Connect with us

Hi, what are you looking for?

Buyer's Guide

Intel 11th Gen เร็ว แรง อัดแน่นทุกเทคโนโลยีที่ล้ำที่สุดในเวลานี้

มาถึงปี 2021 กับ Intel 11th Gen กันแล้ว เทคโนโลยีเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ถูกพัฒนาไปมากมายต่าง ๆ นา ๆ และมันสมองหลักของเครื่องอย่างชิป CPU หรือในชื่อเต็ม ๆ ว่า Central Processing Unit นั้น ก็เป็นอีกชิ้นส่วนที่มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน จากช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา เราจะเห็นได้ว่าตลาดต่างแข่งขันกันด้วยเรื่องของความเร็งของสัญญาณนาฬิกา หรือ Clock Speed จนมาถึงยุคของการแข่งขันกันด้วยจำนวนของ Core ภายในตัวชิป ให้สามารถทำงานหลาย ๆ อย่าง หรือ Multi-Taskinng ไปพร้อม ๆ กันได้ดีมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม

core processors composite image.jpg.rendition.intel .web .1280.720

แต่การเพิ่มทั้งความเร็ว และจำนวน Core ให้สูงขึ้นมาก ๆ นั้น ก็จะส่งผลเสียให้ตามมาด้วยเช่นเดียวกัน เพราะเมื่อสัญญาณนาฬิกาสูงขึ้นมาก ก็จะทำให้เกิดความร้อนมากขึ้น ส่วนจำนวน Core ที่เพิ่มมากขึ้น ก็จะเพิ่มการใช้พลังงานให้สูงขึ้นตามไปด้วย จนเป็นที่มาในความพยายามแก้ปัญหานี้ด้วยเทคโนโลยีใหม่ของ Intel อย่าง Intel Deep Learning Boost พร้อมกับระบบ AI และ AVX512

Advertisement

Intel 11th Gen

ยังไม่หมดเท่านั้น ยังมีเรื่องของระบบชิปกราฟิกในตัวอย่าง Intel Iris Xe Graphics ที่มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบันสามารถเล่นภาพระดับความละเอียด 8K ที่ความเร็ว 60fps พร้อมกับแสดงสีสันของภาพได้ถึงระดับ HDR10 โดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้การ์ดจอแยกใด ๆ เพิ่มเติมเลยสักนิด

11th gen core mobile processors figure rwd.png.rendition.intel .web .1920.1080

ระบบการเชื่อมต่อไร้สายก็เป็นเรื่องสำคัญที่ขาดไปไม่ได้ในยุคนี้ Intel มีระบบ Intel Wi-Fi6/6E ของตัวเอง ที่พัฒนามาให้เชื่อมต่อสัญญาณได้อย่างเสถียร เร็ว และทำงานได้อย่างต่อเนื่องไม่มีสะดุด ส่วนเรื่องของการเชื่อมต่อแบบสาย ก็มี Intel Thunderbolt 4 ที่ถูกใช้ในอุปกรณ์ใหม่ ๆ ในปัจจุบันมากขึ้นเรื่อย ๆ สามารถโอนถ่ายข้อมูลระหว่างตัวเครื่องและตัวอุปกรณ์ได้เร็วสูงถึง 40 GB/s เรียกว่าไฟล์ใหญ่ ๆ ส่งไปมาได้ในเวลาเพียงพริบตาเดียวเท่านั้น

เพื่อให้เห็นเป็นที่ประจักษ์กันด้วยตาของตัวเอง เรามีผลการทดสอบด้านต่าง ๆ มากมายมาให้ได้ดูกันด้วย มาเริ่มกันที่การทดสอบความละเอียดของภาพ และสีสันกันเลย

