FidelityFX Super Resolution 2.0 สุดยอดเทคนิคการอัพสเกลของทาง AMD เปิดตัวอย่างเป็นทางการในงาน GDC 2022 ที่เหนือกว่าด้วยการรองรับกับชิปกราฟิก GTX ของทาง NVIDIA ด้วย
ต้องยอมรับกันว่าในช่วงเวลา 2 – 3 ปีที่ผ่านมานั้นผู้พัฒนาชิปกราฟิกหันมาพัฒนาเทคนิคในการอัพสเกลกันมากขึ้นกว่าเดิม ด้วยเหตุผลที่ว่าผู้ใช้งานนั้นหันมาใช้หน้าจอมินิเตอร์ที่มาพร้อมกับความละเอียดที่สูงมากขึ้นกว่าเดิมซึ่งหากนำเกมเก่าๆ มาเปิดเล่นที่ความละเอียดดั้งเดิมบนหน้าจอที่มีความละเอียดสูงแล้วนั้นย่อมทำให้ภาพที่ได้ไม่สวยงามมากเท่าไรนัก
ผู้นำทางด้านเทคโนโลยีการอัพสเกลสำหรับการเล่นเกมบนคอมพิวเตอร์นี้นั้นก็ไม่ใช่ใครอื่นนอกจากคู่แข่งของทาง AMD อย่าง NVDIA เองกับเทคโนโลยีอย่าง DLSS อย่างไรก็ตามแต่แล้วนั้นถึงแม้ว่าทาง AMD จะออกตัวช้ากว่าไปนิดแต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าทาง AMD จะไม่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีดังกล่าวนี้เลย โดยทาง AMD เองนั้นก็ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการอัพสเกลของตัวเองออกมาในชื่อว่า FidelityFX Super Resolution ซึ่งในงาน GDC 2022 นั้นก็ได้มีการเปิดตัวเวอร์ชัน 2.0 ออกมาแล้ว
สิ่งหนึ่งที่ทำให้ FidelityFX Super Resolution 2.0 น่าสนใจมากขึ้นกว่าเดิมนั้นก็คือทาง AMD ได้ทำการเปลี่ยนโค๊ดโยกย้ายไปยังอัลกอริธึมแบบชั่วคราว ซึ่งทำให้การทำงานนั้นดีมากขึ้นกว่าเดิม รวมทั้งยังได้มีการเปิดกว้างในการใช้งานที่ไม่เฉพาะเจาะจงให่เทคโนโลยี FidelityFX Super Resolution 2.0 สามารถที่จะใช้งานได้เฉพาะบนกราฟิกชิปของทาง AMD เองเท่านั้นทว่าผู้ใช้งานชิปกราฟิกฝั่ง NVIDIA ในซีรีย์ GTX 10xx ซีรีย์ซึ่งไปสามารถที่จะใช้งานได้ด้วย(แต่มีข้อแม้ว่าผู้พัฒนาเกมจะต้องนำเอาเทคโนโลยนี FidelityFX Super Resolution 2.0 ไปใช้งานในเกมของตัวเองด้วยนะ)
อ้างอิงตามที่ทาง AMD บอกเอาไว้นั้นพบว่าด้วยอัลกอลิธึม FSR 2.0 นั้น ผู้ใช้งานกราฟิกการ์ดรุ่นเก่าๆ อย่าง GTX 16 series หรือกระทั่ง GTX 1070 สามารถที่จขะเล่นเกมที่ Quality mode บนความละเอียด 1080p ได้แบบเนียนๆ สบายๆ ส่วนหากอยากใช้ Quality mode ที่ความละเอียดระดับ 1440p นั้นก็จะต้องใช้ชิปกราฟิก GTX 1080 หรือ RX Vega ขึ้นไป และหากอยากเปิด Quality mode ที่ความละเอียดระดับ 4K นั้นก็จะต้องใช้ชิปกราฟิก RTX 2070 หรือ RX 5700 ขึ้นไป ซึ่งประสิทธิภาพในการขับเฟรมเรทนั้นจะอยู่ในระดับที่สูงมากขึ้น 1.5 – 2.5 เท่าเลยทีเดียว(แน่นอนว่าเครื่องเล่นเกมคอนโซลอย่าง Xbox Series X/S นั้นจะได้รับข้อดีดังกล่าวนี้ด้วยแต่ขึ้นอยู่กับว่าทาง Microsoft นั้นจะทำการอัปเดทเฟิมร์แวร์เมื่อไร)
เทคโนโลยีการอัพสเกลนี้นั้นจะมีประโยชน์มากที่สุดกับเกมใหม่ๆ ที่มาพร้อมกับกราฟิกระดับเทพ แน่นอนว่าการรันเกมที่ความละเอียดระดับ 1080p กับ 4k โดยตรงนั้นย่อมมีการใช้งานการประมวลผลชิปกราฟิกหนักหน่วงแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ด้วยเทคโนโลยี FSR 2.0 นั้นจะช่วยให้ผู้เล่นสามารถเลือกเล่นเกมที่ความละเอียดต่ำๆ แล้วเปิดใช้งานเทคนิคการอัพสเกลนี้เพื่อแสดงผลภาพกราฟิกออกมาให้ดูสมจริงตามความละเอียดของหน้าจอมากขึ้นโดยที่ชิปกราฟิกนั้นไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำงานหนักมากจนเกินไป
ทาง AMD ได้บอกเอาไว้ว่าเทคโนโลยี FSR 2.0 นั้นสามารถที่จะนำไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว มในความเป็นจริงก็คือหากเกิมใดที่สนับสนุนเทคโนโลยี DLSS 2.x อยู่แล้วนั้นจะสามารถทำการปรับแต่เพื่อให้รองรับกับ FSR 2.0 ได้ด้วยภายในระยะเวลา 3 วันเท่านั้นซึ่งนี่ถือได้ว่าเป็นข้อดีอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับนักพัฒนาเกมที่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้เวลานานๆ เพื่อที่จะนั่งเขียนโค๊ดใหม่ และในอีกไม่กี่วันหลังจากนี้ทางเอนจิ้นหลักๆ ในการพัฒนาเกมอย่าง UE4/UE5 นั้นก็จะมี plugin ที่รองรับการใช้งาน FSR 2.0 ออกมา (ทว่าในกรณีที่ตัวเกมไม่ได้เขียนขึ้นมาให้รองรับเทคนิค decoupling display / render resolution หรือ Motion Vectors ด้วยนั้น ผู้พัฒนาอาจจะต้องใช้เวลาในการพัฒนาโค๊ดให้รองรับ FSR 2.0 อย่างน้อยก็ 1 เดือนขึ้นไป)
ที่มา : notebookcheck