Connect with us

Hi, what are you looking for?

CONTENT

DeepCool AK400 ฮีตซิงก์สูตรเย็น ติดตั้งง่าย ขนาดกระทัดรัด ใช้ได้ทั้ง Intel, AMD

DeepCool AK400 ฮีตซิงก์พรีเมียม ติดตั้งง่าย เสียงเงียบ เย็นสบาย เล่นเกมหรือทำงานก็ Cool!

DeepCool AK400

DeepCool AK400 เป็นฮีตซิงก์ระบายความร้อนรุ่นใหม่ ที่ออกแบบมาได้อย่างพรีเมียมสวยงาม แต่ไม่ใหญ่เทอะทะ พัดลมออกแบบมาใหม่ในสไตล์มินิมอล แต่ให้ประสิทธิภาพการถ่ายเทแรงดันลมได้ดี มีเสียงรบกวนน้อย เป็นพัดลมขนาดใหญ่ 120mm มีจุดรับแรงสั่นสะเทือน ติดตั้งมาบนฮีตซิงก์อะลูมิเนียม ครีบที่บางละเอียด บนรูปทรงแบบทาวเวอร์สูงเพียง 152mm เท่านั้น มีฐานที่เป็นหน้าสัมผัส เชื่อมต่อเข้ากับฮีตไปป์จำนวน 4 ท่อในแบบทองแดง ซึ่งจะแตะกับซีพียูโดยตรง พร้อมขาล็อคที่ใช้งานง่าย และติดตั้งได้กับซ็อกเก็ตหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น AMD หรือ Intel รวมถึงซีพียู Intel Gen 12 ในรูปแบบ LGA1700 ใหม่ล่าสุด ติดตั้งง่าย ไม่เปลืองพื้นที่ และไม่ไปรบกวนกับอุปกรณ์อื่นๆ ที่อยู่รอบๆ ซ็อกเก็ตอีกด้วย เรียกว่าครบเครื่องทั้งเรื่องดีไซน์และฟังก์ชั่น ที่เหลือเรามาดูกันว่า จะให้ประสิทธิภาพในการระบายความร้อนได้ดีเพียงใด


DeepCool AK400 เย็น ติดตั้งง่าย ไม่เปลืองพื้นที่


จุดเด่น

Advertisement
  • พัดลมเสียงรบกวนน้อย
  • ขนาดไม่ใหญ่เกินไป จัดวางพื้นที่ได้ดี ไม่เบียดแรม
  • ระบายความร้อนได้ดีพอสมควร
  • ติดตั้งง่าย ไม่ซับซ้อน
  • มีตัวล็อคพัดลมมาให้เพิ่ม ในการอัพเกรด

ข้อสังเกต

  • ต้องถอดพัดลมออกก่อนติดตั้ง

Specification

DeepCool AK400Description
ColorWhite, Black
Heatpipe4 pipe Copper
MaterialAluminum fin
Copper heatpipe
Dimension120mm x 45mm x 152mm
Fan120mm x 120mm x 25mm
Fan Airflow 66.47 CFM
FC120P FDB fan, 120mm,
500-1850 rpm
<29dBA
4-pin PWM connector
50,000 Hours Lifespan
Weight661g
TDP processor220W
Warranty3 Years
SupportIntel LGA1700/ 1200/ 115X, AMD AM4

Unbox

DeepCool AK400

สำหรับแพ๊คเกจของ DeepCool รุ่นนี้ที่ได้รับมา จะเป็นแบบเรียบๆ คือมีโลโก้สีเขียว ระบุชื่อรุ่นและกราฟิกของตัวฮีตซิงก์มาให้ด้านหน้า บนพื้นสีขาว ด้านหลังมีข้อมูลรายละเอียดสเปคมาให้

DeepCool AK400

ด้านในกล่อง ประกอบด้วย ขาล็อคจำนวน 2 ชิ้น และน็อตสกรู สำหรับใช้งานร่วมกับซีพียู Intel และ AMD

