ก่อนหน้านี้ไมโครซอฟท์มี CEO คือ Steve Ballmer ซึ่งผลงานของเขาเกี่ยวกับไมโครซอฟท์มีมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Surface, Windows 8 ฯลฯ ซึ่งก็เป็นผลงานที่น่าพอใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะทำให้ไมโครซอฟท์มีรายได้เพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก (ถึงแม้ Windows 8 จะไม่ได้ดั่งใจใครหลายคน กับ Surface ที่ดูแล้วเหมือนออกมาแก้ลำ IPad มากกว่าจะเป็นสินค้าตั้งใจขาย แต่ของเขาทั้งหมดก็สามารถขายได้) แต่พอเดือน สิงหาคม 2556 ที่ผ่านมา Ballmer ประกาศว่ามีแผนจะลงจากตำแหน่ง CEO ของบริษัทยักษ์ใหญ่ไมโครซอฟท์ และเป็นผลให้ไมโครซอฟท์ประกาศสรรหา CEO คนใหม่ ซึ่งผู้ชิงตำแหน่งที่แข่งแกร่งและมีชื่อเสียงมากมาย ไม่ว่าจะ Alan Mulally(CEO ของ Ford), Stephen Elop(CEO ของ Nokia ที่ตอนนี้ก็อยู่ภายใต้ร่มเงาไมโครซอฟท์จากการซื้อบริษัทไปเรียบร้อย)?
?
ภาพประกอบจาก https://www.microsoft.com/en-us/news/ceo/index.html
แต่สุดท้ายตำแหน่ง CEO คนใหม่ของไมโครซอฟท์ก็ตกมาเป็นของบุคคลผู้นี้ ?Satya Nadella? ผู้กุมบังเหียนและความเป็นไปของไมโครซอฟท์อันดับที่ 3 (CEO คนแรกคือ Bill Gates ส่วนคนที่สองก็ Steve Ballmer) เขาเป็นใคร มีที่มาอย่างไร ทำไมถึงเอาชนะใจบรรดาผู้ถือหุ้น(ซึ่งในที่นี้รวมถึงป๋า Gates ผู้ให้กำเนิดไมโครซอฟท์)ได้ แล้วอนาคตไมโครซอฟท์ภายใต้การกุมบังเหียนของ Satya จะเป็นอย่างไร เรามาทำความรู้จักเขาแล้วมองดูอนาคตของไมโครซอฟท์กันดีกว่าครับ
Satya Nadella เป็นชาวอินเดียโดยกำเนิด เกิดที่ Hyderabad, India ในปี 1967 เขาได้เข้ามาทำงานกับไมโครซอฟท์ 22 ปีที่แล้ว (ช่วงปี 1992) Satya นั้นแสดงความเป็นผู้นำที่ดีได้อย่างชัดเจนไม่ว่าจะเป็นการมีทักษะทางด้านวิศวกรรมสูงมาก มีวิสัยทัศน์ทางด้านธุรกิจที่ก้าวไกล อีกทั้งยังเป็นคนที่มีความสามารถที่จะทำให้คนมาทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดีด้วย ในระยะเวลา 22 ปีที่ Satya ทำงานให้กับไมโครซอฟท์เขามักจะไม่ได้อยู่ในกลุ่มงานที่เป็นที่จับตามองของคนทั่วไปสักเท่าไรทำให้ชื่อของ Satya ไม่เป็นที่รู้จักมากนัก ที่สำคัญตัวเขาเองก็ยังไม่ค่อยจะสนใจโลกโซเชียลด้วย โดยจะเห็นได้ว่าทวิตเตอร์แอคเค้าท์ของเขานั้นร้างมาตั้งแต่ปี 2010 แล้วครับ (4 ปีผ่านไป) แถมรูปที่ใช้ในทวิตเตอร์ก็ยังคงเป็นรูปไข่อยู่ (เป็นรูปตั้งต้นสำหรับผู้ใช้งานที่ไม่เปลี่ยนรูปตัวเอง)
เรามารู้จักกับ Satya กันให้มากขึ้นดีกว่ากับ 5 สิ่งที่เราควรรู้เกี่ยวกับตัว Satya Nadella มีอะไรบ้างตามไปดูเลยครับ
- Satya ไม่มีความโดดเด่น ดึงดูดใจในช่วงแรกเห็น จากการสัมภาษณ์ผู้อำนวยการของ Manipal Institute of Technology นั้น Satya มีหมายเลขทะเบียนนักศึกษาคือ 8419218 เป็นนักศึกษาที่ผู้อำนวยการจำไม่ได้ และผู้อำนวยการคิดว่า Satyanarayana Nadella อายุ 25 ปีเท่านั้น (แต่ทั้งนี้จากการตรวจสอบผลการศึกษา พบว่า Satya เป็นนักเรียนระดับต้นๆ ของชั้นเรียนเลยทีเดียว)
- Satya มัวแต่ยุ่งอยู่กับบริการเบื้องหลังของไมโครซอฟท์ อย่างที่ได้บอกไปตอนต้นแล้วว่า Satya นั้นไม่ได้อยู่ในกลุ่มงานที่เป็นที่จับตามองของคนทั่วไปสักเท่าไร ทำให้ชื่อของเขาไม่เป็นที่รู้จักมากนัก สาเหตุก็คือเขารับผิดชอบโครงการทางด้านพลวัติ (โครงการที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนภายใน) เช่นการจัดการความสัมพันธ์ขององค์กรกับลูกค้า, การวางแผนการจัดการทรัพยากรของบริษัท, บริการออนไลน์ เช่น Bing และ บริการกลุ่มเมฆ(Cloud Services)
- Satya ได้รับถ่ายทอดทักษะด้านการเป็นผู้นำมาจากเจ้านายโดยตรง (Ballmer เป็นบุคคลหนึ่งที่เขากล่าวถึง) และจากโคชกีฬาคริกเก็ท(Cricket เป็นกีฬาคล้ายๆ Baseball ครับ) Satya บอกว่าจากการที่เขาได้เล่นกีฬาคริกเก็ทใน Hyderabad Public School ได้สอนเขาอย่างมากในการทำงานเป็นทีมและการเป็นผู้นำ ซึ่งเขาได้นำมาใช้ในการทำงานอีกด้วย เขาได้ให้สัมภาษณ์ว่ามีเหตุการณ์หนึ่งในช่วงของการแข่งขันซึ่งกัปตันของเขาแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นในตัวเขา (ซึ่งเป็นลูกทีม) นั่นคือความสำคัญสำหรับการนำผู้คน ที่เขาได้นำมาใช้ต่อมา
- Satya เป็นคนที่สู้กับธุรกิจหลักของ Google มาโดยตลอด นั่นทำให้เขาเห็นว่าทุกอย่างในอนาคตขึ้นอยู่กับ ?ข้อมูล?เขาได้ให้สัมภาษณ์ในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมาในการประชุม LeWeb ว่า ความคิดที่จะสามารถเก็บข้อมูลทุกอย่าง, ให้เหตุผลกับข้อมูลเหล่านั้น, และจัดหมวดหมู่ความรู้ที่มีผลกับทุกๆ ประสบการณ์ น่าจะเกิดขึ้นในระยะเวลา 10 ปีต่อจากนี้
- Satya มีรสนิยมทางด้านวรรณกรรมเดียวกันกับ Salman Rushdie เขาเป็นคนที่ชอบวรรณกรรมมากครับ โดยเฉพาะเรื่อง All About H.Hatterr ประพันธ์โดย G.V. Desani. เป็นวรรณกรรมที่เล่าเกี่ยวกับเด็กที่ออกเดินทางเพื่อตามหาความรู้แจ้งเห็นจริง (ซึ่งหนังสือเรื่องนี้ได้เลิกพิมพ์ออกมานานแล้ว) วรรณกรรมเรื่องนี้ถูกยกย่องโดย Salman Rushdie(นักเขียนยุคใหม่ในอินเดีย ผู้เขียน Midnight?s Children, The Satanic Verses)
จากสิ่งที่ควรรู้ทั้ง 5 ข้อที่กล่าวมาข้างต้นน่าจะทำให้ทุกท่านได้รู้จักกับ Satya Nadella เพิ่มมากขึ้น ผู้ที่เห็นความโดดเด่นของ Satya จนทำให้เขาได้ขึ้นเป็น CEO ของบริษัทยักษ์ใหญ่ไมโครซอฟท์คงเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก Bill Gates เพราะ Gates เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า ?วิสัยทัศน์ทางด้านการใช้งานเทคโนโลยีของ Satya จะถูกใช้ และประสบการณ์รอบโลกเป็นสิ่งที่ไมโครซอฟท์ต้องการในการผลักดันบริษัทให้ก้าวสู่ขั้นต่อไปของการเป็นผู้นำนวัตกรรมระดับโลก?
