กลยุทธ์หนึ่งที่ Intel ใช้มานานนั้นก็คือการให้ส่วนลดราคาค่าชิปจำนวนหนึ่งให้กับบรรดาผู้ผลิต เพื่อให้ผู้ผลิตทำการใช้ชิปของตนเองในการสร้างผลิตภัณฑ์ป้อนสู่ตลาดครับ โดยในช่วงปี 2002 – 2007 พบว่า Intel ได้ให้ส่วนลดพิเศษนี้กับบริษัทใหญ่ๆ เช่น?Dell, Lenovo, HP?และ?NEC นอกไปจากนั้น Intel ยังได้ให้เงินสดแก่บริษัท?HP, Acer?และ?Lenovo ให้ทำการยืดเวลาหรือยกเลิกผลิตภัณฑ์ที่จะใช้ชิปของฝั่ง AMD
ซึ่งหากอ้างอิงจากเอกสารที่ทางศาลได้เปิดเผยมาเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 มิถุนายน 2014 ที่ผ่านมานั้นจะพบคณะกรรมการกำกับดูแลตามกฎหมายถือว่า Intel มีอำนาจเสมือนเป็นผู้นำตลาดชิป x86 โดย Intel มีส่วนแบ่งตลาดสูงถึง 70 % เลยทีเดียว ซึ่งนั่นย่อมทำให้การกระทำของ Intel ที่กล่าวไปในขั้นต้นนั้นเข้าข่ายการกีดกันทางการตลาดอย่างชัดเจน และศาลได้สั่งให้ Intel จ่ายค่าเสียหายเป็นจำนวนเงิน?$1.4?พันล้าน หรือ?4.62 หมื่นล้านบาท ซึ่งศาลได้ตัดสินไปตั้งแต่ในปี 2009 ที่ผ่านมาและทาง Intel ได้ยื่นอุทธรณ์ในปี 2012 และศาลอุทธรณ์ก็ได้ตัดสินยืนตามศาลชั้นต้นออกมาเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาครับ
ในกรณีนี้นั้น Intel มีทางเลือกสองทางคือยื่นเรื่องต่อศาลฎีกาของสหภาพยุโรปต่อหรือยอมแพ้แล้วจ่ายค่าปรับเต็มจำนวนครับ ซึ่งถ้าเราพิจารณาแล้วทาง Intel คงจะยื่นเรื่องต่อไปยังศาลฎีกาของสหภาพยุโรป หากกลับมาดูในฝั่งตลาดของชิปอุปกรณ์เคลื่อนที่นั้น เมื่อไม่นานมานี้ทาง Intel เองก็ได้มีการจ่ายเงินให้กับผู้ผลิตในจีนถึง $100 ล้าน หรือประมาณ?3.25 พันล้านบาท เพื่อให้หันมาใช้ชิป Atom ของ Intel ในการผลิตอุปกรณ์เคลื่อนที่เช่นเดียวกัน ซึ่งจะพูดไปแล้วก็คล้ายคลึงกับความผิดที่ Intel เคยก่อมาครับ เพียงแต่ว่าในตอนนี้ Intel ไม่ได้เป็นผู้นำในตลาดชิปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่เท่านั้น และ AMD เองก็ยังคงไม่มีชิปเซ็ทใดที่มีประสิทธิภาพมากพอที่จะแข่งกับ Intel ในตลาดสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้ในเวลานี้ ดังนั้น AMD จึงยังคงสงวนท่าทีในการฟ้องร้องทางด้านตลาดชิปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ไว้ครับ
ที่มา : vr-zone