โปรแกรม Super PI คือ การคำนวณค่า PI จากเส้นรอบวง (กลม)/เส้นผ่านศูนย์กลาง จะได้เป็นค่า 3.14? โดยที่ทศนิยมนั้นเป็นเลขที่ไม่ลงตัวที่มีค่าอนันต์ (เลขหลังทศนิยมไม่มี Loop ซ้ำ) ดังนั้น เมื่อ Loop เป็นค่าอนันต์ เครื่องคอมพิวเตอร์จึงไม่สามารถหยุดการคำนวณได้ ถ้าไม่สั่งให้มันหยุด ในโปรแกรม Super PI จะทำการกำหนดเอาไว้ว่าให้คำนวณที่จุดสิ้นสุดตรงไหน (เช่น 1M คือ คำนวณที่ทศนิยม 1 ล้านตำแหน่ง) โดยแบ่งเป็นช่วง Loop อย่าง PI 1M ใช้ 19 Loop เท่ากับคำนวณ Loop ละ 52632 ตำแหน่ง ต่อ 1 Loop ยิ่งซีพียูมีประสิทธิภาพเท่าไร ยิ่งใช้เวลาคำนวณได้น้อยลง
ความเร็วของ Fujitsu Lifebook LH531UBK กับพลังประมวลผลของ Intel Core i5-2410M ทำเวลาออกมาได้ดีมาก แตะ ๆ หลัง Intel Core i7 Gen 1 เลย แรงมาก
มีหลักการทำงานคล้าย ๆ กับ Super PI แต่จะรองรับการทำงานของซีพียูหลายหัวหรือหลาย Thread พร้อมกัน ซึ่งแน่นอนว่าย่อมส่งผลกับตัว Turbo Boost เพราะซีพียูทำงานพร้อมกันหลายหัว ทำให้ความเร็วของซีพียูไม่สูงมาก เพราะจำเป็นต้องแชร์ทรัพยากรเพื่อทำงานในเวลาเดียวกัน
เมื่อสั่งให้รันเต็ม 4 แกน ก็ยังทำออกมาได้ดีมาก ดีกว่า i7 ตัวเดิมเสียอีก
คะแนนในการ Render ภาพกราฟิกก็ทำได้ดีมาก ดีกว่า i5 รุ่นเดิม ๆ หมดเลย
ทดสอบความเร็วในการอ่านข้อมูลของ HDD
วิธีทดสอบ : ทดสอบความเร็วในการอ่านข้อมูล สเปกของ HDD เป็นฮาร์ดดิสก์ขนาด 500 GB
ความเร็วในการอ่านและเขียนไม่ต่างอะไรกับ HD ทั่วๆไปนัก
ทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องทั้งหมดด้วยโปรแกรม PCMark05
วิธีทดสอบ : รันโปรแกรมโดยให้ทดสอบทั้ง System, CPU, Memory, Graphics, HDD
แม้จะไม่สามารถแสดงเป็นคะแนนรวมได้ แต่คะแนนที่ออกมาในแต่ละส่วนก็นับได้ว่าสูงมากโดยเฉพาะในส่วนของซีพียู
PC Mark Vantage
คะแนนรวมทุกภาคส่วนของ Fujitsu Lifebook LH531UBK เครื่องนี้นั้นสามารถทำออกมาได้ดีมาก ต้องบอกเลยว่าคะแนนที่ได้จากซีพียูนั้นอัพคะแนนรวมของเครื่องขึ้นไปได้สูงมาก
ที่ผ่านมาก็ดีทุกภาคส่วน จะด่อยก็ตรง VGA นี่แหละครับ แต่ถือว่าไม่แย่อะไรเกินไปนัก พอรับได้
โปรแกรมทดสอบอีกตัวที่อยากแนะนำ โดยเป็นโปรแกรมที่ทดสอบภาพรวมของเครื่องแล้วสรุปมาเป็นคะแนนรวม ทำให้สามารถเปรียบเทียบกับรุ่นอื่น ๆ ได้ง่าย อีกทั้งยังแจกแจงคะแนนทดสอบในแต่ละส่วนให้เห็นอีกด้วย
คะแนนที่ได้จาก Performance Test ก็ดีเช่นเดียวกัน ดูจากคะแนนที่ได้แล้วเป็นผลมาจาก Fujitsu นั้นทำบอร์ดออกมาได้ดีจริง ๆ