พบกับรีวิว Asus ROG Ally เครื่องเล่นเกมพกพารุ่นใหม่ล่าสุดของทาง ASUS ที่จะเข้ามาเปลี่ยนประสบการณ์การเล่นเกมแบบพกพาของคุณยุคในปัจจุบัน
ในช่วงระยะเวลา 3-4 ปีที่ผ่านมานี้นั้นเราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของเครื่องเล่นเกมพกพาที่อิงระบบปฏิบัติการของจากฝั่งคอมพิวเตอร์มากมายไม่ว่าจะเป็นจากของแบรนด์ GPD, Aya Neo ฯลฯ ที่มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Windows ในขณะเดียวกันทางฝั่งของผู้จัดจำหน่ายเกมทางดิจิทัลอย่างทาง Steam เองนั้นก็มีเครื่องเกมแบบพกพาของตัวเองออกมาเช่นเดียวกันอย่าง Steam Deck ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Steam OS ของทาง Steam เอง
ทั้งหมดทั้งมวลนี้นั้นมาจากการเปลี่ยนโฉมโลกของเครื่องเกมพกพาทางฝั่งคอนโซลจากทาง Nintendo กับ Nintendo Switch ที่มียอดจำหน่ายสูงมากเป็นประวัติการณ์ ด้วยสาเหตุดังกล่าวนี้เองนั้นทำให้เกิดกระแสปลุกเครื่องเล่นเกมพกพาของระบบปฏิบัติการ Windows ให้กลับมาอีกครั้ง โดยคิวล่าสุดที่เข้าสู่โลกของเครื่องเล่นกมพกพาระบบปฏิบัติการ Windows นั้นก็คือผู้จัดจำหน่ายฮาร์ดแวร์เมนบอร์ดและสมาร์ทโฟนชื่อดังอย่าง ASUS กับ Asus ROG Ally
ในวันนี้เราจะขอนำทุกท่านที่สนใจเครื่องเล่นเกมพกพาระบบปฏิบัติการ Windows กับรีวิวของ Asus ROG Ally กัน มาดูกันว่า Asus ROG Ally นั้นจะเปลี่ยนโลกของเครื่องเล่นเกมพกพาอย่างที่เราบอกไว้จริงๆ หรือไม่ จะเป็นเช่นไรนั้นไปติดตามกันได้เลย
- สเปคของ Asus ROG Ally
- ดีไซน์ของ Asus ROG Ally
- ระบบปฏิบัติการ Windows 11 บน Asus ROG Ally และ Armoury Crate SE
- ประสิทธิภาพการใช้งานของ Asus ROG Ally
สเปคของ Asus ROG Ally
Asus ROG Ally นั้นมาพร้อมกับสเปคที่ถือว่าเป็นจุดเด่นมากที่สุดของเครื่องเล่นเกมพกพาในปัจจุบันกับการใช้งานหน่วยประมวลผลแบบฝังชิปกราฟิกในตัวรุ่นใหม่ของทาง AMD อย่าง AMD Ryzen Z1 Series ซึ่งชิปกราฟิกแบบฝังนั้นจะเป็น AMD Radeon graphics ที่มาพร้อมกับสถาปัตยกรรม RDNA 3 ซึ่งทำให้มันรองรับการประมวลผล Ray-tracing ด้วยในตัว สำหรับ Asus ROG Ally นั้นจะถูกแบ่งออกเป็น 2 รุ่นคือรุ่นเริ่มต้นและรุ่นท๊อปที่มีสเปคบางส่วนแตกต่างกันไป สำหรับรุ่นที่เราอ้างอิงในบทความรีวิวครั้งนี้นั้นจะเป็นรุ่นท๊อปที่มีสเปคดังต่อไปนี้
CPU | AMD Ryzen Z1 Extreme (Zen 4, 8 cores / 16 threads, up to 5.1 GHz, 4 nm) |
Graphics | AMD Radeon graphics (integrated), RDNA 3, 4GB VRAM, 12 compute units, 2.7 GHz clock |
Memory | 16GB LPDDR5-6400 (8GB x 2) |
Storage | 512GB M.2 SSD, SD card slot (UHS-II) |
Display | 1920 x 1080, 120 Hz, IPS touchscreen ที่มาพร้อมกับกระจกกันรอย Gorilla Glass Victus และ Gorilla Glass DXC |
Networking | MediaTek Wi-Fi 6E MT7922 (RZ616), Bluetooth 5.2 |
Ports | USB 3.2 Gen 2 Type-C, ROG XG Mobile interface, 3.5 mm audio jack, micro SD card slot |
Battery | 40 WHr |
Power Adapter | 65W |
Operating System | Windows 11 Home |
Dimensions (WxDxH) | 11.04 x 4.38 x 0.84 inches |
Weight | 608g |
ราคา | $699.99 หรือประมาณ 24,xxx บาท |
อ้างอิงจากทาง AMD พบว่าชิปเซ็ทรุ่น AMD Ryzen Z1 Extreme นั้นได้รับการออกแบบโดยใส่ใจในเรื่องของการเป็นชิปเซ็ทหน่วยประมวลผลแบบ APU สำหรับเครื่องเล่นเกมพกพาโดยเฉพาะ นั่นเลยทำให้ AMD Ryzen Z1 Extreme นั้นมาพร้อมกับส่วนของหน่วยประมวลผลที่ใช้สถาปัตยกรรมแบบ Zen 4 และชิปกราฟิกแบบฝังซึ่งเป็นสถาปัตยกรรม RDNA 3 ที่ทาง AMD ยืนยันว่ามันได้รับการปรับแต่งออกมาให้เหมาะกับเครื่องเกมแบบพกพาแบบสุดๆ
ด้วยสถาปัตยกรรม Zen 4 ใหม่นั้น AMD Ryzen Z1 Extreme จึงมาพร้อมกับการรองรับหน่วยความจำแบบ DDR5 ซึ่งบน Asus ROG Ally รุ่นท๊อปสุดนั้นจะใช้หน่วยความจำแบบ LPDDR5-6400 ขนาด 16 GB ติดตั้งแบบ Dual-Channel อีกทั้งในส่วนของแหล่งเก็บข้อมูลนั้นก็จะเป็น M.2 SSD ความจุ 512GB ซึ่งน่าจะเพียงพอต่อการติดตั้งเกมระดับ AAA ใหม่ๆ ได้ 2-3 เกม แต่ถ้าหากไม่พอก็ยังมีช่องเชื่อมต่อสำหรับ SD card slot (UHS-II) ได้อีกด้วยต่างหาก
ด้านการเชื่อมต่อต่างๆ นั้นก็ให้ผู้ใช้มาใช้งานได้ครบถ้วนสมบูรณ์ทั้งในแบบไร้สายและแบบมีสาย ที่อาจจะน่าเสียดายเล็กน้อยก็คือสำหรับ Bluetooth นั้นยังคงรองรับที่เวอร์ชันเก่าแบบ 5.2 อยู่เท่านั้น ทว่านั่นก็น่าจะเพียงพอต่อการใช้งานในปัจจุบันอยู่แล้ว
หน้าจอของตัวเครื่องขนาด 7 นิ้วนั้นรองรับความละเอียดที่ระดับ FullHD ด้วยอัตราส่วน 16:9 ดังนั้นใฝนเรื่องของการใช้งานจริงแล้วนั้นก็จะไม่ทำให้การเล่นเกมของคุณมีแถบดำที่ด้านบนและล่างเหมือนกับของทาง Steam Deck ที่ใช้หน้าจออัตราส่วนแบบ 16:10 อย่างไรก็ดีตัวหน้าจอและเครื่องมาพร้อมกับกระจกกันรอยอย่าง Gorilla Glass Victus และ Gorilla Glass DXC อีกด้วยต่างหากทำให้ในการใช้งานนั้นน่าจะหายห่วงเรื่องริ้วรอยได้ในส่วนหนึ่งเลยทีเดียว
ดีไซน์ของ Asus ROG Ally
Asus ROG Ally มาพร้อมกับดีไซน์ที่ค่อนข้างจะคล้ายกับ Steam Deck อยู่พอสมควร อย่างไรก็ตามแต่แล้วนั้นในเรื่องของจอยแพดนั้นจะแตกต่างกันออกไปคือจะมีดีไซน์อ้างอิงมาจากของทาง Xbox มากกว่า ตรงจุดนี้ทำให้ผู้ใช้งานน่าจะคุ้นเคยมากกว่าการใช้งาน Steam Deck อยู่เล็กน้อยแต่ทั้งหมดทั้งมวลนั้นก็ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานในแต่ละเกมด้วย
ลำโพงของ Asus ROG Ally นั้นจะอยู่ทางด้านหน้าของตัวเครื่องซึ่งทำให้การได้ยินเสียงเกมต่างๆ นั้นไม่ถูกบดบังไปถึงแม้ว่าจะอยู่ในขณะที่ทำการจับเครื่องทำการเล่นเกมอยู่ก็ตาม ทั้งนี้นั้นแล้วด้วยการที่ Asus ROG Ally นั้นเป็นสีขาวทำให้การใช้งานในอนาคตนั้นยังคงไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่ามันจะติดรอยเปื้อนได้ง่ายมากแค่ไหน ดังนั้นในแง่เรื่องของการใช้สีนั้น Steam Deck จะดูมีภาษีในตรงจุดนี้มากกว่า แต่ด้วยการใช้ไฟ RGB ของทาง Asus ROG Ally นั้นอาจจะทำให้นักเล่นเกมหลายๆ คนชื่นชอบมากกว่าก็เป็นได้
ด้านหลังตัวเครื่อง Asus ROG Ally นั้นจะมาพร้อมกับไฟ RGB เช่นเดียวกันนอกไปจากนั้นคุณจะได้เห็นช่องระบายความร้อนสำหรับตัวเครื่องที่เดี๋ยวทางเราจะบอกว่ามันดีมากน้อยแค่ไหนต่อไป
ดีไซน์ที่จับมือนั้นเรียกได้ว่า Asus ROG Ally ทำการบ้านมาเป็นอย่างดีเพราะมันเหมาะสมกับศรีระของมือผู้ใช้เป็นอย่างมากในการใช้งาน แต่ทว่าบางคนก็อาจจะไม่ชอบลักษณะการออกแบบเช่นนี้แล้วไปชอบดีไซน์ของตัว Steam Deck มากกว่าซึ่งนั่นก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้งานของผู้ใช้แต่ละคน
โดยรวมแล้ว Asus ROG Ally นั้นถือว่าทำดีไซน์ตัวเครื่องออกมาได้ค่อนข้างที่จะดีเลยทีเดียวหากคิดในแง่มุมของการเป็นเครื่องเกมพกพา อย่างไรก็ตามแต่แล้วนั้นก็ขึ้นอยู่กับความชอบของผู้ใช้งานแต่ละคนด้วยดังนั้นเราจึงไม่สามารถสรุปให้ได้ชัดเจนว่ามันจะเหมาะกับคุณหรือไม่ แต่สิ่งหนึ่งที่เราสามารถสรุปได้ก็คือหากคุณเป็นคนที่ใช้จอยเล่นเกมมากกว่าคีย์บอร์ดและเมาส์อยู่แล้วนั้น Asus ROG Ally ไม่น่าจะทำให้คุณผิดหวังในส่วนตรงนี้
ระบบปฏิบัติการ Windows 11 บน Asus ROG Ally และ Armoury Crate SE
ระบบปฏิบัติการที่ Asus ROG Ally เลือกใช้นั้นคือ Windows 11 Home ดังนั้นเรื่องของการรองรับการเล่นเกมแล้วนั้นจึงไม่น่าห่วงมากเท่าไรนัก ด้วย Windows 11 Home นี้ทำให้ Asus ROG Ally รองรับ Client ของระบบการจำหน่ายเกมดิจิทัลต่างๆ มากมายไม่ว่าจะเป็น Steam, Epic, EA หรือแม้แต่กระทั่ง GOG แต่ทว่าส่วนที่ต้องรออีกนิดหน่อยก็คือเรื่องของ Driver ที่จะต้องรอให้ตัวเครื่องนั้นรองรับกับเกมเก่าๆ ได้อีกสักนิด
จุดที่น่าสนใจมากที่สุดของ Asus ROG Ally น่าจะอยู่ที่ซอฟต์แวร์อย่าง Armoury Crate ที่ได้รับการออกแบบขึ้นมาสำหรับตัวเครื่อง Asus ROG Ally โดยเฉพาะซึ่งลักษณะการใช้งานนั้นจะคล้ายๆ กับ GeForce Experience ที่จะช่วยปรับแต่งให้ตัวเกมใช้เอฟเฟคต่างๆ ให้เหมาะสมกับสเปคของตัวเครื่อง Asus ROG Ally มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
อย่างไรก็ตามแต่แล้วนั้น Armoury Crate บน Asus ROG Ally นี้ยังไม่เหมาะกับการใช้งานอย่างแม้จริงมากเท่าไรนัก งานนี้คงต้องรอให้ทาง ASUS พัฒนาออกมาอีกสักพักใหญ่ๆ ก่อนถึงจะน่าใช้มากขึ้นกว่าในช่วงปัจจุบันที่เครื่องออก แต่ถึงกระนั้นแล้ว ณ เวลานี้ตัวซอฟต์แวร์เองก็ถือว่าสามารถที่จะใช้งานได้ดีอยู่ในระดับหนึ่งเลยทีเดียว
ประสิทธิภาพการใช้งานของ Asus ROG Ally
ประสิทธิภาพทางด้านการประมวลผล
เริ่มต้นด้วยประสิทธิภาพการประมวลผลของตัวชิปเซ็ท AMD Ryzen Z1 Extreme เมื่อเทียบกับของทาง Steam Deck ด้วยโปรแกรม Geekbench แล้วนั้นจะเห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่าการประมวลผลทั้งทางด้าน single-core และ multi-core นั้นเพิ่มขึ้นเป็รอย่างมาก โดยในส่วนของ single- core นั้นเพิ่มขึ้นเกือนเท่าตัวส่วนแบบ multi-core นั้นเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าตัวเลยทีเดียว
ข้ามมาในส่วนของประสิทธิภาพสำหรับด้านการเล่นเกมนั้นในโหมดพกพาที่ตัวเครื่องจำทำงานที่พลังงานไฟฟ้า 15W นั้นจะเห็นได้ว่าไม่ได้แตกต่างไปจากในส่วนของ Steam Deck มากเท่าไรนัก แต่หากทำงานที่โหมด Turbo ซึ่งก็คือโหมดที่เสียปลั๊ก(หรือปรับแต่งผ่านซอฟต์แวร์) แล้วนั้นจะเห็นได้ว่าประสิทธิภาพของตัวเครื่อง Asus ROG Ally ที่มาพร้อมกับหน่วยประมวลผล AMD Ryzen Z1 Extreme นั้นทำออกมาได้ดีกว่า Steam Deck เป็นอย่างมาก
ประสิทธิภาพในส่วนของหน้าจอ
Asus ROG Ally นั้นมาพร้อมกับหน้าจอที่รองรับช่วงกว่าของสีทั้งแบบ DCI-P3 และ SRB ที่ดีกว่า Steam Deck เป็นอย่างมาก นอกไปจากนั้นแล้วความสว่างสูงสุดก็ยังสามารถที่จะทำได้ดีกว่า Steam Deck อีกด้วย งานนี้เรียกได้ว่าสามารถที่จะใช้งานในเรื่องของการแสดงผลทางด้านกราฟิกต่างๆ ได้ดีกว่า Steam Deck ได้เป็นอย่าางดีอีกต่างหาก
ประสิทธิภาพด้านแบตเตอรี่
การใช้งานแบตเตอรี่นั้นยังถือว่าทำได้ไม่ค่อยดีมากเท่าไรนัก จากการรีดประสิทธิภาพของตัวเครื่องจาก PCMark 10 Gaming ซึ่งจะเร่งให้เครื่องทำงานแรงเต็มพิกัดนั้นจะเห็นได้ว่าการใช้งานเต็มๆ จะอยู่ที่ราวๆ 1.43 ชั่วโมงเท่านั้น แต่หากใช้งานท่องเว็บทั่วไปแล้วนั้นจะเห็นว่าสามารถที่จะใช้งานได้ที่ราวๆ เกือบ 6 ขั่วโมงเลยทีเดียว
