หลังจากการพัฒนา SSD ที่ใช้อินเตอร์เฟซ SATA 6Gbps ระยะใหญ่ ขนาดแบนด์วิทธ์ของพอร์ตก็เริ่มจะไม่เพียงพอเสียแล้ว สำหรับการใช้งานหนักๆ ก็หนีไม่พ้นจะต้องขยับขยายมาลงที่ PCIe 2.0 ซึ่งที่ 16x จะรองรับได้ถึง 8 GB/s เลยทีเดียว ถือเป็นการผ่าทางตันที่ยอดเยี่ยม ถึงในปัจจุบัน SSD ราคาที่พอจับต้องได้ก็ยังใช้ PCIe 4x เป็นอย่างมาก (2 GB/s) แต่มาตรฐาน PCIe 3.0 ก็ออกมาแล้ว พร้อมประกาศแบนด์วิทธ์ที่น่าตื่นตะลึง ที่ 2 GB/s ณ ความเร็ว 1x O_O ดังนั้น ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์หรือผู้ใช้งานระดับ Enterprise ที่ต้องการความเร็วสูงมากๆ ก็ยังไม่ถือว่าถึงขีดจำกัดการพัฒนาเสียทีเดียว
ถึงกระนั้น SSD ที่ใช้อินเตอร์เฟซ PCIe ก็เป็นที่รู้กันในตลาดว่า ผลิตมาสำหรับผู้ต้องการ “ความไม่ธรรมดา” ที่ต้องแลกมาด้วยราคาไม่ธรรมดา ตรงกันข้ามกับ SATA 6Gbps ที่คงความเข้ากันได้กับเครื่องเก่าๆ อีกทั้งยังมีราคาในระดับที่หาซื้อได้สบายๆ และนับวันราคาต่อความจุก็ค่อยๆ ลดลงอย่างต่อเนื่อง
กฎของมัวร์ หนึ่งในบรรพบุรุษแห่งอินเทลกล่าวไว้เรื่องประสิทธิภาพคอมพิวเตอร์ที่จะเพิ่มขึ้นสองเท่าทุกๆ 18 เดือน และคอมพิวเตอร์ก็มีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ ทางเดียวที่จะยัด SSD ความจุสูงๆ ลงไปใน Rackmount ก็คงต้องเป็น PCIe นี่แหละครับ เช่นโมเดลที่เราคุ้นเคยคือ OCZ Revodrive หรือตัวใหม่ Z-drive ความจุมหาโหด 16 TB นั่นเอง หรือที่ไม่ค่อยคุ้นหูรุ่น แต่คุ้นหูชื่ออย่าง Micron ที่ทำ P320h รวม SSD+SAS Controller ต่อ PCIe แบบ One-Stop กันเลย
มาเข้าเรื่องของเรากันต่อ ทีนี้เจ้าตลาดอย่าง Intel จากเดิมที่เป็นผู้ผลิต NAND ชั้นยอดคนหนึ่ง ทั้ง SLC หรือ MLC Grade ในที่สุด Intel ก็ผลิต Controller เองได้แล้ว โดยงานนี้จัดหนักกับรุ่นใหญ่อย่างผิดความคาดหมายของตลาดทีเดียว (ส่วนรุ่นเล็กๆ อย่าง 520, 330 Intel ก็ยืมจมูก SandForce กันไปก่อน เรียกว่าขายผ้าเอาหน้ารอดไปชั่วคราว ;P) สำหรับเจ้า SSD 910 “Enterprise PCIe) ตัวนี้ รันบนอินเตอร์เฟซ PCIe 2.0 x8 หรือ 4GB/s โดยใช้ MLC-HET NAND ขนาด 25nm ที่ทำงานได้เร็วถึง 180KIOPS (คำสั่งต่อวินาที) เลยทีเดียว ที่สำคัญ Intel เคลมว่า สำหรับขนาดความจุ 800 GB นั้น รองรับการเขียนข้อมูลซ้ำถึง 14 PB (เพทะไบต์ = 1024 TB) เลย แถมมีความเร็วสูงสุดถึง 2 GB/s ในการอ่านข้อมูลอีกด้วย
Intel เผยว่า โครงสร้างการทำงานของ Controller บน 910 นั้นออกแบบไม่ซับซ้อน เพียงใช้โครงสร้างบอร์ดประมาณ 3 ชั้น ที่ประกอบด้วย 2 หรือ 4 SAS-SSD Controller ที่พัฒนาร่วมกับ Hitachi ซึ่งมี 2 คอร์ในการทำงาน แยกเป็นส่วนควบคุม SAS กับส่วนควบคุม NAND ทำให้ประมวลผลได้อย่างรวดเร็วและมีเสถียรภาพสูง โดย 1 Controller สามารถควบคุม NAND ได้ถึง 14 ชิพเลยทีเดียว ส่วนบริเวณที่เชื่อมต่อกับ PCIe ก็มี Controller ของ LSI 2008 มาควบคุมเป็น Bridge อีกทีหนึ่ง (LSI ที่ซื้อกิจการ SandForce ไปในเดือนตุลาคม 2554 มีชื่อเสียงในเรื่อง Network Storage Controller อยู่แล้ว) โดยระบบการทำงานของ SSD910 จะแบ่งเป็น 1 Controller ที่ควบคุมไดรฟ์ความจุ 186 GB (200 GB ในทางทฤษฎี) ต่อหน่วย และสามารถใช้ Software เพื่อสร้าง Array RAID ได้ตามความต้องการ ในรุ่นความจุ 400 GB ก็จะมี 2 Controller และรุ่น 800 GB ก็จะมี 4 Controller นั่นเองครับ
ที่เด็ดสุดคือ ทั้งที่โครงสร้างใหญ่โต เจ้า SSD910 กลับใช้พื้นที่ PCIe ไปเพียง 1 สล็อตเท่านั้น O_O! แต่ ณ ข้อดีก็มีข้อเสียคือ SSD910 ไม่รองรับการเข้ารหัสเชิงฮาร์ดแวร์ ทั้งๆ ที่รุ่นเล็กอย่าง 710 มี AES-256 bit เชียวนะ งานนี้ก็ไม่รู้ Intel คิดอะไรอยู่เหมือนกันแฮะ ซึ่ง SSD910 มองระดับลูกค้าเป็นกลุ่ม Enterprise และ Datacenter Server ต้องการ Throughput ในปริมาณที่สูงมาก และราคาก็สูงมาก (?) เช่นกัน ตัว 400 GB ราคาแนะนำอยู่ที่ 1,929 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 60,000 บาท) และตัว 800 GB อยู่ที่ 3,859 เหรียญสหรัฐ (120,000 บาท)
งานนี้ใครอยากแรงก็ต้องจ่ายกันหนักหน่อย แต่ให้เทียบความจุต่อราคาจริงๆ เจ้า SSD910 ไม่ได้แพงไปกว่า SSD บ้านๆ เท่าไหร่เลย คำนวณออกมาแล้วประมาณ GB ละ 5 ดอลล่าร์ (150 บาท) เท่านั้นเอง แต่ประสิทธิภาพแซง SSD บ้านๆ ไปสองสามเท่าตัวและประหยัดพื้นที่ ก็เหมาะสำหรับการใช้ระดับสูงครับ ส่วนผู้ใช้ตามบ้าน อดใจรอบทความเทสต์ SSD Grouptest จากผม ตอนแรกจะขึ้นภายในสัปดาห์นี้ เว็บ notebookspec.com เช่นเคยครับ
ที่มา: Anandtech