โดยมีวิธีการทดสอบดังนี้

  1. เปิดดู videoplayback AV1 ในความละเอียด 8K/60 HDR10 โดยใช้โปรแกรม Movie TV 
  2. เทียบประสิทธิภาพระหว่าง Intel® UHD Graphics vs การ์ดจอแยก RTX 20 & 30 Series
  3. Intel® UHD Graphics จะช่วย decode 8K AV1 ในการเล่น video ทั้งจากไฟล์ในตัวเครื่อง หรือ Youtube ผ่าน google chrome
  4. ในขณะเล่น video ด้วยโปรแกรม Movie TV หากดูใน Task manager แล้ว Intel® UHD Graphics จะทำหน้าที่เล่น Video
  5. การปรับตั้งค่าให้การ์ดจอทำงาน สามารถทำได้โดยคลิกขวาที่ DesktopDisplay settingsGraphics settingsช่อง Choose an app to set preference ให้เลือก Microsoft store appช่อง Select an app เลือก Movie TVOK  จากคลิกที่ Movie TV เลือกที่ Options และเลือกทดสอบการ์ดจอที่ต้องการ
  6. Intel® UHD Graphics และ RTX 30 Series รองรับการเล่น video AV1 ส่วน RTX 20 Series จะกระตุก
  7. เปิด Task Manager เปรียบเทียบประสิทธิภาพในการ decode video สังเกตว่า CPU จะไม่ทำงาน
  8. การทดสอบแสดงให้เห็นว่าคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน การปรับปรุงชุดคำสั่งใหม่ๆเป็นสิ่งสำคัญ ทำให้ประสิทธิภาพดีขึ้นอย่างชัดเจน

ต่อกันด้วยเรื่องประสิทธิภาพของการเล่นเกมกันต่อโดยวิธีการทดสอบ

  1. สังเกตุ FPS ที่ได้จากเทคโนโลยี Intel® Adaptive Boost Technology ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชุดระบายความร้อน
  2. เปิด TechPowerUp GPU-Z แสดงให้เห็นว่า CPU ออกแบบมารองรับการทำงานครบทั้ง 16 เลน ในรูปแบบ PCIe Gen 4
  3. ลองเปิดการใช้งาน iGPU ใน Bios และลองเล่นเกมอีกครั้ง Intel® UHD Graphics จะช่วยการ์ดจอแยกในการประมวลผลเกม
  4. ในขณะเล่นเกม หากดูใน Task manager แล้ว Intel® UHD Graphics จะช่วยการ์ดจอแยกประมวลผลด้าน 3D

และที่จะขาดไปไม่ได้เลย สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน อย่างการทำงานด้านการสตรีม และการบันทึกภาพจากเครื่องโดยวิธีการทดสอบ

  1. ทดลองการสตรีมโดยใช้ x264 (CPU Core) และสังเกตการณ์ทำงานของ CPU 
  2. จากนั้นลองเล่นเกมและสตรีมไปด้วยกัน และสังเกตการณ์ทำงานของ CPU 
  3. ทำการเปิด Intel® UHD Graphics ใน Bios ขึ้นมาเพิ่มเพื่อทดสอบการสตรีมแทน x264 (CPU Core)
  4. ทดลองการสตรีมโดยใช้ Hardware QSV (Intel iGPU) และสังเกตการณ์ทำงานของ CPU และ iGPU
  5. จากนั้นลองเล่นเกมและสตรีมไปด้วยกัน ในรอบนี้ปรับมาใช้ Hardware QSV (Intel iGPU) และสังเกตการณ์ทำงานของ CPU 
  6. สังเกตประสิทธิภาพที่ได้ จากการสตรีมและเล่นเกมไปพร้อมกันในเครื่องเดียว
  7. เพิ่มเติมการ Record ไปอีกงาน จะเป็นการทดสอบ การเล่นเกม + สตรีม + record ไปพร้อมกัน
  8. ในขณะเล่นเกมและสตรีม หากดูใน Task manager แล้ว จะเห็นว่าเครื่องที่ใช้ CPU Intel มีการจัดสรรการใช้อุปกรณ์ต่างๆอย่างเป็นระบบ โดยใช้ CPU + Graphics card ประมวลผลเกม และใช้ iGPU ประมวลผลด้านการสตรีม

ต่อด้วยงานด้าน Content อย่างการตัดต่อ และเข้ารหัสแปลงไฟล์วิดีโอด้วยวิธีการทดสอบ

  1. ทำการเปิด Intel® UHD Graphics ใน Bios ขึ้นมาเพิ่มเพื่อทดสอบการตัดต่อวิดีโอ
  2. ทดลอง preview และ export เปรียบเทียบเร็วในการทำงานระหว่าง
    1. Mercury Playback Engine Software Only = ใช้งาน CPU Only
    2. Mercury Playback Engine GPU Acceleration (OpenCL) = ใช้งาน CPU and Intel® UHD Graphics 
    3. Mercury Playback Engine  (NVENC) = ใช้งาน CPU and Intel Iris Xe Graphics and Nvidia Graphics card
  3. จับเวลาเปรียบเทียบการ render ทั้ง 3 แบบ จะเห็นว่า Intel® UHD Graphics ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพได้มากกว่า 2 เท่า
  4. หรือทดลองเทียบด้วยการใช้ CPU i9 (10 Core) เทียบกับ Core i5 (4 Core) + Intel® UHD Graphics จะเห็นภาพที่ชัดเจนไปอีกแบบ
seated woman dual displays on cluttered desk rwd.jpg.rendition.intel .web .978.550

และสำหรับงานด้าน Content ระบบ 3D ก็ถือเป็นสิ่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์ในสมัยควรต้องทำได้ ซึ่งวิธีการทดสอบเราก็จะใช้

  1. ทดสอบการใช้งานจริงผ่านโปรแกรมที่ประมวลผลด้านเวกเตอร์ 2D 3D
  2. ใช้ Intel Iris Xe Graphics ซึ่งรองรับ OpenGL 4.6 ในการตอบสนองต่อการใช้งานจริงได้อย่างคล่องตัว
  3. การแก้ไข การเพิ่มวัตถุต่างๆ ทำได้โดยไม่ต้องใช้การ์ดจอแยก

ยัง ยังไม่หมด ทดสอบกันทั้งทีก็ต้องเอาให้สุด มาต่อกันที่ความเร็วในการเขียนอ่าน SSD ของตัวเครื่อง ที่รองรับเทคโนโลยี NVMe ระดับบสูง

  1. ทดสอบการใช้งานจริงในการโอนถ่ายข้อมูลระหว่างการใช้ PCIe Gen 4 vs Gen 4 โดยใช้ เลนใน CPU x4 vs เลนใน Chipset x4
  2. ทดสอบการใช้งานจริงในการโอนถ่ายข้อมูลระหว่างการใช้ PCIe Gen 4 vs Gen 3
  3. ดูความสามารถใน Task manager

ทดสอบระบบจำลองเครื่องเสมือน Simulation หรือ Vitualization ก็ต้องมี

  1. ทดสอบการใช้งานด้านการจำลองระบบ simulater หรือปล่อยบอท
  2. ทดลองระหว่างการปิดและเปิด Intel Virtualization Technology (Intel VT-x) ใน bios

ทีนี้เรามาดูเรื่องการเชื่อมต่อสายกับเทคโนโลยีใหม่ Intel Thunderbolt 4 กันบ้าง เพราะเป็นเทคโนโลยีที่จะมาแทนที่ USB แบบเดิม ที่เร็วกว่ากันแบบไม่เห็นฝุ่นทีเดียว

  1. ทดลองการต่อ External Harddisk ได้มากถึง 8 ตัว
  2. ทดลองการต่อจอภายนอกได้มากถึง 2 จอโดยใช้งานเพียงพอร์ตเดียว แสดงผลเป็น 4K ทั้ง 2 จอก็ได้ หรือ 8K จำนวน 1 จอ โดยเจน 11 สามารถต่อได้ถึง 4 จอ
  3. ชาร์ตแบตผ่าน Intel Thunderbolt ได้
  4. ทดลองโอนไฟล์ผ่าน Intel Thunderbolt ในความเร็วระดับ 40GB/s
  5. ทดลองเล่นเกมผ่าน External Graphics Card เพื่อเล่นเกม รวมถึงการตัดต่อวิดีโอ
  6. ทดลองแปลงเพื่อใช้เป็น Lan wifi หูฟัง
nuc 9 extreme laptop kit black with gamer geara rwd.jpg.rendition.intel .web .978.550

เห็นกันขนาดนี้แล้ว ยังจะมีตัวเลือกให้ที่ให้เทคโนโลยีใหม่มากมาย ประสิทธิภาพที่ใหม่ล้ำ และดีที่สุด รองรับการทำงานได้ครบทุกรูปแบบ ตั้งแต่งานเอกสาร Productivity ทั่วไป Microsoft Office , YouTube, Facebook, NetFlix, SPSS งาน Streaming ไม่ว่าจะเป็น OBS, XSplit, Broadcaste การใช้งานเล่นเกมดัง ๆ ได้ครบทุกเกม ทั้ง Pub G, DotA, GTA, Need For Speed และงานด้านการทำ Content ครบทุกสาย ทั้งสายโปรแกรมเมอร์พัฒนาแอป เขียนโค้ด งานสายถ่ายทำ Production ตัดต่อวิดีโอ หรืองานสายกราฟิก ทั้ง 2D และ 3D ทำได้มากมายมหาศาลขนาดนี้ แล้วยังมาพร้อมกับราคาที่คุ้มค่าสุด ๆ นี่คือตัวเลือกที่ชาญฉลาด ให้ความเป็นมืออาชีพมากที่สุดที่คุณจะหาได้ในเวลานี้

image

รวมสเปค Intel 11th Gen พร้อมให้จัดสเปคแล้วที่ www.notebookspec.com

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

Buyer's Guide

เล่นเกมด้วย Intel Core Ultra 5 245K กับ 7 เกมยอดนิยมบนการ์ดจอบนซีพียู Intel ไหวมั้ย ลื่นรึเปล่า? Intel Core Ultra 5 245K เป็นซีพียูรุ่นใหม่ล่าสุด ที่เพิ่งปล่อยลงสู่ตลาดในช่วงเดือนตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา นอกจากเรื่องความแรงและประสิทธิภาพในการทำงาน ทั้งด้านการประมวลผล หรือปัจจุบันก็มีเรื่องของ...

Special Story

ปีนี้นับเป็นปีที่ซีพียูโน้ตบุ๊กของ AMD มีการเปลี่ยนแปลงแบบเห็นได้ชัด และมีความน่าสนใจในด้านประสิทธิภาพที่สูงขึ้นโดยที่ยังคุมการใช้พลังงานและความร้อนได้ดี ทำให้เราได้เห็นการนำซีพียู AMD ไปใช้ทั้งในโน้ตบุ๊กทำงานทั่วไป เกมมิ่งโน้ตบุ๊กตั้งแต่สเปคระดับเริ่มต้นไปจนถึงระดับท็อป รวมถึงในกลุ่มเครื่องเกมพีซีพกพาด้วย แต่ที่จะเด่นชัดสุดคงหนีไม่พ้นชิปรุ่นใหม่ล่าสุดที่มีโค้ดเนมว่า AMD Strix Point หรือในชื่อที่ใช้จริงนั่นคือ AMD Ryzen AI 300 series นั่นเอง

INTEL

โปรเซสเซอร์ Intel Core Ultra 200S series ใหม่ล่าสุด ส่งมอบประสิทธิภาพการเล่นเกมและการประมวลผลอันเหนือชั้นสำหรับเดสก์ท็อปพีซี พร้อมประหยัดพลังงานมากกว่าที่เคย กรุงเทพฯ ประเทศไทย – 11 ตุลาคม 2567 –  ประเด็นสำคัญ: อินเทล ประกาศเปิดตัวตระกูลโปรเซสเซอร์ Intel® Core™ Ultra 200S series...

รีวิว Asus

ASUS ZenBook S 14 UX5406SA พร้อม Intel Core Ultra Series 2 สุดทรงพลัง แบตฯ ทนถึงใจ 18 ชม. ได้สบาย! ในงาน IFA Berlin เมื่อไม่นานนี้ Intel ก็เปิดตัวชิปเซ็ตรุ่นใหม่อย่าง Intel...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก