Connect with us

Hi, what are you looking for?

Accessories review

รีวิว Kingston Wi-Drive เรียกข้อมูลในฮาร์ดดิสก์เเบบไม่ต้องง้อสาย

ในปัจจุบันที่ฮาร์ดดิสก์เเบบพกพาหรือ External Harddisk มีความจุสูงขึ้นหรือมีราคาที่ถูกลงเรื่อยๆ หรือเเม้กระทั่งมีการพัฒนาพอร์ท USB ให้เป็น 3.0 เพื่อให้โอนถ่ายข้อมูลได้รวดเร็วยิ่งขึ้น เเต่ข้อจำกัดหนึ่งก็คือการใช้งาน External Harddisk เเบบนี้ต้องมีพกพาสายเชื่อมต่อเวลาใช้งาน เเต่ว่าในปัจจุบันก็มีฮาร์ดดิสก์ที่เชื่อมต่อเเบบไร้สายมาให้ใช้งานกัน ก็คือตัว Kingston Wi-Drive ที่จะนำมารีวิวในวันนี้นี่เอง

Review Kingston Wi-Drive 17

Advertisement

ตัว Kingston Wi-Drive นั้นมาพร้อมกับสองขนาดคือ 16GB เเละ 32GB มีช่องต่อ mini-USB เเละสนับสนุนการเชื่อมต่อ Wi-Fi เเบบ 802.11 b/g/n มาด้วย โดยวัสดุของ Kingston Wi-Drive นั้นเป็นสีดำเงา ส่วนเรื่องการพกพานั้นไม่มีปัญหาเพราะว่ามีขนาดเบามากเเละบางเพียง 9.8 มิลลิเมตรเท่านั้น สามารถเก็บได้เเบบสบายๆ ด้านข้างขวามีปุ่ม Power ไว้เปิดการใช้งานเเบบไร้สาย พร้อมไฟเเสดงสถานะว่าเปิดการใช้งาน Wi-Fi อยู่

Review Kingston Wi-Drive 9Review Kingston Wi-Drive 12

Review Kingston Wi-Drive 3Review Kingston Wi-Drive 10

Review Kingston Wi-Drive 5Review Kingston Wi-Drive 11

การเชื่อมต่อผ่าน Mac หรือ Windows นั้นต้องทำผ่านสายเท่านั้นโดยใช้ช่องต่อ mini-USB เมื่อเสียบไปเเล้วเราก็จะเห็น Wi-Drive ปรากฏมาที่หน้าของ Computer นั่นเอง

Review Kingston Wi-Drive 18

thuUntitled-1

ตัว Kingston Wi-Drive ที่ได้มาทดสอบนั้นมีขนาด 16 GB ซึ่งจำนวนที่ใช้ได้จริงๆ อยู่ที่ 14.5 GB เเละดูเหมือนว่าจะเป็นหน่วยความจำเเบบ NAND Flash เนื่องจากทดสอบเเล้วได้ค่า Access Time ที่ต่ำ เนื่องจากไม่ใช่ฮาร์ดดิสก์เเบบจานหมุนทั่วไปจึงสามารถรองรับเเรงกระเเทกได้อย่างสบายๆ ส่วนค่าความเร็วในการอ่านนั้นไม่สูงนักอยู่ประมาณที่้ 16.6 MB เเต่เวลาโอนข้อมูลก็ไม่ได้ช้าจนหน้าหงุดหงิดมากนัก

2-2-2555 18-03-26

สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ iOS อย่าง iPhone หรือ Android นั้นก็สามารถใช้งาน Kingston Wi-Drive ตัวนี้ได้ โดยทำการเปิด Wi-Fi เเละเชื่อมต่อเข้าโดยตรง เเละสามารถเรียกใช้งานผ่านเเอพ “Wi-Drive? (สามารถดาวโหลดผ่าน Apple Appstore หรือ Android Market) เมื่อกดไปที่เเถบ Wi-Drive ก็สามารถเรียกดูข้อมูลภายใน Wi-Drive ได้

IMG_0317IMG_0318

ซึ่งในเเอพของ Wi-Drive นั้นเราสามารถดูไฟล์เพลง หนัง หรือเอกสารถภายในตัวเเอพได้โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งเเอพอื่นๆ เพิ่มเติม ไฟล์ที่สนับสนุนก็อย่างเช่น mp4, mov, mp3, jpg, bmp, doc, pdf เป็นต้น ซึ่งก็ถือเป็นไฟล์มาตรฐานที่เราใช้งานกันบ่อยๆ ซึ่งสามารถเรียกดูจาก Wi-Drive ได้โดยตรง อย่างหนังหรือเพลงก็เล่นได้อย่างสมบูรณ์ไม่มีอาการกระตุกให้เห็นเเต่อย่างใด

IMG_0324IMG_0321

 

IMG_0325IMG_0322

Kingston Wi-Drive เป็นฮาร์ดดิสก์พกพาที่มีความสามารถเชื่อมต่อเเบบไร้สายกับอุปกรณ์พกพาอย่างสมาร์ทโฟนหรือเเท็บเล็ตได้ อีกทั้งยังใช้หน่วยความจำเเบบ NAND Flash ที่ไม่มีส่วนหมุนทำให้ทนทานต่อเเรงกระเเทกอีกด้วย จึงเหมาะกับการพกพาไปไหนต่อไหน ถึงเเม้ว่าการโอนถ่ายข้อมูลจะช้าไปสักหน่อยเมื่อเทียบกับฮาร์ดดิกส์พกพาในเเบบปกติก็ตาม เเละด้วย Kingston Wi-Drive ทำให้สะดวกเวลาเราจะเรียกดูไฟล์จากอุปกรณ์หลายเครื่อง อย่างเช่นเวลาดูหนังก็ไม่ต้องโอนไฟล์เข้ามาในเเท็บเล็ตโดยตรงเเต่ดูผ่าน Wi-Drive เเทน จึงไม่จำเป็นต้องซื้อเเท็บเล็ตความจุสูงๆ ก็ได้ โดยเฉพาะอุปกรณ์ของ iOS ที่โอนถ่ายข้อมูลได้ค่อนข้างจำกัด การเรียกดูไฟล์จาก Wi-Drive จะสะดวกกว่ามาก

โดยสรุปเเล้วถ้าใครมีอุปกรณ์พกพาหลายอย่างโน้ตบุค มือถือ เเละเเท็บเล็ต อีกทั้งเป็นคนที่ชอบดูหนังฟังเพลงเป็นจิตใจ จะพกซีรีย์ซักชุดหรือดูหนังมาราธอนผ่าน Wi-Drive ก็ถือว่าสะดวกในการใช้งานอย่างมากครับ เเต่ถ้าไม่ได้ใช้งานเเบบไร้สายอาจจะพิจารณาฮาร์ดดิสก์เเบบปกติน่าจะประหยัดกว่า

สรุปข้อสังเกตในการใช้งาน

  • การเชื่อมต่อผ่าน Mac เเละ Windows ต้องทำผ่านสายดาต้า (mini USB) เท่านั้น ไม่สามารถเชื่อมต่อเเบบไร้สายได้
  • การเชื่อมต่อผ่าน Wireless สามารถทำผ่านได้เฉพาะ iOS (iPhone, iPad) เเละ Android
  • ขณะที่เราสามารถเล่นเน็ตขณะต่อ Wi-Drive ได้ โดยทำการให้ Wi-Drive เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตก่อน จากนั้นจึงนำอุปกรณ์เชื่อมกับ Wi-Drive อีกที ก็จะสามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตพร้อมกับ Wi-Drive ไปด้วยกัน
  • มีเเบตเตอรี่อยู่ภายใน Wi-Drive ถ้าเเบตเตอรี่หมดจะไม่สามารถเชื่อมต่อเเบบไร้สายได้ สามารถชาร์จได้ผ่านช่อง mini-USB
  • สามารถนำข้อมูลจาก Wi-Drive ก็อปปี้ลงไปยังอุปกรณ์ข้างต้นได้เเต่ไม่สามารถนำข้อมูลภายในอุปกรณ์ iOS หรือ Android โอนลง Wi-Drive ได้

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

CONTENT

iPhone ตกน้ำ เปียกน้ำ โดนฝน 2024 แจ้งว่ามีของเหลวขณะเสียบสายชาร์จ แก้ไขเบื้องต้นใน 4 ขั้นตอน หนึ่งในอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ก็คือมือถือเปียกน้ำ แม้มือถือส่วนใหญ่จะกันน้ำได้บ้าง แต่ก็อาจพบปัญหาตอนเสียบสายชาร์จ อย่างใน iPhone เองจะมีข้อความแจ้งว่าตรวจพบของเหลว และตัดการจ่ายไฟ ทำให้ไม่สามารถชาร์จไฟได้เลย โดยเฉพาะช่วงอากาศร้อนแบบนี้ หลายท่านคงมักหากิจกรรมที่เกี่ยวกับน้ำเพื่อคลายร้อน ไม่ว่าจะลงสระว่ายน้ำ หรือลงไปดำน้ำ เล่นน้ำทะเลเป็นต้น ที่สำคัญคือ ช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา...

Buyer's Guide

หลายปีที่ผ่านมาไม่ว่าจะแบรนด์นาฬิกาหรือสมาร์ทโฟนก็หันมาสร้าง Smart Watch กันอย่างต่อเนื่องจนหลายๆ คนคิดว่าจะซื้อ Smart Watch รุ่นไหนดี 2024 นี้ก็มีตัวเลือกจากแบรนด์ต่างๆ มากมาย ซึ่งแต่ละแบรนด์ก็จะมีเอกลักษณ์ส่วนตัวแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะใช้งาน Google Wear OS ทำให้นาฬิกาเป็นส่วนเสริมของสมาร์ทโฟนให้ใช้งานได้สะดวกขึ้น ใช้จ่ายเงิน, ดูแผนที่ระหว่างเดินทางไปไหนมาไหนได้ง่าย ไปจนกลุ่มคนที่รักการออกกำลังกายและใช้ชีวิต Extreme ดำน้ำเดินป่าก็มี Smart Watch...

How to

ไอแพดชาร์จไม่เข้าไม่ต้องตกใจ มีวิธีแก้ไขง่ายๆ ทำได้ด้วยตัวเองไม่ต้องส่งช่างให้เปลืองเงินอีกด้วย!! ยุคนี้ไม่ว่าใครก็ยอมรับว่าไอแพดเป็นแท็บเล็ตที่ดี ใช้ทำงานได้ยอดเยี่ยมไม่แพ้คอมพิวเตอร์แต่บางคนก็อาจเจอปัญหาว่าใช้ไปสักพักแล้วไอแพดชาร์จไม่เข้าเสียอย่างนั้นจนต้องพาเข้าศูนย์ Apple หรือถ้าหมดประกันก็ต้องพึ่งร้านตู้เจ้าต่างๆ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะแก้ปัญหาได้ถูกจุดหรือก่อปัญหาอื่นเพิ่มแทนกันแน่? ซึ่งวิธีแก้ปัญหาไอแพดชาร์จไม่เข้านั้นง่ายกว่าที่คิดมากสามารถแก้เองก่อนได้ ถ้าเกินฝีมือแก้เองไม่ได้จะส่งช่างให้เช็คโดยละเอียดก็ไม่เสียดายภายหลังแน่นอน ปัญหาการชาร์จไม่เข้า หลักๆ คือพอร์ต USB-C หรือ Lightning อาจมาจากความสกปรกไม่ว่าจะหน้าคอนแท็คทองเหลืองเกิดคราบออกไซด์หรือมีฝุ่นจากกระเป๋าเข้าไปอุดตันเยอะจนดันหัวสายชาร์จไม่เข้า, สายชาร์จก็ไม่ได้มาตรฐานเลยชาร์จไม่ได้ ไปจนถึงเรื่องง่ายๆ อย่างการเสียบชาร์จเข้าพอร์ต USB ของพีซีหรือโน๊ตบุ๊คแล้วกระแสไฟไม่พอชาร์จก็อาจเกิดขึ้นได้เหมือนกัน ซึ่งปัจจัยต่างๆ ในตัวอย่างก็แก้ได้ไม่ยาก...

CONTENT

Google services 7 บริการที่เคยมี แต่วันนี้หายไป มีอะไรบ้าง ตามที่มีข้อมูลออกมา ก็นับเป็นเวลานานมากแล้วที่ Google services มีนโยบายค่อนข้างเปิดกว้างให้กับพนักงานของตนเองได้ลองเสนอไอเดีย สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ออกมา เราจึงได้เห็นว่าจะมีบริการใหม่ออกมาอยู่เสมอ บางตัวก็ได้รับการใช้งานจนติดตลาดและกลายเป็นหนึ่งในบริการหลักไปเลย แต่บางตัวที่อาจจะได้รับความนิยมน้อยหน่อย หรือมีการปรับเปลี่ยนแนวทางภายใน เราก็มักจะเห็น Google ปิดบริการเหล่านั้น หรือยุบไปรวมกับบริการอื่นแทน ในบทความนี้เราจะมาดูกันว่ามีบริการใดบ้างที่ถูกปิดไปแล้ว ซึ่งบางตัวก็ต้องบอกว่ามันใช้งานได้ดีในยุคนั้น...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก