นใจในการใช้งานครับ ในส่วนของทัชแพดเองก็จะเป็นทัชแพดแบบ multi-point มาพร้อมกับเทคโนโลยี Smart Gestur ที่รองรับการใช้งานได้หลากหลายรูปแบบบน Windows 8.1 เช่น ซูมเข้า ซูมออก เลื่อนขึ้น-ลง หรือการแตะ เป็นต้น
นอกเหนือจากนี้ถ้าเพื่อนๆไม่ถนัดใช้งานคีย์บอร์ดและทัชแพดที่ติดตั้งมาให้ในเครื่อง รวมถึงอยากจัดเก็บข้อมูลความเร็วสูงผ่าน USB 3.0 แล้วละก็ ASUS X550ZE ก็พร้อมที่จะให้เพื่อนๆนำ Device ดังกล่าวมาต่อแยกได้ด้วยผ่านพอร์ตต่างๆ ที่ติดตั้งมาให้อย่างครบครันไม่ว่าจะเป็น USB 3.0 ถึง 2 พอร์ต , USB2.0 , HDMI , SD Card Reader , DVD-RW และรองรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตไร้สาย และ Bluetooth 4.0 อย่างครบครัน เช่นกันกับในด้านการพกพาก็ทำได้ดีเพราะ ASUS X550ZE เพราะมีน้ำหนักที่ค่อนข้างเบาเพียง 2.2 กิโลกรัมเท่านั้น ไม่ว่าจะหญิงหรือชายก็พกพาไปทำงาน บันเทิงได้ตลอดเวลา
Performance / Software
มาดูผลทดสอบประสิทธิภาพโดยรวมของเจ้า ASUS X550ZE ที่เลือกใช้หน่วยประมวลผลกลาง AMD FX และการ์ดจอในรูปแบบ Dual Graphics กันครับ
โปรแกรมอย่าง CPU-Z ก็แสดงสเปคออกมาได้ตรงตามที่?ASUS X550ZE ระบุเอาไว้ทั้งหมด เช่นเดียวกับโปรแกรม GPU-Z ที่แสดงผลการ์ดจอได้ตรงตามความเป็นจริง ซึ่งจะเห็นได้ว่าการ์ดจอทำ Dual Graphics กันอยู่อย่างชัดเจน แต่อย่างไรก็ตามรุ่นของกราฟิกการ์ดอย่าง?AMD Radeon R7 M270 DX Dual Graphics with 2GB DDR3 VRAM ยังไม่แสดงค่าออกมาได้ตรงครับ
CINEBENCH หรือโปรแกรมที่ใช้ทดสอบงานทางด้านเรนเดอร์วิดีโอที่ใช้ประสิทธิภาพของหน่วยประมวลผลกลางและการ์ดจอเป็นหลักก็มีผลคะแนนอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามประสิทธิภาพของหน่วยประมวผลและการ์ดจอจาก AMD
ตัวเก็บข้อมูลของระบบที่เลือกใช้ฮาร์ดดิสก์แบบจานหมุนความเร็ว 5400 RPM ความจุ 1TB ก็อยู่ในระดับพื้นๆทั่วๆไปตามมาตฐาน
ต่อด้วยลองแปลงไฟล์ DVD ที่เป็นไฟล์ ISO ดูในสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตกันบ้างผ่านโปรแกรม Format Factory โดยแปลงไฟล์ ISO ไปเป็น MPEG4 720P?ซึ่งก็ใช้เวลาเพียง 36 นาที ช้ากว่า Core i5 รหัส U อยู่เล็กน้อย
บีบอัดเกมสุดฮิตกับไฟล์เกม Dota 2 ที่มีขนาดราวๆ 8GB ไฟล์กันบ้างกับโปรแกรมพื้นฐานที่ทุกเครื่องต้องมีอย่าง Winrar ที่ทำการบีบอัดได้ในเวลาราวๆ 21 นาทีรวดเร็วยิ่งกว่า Intel Core i5 รหัส U เสียอีกนะเนี่ย
ตามมาด้วยการทดสอบกับโปรแกรม Lightroom 4 โปรแกรมที่ตากล้องหรือเพื่อนๆหลายๆท่านใช้โพรเซสภาพกัน ที่ได้ปรับรูปไฟล์ Raw จำนวน 50 รูปเป็น Aged Photo และทำการ Export โดยใช้ความละเอียด 900?600 พิกเซล ก็ทำเวลาไป 7 นาทีกว่าๆ เท่านั้นเองถือว่าไม่มากไม่มาย
