โปรแกรม Super PI คือ การคำนวณค่า PI จากเส้นรอบวง (กลม)/เส้นผ่านศูนย์กลาง ซึ่งจะได้เป็นค่า 3.14? โดยที่ทศนิยมนั้นเป็นเลขที่ไม่ลงตัวที่มีค่าอนันต์ (เลขหลังทศนิยมไม่มี Loop ซ้ำ) ดังนั้น เมื่อ Loop เป็นค่าอนันต์ เครื่องคอมพิวเตอร์จึงไม่สามารถหยุดการคำนวณได้ ถ้าไม่สั่งให้มันหยุด ในโปรแกรม Super PI จะทำการกำหนดเอาไว้ว่าให้คำนวณที่จุดสิ้นสุดตรงไหน (เช่น 1M คือ คำนวณที่ทศนิยม 1 ล้านตำแหน่ง) โดยแบ่งเป็นช่วง Loop อย่าง PI 1 M ใช้ 19 Loop เท่ากับคำนวณ Loop ละ 52632 ตำแหน่ง ต่อ 1 Loop ยิ่งซีพียูมีประสิทธิภาพเท่าไร ยิ่งใช้เวลาคำนวณได้น้อยลง
?เห็นได้ชัดเลยว่าประสิทธิภาพของ MSI X460 นั้นสามารถคำนวณ Super PI ได้อย่างรวดเร็ว
?
Hyper PI
มีหลักการทำงานคล้าย ๆ กับ Super PI แต่จะรองรับการทำงานของซีพียูหลายหัวหรือหลาย Thread พร้อมกัน ซึ่งแน่นอนว่าย่อมส่งผลกับตัว Turbo Boost เพราะซีพียูทำงานพร้อมกันหลายหัว ทำให้ความเร็วของซีพียูไม่สูงมาก เนื่องจากจำเป็นต้องแชร์ทรัพยากรเพื่อทำงานในเวลาเดียวกัน
การคำนวณที่ 1 M ค่าเฉลี่ยที่ได้อยู่ที่ประมาณ 19.363 วินาที
การ์ดจอเป็นแค่ออนบอร์ดเลยไม่ได้แรงมากมายนัก
ทดสอบความเร็วในการอ่านข้อมูลของฮาร์ดดิสก์
?วิธีทดสอบ : ทดสอบความเร็วในการอ่านข้อมูล สเปกของ HDD เป็นฮาร์ดดิสก์ขนาด 500 GB
เนื่องจากเป็นเครื่องทดสอบ จึงยังเป็นฮาร์ดดิสก์ 5400 RPM แต่ในเครื่องขายจริงจะเป็น 7200RPM เร็วกว่านี้แน่นอน
ทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องทั้งหมดด้วยโปรแกรม PCMark05
วิธีทดสอบ : รันโปรแกรมโดยให้ทดสอบทั้ง System, CPU, Memory, Graphics, HDD
คะแนนของซีพียูแรงมากดีจริง ๆ
…
PCMark Vantage
ด้วยซีพียูตัวแรงแม้จะเป็นแค่การ์ดจอออนบอร์ด ก็ยังสามารถทำคะแนนออกมาได้สูงมาก
ทดสอบระบบกราฟิกด้วยโปรแกรม 3DMark06
วิธีทดสอบ : รันโปรแกรมโดยให้ทดสอบทั้ง SM 2.0 Graphics Tests, CPU Test
ตามประสิทธิภาพการ์ดจอออนบอร์ด รองรับการใช้งานพื้นฐานได้ครบครัน
โปรแกรมทดสอบอีกตัวที่อยากแนะนำ โดยเป็นโปรแกรมที่ทดสอบภาพรวมของเครื่องแล้วสรุปออกมาเป็นคะแนนรวม ทำให้สามารถเปรียบเทียบกับรุ่นอื่น ๆ ได้ง่าย อีกทั้งยังแจกแจงคะแนนทดสอบในแต่ละส่วนให้เห็นอีกด้วย
แม้จะเป็นแค่การ์ดจอออนบอร์ด แต่ด้วยซีพียูประสิทธิภาพสูงทำให้มีคะแนนสูงมาก
?
x264 HD BENCHMARK 4.0 RESULTS
โปรแกรมอีกตัวที่อยากแนะนำกับการทดสอบแปลงไฟล์ 720p แล้ววัดเฟรมเรดออกมา
วัดกันที่ Pass 1 เป็นหลัก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของซีพียู Core i7 ตัวนี้ที่ได้เฟรมทะลุร้อยเลย
ออฟฟิศและการใช้งานทั่ว ๆ ไป
แม้สเปกจะแรงด้วยซีพียู Core i7 กับขนาดเครื่องที่บางมาก แต่ก็ยังระบายความร้อนได้อย่างดีสูงสุด 55 องศาเท่านั้น
วิธีทดสอบ : ทดสอบโดยการ Burn-in โดยใช้โปรแกรม CPU Burn-in พร้อมกันถึง 8 หน้าต่าง เพื่อให้ซีพียูทำงานเต็มประสิทธิภาพที่ 100% เป็นเวลา 2 ชั่วโมง พร้อมกับประมวลผลทางด้านกราฟิกจากโปรแกรม ATI Tool ในช่วงเวลากลางวัน
อุณหภูมิหลัง Burn-in
แม้จะใช้งานหนัก ๆ แล้วก็ยังมีอุณหภูมิสูงสุดแค่ 84 องศา จึงหายห่วงไปได้เลยว่าแม้ X460 จะบาง แต่ก็ยังสามารถระบายความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ใช้งานทั่วไป
เนื่องจากแบตเตอรี่มีความจุสูง ทำให้สามารถใช้งานได้นานกว่า 5 ชั่วโมงได้อย่างสบาย
ชมภาพยนตร์ Full HD
แม้จะชมภาพยนตร์แล้วก็ยังอยู่ได้ 2 ชั่วโมง
ชาร์จแบตเตอรี่
ชาร์จไป 2 ชั่วโมงครึ่ง ถือว่านานไปหน่อย
กราฟสรุปการใช้พลังงาน
?
Test Intel WiDi
การใช้งานก็ไม่ยุ่งยากมากนัก หลังจากเซตอัปที่ตัวโน๊ตบุ๊คโดยการลงโปรแกรมของ WiDi แล้วก็นำตัวรับสัญญาณต่อกับ LCD TV ตัวส่งสัญญาณก็จะส่งสัญญาณเบื้องต้นมาที่จอภาพก่อน หลังจากนั้นเราก็สั่งให้โน๊ตบุ๊คเราสแกนหาตัวรับสัญญาณ WiDi
หลังจากนั้นตัวรับสัญญาณก็จะขึ้นรหัสมาให้เรานำไปใส่ในตัวโปรแกรมของ WiDi เพื่อเลือกสัญญาณให้ตรงกัน (เหมือนหลักการของ Bluetooth)
เมื่อเชื่อมต่อกันเรียบร้อยแล้ว LCDTV ก็จะโคลนจอ Desktop โน๊ตบุ๊คไปเลย ตรงนี้เราก็สามารถปรับตั้งค่าได้เหมือนเราต่อสาย HDMI Out ปรกติ โดยตัวโปรแกรมจะตั้งค่าพื้นฐานให้ เช่น เรื่องของการส่งสัญญาณเสียงออกไปด้วย ทำให้เราไม่ต้องปรับแต่งอะไรมากมายนัก
จากการทดสอบไฟล์หลาย ๆ รูปแบบทั้ง DVD, HD, Full HD แล้ว สัญญาณจะดีเลย์ประมาณ 1 วินาทีซึ่งยอมรับได้ ภาพและเสียงตรงกัน โดยภาพลื่นไหลไม่มีสะดุด แต่ในความเ็ป็นจริงแล้วเรื่องอาการสะดุดจะอยู่ที่สเปกเครื่องมากกว่า เพราะสัญญาณ WiDi ค่อนข้างทำได้ดีทีเดียว
แม้จะย้ายมาอยู่ไกลมากขึ้น หรือจากที่ทีมงานลองยก X460 เดินไปเดินมาสัญญาณก็ยังส่งได้ดี แม้จะมีกำแพงมากั้นสัญญาณก็ยังเสถียรอยู่ ซึ่งจากการทดลองในระยะ 10 เมตรแล้วไม่มีปัญหาเลยครับ สัญญาณ WiDi โอ.เค. เลย ถ้าพูดถึงเรื่อง Intel WiDi ผมยกให้ไปเลย 8.5/10 ติดก็ตรงที่อุปกรณ์รับสัญญาณ WiDi นั้นมีราคาสูงระดับ 3,xxx บาทเลย อีกทั้งการที่ล็อกกับการ์ดจอ Intel เท่านั้น ทำให้ไม่สามารถใช้งานด้านกราฟิกได้เต็มประสิทธิภาพนัก