เรียกได้ว่าเป็นข่าวที่ส่งผลกระทบโดนตรงกับนักพัฒนาแอพพลิเคชั่นและคนที่ซื้อดาวน์โหลดมาใช้งานโดนตรง เมื่อมีรายงานข่าวมาว่าทางสรรพากรประเทศไทยเล็งเก็บภาษีโหลดแอพฯ บนสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต หลังจากที่พบว่ามีแนวดน้มการเติบโตที่และมูลค่าของตลาดที่ค่อนข้างสูง ซึ่งเตรียมที่จะปรึกษาหารือกับนานาชาติหารูปแบบการจัดเก็บที่เหมาะสมกับประเทศไทยต่อไป
?
?
ซึ่งนายสุทธิชัย สังขมณี อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ได้วางยุทธศาสตร์นวัตกรรมการให้บริการที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน โดยได้มอบหมายให้สำนักแผนภาษีไปศึกษาถึงแนวทางการจัดเก็บภาษีที่เกี่ยวกับธุรกิจการโหลดแอพพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ เพราะเห็นว่า เป็นธุรกิจที่มีมูลค่าการตลาดสูง และมีแนวโน้มที่จะสร้างมูลค่าการตลาดเพิ่มขึ้นได้อีกมาก ซึ่งจะเป็นหนึ่งในช่องทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ เพราะในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558 กรมจัดเก็บรายได้อย่างศุลกากร และสรรพสามิตจะมีบทบาทน้อยลง กรมสรรพากรต้องเพิ่มบทบาท และเป็นกรมหลักในอนาคตข้างหน้า
???????
โดยแผนการจัดเก็บภาษีจากธุรกิจการให้บริการแอพพลิเคชัน ถือเป็นหนึ่งในแนวทางการจัดเก็บภาษีจากธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ ซึ่งมีแนวโน้มของรายได้ที่จะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจซื้อขายผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีมูลค่าสูงมาก แต่ยังไม่ได้มีการแสดงรายการเสียภาษีอย่างถูกต้อง โดยขณะนี้กำลังดูว่า ธุรกิจดังกล่าวมีการเสียภาษีในรูปแบบใดได้บ้าง เพราะผู้ให้บริการส่วนใหญ่อยู่ต่างประเทศ การเก็บภาษีจะมีความยาก โดยจะต้องหารือกันในเวทีสัมมนาในต่างประเทศ ซึ่งไทยจะยกขึ้นเป็นประเด็นเพื่อหารือด้วย เพราะในสหรัฐอเมริกาเองก็มีการจัดเก็บภาษีธุรกิจดังกล่าวแล้ว แต่ก็ต้องหารูปแบบที่เหมาะสมกับไทย
ซึ่งข้อมูลจากวงการไอที เปิดเผยว่า ปีที่ผ่านมามูลค่าตลาดรวมของแอพพลิเคชั่นกว่า 1.5 หมื่นล้านบาท คาดว่าปีนี้น่าจะสูงถึงปีละ 2 หมื่นล้านบาท หากมีการเก็บภาษี ทำให้รัฐมีรายได้ไม่น้อยกว่าปีละ 1,400 ล้านบาท ตรงนี้ยังไม่รวมกับภาษีเงินได้ ซึ่งธุรกิจแอพพลิเคชั่นเติบโตทุกปีตามความนิยมใช้สมาร์ทโฟนอย่าง iPhone และ Android
ทั้งนี้ ในไทยมีผู้ใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนรวมกันถึง 16 ล้านเครื่อง โดยมียอดดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นเฉลี่ย 1-2 ครั้ง/เดือน และในจำนวนนี้เป็น แอพพลิเคชั่นที่ต้องเสียเงินซื้อเฉลี่ยกว่า 1 ล้านครั้ง/เดือน ซึ่งเคยมีผลสำรวจธุรกิจแอพพลิเคชั่นทั่วโลกพบว่ามีมากถึง 1.5 ล้านแอพพลิเคชั่น มีมูลค่าสูงถึง 2.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 7.5 แสนล้านบาททีเดียว
อย่างไรก็ตามการก็บภาษีจากนักพัฒนาแอพพลิเคชั่นหรือผู้ให้บริการต่างๆ นั้น ไม่สามารถทำได้โดยง่ายอย่างแน่นอน ด้วยความที่ว่าที่ตั้งของนักพัฒนาแอพพลิเคชั่นหรือผู้ให้บริการเหล่านั้นส่วนมากอยู่ในต่างประเทศ รวมไปถึงก็ยังมีการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ไว้นอกประเทศอีกด้วย อีกทั้งยังการส่งผ่านเงินไปอีกหลายต่อด้วยกัน ทำให้การตรวจสอบนั้นเป็นที่ยุ่งยาก ซึ่งยังไงก็คงต้องมาดูกันต่อไปว่า มีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน เพราะต้องนี้เป็นเพียงแนวคิดและหาช่องทางการเก็บภาษีเท่านั้น
คราวนี้ผลกระทบที่เราจะได้รับหากทางสรรพากรเรียกตามเก้บภาษีได้จริงล่ะก็ โอกาสที่เราจะได้ใช้แอพพลิเคชั่นที่มีมูลค่าสูงขึ้นก็มีความเป็นไปได้มากยิ่งขึ้น