โปรแกรม Super PI ใช้วิธีการคำนวณค่า PI จากเส้นรอบวง/เส้นผ่านศูนย์กลาง ซึ่งจะได้เป็นค่า 3.14? โดยที่ทศนิยมนั้นเป็นเลขที่ไม่ลงตัวที่มีค่าอนันต์ ดังนั้น เครื่องคอมพิวเตอร์จึงไม่สามารถหยุดการคำนวณได้ ถ้าไม่สั่งให้หยุด โปรแกรม Super PI จะทำการกำหนดเอาไว้ว่า ให้คำนวณที่จุดสิ้นสุดตรงไหน เช่น 1M คือ คำนวณที่ทศนิยม 1 ล้านตำแหน่ง โดยแบ่งเป็นช่วง Loop อย่าง PI 1M ใช้ 19 Loop เท่ากับคำนวณ Loop ละ 52632 ตำแหน่ง ต่อ 1 Loop ยิ่งซีพียูมีประสิทธิภาพเท่าไร ยิ่งใช้เวลาคำนวณได้น้อยลง
ใช้เวลาในการคำนวณไป 25 วินาทีกว่า ๆ ถ้าไม่มี Turbo Boost มาเร่งความเร็วให้เครื่องนี้ คงได้รอกันเป็นนาที ๆ แน่นอน ซีพียูของเครื่อง Asus UL30J ก็ไม่เหมาะจะเอามาทำงานหนัก ๆ อยู่แล้วด้วย เอาว่าพอดูหนังได้ไม่กระตุกก็ดีแล้วละ
โปรแกรม Hyper PI ใช้หลักการคำนวณเหมือนกับ Super PI แต่สามารถสั่งให้ทุก Thread ของ CPU คำนวณได้พร้อมกัน
ผลของโปรแกรม HyperPI สำหรับ CPU ตัวนี้ใช้เวลาในการคำนวณไป 32 ? 34 วินาทีกว่า ๆ หัวเยอะแต่ความเร็วพื้นฐานจริง ๆ ค่อนข้างต่ำทีเดียว เลยเสียเวลาในการคำนวณไปเยอะ
เวลาที่ใช้ในการคำนวณกับโปรแกรม wPrime ในระดับ 1024 MB ใช้เวลาไป 1322 วินาที หรือ 22 นาทีเท่านั้นเอง ดีกว่า Intel Atom เยอะมากครับ
โปรแกรม PCMark05 ใช้สำหรับการทดสอบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ในหลาย ๆ รูปแบบ เช่น การคำนวณทางฟิสิกส์ การเข้ารหัสไฟล์ภาพยนตร์เพื่อสร้างคะแนนเปรียบเทียบประสิทธิภาพออกมา
คะแนนรวมและคะแนนกราฟิกไม่ออกทั้งคู่ จะว่าไปก็ไม่แปลกครับ เพราะการ์ด Intel HD Graphic ค่อนข้างมีปัญหาเรื่องความสามารถเวลาทดสอบอยู่แล้ว รวมถึงเครื่องนี้ใช้ NVIDIA Optimus ด้วย โอกาสสูงมากที่เครื่องจะไม่ยอมสลับไปใช้ NVIDIA GeForce 310M ให้อย่างที่ควรจะเป็น
โปรแกรม 3DMark06 ใช้สำหรับการทดสอบประสิทธิภาพการประมวลผลของ GPU โดยทดสอบทั้ง High Dynamic Range, Shader Model 3.0 รองรับ CPU ทั้ง Single Core และ Multi Core
ในโปรแกรมขึ้นว่ามันใช้การ์ด Intel HD Graphic แต่เวลาทดสอบจริง ๆ กลับสลับไปใช้การ์ดจอแยกได้ครับ คะแนนก็เลยออกมาครบ สำหรับคะแนนก็คงไม่มีความหมายกับเครื่องนี้มากนัก เพราะมันออกแบบมาให้พกไปใช้ข้างนอกนาน ๆ ไม่ใช่เล่นเกม
โปรแกรม CINEBENCH R 11.5 ใช้ทดสอบการประมวลผลงานสามมิติแบบมืออาชีพที่ต้องใช้งานผ่าน OpenGL โปรแกรมทดสอบทั้งการเรนเดอร์ด้วย CPU และ GPU โดยมีพื้นฐานมาจากโปรแกรม Maxon CINEMA 4D
งานสามมิติก็เป็นอีกหนึ่งงานที่ไม่มีใครอยากจะเอามาทำบนเครื่อง Asus UL30J แน่นอน นอกจากว่ามันจะจำเป็นขึ้นมาจริง ๆ คะแนนก็เอาไว้ดูเล่น ๆ ครับ