?
จากซ้ายไปขวา Steve Ballmer, Bill Gates, Satya Nadella และ John W. Thompson
ภาพประกอบจาก PC Mag USA Mar 2014
ทั้งนี้หลังจาก Satya ได้รับเลือกให้กุมบังเหียนไมโครซอฟท์แล้ว เขาได้แสดงวิสัยทัศและกลยุทธ์ของการดำเนินงานของไมโครซอฟท์ในอนาคตต่อไปว่าจะนำเสนอนวัตกรรมคือ ?cloud-first, mobile first? เขาได้บอกว่า ?ที่ไมโครซอฟท์ยังยืนอยู่ได้ทุกวันนี้เพราะมีนวัตกรรมที่ซ้ำไปซ้ำมา หากจะก้าวเข้าสู่อนาคตแล้วไมโครซอฟท์มีความจำเป็นเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญในการออกอุปกรณ์และบริการใหม่ๆ ที่ไม่ซ้ำกันเพื่อนำเข้าสู่ตลาด อุปกรณ์เพียงชิ้นเดียวไม่เพียงพอต่อไปอีกแล้ว โดยเฉลี่ยแล้วพบว่าผู้ใช้งานทั่วไปมีอุปกรณ์ใช้งานถึง 4 ชนิดด้วยกัน และพวกเขาต้องการจะใช้อุปกรณ์ทุกชนิดด้วยไม่ได้ใช้แค่ชิ้นใดชิ้นหนึ่งเพียงอย่างเดียว เพื่อให้ได้ซึ่งประสบการณ์การใช้งานนี้อยู่ในรูปแบบที่ควรจะเป็น มันจึงถือเป็นงานหลักของเรา?
ในปัจจุบันที่เป็นอยู่นี้ เราจะเห็นได้ว่าไมโครซอฟท์ได้ก้าวเข้าสู่ยุค ??cloud-first, mobile first? มาบ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการเก็บไฟล์ข้อมูลเอกสารจาก Office 2013, 365 ลงบน OneDrive(SkyDrive เก่า) การ login windows 8, 8.1 ผ่านทาง แอคเค้าท์ไมโครซอฟท์ที่สามารถส่งต่อ รูป เอกสาร การตั้งค่าระบบ ในทุกๆเครื่องให้เหมือนกันได้ ฯลฯ ซึ่งหากจะพูดไปแล้ว บริษัทคู่แข่งเองก็มีบริการแบบนี้เช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะ Google หรือ Apple ทำให้เราเห็นได้ว่าแนวโน้มของทิศทางอุปกรณ์และบริการทางด้านซอฟต์แวร์นั้นจะพึ่งพาอินเตอร์เน็ตมากขึ้นซึ่งเหตุการณ์เช่นนี้กับประเทศพัฒนาแล้วอย่าง อเมริกา อังกฤษ ญี่ปุ่น คงไม่มีปัญหามากนัก หากแต่หันกลับมามองประเทศไทยเราเองแล้ว การใช้งานอินเตอร์เน็ตยังไม่ครอบคลุมทั่วประเทศ การใช้งานยังติดขัด(หลุดๆ ดับๆ เจอมากับตัวเองบ่อยๆ) 3G ที่ยังคงมีความเร็วไม่แรงจริงแถมยังเก็บค่าใช้บริการ Data ไม่เป็นธรรม (เป็นความเห็นส่วนตัวของผมนะครับ โดยเฉพาะ Fair Usage Policy ที่เมื่อโดนแล้วแทบจะเปิดหน้าเวปไม่ได้เลย) ผมว่าหากทำงานเอกสารไปแล้วเซฟผ่านระบบแล้วเนตตัดขึ้นมาก่อนได้มีคนร้องไห้แน่ครับ คงยังอีกนานกว่าบ้านเราจะพร้อมรับกับแนวทางนี้ครับ
ที่มา : PC Mag USA Mar 2014, Microsoft