DeepCool AK400

แผ่นพับที่เป็นคู่มือแนะนำในการติดตั้งฮีตซิงก์ทุกจุด เป็นกราฟิกที่ทำออกมาให้มองเห็นขั้นตอนได้ชัดเจน ถือว่าเป็นเอกสารที่เหมาะอย่างยิ่ง สำหรับคนที่กำลังเริ่มต้นกับการติดตั้งหรือประกอบคอมใหม่ อัพเกรดเปลี่ยนฮีตซิงก์ใหม่ด้วยตัวเอง

DeepCool AK400

เมื่อแยกชิ้นส่วนจากในถุงออกมา ก็จะเห็นชิ้นส่วนที่จะนำมาใช้ในการติดตั้ง ประกอบด้วย ขาล็อคด้านหลัง ตัวซ็อกเก็ตและน็อตสีส้มสำหรับ AMD ส่วนสีดำ จะใช้กับซีพียู Intel รวมถึงตัวล็อคในการยึดพัดลมเข้ากับฮีตซิงก์เพิ่มมาให้อีก 1 ชุด

DeepCool AK400

Design

DeepCool AK400

มาดูหน้าตาของ DeepCool AK400 รุ่นนี้กัน จัดว่าเป็นรูปแบบทาวเวอร์ที่ดูกระทัดรัด ไม่หนาไม่บางเกินไป ความสูงสามารถติดตั้งในเคสขนาดกลางๆ ได้ดี ไม่ไปเบียดกับกระจกข้างเคส ความกว้างอยู่ที่ 45mm และยาว 120mm สูงประมาณ 152mm มาพร้อมพัดลมขนาด 120mm เป็นพัดลมแบบพิเศษที่เรียกว่า FDB หรือ Fluid Dynamic Bearing ที่ให้ความทนทาน ลื่นไหลไร้เสียงรบกวน ทำให้ใช้งานได้ยาวนานมากขึ้น โดยมีความเร็วรอบอยู่ที่ 500-1850rpm พัดลมใช้พลังไฟเพียง 0.13A เท่านั้น

DeepCool AK400

ด้วยการออกแบบมาเป็นพิเศษ จึงทำให้ฮีตซิงก์มีมิติที่บางลง ไม่เทอะทะจนเกินไป ซึ่งความหนาเมื่อรวมกับพัดลมแล้วจะหนาเพียง 45mm เท่านั้น

DeepCool AK400

ฮีตไปป์ทองแดงจำนวน 4 เส้น ขนาดใหญ่ ทำหน้าที่เป็นหน้าสัมผัสเข้ากับซีพียูโดยตรง เพื่อนำความร้อนจากซีพียูได้อย่างรวดเร็ว เป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน

DeepCool AK400

ด้านบนฮีตซิงก์ DeepCool AK400 รุ่นนี้ มีการเก็บงานได้เรียบร้อย ด้วยการครอบพลาสติกสีดำ และมีโลโก้สีเขียวตัดมาด้วย ทำให้เมื่อติดตั้งลงบนเคส ก็ดูพรีเมียมไม่น้อยเลย

DeepCool AK400

ด้านใต้ของฮีตซิงก์ทำเป็นหน้าสัมผัสทองแดง แต่เป็นทองแดงจากฮีตไปป์โดยตรงทั้ง 4 เส้น ซึ่งเป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมของฮีตซิงก์แบบทาวเวอร์ในช่วงหลังๆ เพราะไม่ต้องไปผ่านกับหน้าสัมผัสที่เป็นฐานแบบแยกชิ้น เหมือนในช่วงแรกๆ ทำให้ฮีตซิงก์ดึงความร้อนจากหน้าสัมผัสของซีพียูได้โดยตรง และถ่ายเทความร้อนได้รวดเร็ว

DeepCool AK400

ในแง่ของการออกแบบ จะดูว่าเล็ก ก็ไม่เล็กเสียทีเดียว เพราะถ้าเทียบกับ GAMMAXX series รุ่นนี้ก็ยังถือว่าใหญ่กว่า และครีบระบายความร้อน ก็ยังทำออกมาได้เป็นระเบียบและมีลวดลายที่สวยงาม ทำให้ดูแปลกตา ที่สำคัญยังมีความละเอียดสูง ช่วยให้มีพื้นที่ในการกระจายความร้อน และหน้าสัมผัสของพื้นผิว เมื่อมีแรงลมพัดผ่าน ก็น่าจะมีส่วนที่ทำให้ลดความร้อนจากฮีตซิงก์ได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ความสูงของซิงก์อยู่ที่ประมาณ 152mm เท่านั้น เคสแบบ Mid-Tower ก็สามารถจัดวางได้ง่ายๆ

DeepCool AK400

ตัวล็อคพัดลมสามารถแกะใส่ได้ง่ายมากๆ ตรงนี้ส่วนตัวมองว่า DeepCool ทำออกมาได้ดี แม้ว่าจะเป็นจุดเล็กๆ แต่เป็นจุดสำคัญมากๆ นั่นก็เพราะเราจำเป็นจะต้องแกะพัดลมออกก่อน ขณะที่จะติดตั้งหรือถอดฮีตซิงก์ เพราะจะช่วยให้ไขน็อตยึดได้สะดวกมากยิ่งขึ้น และสิ่งนี้เอง เรามักไม่ค่อยเจอกันในฮีตซิงก์ที่จำหน่ายในท้องตลาดมากนัก ส่วนใหญ่จะเน้นที่การยึดแน่น ทำให้แกะลำบากเวลาที่ใส่ จุดนี้ให้คะแนนในแง่ของการเอาใจใส่ผู้ใช้ไปเต็มๆ

DeepCool AK400

พัดลมที่นำมาใช้ FC120P ที่มีประสิทธิภาพสูงในแบบ FDB Fan หรือพัดลมแบบที่เรียกว่า fluid dynamic bearing ซึ่งให้ประสิทธิภาพที่สูงขึ้น ทนความร้อนได้ดี แต่ราคาไม่แพงมากนัก เทียบเท่ากับการทำงานของ Ball Bearing

DeepCool AK400

โดยรอบการทำงานของพัดลมอยู่ที่ 500-1850 rpm. และเสียงรบกวนน้อย คือ น้อยกว่า 29 dBA อีกด้วย ให้ระยะในการใช้งานที่ยาวนานถึง 50,000 ชั่วโมง

DeepCool AK400

ขาล็อคของฮีตซิงก์ AK400 รุ่นนี้ ออกแบบมาเป็นพิเศษ จึงสามารถรองรับซีพียูในรูปแบบของซ็อกเก็ตต่างๆ จาก Intel และ AMD ได้เกือบครบทุกไลน์ เช่น Intel Gen 12 LGA1700 หรือ LGA1200 และ LGA115x รวมถึง AMD AM4 เป็นต้น


Install

DeepCool AK400

มาดูการติดตั้งฮีตซิงก์ DeepCool AK400 รุ่นนี้กัน แต่ก่อนอื่นมาดูชิ้นส่วนที่ทางผู้ผลิตเตรียมไว้ให้กันบ้าง ว่ามีสิ่งใดที่ใช้สำหรับการติดตั้ง

DeepCool AK400

สิ่งแรกที่ต้องใช้คือ Bracket ซึ่งจะใช้ประกบเข้าทางด้านหลังของเมนบอร์ด ใช้สำหรับเป็นตัวยึดฮีตซิงก์ ให้แน่นหนา มีขาเล็กๆ ทั้ง 4 มุม ซึ่งจะขยับเลื่อนได้ตามซ็อกเก็ตที่ใช้ หากเป็น Intel LGA1700 ให้ดันออกไปริมสุดได้เลย

DeepCool AK400

จากนั้นมาประกบเข้าทางด้านหลังของเมนบอร์ด ให้ตรงกับรูของเมนบอร์ด แล้วจับเอาไว้

DeepCool AK400

ใช้ตัวรองน็อต ที่มีมาให้ดันเข้าไปให้ตรงกับขาล็อคด้านหลังทั้ง 4 มุม เช็คด้วยว่าแน่นหนาไม่หลุด

DeepCool AK400

จากนั้นให้ดันกระเดื่องที่เป็นตัวล็อคของซีพียู จากนั้นติดตั้งซีพียู พร้อมล็อคให้แน่นหนาตามปกติ

ในกล่องของ DeepCool AK400 จะมีโลหะอีกชิ้น ที่จะใช้สำหรับการล็อคฮีตซิงก์โดยตรง ให้วางแบบที่ปุ่มทั้ง 2 ด้านอยู่ด้านข้างของซ็อกเก็ตซีพียูตามแบบในภาพนี้

DeepCool AK400

ไขน็อตยึดที่มีมาให้ทั้ง 4 ด้าน ให้พอตึงมือ ไม่ต้องแน่นจนเกินไป เพราะอาจจะไปรั้งเมนบอร์ดได้ ซึ่งถ้าแน่นดีแล้ว ก็พร้อมสำหรับการติดตั้งฮีตซิงก์ DeepCool AK400 ได้แล้ว

DeepCool AK400

โดยปกติด้านใต้ของฮีตซิงก์ จะมีซิลิโคนสีขาวมาให้ อย่างเช่นในภาพ อาจจะดูต่างไปจากบางรุ่นที่เราเคยได้ทดสอบ เพราะฮีตซิงก์บางรุ่นจะมาพร้อม Thermal compound สีเทาๆ หรือบางรุ่นก็จะแยกซิลิโคนเป็นหลอดมาให้ทาในภายหลัง ซึ่งหากคุณมีซิลิโคนราคาแพง คุณภาพสูง ก็สามารถเช็ดออก แล้วทาลงไปใหม่ได้

DeepCool AK400

และในการติดตั้งฮีตซิงก์ลงบนเมนบอร์ด แนะนำว่าให้แกะพัดลมออกมาก่อน ด้วยการดึง Clip ที่เป็นตัวล็อคพัดลมทั้ง 2 ด้านออก เพื่อให้สามารถไขน็อตได้สะดวกมากขึ้น

DeepCool AK400

หลังจากนั้นเมื่อประกอบฮีตซิงก์ลงบนหน้าสัมผัสของซีพียูเสร็จสิ้น ก็ให้ติดตั้งพัดลมกลับไปไว้ตามเดิม จากนั้นต่อสาย 4-pins ของพัดลม เข้ากับ Fan connector บนเมนบอร์ด เท่านี้ก็พร้อมใช้งานแล้ว

DeepCool AK400

เรามาเช็ครายละเอียดกันก่อนจะไปทดสอบประสิทธิภาพระบายความร้อนของฮีตซิงก์จาก DeepCool รุ่นนี้ ในแง่ของพื้นที่รอบข้าง ด้านหน้าตรงจุดติดตั้งพัดลม ยังมีพื้นที่เหลือพอ ไม่เข้าไปเบียดกับแรม แม้ว่าจะเป็นแรมที่มีชุดระบายความร้อนมาด้วยก็ตาม ตรงนี้หมดกังวลได้เลย

DeepCool AK400

ขยับมาดูที่ด้านล่าง ยังพอมีพื้นที่ให้การติดตั้ง SSD ลงบนสล็อต M.2 ที่มักจะอยู่ในจุดเดียวกันบนหลายๆ เมนบอร์ด แต่ต้องยังไม่ได้ติดตั้งกราฟิกการ์ดลงไปนะ

DeepCool AK400

สำหรับด้านข้าง จะเห็นได้ว่ายังมีพื้นที่เป็นช่องว่างราวๆ 2cm ระหว่างฮีตซิงก์กับกราฟิกการ์ด จึงลดความกังวลใจไปได้สำหรับคนทีจตจะติดตั้งการ์ดจอขนาดใหญ่คู่กับฮีตซิงก์รุ่นนี้

เมื่อติดตั้งฮีตซิงก์ลงไปบนเมนบอร์ด จะเห็นได้ว่าใช้พื้นค่อนข้างน้อยทีเดียว จึงลดปัญหาฮีตซิงก์ไปเบียดกับแรมได้อย่างชัดเจน ซึ่งทาง DeepCool ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอย่างมาก


