โปรแกรม Super PI คือ การคำนวณค่า PI จากเส้นรอบวง (กลม)/เส้นผ่านศูนย์กลาง ซึ่งจะได้เป็นค่า 3.14… โดยที่ทศนิยมนั้นเป็นเลขที่ไม่ลงตัวที่มีค่าอนันต์ (เลขหลังทศนิยมไม่มี Loop ซ้ำ) ดังนั้น เมื่อ Loop เป็นค่าอนันต์ เครื่องคอมพิวเตอร์จึงไม่สามารถหยุดการคำนวณได้ ถ้าไม่สั่งให้มันหยุด ในโปรแกรม Super PI จะทำการกำหนดเอาไว้ว่าให้คำนวณที่จุดสิ้นสุดตรงไหน (เช่น 1M คือ คำนวณที่ทศนิยม 1ล้านตำแหน่ง) โดยแบ่งเป็นช่วง Loop อย่าง PI 1M ใช้ 19 Loop เท่ากับคำนวณ Loop ละ 52632 ตำแหน่ง ต่อ 1 Loop ยิ่งซีพียูมีประสิทธิภาพเท่าไร ยิ่งใช้เวลาคำนวณได้น้อยลง
ซีพียู Core i5-460M ของ Lenovo IdeaPad U460 สามารถทำเวลาไปได้ 24.274 วินาทีในการคำนวณค่า PI 1M
Hyper PI
มีหลักการทำงานคล้าย ๆ กับ Super PI แต่จะรองรับการทำงานของซีพียูหลายหัวหรือหลาย Thread พร้อมกัน ซึ่งแน่นอนว่าย่อมส่งผลกับตัว Turbo Boost เนื่องจากซีพียูทำงานพร้อมกันหลายหัว ทำให้ความเร็วของซีพียูไม่สูงมาก เพราะจำเป็นต้องแชร์ทรัพยากรเพื่อทำงานในเวลาเดียวกัน
ใช้เวลาไปกำลังดีตามประสิทธิภาพ
เป็นโปรแกรมที่เน้นการทดสอบความแรงด้านกราฟิก 3D ของซีพียู จึงนิยมนำมาทดสอบเพื่อวัดประสิทธิภาพของซีพียูเป็นหลักครับ
เวอร์ชันใหม่นี้ทดสอบ 2 ส่วน เพื่อให้ดูง่ายขึ้น ได้แก่ OpenGL ซึ่งได้ค่าที่ 1.43 fps และ CPU ที่ 2.30 pts
ทดสอบความเร็วในการอ่านข้อมูลของ HDD
วิธีทดสอบ : ทดสอบความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล 19.2 ms เป็นขนาด 500 GB -มีประสิทธิภาพที่ออกมาจัดอยู่ในระดับดีทีเดียว
Wireless Mon
ทดสอบการรับ-ส่งของการ์ด Wireless
วิธีทดสอบ : ทดสอบโดยเชื่อมต่อกับ Access Point ที่มีระยะห่างออกไป 1.5 เมตร แม้จะไม่ใช่การ์ด Wireless ค่าย Intel แต่ให้คุณภาพสัญญาณที่ดี แรงไม่น้อย
ทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องทั้งหมดด้วยโปรแกรม PCMark05
วิธีทดสอบ : รันโปรแกรมโดยให้ทดสอบทั้ง System, CPU, Memory, HDD คะแนนโดยรวมออกมาในระดับดีทีเดียว โดยเฉพาะซีพียูที่มีคะแนนสูงมาก
ทดสอบระบบกราฟิกด้วยโปรแกรม 3DMark06
วิธีทดสอบ : รันโปรแกรมโดยให้ทดสอบเพียง SM 2.0, CPU Test ไม่แรงมาก แต่ก็รองรับการใช้งานทั่ว ๆ ไปได้