ประสิทธิภาพด้านการระบายความร้อน
จากการแกะตัวเครื่องนั้นจะเห็นได้ว่า Asus ROG Ally มาพร้อมกับพัดลมระบายความร้อนจำนวน 2 ตัวด้วยกัน ซึ่งในการใช้งานสำหรับการเล่นเกมนั้นพบว่า หากทำงานสูงสุดแล้วจะมีความร้อนสะสมที่รอระบายออกมาตรงบริเวณหน้าจอของตัวเครื่องและทางด้านหลังของตัวเครื่อง โดยหากวัดที่อุณหภูมิห้องที่ 25 องศาเซลเซียสแล้วนั้นตัวเครื่องจะมีความร้อนสูงสุดอยู่ที่ราวๆ 47.2 องศาเซลเซียส ที่การทำงานในโหมด Turbo ซึ่งงานนี้ก็เรียกได้ว่าร้อนเหมือนกัน แต่พอเลิกใช้งานปุ๊การระบายความร้อนสะสมออกมาก็จะสามารถทำได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว
ความสามารถในการอัปเกรด
Asus ROG Ally สามารถที่จะอัปเกรดได้เพียงแค่อย่างเดียวเท่านั้นก็คือแหล่งเก็บข้อมูลภายในที่จะอยู่ใกล้ๆ กับซิงค์ระบายความร้อน โดยจะเป็นแบบ M.2 SSD 2230 ขนาดเล็กที่ในปัจจุบันนั้นยังค่อนข้างจะหาซื้อได้ยากพอสมควรในตลาดแถมราคาก็ค่อนข้างที่จะแพงอยู่เหมือนกันดังนั้นแล้วการอัปเกรดแหล่งเก็บข้อมูลผ่านทางช่อง microSD Card ด้วยความจุ 1TB นั้นน่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า ทว่าความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลนั้นก็จะลดลงพอสมควร
หมายเหตุ – สาเหตุที่ฮาร์ดแวร์อื่นๆ ไม่สามารถทำการอัปเกรดได้นั้นก็เนื่องมาจากว่าจะถูกฝังติดอยู่ในตัวเมนบอร์ดทั้งหมด
โดยรวมแล้วนั้น Asus ROG Ally ถือว่าเป็นเครื่องเล่นเกมแบบพกพาที่แรงมากที่สุดในตลาดเครื่องเกมพกพายุคปัจจุบันนี้ ถึงแม้ว่าจะมีข้อเสียอยู่บ้างเล็กน้อยแต่มันก็สามารถใช้งานได้เป็นอย่างดีด้วยการที่ Asus ROG Ally นั้นมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Windows 11 โดยตรงทำให้มันรองรับการเล่นเกมได้หลากหลายรูปแบบตามแต่ความต้องการของผู้ใช้งาน อีกทั้งราคาเปิดตัวที่ไม่แพงมากไปนักงานนี้เรียกได้ว่าตลาดเครื่องเกมพกพานั้นน่าจะเกิดการสะเทือนได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว
สำหรับในเมืองไทยเรานั้นมีการโพสเตรียมวางจำหน่าย Asus ROG Ally บนหน้าเว็บไซต์ของ ASUS ประเทศไทยแล้ว ที่เหลือก็แค่รอดูราคาวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการเท่านั้นแต่เชื่อได้ว่าคงไม่ทิ้งไปจากที่ต่างประเทศอย่างแน่นอน
ที่มา : wired, theverge, popsci, tomshardware