Performance

DeepCool AK400

หลังจากที่ติดตั้งฮีตซิงก์ DeepCool AK400 ลงบนเมนบอร์ดเรียบร้อย และวางองค์ประกอบอื่นๆ ลงไปในเคสเสร็จสิ้น ไม่ว่าจะเป็นแรม การ์ดจอ และอื่นๆ ก็เตรียมพร้อมสำหรับการทดสอบประสิทธิภาพ โดยในครั้งนี้เราจะทดสอบ 3 รูปแบบคือ การทดสอบด้วยโปรแกรมที่ใช้ Burn-In ซีพียูโดยเฉพาะ เพื่อหาศักยภาพสูงสุดในการลดความร้อนจากฮีตซิงก์รุ่นนี้ แบบที่ 2 จะเป็นการทดสอบด้วยเกม ที่เรียกใช้งานซีพียู เพื่อดูว่า จะช่วยให้เกมเมอร์เล่นเกมได้สบายใจได้มากขึ้นเพียงใด และสุดท้ายกับการทดสอบตัดต่อวีดีโอ ที่จะมีการเรียกใช้ซีพียูในการประมวลผล ซึ่งเราจะเน้นการตัดต่อแบบง่ายๆ ในการจำลองการทดสอบ เพื่อเหล่าสตรีมเมอร์หรือคนทำยูทูปในเบื้องต้น


ระบบที่ใช้ในการทดสอบ

  • ซีพียู Intel Core i5-12600K
  • เมนบอร์ด GIGABYTE B660M AORUS Pro DDR4
  • แรม ZADAK DDR4 3200 16GB
  • SSD WD SN550 1TB
  • กราฟิกการ์ด AORUS RTX 3060 Elite
  • เพาเวอร์ซัพพลาย 850W
  • เคส DeepCool
DeepCool AK400

idle mode เปิดการทำงานโปรแกรมทดสอบ บนระบบปฏิบัติการ Windows 10 เพียงอย่างเดียว อยู่ที่ประมาณ 24-27 องศาเซลเซียสเท่านั้น เรียกว่าสบายๆ

DeepCool AK400

และเมื่อทดสอบด้วยโปรแกรม Furmark อย่างที่ทราบดีว่า โปรแกรมนี้ จะใช้การ Burn-In ซีพียูออกมาในแบบทุก Core/ Thread ซึ่งถือว่าสุดหินเลยทีเดียว และความร้อนสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 80 องศาเซลเซียสในแกนหลักบางส่วน ซึ่งบางส่วนจะอยู่ที่ประมาณ 55 องศาเซลเซียสเท่านั้น ซึ่งบอกได้เลยว่า AK400 รุ่นนี้สามารถจัดการได้อยู่หมัด เพราะโดยทั่วไปแล้วในชีวิตประจำวันของหลายๆ คน แทบไม่ได้ดึงพลังในการทำงานของซีพียูออกมาในระดับ 100% เช่นนี้ ดังนั้นถือว่าความร้อนแค่นี้ ไม่ได้เป็นปัญหา

DeepCool AK400

ทีนี้มาดูการทดสอบด้วยโปรแกรม OCCT เพื่อเป็นการเปรียบเทียบการทดสอบซีพียูในรูปแบบของการ Burn-In อีกตัวหนึ่ง และผลที่ได้จากการทดสอบ Idle mode นั้น อยู่ที่ราวๆ 23-28 องศาเซลเซียส ก็จัดว่าสบายๆ ไม่ต่างไปจากผลที่ได้บน Furmark

DeepCool AK400

และเมื่อทดสอบด้วยการ Burn-In บนโปรแกรม OCCT นี้ โดยผลที่ได้ต่างจากบน Furmark อยู่เล็กน้อย หลังจากที่ทดสอบไปเป็นเวลา 20 นาที ตัวเลขอุณหภูมิไปอยู่ที่ 56-63 องศาเซลเซียสเท่านั้น นับว่าลดความร้อนจากซีพียู Intel Core i5-12600K ได้เป็นอย่างดี กับความเร็วระดับ 4.5GHz ซึ่งอุณหภูมิระดับนี้ เป็น Core i7 ก็ยังถือว่าไม่เกินการควบคุมแน่นอน