ทิ้งท้ายด้วย 3D Mark 11 กันครับก็ได้คะแนนอยู่ในระดับมาตรฐานเดียวกับหรือสูงกว่า Intel Core i5 รหัส U ที่พ่วงด้วยการ์ดจอ GT 840M กันเลยละ แถมยังมีประสิทธิภาพของกราฟิคที่เหนือ AMD R7 M265 อีกราวๆ 10% อีกด้วย
***หมายเหตุ ถ้าปรับ High ตัว FPS จะดร๊อปเกินไป
***หมายเหตุ?ด้วยไดร์ฟเวอร์ที่ยังไม่สมบูรณืทำให้ปรับภาพได้สูงสุดแค่ 1280 x 720
ต่อกันด้วยผลทดสอบในการเล่นเกมกับเจ้า ASUS X550ZE?กันเลยครับ โดยในการตั้งค่านั้นสามารถดูได้จากตัวกราฟเลยครับ ซึ่งก็ลื่นไหลพอสมควรในบางเกมแต่บางเกมก็ยังพอมีหน่วงๆอยู่บ้าง เอาเป็นว่าถ้าอยากเล่นให้พริ้วจริงๆแนะนำปรับกราฟิกเป็น Low จะได้ลื่นที่สุดแบบหัวแตกกันเลยละครับ ซึ่งในบางการทดสอบทำได้ค่อนข้างสูสีหรือเหนือกว่า R7 M265 และ GT 840M เช่นกัน
ความร้อนหน้าสัมผัส
วัดความร้อนการ์ดจอ
HWmonitor
ส่วนในเรื่องของความร้อนจากการวัดบนตัวเครื่องที่สัมผัสโดนก็ไม่ร้อนมากครับจัดว่าเย็นเลยละ รวมไปถึงทาง NotebookSPEC เองก็วัดค่าจาก Sensor ต่างๆบนตัวเครื่องผ่านโปรแกรมครับผม โดยพบว่าความร้อนสูงสุดของการ์ดจอจะไปหยุดอยู่ที่ 78 องศา เมื่อเล่นเกมต่อเนื่องเป็นเวลาราวๆ 30 นาที ในห้องแอร์อุณหูมิ 27-28 องศา ส่วนตัวซีพียูเองนั้นเนื่องจากตัวซอฟแวร์ยังวัดออกมาไม่ได้เนื่องจากเป็นซีพียูที่ใหม่เกินไป
ในขณะไม่ได้เสียบชาร์จ Adapter และใช้งานท่องอินเตอร์เน็ตไปด้วย ตัวโปรแกรม BatteryMon บนเจ้า ASUS X550ZE ที่ตั้งค่าในโหมด Balance แสดงผลการทดสอบแบตเตอรี่ออกมาอยู่ที่ราวๆ 5 ชั่วโมง ครับ แต่ถ้านำมาใช้จริงน่าจะดูหนัง HD ก็ได้ราวๆ 2-3 ชั่วโมง ถ้าเล่นเกมก็จะลดหลั่นมาเหลือ 1.30-2 ชั่วโมงครับผม จัดได้ว่าจัดสนนพลังงานได้ดีทีเดียว
Conclusion / Award
มาถึงบทสรุปแล้วนะครับกับบทความรีวิว ASUS X550ZE ที่มีราคาค่าตัว 20,000 บาทมีถอน 10 บาท ซึ่งถามว่าคุ้มมั้ยบอกได้เลยว่าพอตัว ด้วยฮาร์ดแวร์ระดับท็อปประสิทธิภาพสูงอย่าง AMD FX-7600P พ่วงด้วยกราฟิกการ์ด Dual Graphics อย่าง?AMD Radeon R7 M270 DX Dual Graphics with 2GB DDR3 VRAM?ที่มีประสิทธิภาพแรงสมราคา (แรงสูสี Core i5 U + กับการ์ดจอ GeForce GT840M หรือแรงกว่าในบางการทดสอบ แถมแรงกว่า AMD R7 M265 ราวๆ 10% อีกด้วย) ที่สามารถขับเคลื่อนการใช้งานทั้งบันเทิง เล่นเกม หรือแม้แต่พิมพ์งานก็ทำได้ดีเลยละครับ ยิ่งผนวกรวมกับพอร์ตเชื่อมต่อที่ค่อนข้างเยอะ เรียกได้ว่าเยอะกว่าคู่แข่งที่เป็นโน๊ตบุ๊คมาตรฐานแบรนด์อื่นๆ เลยทีเดียวโดยเฉพาะกับพอร์ต USB 3.0 ที่มีมามากกกว่าด้วยจำนวนถึง 2 พอร์ต และพอร์ตเชื่อมต่ออื่นๆ อีกมามาย ยิ่งไปกว่านั้นยังรองรับมาตรฐานการเชื่อมต่อมีสายและไรสายอย่างครบถ้วนสมบูรณ์พร้อมรองรับการใช้ได้ในทุกรูปแบบ นับว่าเป็นโน๊ตบุ๊คราคาคุ้มค่าที่มีประสิทธิภาพสูงที่น่าสนใจตัวหนึ่งเลย
ข้อสังเกตยิบย่อยของ ASUS X550ZE เองก็มีอยู่บ้างเล็กน้อย แต่ที่เห็นหลักๆก็เป็นจำพวกวัสดุ โดยเฉพาะของแป้นพิมพ์หรือคีย์บอร์ดที่ใช้งานต่อเนื่องแล้วรู้สึกไม่มั่นใจพอสมควรเพราะมันค่อนข้างยวบพอสมควร รวมไปถึงในเรื่องของการอัพเกรดที่ทำได้ค่อนข้างจำกัดโดยฝาหลังหลังของตัวเครื่องจะอัพเกรดฮาร์ดแวร์เช่นแรม หรือฮาร์ดดิสก์ที่ค่อนข้างยาก แต่ถึงกระนั้นก็ยังอัพเกรดได้อยู่แต่ต้องอาศัยความชำนาญในการรื้อเครื่อง ซึ่งอย่างไรก็ตามข้อสังเกตเหล่านี้ก็สามารถแก้ไขได้ครับ เช่นซื้อคีย์บอร์ดแยกเป็นต้น ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นด้วยฮาร์ดแวร์ที่ทรงประสิทธิภาพและราคาที่ค่อนข้างคุ้ม เจ้า ASUS X550ZE ก็จัดได้ว่าเป็นอีกหนึ่งโน๊ตบุ๊คทางเลือกในระดับเริ่มต้นที่น่าใช้งานเอามากๆ และเหมาะสมอย่างยิ่งกับนักเรียนนักศึกษา ผู้ใช้งานมือใหม่ หรือผู้ที่อยากได้โน๊ตบุ๊คราคาไม่เกิน 20,000 บาท แต่มีประสิทธิภาพที่ไว้ใจได้ครับ แถมได้เปรียบคู่แข่งโน๊ตบุ๊ค Core i5 U และ GT840M ที่ถึงแม้จะมีประสิทธิภาพของ Core i จะใกล้เคียงกันแต่ราคานี้ได้เพียงหน้าจอแสดงผล 14 นิ้ว ซึ่งแตกต่างกับ ASUS X550ZE ที่ได้ประสิทธิภาพที่สูสีกันแต่ได้หน้าจอใหญ่โตถึง 15.6 นิ้ว แถมได้ปุ่ม Numpad หรือปุ่มตัวเลขมากอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ASUS X550ZE ก็ยังมีทางเลือกที่ประกว่าในราคา 17,990 บาทที่จะปรับมาใช้เป็น AMD A10-7400P แทนก็ไม่เลว
ข้อดี
- สเปคค่อนข้างคุ้มค่ากับราคา แรงเทียบเท่า Intel Core i5 U พ่วงการ์ดจอ GT840M เลยแถมได้หน้าจอ 15.6 นิ้วที่ใหญ่กว่าเจ้าไหนๆ
- คีย์บอร์ดมาพร้อมด้วยแป้นตัวเลขใช้งานสะดวก
- พอร์ตเชื่อมต่อครบครันทีเดียวไม่ว่าจะเป็น USB 3.0 ถึง 2 พอร์ต และมี HDMI
- ระบบเสียง SonicMaster ให้เสียงได้ค่อนข้างดี พร้อมปรับแต่งได้ดั่งใจด้วย Audio Wizard
ข้อสังเกต
- คีย์บอร์ดค่อนข้างยวบไปสักเล็กน้อย
Award
โดยในครั้งนี้จะเป็นการเปรียบเทียบการให้รางวัลกับโน๊ตบุ๊คในกลุ่ม Notebook ขนาดหน้าจอ 15.6 นิ้ว ในระดับราคาใกล้เคียงกัน ซึ่ง ASUS X550ZE?ก็ได้รับรางวัลต่างๆ ดังนี้
ค่อนข้างคุ้มค่ามากเลยละครับ ด้วยสเปคต่างๆ ของ ASUS X550ZE ทั้งหน่วยประมวลผล AMD FX และกราฟิกการ์ด AMD Radeon R7 M270 DX Dual Graphics with 2GB DDR3 VRAM?ที่สามารถใช้งานได้ในทุกๆรูปแบบ มีประสิทธิภาพไม่หนี Core i5 U และ GT840M รวมถึง R7 M265 เลยแถมยังได้จอ 15.6 นิ้วอีก บนราคาค่าตัวที่ 19,990 บาทเท่านั้น ทาง NotebookSPEC จึงขอมองรางวัล Best Value ไปให้เลย