DeepCool AK400

หลังจากลองทดสอบด้วยการ Burn-In กันไปแล้ว ก็ได้เวลาการทดสอบกับเกมกันบ้าง มีเกมให้ทดสอบหลักๆ 3 เกมด้วยกันคือ DOTA2, Horizon Zero Dawn และ PUBG เริ่มต้นกับ DOTA2 ถือว่าเป็นเกมที่อาจจะไม่ได้ใช้ทรัพยากรมากนัก แต่ก็มีการใช้ซีพียูให้เห็นถึง 40-45% ซึ่งอุณหภูมิจากโปรแกรม MSI Afterburner เช็คได้ที่ราว 50 องศาเซลเซียส

DeepCool AK400

ส่วนเกม Horizon Zero Dawn นี้ ก็ดูไม่ได้ต่างกันมากนัก เพราะส่วนใหญ่จะเรียกใช่ GPU เป็นหลัก แต่ก็มีการใช้ซีพียูที่ราว 20-30% และอุณหภูมิที่เกิดขึ้นอยู่ที่ราวๆ 50 องศาเซลเซียส บวกลบอยู่เล็กน้อย แต่ก็ถือว่าคอนโทรลเรื่องของความร้อนได้สบายๆ ผู้ใช้สามารถเล่นเกมได้แบบไม่ต้องกังวล

DeepCool AK400

และสุดท้ายกับการทดสอบด้วยเกม PUBG ซึ่งหลักๆ จะหนักไปทาง GPU แต่ก็มีการใช้ซีพียูมาทำงานอยู่พอสมควรเช่นกัน โดยใช้ไปประมาณ 20-25% และอุณหภูมิที่เกิดขึ้น ยังคงอยู่ที่ประมาณ 50 องศาเซลเซียส ก็ยังถือว่าไหลๆ ไปได้เรื่อยๆ สำหรับคอเกม แทบไม่ต้องกังวลในเรื่องของความร้อนจากซีพียูแต่อย่างใด

DeepCool AK400

สุดท้ายกับการทดสอบเรนเดอร์วีดีโอระดับ Full-HD จากโปรแกรม Video Editor บนระบบปฏิบัติการ โดยโปรแกรมดึงการใช้งานซีพียูไปไม่เยอะมากนัก ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นการตัดต่อบนฟุตเทจพื้นฐาน ความละเอียดไม่สูงมากนัก อีกทั้งไม่ได้มีเอฟเฟกต์พิเศษเข้าไปแต่อย่างใด เน้นการจำลองการตัดต่อวีดีโอง่ายๆ ภายในบ้าน ซึ่งความร้อนที่เกิดขึ้นมีแค่ 37-44 องศาเซลเซียสเท่านั้นเอง


Conclusion

DEEPCOOL AK400 cov

ในภาพรวมต้องถือว่า DeepCool AK400 ทำหน้าที่ในการลดความร้อนให้กับซีพียูที่เรานำมาทดสอบได้ดี ซึ่งหากดูจากสเปคแล้ว จะสามารถรองรับ TDP ในระดับ 200W หรือเป็นซีพียูระดับ Intel Core i7 หรือ AMD Ryzen 7 ได้อีกด้วย ซึ่งในการทดสอบก็แสดงให้เห็นว่า สามารถควบคุมความร้อนที่เกิดขึ้นในขณะที่ซีพียูทำงานแบบ Full-load กันแบบ 100% ได้ไม่ยาก และความร้อนก็ไม่ได้สูงมากจนเกินไป ซึ่งหากได้ซิลิโคนคุณภาพที่ดีขึ้นอีก ก็จะลดความร้อนไปได้ไม่น้อยกว่า 5-10 องศาเซลเซียสเลยทีเดียว อย่างไรก็ดี ความโดดเด่นของฮีตซิงก์รุ่นนี้ ก็ไม่ได้มีแค่ ประสิทธิภาพในการระบายความร้อนเท่านั้น แต่ยังออกแบบมาให้กระชับ ติดตั้งง่าย ใช้ชิ้นส่วนไม่มาก อีกทั้งรองรับซีพียูรุ่นใหม่อย่าง Intel Gen 12 ซ็อกเก็ต LGA1700 และยังปรับขนาดไม่ให้ไปรบกวนอุปกรณ์ด้านข้าง เช่น แรม หรือการ์ดจอที่อยู่ใกล้เคียง จึงลดปัญหาในของอุปกรณ์ที่เบียดกัน โดยเฉพาะแรม คุณสามารถใช้แรมแบบที่มีชุดระบายความร้อนได้ไม่เลย นอกจากนี้ DeepCool ยังไม่มองข้าม สิ่งเล็กๆ น้อยๆ อย่างตัวล็อคพัดลม ที่ถอดประกอบได้ง่าย ไม่เจ็บมืออีกด้วย


ข้อมูลเพิ่มเติม: DeepCool

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

Special Story

ปีนี้นับเป็นปีที่ซีพียูโน้ตบุ๊กของ AMD มีการเปลี่ยนแปลงแบบเห็นได้ชัด และมีความน่าสนใจในด้านประสิทธิภาพที่สูงขึ้นโดยที่ยังคุมการใช้พลังงานและความร้อนได้ดี ทำให้เราได้เห็นการนำซีพียู AMD ไปใช้ทั้งในโน้ตบุ๊กทำงานทั่วไป เกมมิ่งโน้ตบุ๊กตั้งแต่สเปคระดับเริ่มต้นไปจนถึงระดับท็อป รวมถึงในกลุ่มเครื่องเกมพีซีพกพาด้วย แต่ที่จะเด่นชัดสุดคงหนีไม่พ้นชิปรุ่นใหม่ล่าสุดที่มีโค้ดเนมว่า AMD Strix Point หรือในชื่อที่ใช้จริงนั่นคือ AMD Ryzen AI 300 series นั่นเอง

Special Story

สำหรับการเล่นเกม แน่นอนว่าพลังประมวลผลกราฟิกจาก GPU คือหนึ่งในปัจจัยสำคัญ เพราะจะเป็นสิ่งที่ชี้วัดถึงระดับประสิทธิภาพว่าจะสามารถเรนเดอร์ภาพออกมาได้สวย เฟรมเรตสูง ความหน่วงต่ำขนาดไหน ทำงานร่วมกับ CPU และฮาร์ดแวร์อื่น ๆ ในเครื่อง ซึ่งถ้าทั้งระบบสามารถทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี ก็จะช่วยยกระดับประสบการณ์การเล่นเกมให้ดีขึ้นไปด้วย นอกจากนี้เหล่าผู้ผลิตเองก็มีเทคโนโลยีที่จะมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับพลังกราฟิก โดยที่ยังลดภาระของฮาร์ดแวร์ลงด้วย หนึ่งในนั้นก็คือ AFMF 2 เทคโนโลยีล่าสุดจาก AMD นั่นเอง

PC Review

WD Blue SN5000 1TB เปิดเครื่องไว ก็อปปี้ไฟล์ ย้ายข้อมูลรวดเร็ว SSD เพื่อสายทำงาน สาย AI และงานที่เร่งด่วน WD Blue SN5000 เป็นหนึ่งในซีรีย์ของ SSD ระดับเพาเวอร์ยูสเซอร์และเกมเมอร์ของทาง WD ที่ออกแบบมาให้กับผู้ใช้ได้รับประสบการณ์ใช้งานด้านความเร็ว ในการอ่านและเขียนข้อมูล บนมาตรฐาน M.2 NVMe...

Special Story

หากจะพูดถึงซีพียูรุ่นใหม่ล่าสุดปี 2024 สำหรับโน้ตบุ๊กของ AMD ก็จะต้องเป็น AMD Ryzen AI 300 series ที่เน้นเพิ่มประสิทธิภาพทั้งในด้านพลังประมวลผล พลังกราฟิก และที่เด่นชัดสุดคือความสามารถในการทำงานด้าน AI โดยที่ผ่านมาก็จะมีรุ่นที่ออกมาทำตลาดคือ AMD Ryzen AI 9 HX 370 ที่เป็นชิปรุ่นกลาง แต่ล่าสุดเราเริ่มเห็นโน้ตบุ๊กที่ใช้ AMD...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก